งานบริการวิชาการฯร่วมกับชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มรส. ผนึกกำลังจิตอาสาลงพื้นที่ รร.หวังพัฒนายกระดับสื่อการเรียนให้ชุมชนท้องถิ่น

ผช.อธิการบดีฯ เผย นำนศ.จิตอาสาลงตรวจสอบพื้นที่โรงเรียน หวังยกระดับสื่อการเรียนการสอนในเฟสที่ 2 ด้านผอ.ขอบคุณมรส. สมเป็นมหาวิทยาลัยฯของชุมชนท้องถิ่นโดยแท้จริง …..เมื่อเวลา 15.30 น. (9 ธันวาคม 2560) ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่โรงเรียนบ้านพัฒนา ในอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งบริเวณพื้นที่โรงเรียนดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในเฟสที่ 2 …..สืบเนื่องจากการดำเนินงานในเฟสแรกโดยนักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้ดำเนินการเข้าไปพัฒนาฟื้นฟูสื่อการเรียนการสอน BBLซึ่งเป็นสื่อการเรียนแบบประยุกต์เพื่อให้เข้ากับโรงเรียนหรือความต้องการของโรงเรียน เช่น สนามเด็กเล่นBBL หรือ ลานกิจกรรม BBL ที่จัดสร้างให้กับนักเรียนระดับประถมฯและระดับมัธยมในเดือนตุลาคมเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย ดังนั้นงานบริการวิชาการฯและนักศึกษากลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุขจึงมีแผนดำเนินการพัฒนาในเฟสที่สองต่อไป …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ได้เผยว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และนักศึกษาชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุขเล็งเห็นความสำคัญและมีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการดำเนินการดังกล่าว โดยให้แนวคิดว่าชุมชนต้องได้ประโยชน์ ชุมชนต้องพัฒนา และต้องไม่หวังผลอันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง แผนการดำเนินงานต้องเป็นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริงซึ่งปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรมในเฟสแรก และในวันนี้จึงนำนักศึกษากลุ่มดังกล่าวลงพื้นที่ในโรงเรียนบ้านพัฒนาอีกครั้งเพื่อพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ …..ด้านนางสาวพิมศรัญย์ นาคพังกาญจน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพัฒนา ได้กล่าวว่าในนามของโรงเรียนบ้านพัฒนาขอขอบพระคุณเป็นอย่างมากที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ดำเนินการพัฒนาและยกระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการดำเนินงานในเดือนตุลาคมทางโรงเรียนได้รับผลการตอบรับจากผู้ปกครองและนักเรียนในการสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนแบบBBLซึ่งมีผลตอบรับที่น่าชื่นชมและผลการดำเนินการดังกล่าวทำให้นักเรียนที่เรียนรู้กับสื่อการสอนBBL มีผลสัมฤทธิ์ในระดับดีมาก สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณนักศึกษาจิตอาสาจากชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี…

งานบริการวิชาการฯ ร่วมงานวันต่อต้านคอรัปชั่นสากล ภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance” คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต

ผู้ช่วยอธิการบดีฯหวังราชภัฏสุราษฎร์ฯ เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนและประกาศเจตนารมย์อย่างชัดเจน ที่ไม่ทนต่อการทุจริตในองค์กร …..เมื่อเวลา 09.30 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้เข้าร่วมงานวันต่อต้านคอรัปชั่นสากล ภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance” คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าว …..ทั้งนี้การจัดงานวันต่อต้านคอรัปชั่นสากล มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้สังคมและทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงผลเสียร้ายแรงที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชัน และร่วมแสดงพลังต่อต้านการทุจริตเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต …..ด้าน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ให้ความเห็นว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประกาศเจตนารมย์อย่างชัดเจนในการสนับสนุนแนวคิด“Zero Tolerance” คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต และปวารณาตนเสมอว่า เป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินให้มีพลัง ดังนั้น การเข้าร่วมงานดังกล่าวในครั้งนี้ จึงเป็นการประกาศให้ทุกองคาพยพได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นอีกหนึ่งพลังในการต่อต้านทุจริตในองค์กรและสร้างวัฒนธรรมสุจริตให้เกิดขึ้นกับองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม …..ซึ่งการจัดงานดังกล่าวได้มีหน่วยงานหลายภาคส่วนเข้าร่วมรับฟังการบรรยายและได้เสนอแนวคิดในการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต” โดยผลสรุปของการบรรยายนได้เน้นย้ำว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องลุกขึ้นมาทำหน้าที่ และปกป้องสิทธิของตนเองและประเทศชาติ โดยไม่ทนต่อการทุจริต และมีจิตสำนึกที่ถูกต้อง ยึดมั่นคุณธรรม จริยธรรม และความพอเพียง พร้อมทำหน้าที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุจริต เพื่อให้ประเทศไทยโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯร่วมหารือคณะพยาบาลฯพร้อมผู้นำชุมชนขุนทะเล ผุดโครงการ รร.ผู้สุงอายุในชุมชน แบบเชิงรุก!

