อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการฯ เปิดเกมส์รุกไตรมาสแรก จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเมื่อเวลา 08.00 น.(29 ตุลาคม 2563) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ณ ห้องประชุมศรีวิชัย ชั้น 3 อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงแนวทาง ข้อปฏิบัติ และระเบียบต่างๆในการดำเนินโครงการทุกโครงการและกิจกรรม โดยวิทยากรผู้เชี่ยว คือ ดร.วิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร คุณอุไร ส้มเกลี้ยง ผู้เชี่ยวชาญด้านงานแผนและงบประมาณ และ คุณภุมรี ก้องศิริวงศ์ ผู้อำนวยการกองคลัง นอกจากนี้ คุณอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ชี้แจงและให้ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมพิจารณากรอบการลงพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการบริการวิชาการและบันทึกข้อความร่างคำสั่งคณะกรรมการดำเนินโครงการพร้อมทั้งการรายงานผลการดำเนินโครงการทุกโครงการด้วย

โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการฯ ร่วม “1 ตำบล 1 ถนนกินได้ปลอดภัยไร้สารพิษฯ”

เมื่อเวลา 09.30 น. (22 ตุลาคม 2563) นายอรุณ หนูขาว รักษาการผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ ได้เดินทางไป ณ ถนนซอย 3 ศาลาประชุมหมู่ที่ 7 บ้านใหม่นิคม ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเข้าร่วมโครงการ“1 ตำบล 1 ถนนกินได้ปลอดภัยไร้สารพิษฯ” ภายใต้การ “น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนการปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” โดยมี นายนพรัตน์ ธำรงทรัพย์ พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งโครงการดังกล่าวมีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมากเช่น หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำกลุ่มองค์กรเครือข่าย และประชาชน ทั้งนี้ได้จัดกิจกรรมให้ประธานในพิธีเปิดป้ายโครงการ และประชาชน พร้อมทั้ง หัวหน้าหน่วยราชการต่าง ๆร่วมปลูกผัก สร้างความมั่นคงทางอาหาร เช่น ชะอม,กล้วย,มะขามและสะเดามาเลย์ เป็นต้น

สุดปลื้ม รางวัลชมเชยประกวดเว็บไซต์ ระดับ “หน่วยงาน สำนัก/สถาบัน ศูนย์ กอง”

เมื่อเวลา 13.00 น.(20 ตุลาคม 2563) ว่าที่ร้อยตรีอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสังกัดโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เป็นผู้แทนเข้าร่วมพิธีมอบโล่รางวัล ณ ห้องประชุม ราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นการประกวดเว็บไซต์ ระดับคณะ และหน่วยงาน ประจำปี 2563 ที่มีผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ให้เกียรติเป็นผู้มอบรางวัลในการประกวดดังกล่าว ซึ่งโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้รับรางวัลชมเชย การประกวดเว็บไซต์ระดับ “หน่วยงาน สำนัก/สถาบัน ศูนย์ กอง” โครงการขับเคลื่อนอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยวิธีของ Webometrice Ranking of World University ) ประจำปี 2563ซึ่งคณะทำงานได้ตั้งเป้าว่าในปีต่อไป โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นจะขับเคลื่อนกลไกและยกระดับพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารทางระบบออนไลน์ให้ประชาชนเข้าถึงมากขึ้น

โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2563

เมื่อเวลา07.30 น. (17 ตุลาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดขบวนแห่องค์กฐิน ไปยังวัดภูธรอุทิศสิทธาราม โดยมีขบวนกลองยาว ซึ่งเริ่มเดินแห่จากด้านหลังอาคารสำนักงานอธิการบดี ทั้งนี้ มีผู้บริหารของมหาวิทยาลัย และบุคลากรจากหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดี และบุคลากร นักศึกษาจากคณะต่างๆ พร้อมทั้งผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมขบวนแห่องค์กฐินของมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก

ปฏิบัติการฯ ดุเดือด! รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์ เผย มรส. เปรียบเสมือนเรือใหญ่ที่ต้องผ่านช่องแคบ

เตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึง พึงระวังหลักสูตรที่มีนักศึกษาน้อย ปิดแน่ถ้าไม่คุ้มทุน ย้ำให้บุคลากรปรับตัวเป็นคนจน ดีกว่ารักษาภาพความร่ำรวย ด้านปรมาจารย์ด้านศาสตร์พัฒนาท้องถิ่นแบ่งกลุ่มถอดบทเรียนทบทวนผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการพัฒนาท้องถิ่น วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.00 น. การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถอดบทเรียนผลการดำเนินงานและจัดทำจุลสารบริการวิชาการ ได้ดำเนินการต่อเป็นวันที่ 2 โดยมีผศ.ดร.ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์ และคุณวีณา นวลละออง เป็นวิทยากรบรรยายเรื่องแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในช่วงเช้า โดยรองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์ ได้เปิดเผยถึงการบริหารจัดการงบประมาณที่ต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ตลอดเวลา เช่นสถานการณ์แพร่เชื้อ covid – 19 ซึ่งไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อเทศทุกด้าน และที่สำคัญคือด้านการจัดการงบประมาณ ดังนั้นอยากให้ทุกคนตระหนักถึงการใช้งบประมาณให้คุ้มค่าตรงเป้าหมายให้มากที่สุด และให้คิดว่าต้องปรับตัวให้เป็นคนจนมีความพอเพียงดีกว่ารักษาสภาพความร่ำรวย เพราะ ณ ขณะนี้มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนเรือใหญ่ที่ต้องผ่านช่องแคบเล็กๆ ในช่วงบ่ายของการอบรมเชิงปฏิบัติการฯได้มีการจัดกิจกรรมถอดบทเรียนและทบทวนผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการด้านพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบาย โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตชด. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยมีผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด และอาจารย์สมชาย สหนิบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิที่คร่ำหวอดด้านศาสตร์การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยให้แบ่งกลุ่มนำเสนอในแต่ละโครงการตามหัวข้อผลการดำเนินงานและโครงการต่อยอดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด…

มรส.รวมสรรพกำลังหัวกะทิครั้งยิ่งใหญ่ จัดอบรมปฏิบัติการจัดทำแผนฯ ถอดบทเรียนผลการดำเนินงานบริการวิชาการ

ผู้บริหารมรส.ต่อคิวจับไมค์อบรมเชิงปฏิบัติการ เชื่อมั่นยกระดับศักยภาพด้านการพัฒนาท้องถิ่น การบูรณาการศาสตร์ พร้อมสร้างความเข้าใจระเบียบการจ่ายงบประมาณ ด้านอธิการบดีชูศาสตร์พระราชา “เข้าใจตนเอง เข้าถึงตนเอง ค้นพบแนวทางการแก้ไขปัญหา” วันนี้ เวลา 08.00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถอดบทเรียนผลการดำเนินงานและการจัดทำจุลสารบริการวิชาการ ระหว่างวันที่ 2 – 4 กรกฎาคม 2563 ณ ประสานสุข วิลลา บีช รีสอร์ท อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้คณะทำงานได้ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยโดยมีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้แทนจากคณะต่าง ๆ ผู้มีพันธกิจดำเนินงานบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่นร่วมเดินทางด้วย เช่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะพยาบาลศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนา โดย ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการเเทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยฯ ได้กล่าวว่า วันนี้ได้น้อมนำพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 10 มาอภิปรายเชิงอบรมปฏิบัติการ โดยมีใจความว่า การมีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง การมีพื้นฐานชีวิตที่ดีและเข้มแข็ง การมีอาชีพมีงานทำ และการเป็นพลเมืองที่มีระเบียบวินัย…

งานบริการวิชาการฯ เดินขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแหล่งเรียนรู้ ทรัพยากรธรรมชาติ “ทุ่งตาหนอน”

วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2563 เวลา 07:30 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับสาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์  ลงพื้นที่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองงานโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ บ้านทุ่งตาหนอน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อพ.สธ.-สฏ.) ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดี ฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ได้มอบหมายให้ นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการอพ.สธ.-สฏ. ร่วมสนองงานโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ด้านนายอรุณ หนูขาว ได้กล่าวถึงการพัฒนาพื้นที่แปลงที่ 10 แปลงป่าอนุรักษ์ พื้นที่ 5 ไร่ตามโครงสร้างป่า 4 ชั้น และการพัฒนาภูมิทัศน์บริเวณรอบๆแปลงป่าอนุรักษ์ ในการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานอดิสรณ์ เนาวโคอักษร อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รูปภาพ

รองฯฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์นำทีมหารือแผนดำเนินงานร.ร.ตชด.ระยะที่ 2 ประกาศเน้นย้ำต้องให้ความสำคัญทุกกระบวนการ

