ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี เดินหน้าขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนร่วมกับงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย เร่งเครื่องลงพื้นที่ จังหวัดระนอง ตามโครงการ “ผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อบูรณาการการพัฒนาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนการสอน” วันพฤหัสบดี ที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เวลา 10.00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีพร้อมคณะ นำโดย ผศ.ดร.เสนห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ดร.กฤษณะ ทองแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ได้ดำเนินการจัดโครงการ“ผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อบูรณาการการพัฒนาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนการสอน” โรงแรมเดอะกาลล่า จังหวัดระนอง ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นผู้บริหารท้องถิ่นและจัดทำแบบสำรวจความต้องการของพื้นที่เป้าหมาย มุ่งเน้นการพัฒนาให้เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างท้องถิ่นกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯเร่งเครื่องจัดประชุมบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนงานบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์

ด้านหัวหน้างานบริการวิชาการเน้นย้ำทุกโครงการต้องตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและพื้นที่เป้าหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด วันพฤหัสบดี ที่ 31 ตุลาคม 2562 เวลา 14.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานอธิการบดี ดำเนินการจัดประชุมภายในหน่วยงาน ณ ห้องบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีนายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรร่วมระดมความคิดแนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และพันธกิจของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยหัวหน้างานบริการวิชาการฯ ได้เน้นย้ำเรื่องการจัดทำโครงการหลักสูตรระยะสั้นให้ตรงกับความต้องการของชุมชน และคำนึงถึงพื้นที่เป้าหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยร่วมกับหน่วยงานอื่นของมหาวิทยาลัยฯ ภายใต้แนวคิดงานบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นหน้าขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 เวลา 14.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 1/2563 โดยมี ดร.กฤษณะ ทองเเก้ว รองอธิการบดี ฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการฯครั้งนี้ เพื่อวางแผนการดำเนินงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2563 .ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี

จุลสารบริการวิชาการ

จุลสารบริการวิชาการท้องถิ่น ฉบับที่ 6 สิงหาคม 2564 จุลสารบริการวิชาการท้องถิ่น ฉบับที่ 5 สิงหาคม 2563 จุลสารบริการวิชาการท้องถิ่น ฉบับที่ 4 กรกฎาคม 2562 จุลสารบริการวิชาการท้องถิ่น ฉบับที่ 3 มิถุนายน 2561 จุลสารบริการวิชาการท้องถิ่น ฉบับที่ 2 เมษายน 2560 จุลสารบริการวิชาการท้องถิ่น ฉบับที่ปฐมฤกษ์ 2 สิงหาคม 2559

ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน C-อพ.สธ.ภาคใต้ตอนบน

วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:30     น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดยมี นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ในการประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน (C-อพ.สธ.ภาคใต้ตอนบน) ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2563 ณ ห้องประชุม 15/2 ชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ เป็นประธานในการประชุมในครั้งนี้ เพื่อการเตรียมความพร้อมในการจัดแสดงนำเสนอผลงานของสถาบันในเครือข่าย C-อพ.สธ. ภาคใต้ตอนบน ในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์ ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์หนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา และหาพรือเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และกิจกรรมของเครือข่าย C-อพ.สธ.ภาคใต้ตอนบน ประจำปีงบประมาณ 2563 

13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนการธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

งานบริการวิชาการฯ จัดประชุมขุนพล อพ.สธ.-มรส. เตรียมสนองงานนิทรรรศการ ทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์