ด้านผช.คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มั่นใจโมเดลเชิงรุก ลงพื้นที่ร่วมกับชุมชนนำองค์ความรู้ หวังยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนขุนทะเล และเป็นแนวปฏิบัติที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นในอนาคต …..เมื่อเวลา 13.30 น. (7 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมเพื่อหารือเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยอาจารย์วรรณา กุมารจันทร์ ผู้ช่วยคณบดีศูนย์สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และอาจารย์วีณา ลิ้มสกุล รองคณบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีผู้นำหมู่บ้านหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 10 เข้าร่วมประชุมในเรื่องดังกล่าวด้วย …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า เนื่องจากได้มีโอกาสหารือกับคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เรื่องหลักสูตรโรงเรียนผู้อายุ ซึ่งก่อนหน้านั้นคณะพยาบาลฯได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้วแต่เป็นโครงการที่ให้ผู้สูงอายุในท้องถิ่นเข้ามาสมัครเรียนกับคณะด้วยตนเอง แต่โครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้มหาวิทยาลัยฯ โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและคณะพยาบาลฯ จะดำเนินการในรูปแบบเชิงรุก คือการลงพื้นที่ชุมชนนำองค์ความรู้ไปอบรมและจัดการเรียนการสอนให้กับประชาชนในหมู่บ้าน คือหมู่ที่ 7 และหมู่ที่10 เพราะได้วิเคราะห์จำนวนผู้สูงในชุมชนแล้วมีจำนวนค่อนข้างมาก ซึ่งกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวไม่สามารถเดินทางเข้ามารับบริการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนกับมหาวิทยาลัยได้ทั้งหมด ด้วยเหตุผล เช่น ปัญหาการเดินทาง, ปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ดังนั้น งานบริการวิชาการฯจึงขอความร่วมมือกับบุคลากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพผู้สูงอายุจากคณะพยาบาลศาสตร์…

งานบริการวิชาการฯร่วมระดมความคิดเร่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ บูรณาการงานวิจัย ศิลปวัฒนธรรม งานบริการวิชาการฯ

ผอ.สำนักศิลปะฯ เผย 3 หน่วยงานต้องเกี่ยวก้อยให้ไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยเพื่อใช้ในชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน ผอ.สถาบันวิจัยฯ เชื่อมั่นแผนการดำเนินงานวิจัยบูรณาการฯไปได้สวย เพราะร่วมกันผนึกกำลัง …..ผอ.สำนักศิลปะฯ เผย 3 หน่วยงานต้องเกี่ยวก้อยให้ไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยเพื่อใช้ในชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน ผอ.สถาบันวิจัยฯ เชื่อมั่นแผนการดำเนินงานวิจัยบูรณาการฯไปได้สวย เพราะร่วมกันผนึกกำลัง …..เมื่อเวลา 11.00 น. (4 ธันวาคม 2560) ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี โดยมี ผศ.อภิชาติ พัฒนวิริยะพิศาล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และ อาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมคณะ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ …..โดยผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวถึงผลการประชุมในโครงการ RETREAT สู่การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ที่จัดขึ้น ณ โรงแรมโวค รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.กระบี่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทราบสภาพปัญหา…

ผช. อธิการดีฝ่ายบริการวิชาการฯแทคทีมสนง. ป้องกันภัยสุราษฎร์ธานีฯร่วมด้วยตร. ขุนทะเลbreak! สถิติพื้นที่เสี่ยงภัยอุบัติเหตุด้วยจำกัดความเร็วเท้าผีมือลั่น!!!

