มรส.ระดมสรรพกำลังหัวกะทิ เร่งขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

อธิการบดีฯ เผย จังหวัดสุราษฎร์ธานี หวังให้ มรส.เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ Agritech and Innovation Center (AIC) เพราะเชื่อมั่นองค์ความรู้ที่มีศักยภาพของบุคลากร เมื่อเวลา 13.00 น. (25 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นประสานงานจัดประชุมระดมความคิดขับเคลื่อนโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) ณ ห้องราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้บริหารและประธานหลักสูตรจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมทั้งผู้แทนจากฝ่ายอาคารและสถานที่ และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (UBI) ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวเป็นการขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) โดยให้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องเสนอแนวคิดตามศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีส่วนร่วมในการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวว่าผู้บริหารของมหาวิทยาลัยได้มีการประชุมร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้ข้อสรุปว่าทางจังหวัดฯมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการขับเคลื่อนจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรของจังหวัดสุราษฎร์ธานี…

มรส.เคาะ! แน่ ศูนย์ AIC หวังพัฒนาคุณภาพเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย

ด้านอธิการบดีฯ เผย มรส.เร่งขับเคลื่อนจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชี้เป็นพันธกิจหนึ่งในการรองรับความเปลี่ยนแปลง และตอบโจทย์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เมื่อเวลา 10.00 น. (22 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นดำเนินงานจัดประชุมโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรของจังหวัด สุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) ณ ห้องราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้บริหารและแกนนำชุมชนทั้ง 10 หมู่บ้าน ในตำบลขุนทะเลเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ในสภาวการณ์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยจะต้องมีแผนรองรับการเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น อดีตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สังกัดภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ แต่ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องแสดงศักยภาพในการส่งเสริมพัฒนาการเกษตรกรรม นวัตกรรมสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้นและเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนโดยทางจังหวัดและมหาวิทยาลัยได้ร่วมหารือกันและได้แนวนโยบาย Reinvent หรือการพลิกโฉมให้สามารถตอบโจทย์เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริงควบคู่ไปกับการรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทุกด้าน โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อม 4 ประเด็นคือ 1.เกษตรคุณภาพ 2.ท่องเที่ยวยั่งยืน…

รองอธิการบดี ฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เดินหน้าระดมความคิดหาแนวทางขับเคลื่อนการจัดทำแผนแม่บทโครงการ อพ.สธ.-สฎ.

เมื่อเวลา 10.00 น. (21 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริ โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี (อพ.สธ.-สฎ.) ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุมทั้งนี้การประชุมดังกล่าว ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ได้กล่าวว่าการจัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ.-สฎ. เป็นการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการดำเนินงานและถอดบทเรียนผลการดำเนินงานโครงการ และยกร่าง รับฟังความคิดเห็น จัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ.-สฎ. ระยะ 5 ปีที่ 7 ในพื้นที่บทุ่งตาหนอน ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยดำเนินงานตามแนวทางของ อพ.สธ. ใน 3 กรอบการดำเนินงาน 8 กิจกรรม  ทั้งนี้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวจะเริ่มจัดกิจกรรมตามแผนการดำเนินงาน คือ 1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ  2.จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นแผนแม่บท…

รองฯพันธกิจสัมพันธ์ ติดตามผลการดำเนินงานบริการวิชาการฯ มรส. หวังหลังปลดล็อค COVID–19 เดินหน้าพันธกิจทุกมิติ

ด้านหัวหน้างานบริการวิชาการฯ เผยเตรียมขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เล็งศูนย์ LLC ประสานงานทุกระบบ เมื่อเวลา 10.00 น. (19 พฤษภาคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดยมี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ได้ร่วมประชุมกับคณะทำงานของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นพร้อมทั้งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ คือ ผศ.ดร.ลักษมี ชัยเจริญวิมลกุล โดยมีการติดตามผลการดำเนินงานทุกกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ในแผนหลังจากการมีการประกาศปลดล็อคเป็นที่แน่นอนแล้ว โดยที่ประชุมได้พิจารณาการดำเนินงานทุกมิติ เช่น โครงสร้างการบริหารงานของงานบริการวิชาการฯ การจัดตั้งศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และการยกระดับพัฒนาช่องทางการตลาดด้วยระบบ Ecommerce การต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ 30 ชนิด และการเตรียมลงพื้นที่โครงการ อพ.สธ.เพื่อจัดทำแผนแม่บท ณ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้การเตรียมการรับการประเมินคุณภาพการศึกษาก็เป็นอีกงานที่งานบริการวิชาการฯนำมาอภิปรายในวันนี้โดยให้ความสำคัญกับKPI ที่ต้องรับการประเมิน ด้านหัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ชี้แจงเรื่องการจัดตั้งศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯว่า ตามที่ได้พิจารณาร่วมกับผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเห็นว่า ศูนย์LLC ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองฯ น่าจะใช้เป็นศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ได้เพราะมีทั้งเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่ โดยตามโครงสร้างจะต้องมีเจ้าหน้าที่ประสานงานฝึกอบรม 2 คน และเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน 1 คน…