เมื่อเวลา 14.00 น. (8 ตุลาคม 2562) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ. – มรส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 2 ณ ศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมี ดร.กฤษณะ ทองแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการจัดนิทรรรศการ ทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์ ซึ่งจะจัดที่จังหวัดนครราชสีมา โดยมติที่ประชุมให้คณะทำงานทุกท่านส่งรายชื่อคณะกรรมการผู้ดำเนินงานโครงการดังกล่าวเพิ่มเติมภายในวันที่ 9 ตุลาคม 2562 และที่ประชุมเห็นชอบแผนการจัดรูปแบบนิทรรศการตามที่งานบริการวิชาการฯได้นำเสนอในที่ประชุม นอกจากนี้ หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้เผยว่า ผู้รับผิดขอบโครงการทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานโครงการฯจะเริ่มเดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 จนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงการในวันที่ 5 ธันวาคม 2562 อย่างไรก็ตาม รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า หากคณะกรรมการทุกท่านมีปัญหาติดขัดเรื่องใดขอให้แจ้งไปที่คณะทำงานของงานบริการวิชาการฯซึ่งทีมงานทุกคนมีความยินดีที่จะช่วยเหลือและรับใช้ทุกท่าน รับใช้ชุมชน และสังคมไทย

มรส.ร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ฯเดินหน้าขับเคลื่อนงานโครงการ อพ.สธ.-สฎ.

 วันจันทร์ ที่ 7 ตุลาคม 2562 เวลา 08:15 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ นำโดย นางสาวจันทิมา องอาจรองหัวหน้างานบริการวิชาการฯ ร่วมกับชาวบ้าน หมู่ที่ 2  บ้านปากตรัง ตำบลคลองชะอุ่น ลงพื้นที่แปลงที่ 10 แปลงป่าอนุรักษ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากจังหัวดสุราษฎร์ธานี ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมสนองงานในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อยกระดับพื้นที่การปลูกป่า 4 ชั้นในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตร โดยมีพันธุ์ไม้กว่า 30 ชนิด ได้ดำเนินงานปรับปรุงพื้นที่ในการ ตัดหญ้า จำกัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ย ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บ้านทุ่งตาหนอน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 1 ตามแผนโครงการ อพ.สธ.-สฏ. สนองงานโดย มรส. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 

การประชุมบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดสำนักงานอธิการบดี มรส.

วันศุกร์ ที่ 4 ตุลาคม 2562 เมื่อเวลา หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมบุคลากรสายสนับสนุนปฏิบัติงานประจำสำนักงาน ณ ห้องราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดีได้รับทราบแนวทางการปฏิบัติและหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสำนักงานอธิการบดี ทั้งนี้ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารได้ชี้แจงว่ามติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมีแนวทางและข้อคิดเห็นในประเด็นที่ต้องให้บุคลากรได้รับทราบและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันคือ ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่หน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดี เช่นงานบริการวิชาการฯจะต้องมีการบูรณาการกับงานวิจัยและนวัตกรรม นอกจากนี้การเขียนโครงการจะต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้นคือระบุเป้าหมาย(เน้นคุณภาพไม่เน้นปริมาณ)โดยสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก และที่สำคัญต้องพัฒนาความรู้บุคลากรสายสนับสนุนให้ตรงกับสายงานและตรงกับตำแหน่งที่ปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตามรองอธิการบดีฝ่ายบริหารได้กล่างทิ้งท้ายว่า อยากให้บุคลากรและหัวหน้าทุกหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานอธิการบดีได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันพร้อมกันในแต่ละชั้น เพือสร้างความสัมพันธภาพและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยให้คิดเสมอว่า “ผู้บริหารและบุคลากรทั้งสายสนับสนุนและภาคสนามมีสิทธิเท่าเทียมกันแต่มีหน้าที่แตกต่างกันเท่านั้น”ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เวลา 15.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางไปยังเขตพัฒนาที่ 3 เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ณ ชุมชนกาญจนวิถีร่วมใจ ตามโครงการติดตามและประเมินผลแผนการพัฒนาและโครงการ กิจกรรมของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เขตพัฒนาที่ 1

วันพฤหัสบดี ที่ 3 ตุลาคม 2562 เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางไปยังเขตพัฒนาที่ 1 เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ณ ชุมชนบ้านบางหลา ตามโครงการติดตามและประเมินผลแผนการพัฒนาและโครงการ กิจกรรมของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

End of content

End of content