…..เผยมติที่ประชุมทุกจังหวัดคัดเลือกเส้นทางเพื่อจัดเซฟตี้โซน สฎ. เล็งถนนแยกเซาท์เทอร์น-แยกบางใหญ่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย(nack) …. ดร. สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการได้ร่วมประชุมหารือร่วมกับสำนักงานป้องกันภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีและตำรวจภูธรขุนทะเลพร้อมด้วยแขวงการทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้แทนจากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ภาคประชาชน และผู้ประกอบการรถขนส่งมวลชนฯ เกี่ยวกับแนวทางในการจำกัดความเร็วในพื้นที่ชุมชนขุนทะเลของรถบรรทุก และยานพาหนะทั่วไป ณ ห้องผดุงชาติ อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..โดยดร. สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เผยว่า “เนื่องจากสถิติอุบัติเหตุของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปริมาณสูงและยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กรมขนส่งทางบกได้ตั้งไว้ รัฐบาลจึงมีมติให้ทุกจังหวัดคัดเลือกเส้นทางเพื่อจัดเซฟตี้โซน โดยมอบให้สำนักงานป้องกันภัยจังหวัดเป็นเจ้าเรื่อง และจากการพูดคุยได้ข้อสรุปว่าถนนแยกเซาท์เทอร์น-แยกบางใหญ่ เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยทางท้องถนนโดยมีสถิติอุบัติเหตุในปริมาณสูง ซึ่งมีสาเหตุสำคัญคือการไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรโดยเฉพาะเรื่องการจำกัดความเร็วในพื้นที่ชุมชน” …..ที่ประชุมจึงมีมติให้ดำเนินการเรื่องการตรวจจับความเร็วอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2560 ถึง 15 มกราคม 2561 สำนักงานขนส่งจะร่วมกับตำรวจภูธรขุนทะเลจะทำการตรวจจับความเร็วตามกฎหมาย โดยจะเป็นการตรวจจับเพื่อตักเตือนก่อนในเบื้องต้น หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการตรวจจับอย่างจริงจังต่อไป …..ผู้ช่วยได้กล่าวทิ้งท้ายของการสัมภาษณ์ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน และโดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยด้วยแล้ว มหาวิทยาลัยมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะใช้ทุกสรรพกำลังในการทำให้สังคมนี้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอย่างที่สุด เราพร้อมที่จะร่วมมือกับพี่น้องในทุกเรื่องในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมการประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย: ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ครั้งที่9

…..วันนี้เวลา 10:00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ร่วมกับทีมงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทีมงานคณะครุศาสตร์ ได้เข้าร่วมรับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานเปิดงานประชุมและนิทรรศการทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ครั้งที่ 9/2560 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาเขตสระบุรี …..โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำโครงการการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่บ้านน้ำราด อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี มาจัดแสดง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพื่อขยายพันธ์ุกล้วยไม้ประจำถิ่น การศึกษาเกี่ยวกับต้นหยาดน้ำค้าง การศึกษาสารสะกัดจากผักตบชวาเพื่อกำจัดลูกน้ำ รวมทั้งการศึกษาชาติพันธุ์ของชาวไทยทรงดำอีกด้วย ทั้งนี้ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านธีระ อนันตเสรีวิทยา ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมชมนิทรรศการของมหาวิทยาลัยด้วย …..ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับประเด็นการศึกษาในปีถัดไปว่า น่าจะมีการศึกษา “มะพร้าว” อย่างจริงจังแบบรอบด้าน โดยใช้ศาสตร์ต่างๆเข้าไปบูรณาการศึกษา ทั้งนี้เพราะมะพร้าวเป็นพืชสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวสุราษฎร์ธานีมาอย่างยาวนาน โดยประเด็นนี้ฝ่ายบริการวิชาการฯจะได้นำกลับไปหารือเพื่อหาแนวทางในการศึกษาต่อไป …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินโครงการสนองงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วยความมุ่งมั่น และนับเป็นเกียรติยศอันสูงสุดที่ได้ทำงานสนองงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พวกเราจะทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ โดยมีเป้าหมายคือ สนองงานพระองค์ท่านในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน/ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บริการวิชาการฯ มรส. รือเกี่ยวกับหลักสูตรและกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถาบันการศึกษา

…..ฝ่ายบริการวิชาการฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ได้หารือร่วมกับ ผศ.พรวิไล อุ้ยดำรงธรรม ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภายใน และอาจารย์ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์ ผู้แทนจากคณะนิติศาสตร์ เพื่อหารือเกี่ยวกับหลักสูตรและกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถาบันการศึกษา …..การหารือได้ข้อสรุปว่า ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์  ผศ.พรวิไล อุ้ยดำรงธรรมและอาจารย์ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์ จะเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการในการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถาบันการศึกษา ในวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2560 ณ ห้องแกรนด์บอลลูม โรงแรมริชมอนด์ กรุงเทพมหานคร โดยได้เตรียมประเด็นเกี่ยวกับหลักสูตรและกิจกรรมไว้ 3 ส่วนคือ กิจกรรมในรายวิชากลุ่มวิชาพื้นฐาน การอบรมให้ความรู้กับอาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย กิจกรรม anti corruption : Young Turks และจะนำเสนอในที่ประชุมดังกล่าว …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆอย่างหลากหลายกิจกรรม เราพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคมให้เป็นสังคมที่น่าอยู่และมีความสุขในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ เร่งติดตามเชิญแกนนำชุมชนร่วมหารือสร้างแบรนด์ มติชัดเจน “ขุนเล”มาแรงเป็นเอกลักษณ์ไร้คู่แข่ง

