มรส.ร่วมพิธีอัญเชิญดอกไม้จันทน์ จ.สุราษฎร์ธานี

ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น ร่วมกับอ.ธาตรี คำแหง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ในนามของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เข้าร่วมพิธีอัญเชิญดอกไม้จันทน์ตัวแทนของจังหวัดและอำเภอ ร่วมกับส่วนราชการภายใน จ.สุราษฎร์ธานี ณ หอประชุมครูลำยอง โรงเรียนสุราษฎร์ธานี เพื่อนำดอกไม้จันทน์ตัวแทนของจังหวัดส่งมอบให้กับกระทรวงมหาดไทย รวบรวมมอบให้กับกรุงเทพมหานคร เพื่อเชิญไปถวายที่หอเปลื้องพระเมรุมาศในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากนั้นในช่วงบ่าย ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับสำนักศิลปวัฒนธรรมในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานจัดพิธีถวายดอกไม้จันทน์ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อหารือแนวทางในการบริหารจัดการการจัดนิทรรศการและการจัดแสดงมหรสพ เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ศาลาการเปรียญวัดกลางใหม่ อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายให้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดออกแบบและจัดทำนิทรรศการการเสด็จฯจ.สุราษฎร์ธานีทั้ง 15 ครั้ง และร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเกี่ยวกับการจัดการแสดงมหรสพภายในงาน ทุกหน่วยงานต่างช่วยกันแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่เพื่อออกแบบให้งามดังกล่าวเป็นไปอย่างสมพระเกียรติพระองค์ท่าน โดยมิได้แบ่งแยกว่าใครมาจากหน่วยงานใด เรารวมเป็นเนื้อเดียวกันภายใต้ความจงรักภักดี เป็นการถวายงานพระองค์ท่านด้วยหัวใจ วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามที่จะเดินหน้าทุกรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงสรรพกำลังของมหาวิทยาลัยร่วมกับทุกองค์กรตามที่เราได้ตั้งปณิธานว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดินซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างแผ่นดินนี้ให้มีพลัง ตามที่พระองค์ท่านทรงเป็นต้นแบบให้กับพวกเราทุกคน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส. ประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการ  นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ  ร่วมกับคณะครุศาสตร์ โดยมี ดร.สุทธารัตน์ บุญเลิศ เป็นผู้แทน คณะพยาบาลศาสตร์ โดยมี อ.วายุรี ลำโป กับ อ.อริศา สุขศรี เป็นผู้แทน และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 88 โดยท่านผู้อำนวยการ คุณครู และนักเรียนได้เดินทางมาร่วมการประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันการศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โครงการพัฒนาชั่นเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการสอนแบบเปิด ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งจัดให้กับโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 88 อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทน 1 ใน 3 โครงการของมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบนมานำเสนอนิทรรศการในงานนี้ โดยท่าน ผอ.โรงเรียนได้กล่าวชื่นชมถึงผลกระทบในทางบวกที่เกิดขึ้นกับคุณครูและนักเรียน ทั้งยังได้ขอบคุณมหาวิทยาลัยที่ทำโครงการดีๆเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม ในปีงบประมาณ 2561 ที่จะถึงนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบโครงการดังกล่าวมากที่สุดของเขตภาคใต้ตอนบนทั้งพื้นที่จ.สุราษฎร์ธานี และจ.ชุมพร จำนวน 15 โครงการ 32 โรงเรียน โดยได้ระดมสรรพกำลังจากทุกคณะเพื่อเดินหน้าในทุกมิติเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างสุดกำลัง และนี่คือบทพิสูจน์ของคำสัญญาว่า…

การประชุมเตรียมการรับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ได้เข้าร่วมในการประชุมเตรียมการรับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ศาลากลางจังหวัดชุมพร ในการเสด็จทรงเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและราษฎร ในวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2560 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง ต.นาขา อ.หลังสวน และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะแบกงาม ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีหน้าที่รับผิดชอบ 3 ส่วนคือ การจัดและให้บริการห้องสมุดโรงเรียน การสาธิตการสอน และการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ขณะนี้ได้เตรียมการไปแล้วกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และจะสมบูรณ์แบบภายในวันที่ 18 และ 19 กันยายน อย่างแน่นอน จากนั้นท่านรองผู้ว่าราชการ จ.ชุมพร ได้ร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างหมู่บ้านต้นแบบเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน จ.ชุมพร โดยมุ่งเน้นการใช้ศาสตร์พระราชาเป็นเครื่องขับเคลื่อน ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินงานเพื่อถวายงานพระองค์ท่านเกี่ยวกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เราได้ระดมทุกสรรพกำลังในฐานะเครือข่ายพี่น้องกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อหนุนเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพอย่างที่ควรจะเป็น และไม่ว่าเมื่อไรก็ตามเราก็จะขอยืนยันว่าเราจะทำทุกวิถีทางเพื่อเป็นพลังของแผ่นดินให้ได้ในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด…