มรส. รุกช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วย Ecommerce เล็งยกระดับ Coaching ผู้ประกอบการ

รองอธิการบดี เผย เป็นการยกระดับพัฒนาช่องทางการตลาดที่คุ้มค่า ผู้ประกอบการคุ้มทุน ด้านงานบริการวิชาการฯคัดเลือกประชาชนเข้าร่วมอบรมหวังต่อยอดและสามารถเพิ่งพาตนเองได้ เมื่อเวลา 15.00 น. (15 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมหารือการยกระดับพัฒนาช่องทางการตลาดด้วยระบบ Ecommerce ณ ห้องราชพฤกษ์ 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม โดยรองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์กล่าวว่า เนื่องมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานราชการการดำเนินงานทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มการสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานราชการและไม่มีข้อสังเกตจากหน่วยงาน สตง. ดังนั้นจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยช่วยกันพิจารณาเรื่องราคา ความคุ้มค่าของการดำเนินงานดังกล่าว ด้าน ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเปิดเผยว่า จากการที่ได้เห็นบริษัท Vtac นำเสนอกระบวนการทำงานและเทคนิควิธีการสร้างแบรนด์ถือได้ว่ามีความคุ้มค่ามากเพราะใช้ช่องทางการตลาดที่ชัดเจนและวิธีการนำเสนอที่เป็นขั้นตอน โดยเฉพาะการ Coaching ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งเริ่มต้นจากการปูพื้นฐานการสื่อสาร การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ และกระบวนการอื่นๆที่สามารถมองเห็นภาพในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่มีข้อสังเกตเรื่องของระยะเวลาว่าภายในสามเดือนทางบริษัทสามารถ Coaching ให้แก่ตัวแทนผู้ประกอบการได้มากน้อยเพียงใด และหลังจากการฝึกอบรมกระบวนการต่างๆ ทางชุมชนจะสามารถต่อยอดและบริหารจัดการด้วยตนเองได้ตลอดหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามจากการหารือกับทางบริษัท Vtac จะเป็นพี่เลี้ยงให้มหาวิทยาลัยตลอดระยะเวลา 6…

มรส. จัดประชุมโครงการมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง หาแนวทางขับเคลื่อนโครงการพร้อมเตรียมแผนหลังรอรัฐบาลเคาะ ได้ไปต่อหรือล็อคยาว

รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ย้ำทุกคณะทำงานโครงการมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงต้องเตรียมรับสถานการณ์และกำหนดแผนการดำเนินงานในอนาคตให้เป็นระบบและครอบคลุมทุกมิติ เมื่อเวลา 10.00 น. (13 พฤษภาคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็น พี่เลี้ยง(โครงการมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ ห้องราชพฤกษ์ 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีทีมคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว โดยรองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ได้กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการหาแนวทางการปรับแผนดำเนินงานโครงการฯในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 และข้อกำหนดโครงการ(TOR – Term of Reference) เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งมหาวิทยาลัยจะมุ่งเน้นไปที่โรงเรียนมัธยมเพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ของนักเรียนในการศึกษาต่อโดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยในการตัดสินใจศึกษาต่อ ด้านนายอรุณ หนูขาว ได้เปิดเผยถึง การจัดสรรเงินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส.เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 หวังบรรลุตามพระราชปณิธาน

เมื่อเวลา 11.00 น. (12 พฤษภาคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานแผนแม่บทโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 ณ ห้องประชุมงานบริการวิชาการฯ ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานในการประชุม จากเหตุการณ์อุทกภัยภาคใต้เมื่อพฤศจิกายน 2531 เกิดการพังทลายของดินบริเวณยอดเขาและเชิงเขา กระแสน้ำพัดต้นไม้ หิน ทรายและวัสตุอื่นๆ ไหลปะทะบ้านเรือน และทับถมเรือกสวนไร่นาของราษฎรบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธนี เสียหายเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชมารึ กรมพระศรีสว่างควัฒนวรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงมีพระดำริจะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ประสบอุทกภัยให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีอยู่เดิม และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกับปลูกฝังค่านิยมให้กับประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนให้มีจิตสำนึกรักธรรมชาติและช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าให้คงอยู่เป็นมรดกสู่รุ่นหลาน เพื่อให้การบริการจัดการโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 บรรลุตามพระราชปณิธาน ตอบสนองความต้องการของพื้นที่

จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผุดศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ด้านรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เชื่อมั่นสามารถต่อยอดองค์ความรู้ทุกมิติ สร้างผู้ผลิตให้เป็นประกอบการรายย่อย ด้วย E-Commerce หวัง Startup มาตรฐานให้มีคุณภาพมากขึ้น เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมแก่ผลิตภัณฑ์ เมื่อเวลา 13.00 น. (7 พฤษภาคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินจัดประชุมขับเคลื่อนโครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตร และนวัตกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ดร.สมปราชญ์  วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมดังกล่าวจากหลายหน่วยงานต่างๆ เช่น รักษาราชการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยี คณะทำงานจากคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้แทนจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ และทีมงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดยรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ได้ชี้แจงถึงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่า เป็นโครงการจัดตั้งศูนย์เครือข่าย AIC ภายในจังหวัด ศูนย์ดังกล่าวประกอบด้วย  1….

งบว.จัดประชุมโครงการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ Sru Market Place หวังช่วยเหลือปชช.ที่ได้รับผลกระทบการแพร่ระบาด COVID–19

หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นเผยเพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นให้มีรายได้ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า รวมพลังทีมคณาจารย์สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกคณะวิทยาการจัดการ ร่วมระดมความคิด เมื่อเวลา 10.00 น. (5 พฤษภาคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมการดำเนินงานโครงการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ (Sru Market Place) ณ ห้องประชุม   ราชพฤกษ์ 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีนายอรุณ หนูขาว เป็นประธานในการประชุม  ทั้งนี้ ได้มีคณะทำงานของคณาจารย์เจ้าหน้าที่ของสาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ ฝ่ายสื่อสารองค์กร และผู้ประกอบการจากภายนอก เข้าร่วมหาแนวทางในการดำเนินงานการทำสื่อออนไลน์ โดยหัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลการทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด – 19 ในพื้นที่การดำเนินงานโครงการตามพระราโชบายของมหาวิทยาลัย โดยคาดหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการจำหน่ายสินค้าและผลผลิตเพื่อสร้างรายได้ในภาวะวิกฤต ทั้งนี้งานบริการวิชาการฯได้รวบรวมข้อมูลของผู้ประกอบการ ประชาชน และประเภทสินค้า ที่มีความจำนงเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งสินค้าที่นำมาจำหน่ายจะต้องเป็นสินค้าของชุมชนที่ผลิตเองหรือได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมีความเป็นไปได้ในการจำหน่ายให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้กล่าวต่อไปว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด – 19 มหาวิทยาลัยมีความห่วงใยประชาชนทั้งในด้านของสุขอนามัย การใช้ชีวิตประจำวัน และเศรษฐกิจครัวเรือน…

รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์กำกับติดตามผลการดำเนินงาน งบว.ต่อเนื่อง ไม่หวั่นแม้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด COVID–19

เชื่อมั่นการประกาศปิดมหาวิทยาลัยตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าไม่กระทบต่อแผนการดำเนินงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมให้ผู้รับผิดชอบโครงการส่งรายงานผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา หวังต่อยอดปีต่อไป เมื่อเวลา 09.00 น. (5 พฤษภาคม 2563) คณะทำงานสังกัดงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานอธิการบดี เข้าร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการและพันธกิจที่ตอบสนองโครงการตามพระบรมราโชบายและงานตามพันธกิจตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยมี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม โดยรองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เปิดเผยว่า การกำหนดการประชุมดังกล่าว เป็นการกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงานของงานบริการพัฒนาท้องถิ่นและแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป ซึ่งได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลให้ผู้บริหารทราบเป็นระยะๆ และได้เน้นย้ำเรื่องฐานข้อมูลทุกโครงการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องประสานงานและรายงานผลให้ทราบได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ตามพันธกิจเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งเพราะสามารถตอบโจทย์ผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงมอบหมายให้นักวิชาการคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงลิ้งการรายงานข่าว ภาพถ่ายการจัดกิจกรรมทุกโครงการที่ได้ดำเนินโครงการทุกระยะจนโครงการแล้วเสร็จ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ ได้กล่าวถึงระบบการปฏิบัติงานของงานบริการวิชาการฯว่า ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด COVID – 19 แต่เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้เพราะมีการประสานงานกันตลอดเวลา ทั้งช่องทางของการประชุมทางสื่อออนไลน์และการสลับการมาปฏิบัติหน้าที่ 50 % ของจำนวนเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ทั้งหมด 7 คน โดยมีตารางการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน นอกจากนี้ได้เปิดเผยถึงโครงการต่อไปว่า จะมีการจัดตั้งศูนย์ศิษย์เก่า จำนวน 19 อำเภอ 2 จังหวัด ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงก็จะขับเคลื่อนภายใน 2 เดือนข้างหน้าอย่างแน่นอน…

End of content

End of content