ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ประกาศชัด! กลางประชาคมจังหวัดเคลื่อนที่ ชุมชนท้องถิ่นคือหัวใจของ มรส.

…..ชี้โครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุขฯ มีส่วนขับเคลื่อนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ด้อยโอกาส เน้นย้ำชุมชนท้องถิ่นอยากให้ช่วยเหลือในเรื่องใด มรส.จะไปตามคำร้องขอ หวังแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา ตามปณิธานมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 07.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะนิติศาสตร์ สื่อสารองค์กร และศูนย์ภาษาฯ ได้เดินทางไปร่วมจัดบูธนิทรรศการในโครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้หน่วยงานของมหาวิทยาลัยฯได้มีการจัดกิจกรรมเล่นเกมส์ทายปัญหา และรับปรึกษาให้ความรู้เรื่องกฏหมาย พร้อมทั้งการให้ความรู้ด้านช่องทางการตลาดซื้อ – ขายออนไลน์ …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการร่วมโครงการฯว่า ตามที่จังหวัดร่วมกับหน่วยงานในภาครัฐ และภาคเอกชน มีวัตถุประสงค์หลักของการจัดโครงการครั้งนี้ คือ 1. การมอบทุนให้กับเด็กนักเรียนและประชาชนผู้ด้อยโอกาสเพื่อเป็นทุนการศึกษาและใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 2. เพื่อมอบเกียรติบัตรให้กับบุคคลที่ทำคุณประโยชน์และความดีต่อสังคม 3. เพื่อมอบเครื่องอุปโภค – บริโภค ให้ผู้สูงอายุ 4. ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เช่น เกษตรกรรม, อุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตผลทางการเกษตร…

งานบริการวิชาการฯ มรส. นำนศ.จิตอาสา รวมใจทำเพื่อพ่อ ทาสี กวาดพื้น วัดกลางใหม่ ถวายเป็นพระราชกุศลครบ 1 ปี สวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 9

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผยนำนักศึกษาจิตอาสา มรส.รวมพลังทำความสะอาด ทาสีศาลาการเปรียญ ย้ำราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ต้องร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นอย่างเต็มกำลัง …..เมื่อเวลา 09.00 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยกองพัฒนานักศึกษา นำทีมตัวแทนนักศึกษาจิตอาสา จำนวนกว่า 50 คน ร่วมทำความสะอาดวัดกลางใหม่ ซึ่งวัดดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งพระเมรุมาศจำลองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย หน่วยงานทุกภาคส่วน ได้พร้อมใจกันทำความสะอาด กวาดพื้นที่บริเวณวัด และร่วมกันทาสีรอบๆ ศาลาการเปรียญ …..ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมครั้งนี้ว่า “วันนี้ เป็นวันครบรอบ 1 ปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคต ซึ่งประชาชนทั้งประเทศร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสา และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีก็เช่นเดียวกัน “เราได้นำนักศึกษาร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนทำความสะอาดกวาดพื้นบริเวณวัด และช่วยกันทาสีศาลาการเปรียญวัดกลางใหม่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดนิทรรศการสำหรับงานพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะเป็นที่เป็นมหา วิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นและปวารณาตนเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน เพราะฉะนั้นเราจึงพยายามมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและจังหวัด เมื่อทางจังหวัดร้องขอมหาวิทยาลัยฯมีความยินดีที่ร่วมกิจกรรมดังกล่าวและที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลครบ 1 ปี สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9”…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประชุมชี้แจงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ITA)

…..รักษาราชการแทนอธิการบดี ชี้ราชภัฏสุราษฎร์ธานีทำหน้าที่พี่เลี้ยงผู้ประเมินฯยันช่วยเหลืออย่างกัลญาณมิตร หวังผลลดการคอรับชั้น เน้นคุณธรรมความโปร่งใสให้ภาครัฐ …..เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กำหนดจัดประชุมชี้แจงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Integrity & Transparency Assessment: ITA) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี พ.ศ. 2560 ณ ห้อง GA 101 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..รศ.ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี ประธานในพิธีเปิดการประชุม ได้กล่าวต้อนรับตัวแทนองค์กรฯผู้เข้าประชุมและเปิดเผยถึงการดำเนินงานประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ITA) ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้รับมอบหมาย ให้เป็นผู้ดูแล ให้คำปรึกษาขั้นตอนและกระบวนการประเมิน ITA ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อลดปริมาณการทุจริตคอรัปชั่น และมุ่งเน้นให้การปฏิบัติงานในภาครัฐมีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ ตลอดจนการปฏิบัติงานที่ยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณ โดยได้กำหนดเป็นกรอบแนวคิดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และสังเคราะห์เป็นดัชนีหลักที่สำคัญ จำแนกดัชนีเป็นตัวชี้วัด ตัวชี้วัดย่อย ประเด็นในการสำรวจ และแปลงไปสู่คำถามที่ใช้ในการสอบถามความคิดเห็นหรือรวบรวมจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานของหน่วยงาน โดยใช้เครื่องมือวัด 3 ส่วน ได้แก่ 1. แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence – Based 2….