มรส.เตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดยคุณจันทิมา องอาจ รองหัวหน้างานบริการวิชาการฯ ร่วมกับคณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และสำนักวิทยบริการฯ ได้เดินทางเข้าพื้นที่เพื่อจัดเตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง อ.หลังสวน จ.ชุมพร ในวโรกาสทรงเสด็จฯตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัด กก.ตชด.41 ในวันที่ 22 กันยายน 2560มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในฐานะหน่วยงานสนองงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดโรงเรียน การสาธิตการสอน และการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้สนองงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ เราก้าวเดินร่วมกับโรงเรียนและเหล่าครู ตชด. เราพร้อมที่จะเดินหน้าเพื่อพี่น้องประชาชนทุกรูปแบบตามที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราคือมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้มีพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

การประชุมติดตามผลบริการวิชาการ โครงการเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน ดอนสัก เกาะพะลวย

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  โดยฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น  นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ  และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น จัดประชุมผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก-เกาะพะลวย ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการได้รายงานข้อมูลความเคลื่อนไหวตลอดจนผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปี ที่พวกเราได้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจเพื่อทำให้พื้นที่ชุมชนดอนสัก-เกาะพะลวยสามารถเป็นพื้นที่ทางการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ ยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องในพื้นที่ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกให้เห็นถึงความสำคัญของการรู้จักใช้พื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยังยืน ทุกโครงการที่เกิดขึ้นเต็มไปด้วยความเหนื่อยยาก ปัญหาและอุปสรรคนานัปการ แต่ปลายทางของสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้นั้นคือความสุขที่พวกเราได้เห็นพี่น้องสามารถก้าวเดินได้อย่างมั่นคงบนพื้นฐานของความพอเพียง พวกเราทุกคนตั้งใจที่จะทำให้ SRU สามารถเดินหน้าเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างสุดกำลัง จากนี้เรายังต้องต่อยอดการเดินหน้าเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในทุกรูปแบบ ต่อให้เหนื่อยยากเพียงใด พวกเราทุกคนก็พร้อมที่จะทำ เพราะเป้าหมายของเรามีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ การทำแผ่นดินนี้ก่อเกิดพลังในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.เตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตชด.บ้านตะเเบกงาม

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดยคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ร่วมกับสำนักวิทยบริการฯ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เดินทางเข้าพื้นที่เพื่อจัดเตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะเเบกงาม อ.พะโตะ จ.ชุมพร ในวโรกาสทรงเสด็จฯตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัด กก.ตชด.41 ในวันที่ 22 กันยายน 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในฐานะหน่วยงานสนองงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดโรงเรียน การสาธิตการสอน และการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้สนองงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ เราก้าวเดินร่วมกับโรงเรียนและเหล่าครู ตชด. เราพร้อมที่จะเดินหน้าเพื่อพี่น้องประชาชนทุกรูปแบบตามที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราคือมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้มีพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ขับเคลื่อนบริการวิชาการสู่การพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้แบ่งกันปฏิบัติงานต่างๆเพื่อทำหน้าที่อันหลากหลายที่จะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นโดยชุดที่ 1 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้รับมอบหมายจากท่านรักษาราชการแทนอธิการบดีให้เข้าร่วมประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ร่วมกับอ.ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์ อ.พงศกร ถิ่นเขาต่อ และคุณนันทพร รัตนพันธ์ เพื่อพิจารณาข้อเสนอโครงการของแต่ละมหาวิทยาลัยในกลุ่มภาคใต้ตอนบน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบโครงการมากที่สุด จำนวน 14 โครงการ 20 โรงเรียน โดยได้เสนอโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพิ่มเติมอีก 11 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 31 โรงเรียนเพื่อขยายพื้นที่เพิ่มเติมไปยังจ.ชุมพร เพื่อนำองค์ความรู้ไปยังคุณครูและนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล ชุดที่ 2 ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ยังคงนำทีมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเดินหน้าเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.กระบี่ อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.กระบี่ ทีมงานเดินหน้าอย่างแข็งขันเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย โดยใช้ความเป็นกัลยาณมิตรเป็นพื้นฐาน พวกเราทุกคนตั้งใจที่จะทำให้ SRU สามารถเดินหน้าเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างสุดกำลัง แม้เราจะแยกกันทำงาน แต่เป้าหมายเรามีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ การทำแผ่นดินนี้ให้มีพลังในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมการทำประชาพิจารณ์เหมืองแร่โดโลไมท์

