มรส. ร่วมกับการท่องเที่ยวและกีฬา จ.สุราษฎร์ธานี แนวทางการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว 65 จ.สุราษฎร์ธานี

การจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว 65 แหล่งใน จ.สุราษฎร์ธานี …..วันนี้ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่นได้เดินทางมาร่วมหารือเบื้องต้นกับทีมงานของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.สุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว 65 แหล่งใน จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ จ.สุราษฎร์ธานี และเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระชนมายุครบ 65 พรรษา …..การหารือได้ข้อสรุปว่า ควรแบ่งประเภทแหล่งท่องเที่ยวตามการแบ่งของกรมการท่องเที่ยวซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 5 ประเภท โดยมุ่งเน้นว่าเว็บไซต์จะต้องมีความเคลื่อนไหวและสามารถใช้งานได้ตลอด โดยมีผู้ดูแลเป็นคนในพื้นที่ที่สามารถอัพเดทข้อมูลได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับแนวทางที่มหาวิทยาลัยได้ตั้งต้นแนวความคิดไว้คือ การคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถในท้องถิ่น มาฝึกอบรมการจัดการเว็บไซต์ที่มหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถเป็นผู้ดูแลระบบได้ด้วยตนเอง …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำทุกสรรพกำลังที่มหาวิทยาลัยมีเพื่อร่วมกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้อง เราพร้อมที่จะเดินหน้าอย่างสุดกำลังเพื่อสร้างแผ่นดินนี้ให้มีพลังสมดังที่เราตั้งปณิธานว่า เราคือมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน อาซีด ทิ้งปากถ้ำ  รายงาน ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ คล้องแขน ผอ.วิทยฯ ผุดโครงการทำเว็บไชต์ แหล่งท่องเที่ยว 65 แห่ง

ชี้ชัด! ราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ต้องตอบโจทย์การพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราโชบายระยะ 20 ปี เมื่อเวลา 10.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ อาจารย์ สมพร ศรีอาภานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้แก่ ตัวแทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ฝ่ายสื่อสารองค์กร และเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ร่วมประชุมหารือเพื่อจัดทำเว็บไซต์ แหล่งท่องเที่ยว 65 แห่ง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องผู้อำนวยการ อาคาร ทีปังกรรัศมีโชติ ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผยว่า ตามที่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งประเทศได้ข้อสรุปว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏควรเป็นหัวเรือใหญ่ ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภาคใต้มีภูมิประเทศที่มีจุดเด่นและได้เปรียบกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากมีชายฝั่งทะเลที่ยาวเหมาะกับการพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก จึงอยากสนับสนุนเรื่องการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและเพื่อเป็นการตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”การประชุมในวันนี้ มุ่งเน้นการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยวจำนวน 65 แห่ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยให้ศูนย์คอมพิวเตอร์ขับเคลื่อนในเชิงเทคนิค เช่นการวางรูปแบบเว็บไซต์ การประสานเรื่องวัสดุอุปกรณ์ และการสังเคราะห์งบประมาณ [“ขอให้เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์วิเคราะห์งบประมาณเรื่องการซื้อ server…

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ รุดดูสถานที่การแสดงมหรสพ พิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9

…..ร่วมหารือกับแม่งานทุกภาคส่วน เผยการแสดงต้องออกมาสมบูรณ์และงดงามที่สุด ด้านผอ.สำนักศิลปะฯ เน้นหนักการแสดงในสถานที่จริงต้องช่วยกันจัดระเบียบและดูแลทุกฝ่าย …..เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 24 ตุลาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วย ดร.พลกฤต แสงอาวุฒิ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปตรวจดูสถานที่การแสดงมหรสพ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 (วันที่ 26 ตุลาคม 2560) ซึ่งการแสดงดังกล่าว จะจัดขึ้นที่ ณ วัดกลางใหม่ ตำบลมะขามเตี้ย จังหวัดสุราษฎร์ธานี …..โดยได้ร่วมหารือกับคณะดำเนินงาน อันได้แก่ นายอนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม นายฉลองชัย โฉมทอง อาจารย์ผู้ฝึกซ้อมวงดนตรีซิมโฟนี่และออเครสตรา ตัวแทนจากโรงเรียนและการแสดงหนังตะลุงจากหนังแท่นศิลป์ผ่องแก้ว …..ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวถึงสถานที่จริงการแสดงมหรสพ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 26 ต.ค.นี้ “เราได้ร่วมประชุมและหารือเรื่องสถานที่ที่ใช้ในการแสดง เป็นเวทีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถรองรับกับนักแสดงจำนวนมาก จากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะการแสดงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมกับทุกภาคส่วน มีทั้งหมด…

