งานบริการวิชาการฯ ชื่นมื่นรับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ฯ ฟุ้งผ่านฉลุย! ด้านกรรมการประเมินฯแจกยาหอม องค์ประกอบที่ 3 มีคุณภาพตอบสนองชุมชนท้องถิ่น เสนอแนะให้เร่งต่อยอดโครงการฯในปีต่อไป

ทึ่งผลการดำเนินงานพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย และแนวคิดสนับสนุนเป็นศูนย์กลางที่ปรึกษายางพารา …..งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 ณ ห้องประชุมผดุงชาติ อาคารอำนวยการ โดยรับการตรวจประเมินในองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ …..ทั้งนี้ เมื่อเวลา 09.45 น. ผู้ช่วยอธิการบดี หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และหัวหน้างานพันธกิจสังคม พร้อมทั้งบุคลากรผู้ดำเนินงานประกันคุณภา พการศึกษา ได้ร่วมพูดคุยและตอบข้อซักถามกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายใน คือ ผศ.ดร.ลดาวัลย์ แก้วสีนวล ซึ่งบรรยากาศการสนทนาเป็นไปอย่างเรียบง่ายและเป็นกันเอง โดยกรรมการประเมินได้กล่าวชื่นชมผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย และแนวคิดการอนุรักษ์บริบทท้องถิ่น รวมทั้งการทำวิจัยเรื่องยางพารานำเสนอเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น โดยยกระดับเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และเป็นข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผลผลิตยางพารา …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ชี้แจง กรรมการประเมินว่า “การดำเนินโครงการของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มิใช่หวังเพียงแต่การจัดโครงการเท่านั้น แต่เราจะกำกับ ติดตาม ดูแลชุมชนท้องถิ่นและดำเนินการโครงการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ทั้งนี้ ความคิดในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย ต้องคำนึงถึงบริบทชุมชนท้องถิ่น การประกอบอาชีพวิถีชีวิตของชาวบ้านด้วย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ในสภาพเดิมเป็นสิ่งสำคัญ…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเกมส์รุก ต้อนรับปีงบประมาณ 2561

ยกระดับช่องทางประชาสัมพันธ์ 2 ภาษา หวังตีตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ พุ่งเป้าสู่เส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพลวย ด้วย Socail network     เมื่อเวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมเรียนรู้ 5 ชั้น 2 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี งานบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น ได้จัดประชุมผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย เพื่อร่วมหารือแนวทางการพัฒนาโครงการประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพลวย ด้วย Socail network เตรียมยกระดับให้เป็น 2 ภาษา เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น โดยเชิญหน่วยงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบคือศูนย์ภาษา และ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ร่วมระดมความคิดและให้ข้อเสนอแนะ แนวทางการดำเนินงานด้วย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานดังกล่าวว่า “งานบริการวิชาการพัฒนาถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ต้องการยกระดับเว็บไซต์ การท่องเทียวให้ได้มาตรฐานสากลเทียบเคียงกับเว็บไซต์การท่องเที่ยวของหน่วยงานอื่นๆ นอกจากนี้การทำเว็บไซต์ ดังกล่าวยังสามารถให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ ได้ทราบถึงทรัพยากรที่หลากหลากหลาย และข้อมูลเส้นทางการเดินทางที่ถูกต้องและปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ภายในอนาคต”…

มรส.ต่อยอดประเด็นการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ ต.ขุนทะเล

