จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผุดศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ด้านรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เชื่อมั่นสามารถต่อยอดองค์ความรู้ทุกมิติ สร้างผู้ผลิตให้เป็นประกอบการรายย่อย ด้วย E-Commerce หวัง Startup มาตรฐานให้มีคุณภาพมากขึ้น เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมแก่ผลิตภัณฑ์

เมื่อเวลา 13.00 น. (7 พฤษภาคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินจัดประชุมขับเคลื่อนโครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตร และนวัตกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ดร.สมปราชญ์  วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมดังกล่าวจากหลายหน่วยงานต่างๆ เช่น รักษาราชการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยี คณะทำงานจากคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้แทนจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ และทีมงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น

โดยรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ได้ชี้แจงถึงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่า เป็นโครงการจัดตั้งศูนย์เครือข่าย AIC ภายในจังหวัด ศูนย์ดังกล่าวประกอบด้วย  1. ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร และ 2. ศูนย์วิจัย ทดลอง ทดสอบด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร โดยศูนย์ AIC จังหวัด  โดยมีหน้าที่  เป็นแหล่งรวบรวมเทคโนโลยีทางการเกษตร และภูมิปัญญาทางการเกษตร รวมถึงนวัตกรรมด้านการเกษตรของจังหวัด และบริการองค์ความรู้และแหล่งเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ทันสมัย และสร้างสรรค์

นอกจากนี้ ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์การคิดวิเคราะห์และการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเกษตร พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตร การประดิษฐ์นวัตกรรม รวมทั้งเครื่องจักรกลเกษตร จัดอบรมเกษตรกร แหล่งเรียนรู้ และสนับสนุน Smart Farmer รวมถึง Young Smart Farmer ผลักดันเทคโนโลยีทางการเกษตรและนวัตกรรมทางการเกษตร ผ่านการวิจัย การพัฒนา การลงทุน การแปรรูป และการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์ ออกแบบ และจัดทำแผนส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของภาคการเกษตร กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และเกษตรกร รวมถึงประสาน อำนวยการ ขับเคลื่อน กำกับ และติดตามประเมินประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด  พัฒนา เสริมสร้างการเชื่อมโยงความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ระดับประเทศและระดับโลกในความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัด และภูมิภาค พร้อมทั้งเชื่อมโยงการทำงานกับศูนย์เครือข่าย AIC จังหวัด ด้วย ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวทางมหาวิทยาลัยมีความพร้อมและมีความเหมาะสมด้านสถานที่คือบริเวณหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ จำนวน 30 ไร่

ขณะที่ นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้กล่าวถึงกระบวนการการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตร และนวัตกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) ว่าพันธกิจของมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งในส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่เป้าหมายหลายพื้นที่ซึ่งมีกลุ่มเกษตรกรจำนวนมากที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยนำองค์ความรู้ด้าน E-Commerce เข้าไปช่วยในด้านเทคนิคการตลาดเข้ามา support ให้เกิด Startup ซึ่งเป็นประโยชน์องค์รวมให้กับเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงาน
อาซีด ทิ้งปากถ้ำ  รูปภาพ

Similar Posts