ด้าน UBI ร่วมแจมสร้างแบรนด์หนุนงบฯ หวังเปิดช่องทางการตลาดชุมชนขุนทะเลโตขึ้นอยู่ได้ด้วยตนเอง ส่วนสายแข็งด้านธุรกิจค้าปลีกกำหนดจัดอบรมระบบ Online – Offline ดีเดย์ 14 ก.พ.61 …..เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดประชุมหารือแกนนำชุมชนตำบลขุนทะเล ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อติดตามการดำเนินงานในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 เนื่องจากมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 ให้แกนนำหมู่บ้านและคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ในชุมชนท้องถิ่นและเสริมสร้างช่องทางการตลาดโดยการอบรมตลาด Online และ Offline พร้อมทั้งเสนอชื่อผู้เข้าอบรมจัดทำเว็บไซต์หมู่บ้านละ 2 คน …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการฝ่ายบริการวิชาการ ประธานที่ประชุมได้เผยว่า อยากให้แกนนำชุมชนและมหาวิทยาลัยร่วมกันระดมความคิดในการสร้างแบรนด์และโลโก้ พร้อมทั้งช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยให้พิจารณาของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการแปรรูปผลิตผลที่ในชุมชน ซึ่งผู้ช่วยอธิการบดีฯให้ข้อคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า การจัดทำแบนด์หรือโลโก้จะต้องสื่อถึงบริบทของชุมชนท้องถิ่นให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคจดจำได้ง่าย อีกทั้งผลิตผลที่ต้องการแปรรูปต้องมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของตลาดหรือไม่ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะดำเนินการช่วยเหลือในเรื่องของการแปรรูปการให้ความรู้อบรมเชิงปฏิบัติการเพราะมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว ในส่วนของการทำบรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาดก็เช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือในการคิดค้นออกแบบเทคนิควิธีการทำอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน นอกจากนี้ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจหรือ UBI ผู้มีหน้าที่ดำเนินการในการสร้างแบรนด์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความต้องการของชุมชน…

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการระดมตัวแทนหน่วยงานเร่งหารือมาตรการแก้ปัญหาขยะ

พร้อมเสนอทางออกให้มหาวิทยาลัย ชี้ชัด 4 หน่วยงานต้องร่วมด้วยช่วยแก้ วางแผนปรับจุดทิ้งเพิ่มชุดถังฯ หนุนแคมเปญรณรงค์สร้างจิตสำนึกนศ. ทิ้งให้ตรงถังแยกให้ตรงประเภท หวังเป็นโมเดลต่อยอดให้กับชุมชนอื่นๆ …..เมื่อเวลา 14.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมหารือเรื่องการบริหารจัดการขยะเพื่อต่อยอดสู่พื้นที่ชุมชนขุนทะเล ณ ห้องประชุมวิภาวดี ชั้น 2 อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ทั้งนี้ได้มีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองพัฒนานักศึกษา กองอาคารสถานที่ฯ ฝ่ายสื่อสารองค์กร และตัวแทนจากตำบลขุนทะเลเข้าร่วมประชุมและระดมความคิดเห็น …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ประธานที่ประชุมได้เผยว่า จากกรณีปัญหาการบริหารจัดการขยะที่ยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนนั้น ได้ทราบในเบื้องต้นจากประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เบื้องต้นมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับชาวบ้านในการแก้ไขในระยะแรกแล้ว …..ผศ.พจนีย์ สุวัฒนานุกร รองผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ ได้ชี้แจงว่า มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดตั้งถังขยะแบบแยกประเภทของขยะไว้ในแต่ละจุดคือ ถังขยะแห้ง หรือขยะที่นำมารีไซเคิลได้ เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก เป็นต้น ถังขยะเปียก คือ ขยะที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ใบไม้…

มรส.ร่วมการเตรียมการประชุมร่วมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้11จังหวัด

…..วันนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปประชุมการ  เตรียมการประชุมร่วมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ 11 จังหวัด ร่วมกับผู้แทนจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดยท่านรองฯประเวศ ไทยประยูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..โครงการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่เสนอกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้คือ โครงการ GOLDEN HUB ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมี 3 ยุทธศาสตร์เป็นตัวคุมคือ การศึกษาและพัฒนาลุ่มน้ำตาปี การศึกษาและพัฒนาพื้นที่สองฝั่งทะเล และการศึกษาและพัฒนาประตูสู่ภาคใต้ ซึ่งจะมีคณะกรรมการพิจารณาข้อมูลจากทั้ง 11 จังหวัด เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร …..จากนั้นในช่วงบ่ายดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีและ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อร่วมหารือกับทีมงานศูนย์บริการวิชาการ นำโดย รศ.ดร.มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เกี่ยวกับประเด็นโครงการจัดตั้งสำนักบริการวิชาการฯ แนวทางในการบริการวิชาการเพื่อสังคม และนัดหมายการประชุมเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำซึ่งจะจัดขึ้นที่…

End of content

End of content