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ร่วมกับคณาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ ดร.วัชรี รวยรื่น และอาจารย์นิสากร สุขหิรัญ พวกเราได้ร่วมกันหารือเพื่อต่อยอดประเด็นการบริหารจัดการขยะ ในพื้นที่ ต.ขุนทะเล ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านให้ความสำคัญว่า เป็นประเด็นปัญหาที่ควรแก้ไขเป็นอันดับแรก และอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไข โดยหลังจากที่ได้มีการรวบรวมข้อมูลพบว่า พื้นที่ขุนทะเลมีขยะมากถึง 15-16 ตัน/วัน และต้องใช้งบประมาณในการกำจัดขยะจำนวนมาก โดยขณะนี้มหาวิทยาลัยได้จัดชุดโครงการบริหารจัดการขยะ ต.ขุนทะเล ซึ่งมีโครงการย่อยร่วม 20 โครงการ ตามงบประมาณ ปี 2561 และอยู่ในระหว่างจัดทำการของบประมาณจาก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาวิจัยในประเด็นการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาล ต.ขุนทะเล วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเดินหน้าในทุกมิติเพื่อร่วมกันกับท้องถิ่นในการแก้ปัญหาและยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องอย่างเอาจริงเอาจัง เราพร้อมที่จะฟันฝ่าทุกอุปสรรคเพื่อสร้างพลังให้กับแผ่นดินนี้ร่วมกัน ในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน  “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมประชุมการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีและสำนักศิลปวัฒนธรรม นำโดย อ.ธีรพันธ์ จันทร์เจริญ รองผู้อำนวยการ ในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมหาวิทยาลัยมีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ ฝ่ายสถานที่ร่วมกับเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี โดยมีฝ่ายบริการวิชาการฯ สำนักศิลปวัฒนธรรม และสาขาวิชาจิตรกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อออกแบบและตกแต่งพื้นที่บริเวณรอบองค์พระเมรุมาศ โดยใช้การจำลองป่าหิมพานต์ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และอัตลักษณ์ของ จ.สุราษฎร์ธานี ประกอบกัน ฝ่ายจัดนิทรรศการและจัดแสดงมหรสพร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีฝ่ายบริการวิชาการฯ สำนักศิลปวัฒนธรรม และฝ่ายสื่อสารองค์กร เพื่อออกแบบและจัดนิทรรศการเสด็จพระราชดำเนิน จ.สุราษฎร์ธานีทั้ง 15 ครั้ง และร่วมกับสถานศึกษาและองค์กรต่างๆทางด้านการแสดงเพื่อจัดแสดงมหรสพต่างๆที่แสดงถึงความจงรักภักดีและน้อมส่งเสด็จพระองค์ท่านสู่สวรรคาไลย ฝ่ายแพทย์และพยาบาลร่วมกับสำนักงานสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานี และองค์กรทางด้านการแพทย์และพยาบาล โดยมีคณาจารย์และนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อร่วมกันดูแลพี่น้องประชาชนที่มาร่วมในพระราชพิธีฯ วันนี้ทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร่วมกับทุกองค์กรเพื่อร่วมกันส่งเสด็จพระผู้ทรงเป็นเจ้าชีวิตแห่งปวงชนชาวไทย ผู้ทรงสร้างแบบอย่างในการเป็นพลังแผ่นดินแก่พวกเรา “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.เข้าพบรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หารือแนวทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบนฐานไทยแลนด์ 4.0

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ว่าที่อธิการบดี และดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้เข้าพบรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบนฐานไทยแลนด์ 4.0 ณ ห้องพักรัฐมนตรี อาคารศูนย์บัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร ตลอดระยะเวลาร่วมชั่วโมงของการพูดคุย ท่านรัฐมนตรีให้เกียรติพวกเราอย่างสูง โดยเชื่อมั่นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะเป็นฐานสำคัญในการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งประเทศเพื่อสร้างพลังให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ในฐานะ”มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” และข่าวดีคือในอีกไม่นานจะมีการประชุม ค.ร.ม.สัญจรที่สุราษฎร์ธานี และเราจะมีโอกาสได้นำเสนอแนวทางในการสร้างศักยภาพให้กับท้องถิ่นเพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายได้ใช้ประกอบการพิจารณา จากนั้นผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ว่าที่อธิการบดี ผศ.ดร.มาริสา อินทรวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายแผนฯ และดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้เข้าร่วมในการประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งประเทศ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ได้นำเสนอแนวทางตามที่ได้หารือร่วมกับท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ โดยที่ประชุมมีมติให้ทุกราชภัฏดำเนินการทำยุทธศาสตร์ของแต่ละแห่ง แห่งละ 3 ประเด็น โดยจะนำเสนอกันในการประชุมอธิการบดีฯคราวหน้า วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม และเมื่อใดก็ตามที่ราชภัฏทั้งประเทศรวมเป็นหนึ่ง เราจะกลายเป็นมหาวิทยาลัยพลังของแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้มีพลังได้อย่างแท้จริง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแห่งการรับใช้สังคม

ฝ่ายบริการวิชาการฯร่วมกับฝ่ายสื่อสารองค์กรนำโดย อ.นาวิน วงศ์สมบุญ ในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัยได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อออกแบบนิทรรศการ เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ศาลาการเปรียญวัดกลางใหม่ อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายให้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดออกแบบและจัดทำนิทรรศการการเสด็จฯ จ.สุราษฎร์ธานีทั้ง 15 ครั้ง ในช่วงบ่ายฝ่ายบริการวิชาการฯร่วมกับสำนักศิลปวัฒนธรรมในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานการจัดแสดงมหรสพ เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ห้องประชุมวัฒนธรรม ศาลากลาง จ.สุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายให้ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดและหน่วยงานต่างๆเกี่ยวกับการจัดการแสดงมหรสพภายในงาน จากนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดยท่านรักษาราชการอธิการบดี และทีมงานฝ่ายบริการวิชาการฯร่วมลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับคณะกรรมการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.สุราษฎร์ธานี และร่วมกันหาแนวทางในการขับเคลื่อนการประเมินที่มีประสิทธิภาพ วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามที่จะเดินหน้าในทุกมิติเพื่อเชื่อมโยงสรรพกำลังของมหาวิทยาลัยร่วมกับทุกองค์กรตามที่เราได้ตั้งปณิธานว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดินซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างแผ่นดินนี้ให้มีพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.เข้าร่วมในพิธีวางพวงมาลา วัน “มหิดล” มอ.วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมในพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวัน “มหิดล” เพื่อระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สร้างคุณูปการแก่พสกนิกรชาวไทยหลายด้าน เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ การพยาบาล และสาธารณสุข โดยทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย” วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมในทุกกิจกรรมของทุกภาคส่วน ในฐานะเครือข่ายที่จะโยงใยความสัมพันธ์ที่มีต่อกันอย่างไม่ขาดสาย เราเชื่อมั่นว่าเราต่างมีหน้าที่ในการสร้างพลังให้กับแผ่นดินนี้ร่วมกัน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