มรส.ร่วมงานพิธีซ้อมมหรสพเพื่อจัดแสดงในพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9

…..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เตรียมความพร้อมซ้อมใหญ่มหรสพ ส่งพ่อหลวงของแผ่นดิน เสด็จสู่สวงสวรรค์ ด้านครูอ๊อด หัวเรือใหญ่สำนักศิลปะฯ เผย ซาบซึ้งใจในความเป็นจิตอาสาของเครือข่ายชุมชน …..เมื่อเวลา 09.00 น. (22 ตุลาคม 2560) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดพิธีซ้อมใหญ่มหรสพที่จะจัดแสดงในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดย กิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้น ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์) ทั้งนี้ได้มี นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ตัวแทนของมหาวิทยาลัยฯ และคณาจารย์จากโรงเรียนต่างๆในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมชมการซ้อมการแสดงดังกล่าวด้วย …..ด้าน นายอนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้กล่าวถึงความรู้สึกการซ้อมใหญ่มหรสพในวันนี้ “วันนี้นับเป็นนิมิตรหมายของการแสดงมรสพ เนื่องในวันงานถวายดอกไม้จันทน์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทุกคนมาด้วยจิตอาสา ไม่มีงบประมาณหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งต้องขอขอบพระคุณ น้องๆ คณาจารย์ และศิลปินพื้นบ้านทุกท่านที่มารวมตัวกัน…

นศ.จิตอาสาร่วมกับงานบริการวิชาการฯ ผนึกกำลังพัฒนาโรงเรียนชุมชนท้องถิ่น เผยเคยเป็นผู้รับก็ควรเป็นผู้ให้

…..นักศึกษาจิตอาสา มรส. พร้อมด้วยงานบริการวิชาการฯ เดินหน้าตามเจตนารมณ์ ปัดฝุ่น ทาสี สร้างสื่อการเรียนการสอน ให้โรงเรียนในชุมชนท้องถิ่นอำเภอบ้านตาขุนเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2560 นักศึกษาจิตอาสาร่วมกับงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดกิจกรรมจิตอาสา ทำสื่อการเรียนการสอน BBL ณ โรงเรียนบ้านพัฒนา ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี …..ซึ่งนายนิธิเกียรติ ผู้นำนักศึกษาจิตอาสาได้กล่าวว่า “พวกเรามีแรงบันดาลใจคิดที่จะตั้งกลุ่มนักศึกษาจิตอาสา โดยได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษา ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ซึ่งท่านอาจารย์ได้ให้แนวความคิดว่า ถ้าจะทำก็ต้องทำกันอย่างจริงจัง และชุมชนท้องถิ่นต้องได้รับประโยชน์และพัฒนาไปตามลำดับ ดังนั้น เราจึงได้จัดทำแผนการพัฒนาโรงเรียนตามชุมชนท้องถิ่นกว่า 60 แห่ง โดยการเข้าไปพัฒนาฟื้นฟูสื่อการเรียนการสอน BBLเป็นสื่อการเรียนแบบประยุกต์เพื่อให้เข้ากับโรงเรียนหรือความต้องการของโรงเรียนนั้นๆ อย่างเช่น สนามเด็กเล่นBBL หรือ ลานกิจกรรม BBL ซึ่งจัดสร้างให้กับนักเรียนระดับประถมฯและระดับมัธยม สำหรับสิ่งที่คาดหวังของเรา คือการได้เห็นเด็กๆวิ่งเล่น และใช้สื่อการเรียนของเราอย่างมีความสุข” …..ในส่วนของตัวแทนนักศึกษา ผู้ร่วมกิจกรรมพัฒนาโรงเรียนในชุมชนท้องถิ่น ได้กล่าวว่า “โครงการนี้เราถือว่าเป็นโครงการโรงเรียนในฝัน เพื่อเป็นสิ่งที่จะบ่งบอกว่าเราสามารถสร้างความฝันให้กับน้องๆนักเรียน โดยแต่ละแห่งก็จะแตกต่างกับไปตามบริบทของโรงเรียน เช่น โรงเรียนที่อยู่ติดกับทะเล เราก็จะจัดทำสื่อการเรียนเป็นพวกสัตว์ทะเล กุ้ง หอย…