 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้ร่วมกับตัวแทนอาจารย์จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ อาจารย์นิสากร สุขหิรัญ เข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ตามโครงการเหมืองแร่โดโลไมท์ ของบริษัท แร่สัมพันธ์ จำกัด ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน หมู่ที่3 บ้านมะขาม ต.ท่าอุแท อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี การทำประชาพิจารณ์คราวนี้มีพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงให้ความสนใจเข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์เป็นจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ให้ความใส่ใจกับคุณภาพชีวิต เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมมีให้เห็นมามากมายในหลักหลายพื้นที่ ไม่ว่าวันนี้ท้องถิ่นจะมีประเด็นอะไรก็ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีสามารถเข้าไปมีส่วนร่วม เราพร้อมที่จะเดินหน้าร่วมกับพี่น้องในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างสังคมแห่งความสุขให้เกิดขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นให้ได้ ดังที่เราได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ซึ่งมีหน้าที่สร้างแผ่นดินนี้ให้เกิดพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดินขับเคลื่อนการบริการวิชาการ

วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้แบ่งกันเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆเพื่อทำหน้าที่อันหลากหลายที่จะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นตามปฏิญญาที่เราได้ให้ไว้ว่า เราคือ“มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ [envira-gallery id=”2598″] โดยชุดที่ 1 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ร่วมการประชุมสัมมนาเรื่อง “ผลการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา“ ร่วมกับ ผศ.ดร.กนกกาญจน์ ฐิติภรณ์พันธ์ ผอ.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กทม. เพื่อรับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2560 และรับทราบเกณฑ์การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งฉบับแก้ไขปรับปรุงแก่สถาบันอุดมศึกษา ชุดที่ 2 ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ยังคงนำทีมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเดินหน้าเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.กระบี่ อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.กระบี่ ทีมงานเดินหน้าอย่างแข็งขันเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย โดยใช้ความเป็นกัลยาณมิตรเป็นพื้นฐาน พวกเราทุกคนตั้งใจที่จะทำให้ SRU สามารถเดินหน้าเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างสุดกำลัง แม้เราจะแยกกันทำงาน แต่เป้าหมายเรามีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ การทำแผ่นดินนี้ให้มีพลังในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน   “SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ สืบสานวัฒนธรรมเมืองคนดี ร่วมงานประเพณีชักพระ-ทอดผ้าป่า

…..สำนักศิลปและวัฒนธรรม เป็นตัวแทน จัดตั้งพุ่มผ้าป่าเทศกาลออกพรรษาชาวสุราษฎร์ธานี…..เช้าวันนี้ ได้มีตัวแทนผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคคลากร จากหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยฯเข้าร่วมงานประเพณีชักพระ-ทอดผ้าป่า ณ ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานีเป็นจำนวนมาก …..ในส่วนของหน่วยงานหลักการจัดพุ่มผ้าป่า อาจารย์อนุรัตน์  แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการร่วมจัดกิจกรรมว่า ประการแรก มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ต้องการสืบสารวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นโดยเฉพาะลักษณะของการจัดพุ่มผ้าป่าหน้าบ้านหรือการชักเรือพนมพระ เป็นเอกลักษณ์ของชาวสุราษฎร์ฯที่อื่นจะไม่ปรากฏให้เห็น ประการที่สอง ปีนี้อยู่ในช่วงพิธีรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งมหาวิทยาลัยฯได้จัดเตรียมถวายดอกไม้จันทน์ พร้อมทั้ง นิทรรศการภาพถ่ายพระราชกรณียกิจที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เห็น โดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ  ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยและประการสุดท้าย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นมหาวิทยาลัยที่รับใช้ชุมชนท้องถิ่น ดังนั้น พันธกิจของการร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวชุมชนท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึง ควรเผยแพร่ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯที่อยู่เคียงข้างกับชุมชนท้องถิ่น …..อย่างไรก็ตามสำนักศิลปะและวัฒนธรรมขอขอบพระคุณ ผู้บริหาร ตัวแทนคณาจารย์  และตัวแทนบุคคลากรสายสนับสนุน พร้อมทั้งตัวแทนนักศึกษา ที่ให้ความสำคัญ ส่งเสริมและสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรมอันดีงามในครั้งนี้ …..ทั้งนี้จัดตั้งพุ่มผ้าป่าในเทศการชักพระ-ทอดผ้าป่าที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-10 ตุลาคม 2560 เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ถ่ายภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content