นักศึกษา มรส.สร้างสรรค์ปันสุข โรงเรียนบ้านควนประ

ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีและทีมงานบริการวิชาการฯได้เดินทางไปยังโรงเรียนบ้านควนประ อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช เพื่อพบปะนักศึกษาชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ที่มาออกค่ายอาสาพัฒนา ทำสื่อการเรียนการสอนBBL ปรับพื้นที่สำหรับการเรียนการสอน และตกแต่งบริเวณเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่ ตลอดระยะเวลากว่า 3 ชั่วโมง พวกเราได้รับทราบถึงมุมมองของคณะครูเจ้าของสถานที่ว่า ทุกคนมีความสุขใจที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีได้ทำโครงการในลักษณะนี้ขึ้น ต่างขอบคุณที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ในขณะที่นักศึกษาทุกคนก็มีความสุขใจเช่นกันที่มีโอกาสได้เขียนประวัติศาสตร์ชีวิตให้กับตัวเอง ในฐานะผู้ที่ทำคุณงามความดีให้กับท้องถิ่น โดยมีรางวัลที่สำคัญเหนือกว่าอื่นใดนั่นคือความสุข วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มกำลังความสามารถในการนำเอาทุกสรรพกำลังของมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกับท้องถิ่นในทุกมิติ เราพร้อมที่จะก้าวเดินไปในทุกหนทาง ในทุกท้องที่ และในทุกความยากลำบาก โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างพลังให้กับผืนแผ่นดิน ในฐานะที่เราเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.เข้าร่วมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียน ตชด.41

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย รศ. ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี ตัวแทนฝ่ายบริการวิชาการฯ สำนักวิทยบริการฯ คณะครุศาสตร์ และฝ่ายสื่อสารองค์กร เข้าร่วมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนบ้านตะแบกงาม อ.พะโต๊ะ และโรงเรียนบ้านห้วยเหมือง อ.หลังสวน จ.ชุมพร ในวโรกาสทรงเสด็จฯทอดพระเนตรผลการดำเนินงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัด กก.ตชด.41 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในฐานะหน่วยงานสนองงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดโรงเรียน การสาธิตการสอน และการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ตลอดระยะเวลาของการเสด็จฯ บรรยากาศของทั้งสองพื้นที่ต่างอบอวลไปด้วยพระเมตตาของพระองค์ท่าน ทรงแย้มพระสรวลและมีพระราชปฏิสันถารกับพสกนิกรที่มาเฝ้ารับเสด็จโดยมิทรงถือพระองค์ สร้างความปลาบปลื้มปิติให้กับพวกเราทุกคน อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมงานตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯได้เข้าร่วมพิธีการเปิดงานตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้ ต้นแบบจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ บริเวณที่จอดรถหน้าศาลากลางจังหวัด(หลังเก่า) จัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพการเกษตร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการOTOP ที่ประสบปัญหาการจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ได้ในราคาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง วันนี้มีหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชนหลายแห่งเข้าร่วมในพิธีเปิด โดยมีท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ภายในงานมีพี่น้องที่เป็นเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการหลายรายจากหลากหลายพื้นที่เข้าร่วมจัดบูธและออกร้าน โดยงานจะมีตั้งแต่วันที่ 21-23 กันยายน 2560 ท่านใดสนใจอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นของเรา สามารถไปที่ได้ตามวันดังกล่าว วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมที่จะเข้าร่วมการดำเนินการต่างๆของท้องถิ่น เราพร้อมที่จะระดมทุกสรรพกำลังในการหนุนเสริมให้ท้องถิ่นก้าวเดินอย่างมีความสุข และไม่ว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคใดๆ เราก็จะขอยืนเคียงข้างพี่น้อง ในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้มีพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content