งานบริการวิชาการฯ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ โครงการประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏกับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

…..งัด! โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอกสัก – เกาะพลวย สนับสนุนยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายระยะ 20 ปี …..เมื่อเวลา 08.30 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดแสดงนิทรรศการในโครงการประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏกับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยโครงการฯดังกล่าวเป็นไปตามยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม […..ทั้งนี้ งานบริการวิชาการฯได้นำเอาผลงานในโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอกสัก – เกาะพะลวย ซึ่งเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น ด้วยการประชาสัมพันธ์สร้างเว็บไซต์ ให้ความรู้และสนับสนุนสินค้าของชุมชนท้องถิ่น พร้อมกันนี้ งานบริการวิชาการฯได้นำคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยว,จุลสารบริการวิชาการ และแผนที่แนะนำเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวมาแจกให้ผู้ที่เข้าชม นอกจากนี้ยังได้นำเอางานหัตถกรรมในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียงมาแสดงและจัดจำหน่ายอีกด้วย …..ด้าน ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้กล่าวถึงเจตนารมย์ของการจัดโครงการดังกล่าวว่า “การดำเนินงานในวันนี้มีประเด็นหลัก 3 ส่วน คือ 1. มีการประชุมของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ซึ่งเป็นงานที่ร่วมกันกับทุกฝ่ายโดยการมานำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ของการบริหารงานประเทศ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ…

ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ประกาศชัด! กลางประชาคมจังหวัดเคลื่อนที่ ชุมชนท้องถิ่นคือหัวใจของ มรส.

…..ชี้โครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุขฯ มีส่วนขับเคลื่อนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ด้อยโอกาส เน้นย้ำชุมชนท้องถิ่นอยากให้ช่วยเหลือในเรื่องใด มรส.จะไปตามคำร้องขอ หวังแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา ตามปณิธานมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 07.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะนิติศาสตร์ สื่อสารองค์กร และศูนย์ภาษาฯ ได้เดินทางไปร่วมจัดบูธนิทรรศการในโครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้หน่วยงานของมหาวิทยาลัยฯได้มีการจัดกิจกรรมเล่นเกมส์ทายปัญหา และรับปรึกษาให้ความรู้เรื่องกฏหมาย พร้อมทั้งการให้ความรู้ด้านช่องทางการตลาดซื้อ – ขายออนไลน์ …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการร่วมโครงการฯว่า ตามที่จังหวัดร่วมกับหน่วยงานในภาครัฐ และภาคเอกชน มีวัตถุประสงค์หลักของการจัดโครงการครั้งนี้ คือ 1. การมอบทุนให้กับเด็กนักเรียนและประชาชนผู้ด้อยโอกาสเพื่อเป็นทุนการศึกษาและใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 2. เพื่อมอบเกียรติบัตรให้กับบุคคลที่ทำคุณประโยชน์และความดีต่อสังคม 3. เพื่อมอบเครื่องอุปโภค – บริโภค ให้ผู้สูงอายุ 4. ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เช่น เกษตรกรรม, อุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตผลทางการเกษตร…

งานบริการวิชาการฯ มรส. นำนศ.จิตอาสา รวมใจทำเพื่อพ่อ ทาสี กวาดพื้น วัดกลางใหม่ ถวายเป็นพระราชกุศลครบ 1 ปี สวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 9