เผยอยากให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมมือระดมความคิดเห็นและร่วมพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไปด้วยกันเพราะอยากเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคณะกรรมการดำเนินงาน เมื่อเวลา 10.00 น. (8 มิถุนายน 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นจัดประชุมหารือคณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีคณะกรรมการจากคณะทำงานเข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนแผนการดำเนินงาน เช่น คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หอสมุดกลางสังกัดสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะทำงานของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดยรองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าผลเกณฑ์การประเมินของบางโรงเรียนที่อยู่ในระดับทองแดงเกิดจากสาเหตุจึงให้คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโรงเรียนดังกล่าวชี้แจงซึ่งได้ข้อชี้แจงว่าประการแรกต้องเข้าใจถึงบริบทของโรงเรียน เช่นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนส่งเสริมการดำเนินงานมากน้อยเพียงใด และครูประจำชั้นได้รับการอบรมในโครงการต่างๆที่มหาวิทยาลัยเปิดอบรมบ้างหรือไม่ ซึ่งอาจารย์ใหญ่ หรืออาจารย์บางท่านเพิ่งย้ายมากำกับการสอนซึ่งเป็นบริบทนอกเหนือการควบคุม นอกจากนี้ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ได้เสนอให้มีการจัดทำแผนนิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนโดยแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นปัจจุบันเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานและเพื่อเสริมสร้างศักยภาพที่เข้มแข็งพร้อมดำเนินการตรวจเยี่ยมนิเทศโรงเรียนได้ทันที ทั้งนี้จะดำเนินการจัดประชุมหารือในวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2563 อีกครั้ง ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะได้กรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนเพราะให้คณะกรรมการจัดเตรียมแผนการดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมศักยภาพโรงเรียนตชด.ของแต่ละท่านมาพิจาณาและหาข้อสรุปที่ไม่ประสบปัญหามากที่สุด นอกจากนี้ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าอยากฝากให้คณะกรรมการทุกท่านให้ความสำคัญกับโครงการเพราะเป็นภาพลักษณ์ที่แสดงถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัย การเอาใจใส่ทุกกระบวนการจะทำให้การดำเนินงานไม่เกิดปัญหาใดๆและเป็นการสื่อสารให้โรงเรียนตชด.ทราบว่ามหาวิทยาลัยมีความทุ่มเทและจริงจังกับการยการกระดับพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนตชด. ด้าน นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้กล่าวเสริมว่า การประชุมครั้งต่อไปอยากให้คณะกรรมการกำหนดร่างกิจกรรมในการดำเนินงานมาอย่างน้อยคนละ 1 หลักสูตร เนื่องจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส…

มรส.ร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมหารือผู้แทนชุมชนจัดทำแผนแม่บทพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน

ด้านผู้แทนกลุ่มอนุรักษ์การท่องเที่ยวตอบรับสนับสนุนร่วมแสดงความคิดเห็นหาแนวทางกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพสูงสุด เมื่อเวลา 09:00 น. (วันที่ 4 มิถุนายน 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีกำหนดจัดประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมศรีวิชัย อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นการประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อให้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามศักยภาพและความต้องการของชุมชนพร้อมทั้งสามารถขับเคลื่อนและเชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวระหว่างสุราษฎร์ธานีและพื้นที่เป้าหมายอื่นได้โดยมีตัวแทนกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จากพื้นที่ชุมชนต่างๆ เช่นชุมชนบ้านยวนสาว ชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง ชุมชนบ้านนางกำ เป็นต้น เข้าร่วมประชุมหารือเป็นจำนวนมาก ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้กล่าวว่า โครงการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นอีกหนึ่งโครงการที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม โดยมหาวิทยาลัยทั้งหมดจะถูกย้ายไปอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม นั่นหมายถึงให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำ เป็นผู้สร้างองค์ความรู้เพื่อตอบโจทย์การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 โดยมีการแยกมหาวิทยาลัยเป็น 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มมหาวิทยาลัยเก่าแก่มีหน้าที่สร้างองค์ความรู้พัฒนาประเทศ 2. มหาวิทยาลัยที่อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า หรือเทคโนโลยีราชมงคลเป็นต้น และกลุ่มที่ 3. คือกลุ่มมหาวิทยาลัยพัฒนาเชิงพื้นที่ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานีอยู่ในกลุ่มดังกล่าวโดยจะมุ่งเน้นในการพัฒนาท้องถิ่นนำองค์ความรู้สู่ชุมชนเพื่อให้ชุมชนยืนหยัดได้ด้วยตนเองในอนาคต มหาวิทยาลัยได้ปรับหลักสูตรให้มีความหลากหลายโดยมีจุดเน้นเพื่อการตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่คือ 1.การจัดการเกษตรคุณภาพ 2.การท่องเที่ยว 3.การสร้างสังคมเป็นสุข 4.ผลิตครูมืออาชีพ และ 5.ระบบโลจิสติกส์ นอกจากนี้อธิการบดีฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอนาคตคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนจะต้องอยู่บนฐานของดิจิตอล ซึ่งมหาวิทยาลัยอยากให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญด้านสื่อเทคโนโลยีมากขึ้นและร่วมกันผลักดันให้มีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบstory…

ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี เดินหน้าเตรียมความพร้อมจัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

เมื่อเวลา 07.00 น. (1 มิถุนายน 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.รัชฏาพร ไทยเกิด ผู้แทนจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และคณะทำงานของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการลงพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี (อพ.สธ.–สฎ.) ณ บ้านทุ่งตาหนอน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระดมสรรพกำลังอาจารย์เดินหน้าขับเคลื่อนการจัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ.-สฏ. โดยได้มีสำรวจพื้นที่ภายในโครงการฯ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการสำรวจข้อมูลดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานจัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ.-สฏ. ตามแนวทางการดำเนินงาน 3 กรอบ 8 กิจกรรมของโครง อพ.สธ. บนฐานทรัพยากร 3 ฐาน คือ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา  กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร ตามกิจกรรมดังนี้ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร 3 กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร…

End of content

End of content