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผยนำนักศึกษาจิตอาสา มรส.รวมพลังทำความสะอาด ทาสีศาลาการเปรียญ ย้ำราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ต้องร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นอย่างเต็มกำลัง …..เมื่อเวลา 09.00 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยกองพัฒนานักศึกษา นำทีมตัวแทนนักศึกษาจิตอาสา จำนวนกว่า 50 คน ร่วมทำความสะอาดวัดกลางใหม่ ซึ่งวัดดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งพระเมรุมาศจำลองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย หน่วยงานทุกภาคส่วน ได้พร้อมใจกันทำความสะอาด กวาดพื้นที่บริเวณวัด และร่วมกันทาสีรอบๆ ศาลาการเปรียญ …..ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมครั้งนี้ว่า “วันนี้ เป็นวันครบรอบ 1 ปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคต ซึ่งประชาชนทั้งประเทศร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสา และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีก็เช่นเดียวกัน “เราได้นำนักศึกษาร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนทำความสะอาดกวาดพื้นบริเวณวัด และช่วยกันทาสีศาลาการเปรียญวัดกลางใหม่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดนิทรรศการสำหรับงานพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะเป็นที่เป็นมหา วิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นและปวารณาตนเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน เพราะฉะนั้นเราจึงพยายามมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและจังหวัด เมื่อทางจังหวัดร้องขอมหาวิทยาลัยฯมีความยินดีที่ร่วมกิจกรรมดังกล่าวและที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลครบ 1 ปี สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9”…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประชุมชี้แจงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ITA)

…..รักษาราชการแทนอธิการบดี ชี้ราชภัฏสุราษฎร์ธานีทำหน้าที่พี่เลี้ยงผู้ประเมินฯยันช่วยเหลืออย่างกัลญาณมิตร หวังผลลดการคอรับชั้น เน้นคุณธรรมความโปร่งใสให้ภาครัฐ …..เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กำหนดจัดประชุมชี้แจงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Integrity & Transparency Assessment: ITA) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี พ.ศ. 2560 ณ ห้อง GA 101 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..รศ.ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี ประธานในพิธีเปิดการประชุม ได้กล่าวต้อนรับตัวแทนองค์กรฯผู้เข้าประชุมและเปิดเผยถึงการดำเนินงานประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ITA) ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้รับมอบหมาย ให้เป็นผู้ดูแล ให้คำปรึกษาขั้นตอนและกระบวนการประเมิน ITA ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อลดปริมาณการทุจริตคอรัปชั่น และมุ่งเน้นให้การปฏิบัติงานในภาครัฐมีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ ตลอดจนการปฏิบัติงานที่ยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณ โดยได้กำหนดเป็นกรอบแนวคิดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และสังเคราะห์เป็นดัชนีหลักที่สำคัญ จำแนกดัชนีเป็นตัวชี้วัด ตัวชี้วัดย่อย ประเด็นในการสำรวจ และแปลงไปสู่คำถามที่ใช้ในการสอบถามความคิดเห็นหรือรวบรวมจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานของหน่วยงาน โดยใช้เครื่องมือวัด 3 ส่วน ได้แก่ 1. แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence – Based 2….

งานบริการวิชาการฯ จัดประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมการประเมิน ITA จังหวัดสุราษฎร์ธานี

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เน้นย้ำทีมกรรมการประเมินฯตรวจสอบเอกสารทุกระบบให้ละเอียดป้องกันปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณ และยึดเงื่อนไขใหม่ตรวจสอบการเก็บเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 9 ตุลาคม 2560 ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อการจัดประชุมชี้แจงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Integrity & Transparency Assessment: ITA) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี พ.ศ. 2560 ในวันที่ 11 ตุลาคม 2560 ณ ห้อง GA 101 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ประธานที่ประชุม ได้เปิดเผยถึงการเตรียมการจัดประชุมดังกล่าวว่า งานบริการวิชาการฯเน้นย้ำให้ทีมกรรมการผู้ประเมินดำเนินการตรวจสอบเอกสารการประเมินทุกขั้นตอนให้ละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณและในส่วนของการตรวจสอบเอกสารแบบสำรวจฯกำหนดให้ใช้เงื่อนไขการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน …..ด้าน นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ชี้แจงกำหนดการในการประชุมดังกล่าวว่า การประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมเพื่อจัดประชุมการประเมิน ITA ในวันที่ 11 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ควรให้กรรมการประเมินฯและเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการต่างๆและขั้นตอนการจัดเก็บเอกสารและการจัดทำรายงานประเมินฯ ทั้งนี้…

End of content

End of content