งานบริการวิชาการฯ จัดประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมการประเมิน ITA จังหวัดสุราษฎร์ธานี

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เน้นย้ำทีมกรรมการประเมินฯตรวจสอบเอกสารทุกระบบให้ละเอียดป้องกันปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณ และยึดเงื่อนไขใหม่ตรวจสอบการเก็บเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 9 ตุลาคม 2560 ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อการจัดประชุมชี้แจงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Integrity & Transparency Assessment: ITA) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี พ.ศ. 2560 ในวันที่ 11 ตุลาคม 2560 ณ ห้อง GA 101 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ประธานที่ประชุม ได้เปิดเผยถึงการเตรียมการจัดประชุมดังกล่าวว่า งานบริการวิชาการฯเน้นย้ำให้ทีมกรรมการผู้ประเมินดำเนินการตรวจสอบเอกสารการประเมินทุกขั้นตอนให้ละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณและในส่วนของการตรวจสอบเอกสารแบบสำรวจฯกำหนดให้ใช้เงื่อนไขการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน …..ด้าน นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ชี้แจงกำหนดการในการประชุมดังกล่าวว่า การประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมเพื่อจัดประชุมการประเมิน ITA ในวันที่ 11 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ควรให้กรรมการประเมินฯและเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการต่างๆและขั้นตอนการจัดเก็บเอกสารและการจัดทำรายงานประเมินฯ ทั้งนี้…

งานบริการวิชาการฯจับมือพ่อเมืองเทคโนโลยีฯ ระดมสมองเร่งยกระดับประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเกาะแรต

ด้านผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเผยทำเว็บไซต์ฉลุยแน่นอนแล้วเสร็จกลางเดือนธันวาคม 2560 นี้…..สืบเนื่องจากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ดำเนินการจัดทำและส่งมอบคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชุมชนเกาะแรต อ.ดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2560 ไปแล้วนั้น และได้สนทนาพูดคุยกับผู้นำชุมชนพร้อมทั้งชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นเกาะแรต ซึ่งได้ข้อสรุปว่า งานบริการวิชาการฯมีความคิดที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยการประชาสัมพันธ์ด้วยการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยวของเกาะดังกล่าว …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ประสานไปยังนายสมพร ศรีอาภานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมหารือในการจัดทำช่องทางการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ณ ห้องผู้อำนวยการฯ อาคารทีปังกรรัศมีโชติ โดยได้ข้อสรุปว่าการสร้างเว็บไซต์ในระยะแรกดำเนินการเป็นข้อมูลพื้นฐานซึ่งมีข้อมูลจัดเก็บไว้แล้ว และเพิ่มข้อมูลระยะทางการเดินทาง ข้อมูลที่พัก ร้านอาหาร และกิจกรรมการท่องเที่ยวรวมทั้งผลิตภัณฑ์ของฝาก …..ซึ่งผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ให้ความเห็นว่า ระยะแรกซึ่งเป็นระยะเร่งด่วน เราจะดูแลด้านข้อมูลพื้นฐานในเบื้องต้น และอยากจะยกระดับคุณภาพได้จริงก็ต่อเมื่อชุมชนสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ ตนมีความคิดที่จะพัฒนาศักยภาพของชาวชุมชนโดยดำเนินการอบรมจัดทำเว็บไซต์ เพื่อเป็นการต่อยอดให้กับรูปแบบการทำเว็บไซต์ และขอความร่วมมือให้ส่งตัวแทนจากชุมชนเข้าอบรม …..โดย ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เผยถึงบริบทชุมชนว่าตามที่ตนเองได้ลงไปสำรวจพื้นที่กับทีมงานจัดทำคู่มือฯพบว่าข้อมูลประชากรภายในท้องถิ่นมีจำนวนกว่า 300 คนซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพการทำประมงแถบชายฝั่ง และได้สอบถามเบื้องต้นถึงกิจกรรมการท่องเที่ยว “ชุมชนดังกล่าวมีกิจกรรมการตกปลา ชมปลาโลมาสีชมพู ปั่นจักรยาน นั่งแพเรือลากล่องเรือไปยังเกาะต่างๆ และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะเป็นประโยชน์ต่อการทำเว็บไซต์อย่างมากกล่าว ในส่วนของตัวแทนที่เข้าอบรมเว็บไซต์ ได้สอบถามในเบื้องต้นว่ามีอยู่ประมาณ 10…

งานบริการวิชาการฯ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะแรต–หาดนางกำเพื่อยกระดับชีวิต ชาวบ้านร้องขอ มรส.อย่าทิ้งชุมชน

ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ชี้ หวังยกระดับคุณภาพชีวิต เล็งพัฒนาสร้างเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว ส่องวิถีชีวิตชาวเกาะ เน้นย้ำไม่เปลี่ยนแปลงบริบทชุมชนแน่นอน …..เมื่อเวลา 12.30 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ส่งมอบคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเกาะแรต ณ ชุมชนเกาะแรต และ ชุมชนบ้านนางกำ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยคู่มือดังกล่าวประกอบไปด้วยรายละเอียดที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ การประกอบอาชีพของชาวบ้าน สังคม ความเชื่อ และพิธีกรรมของชุมชน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุม การบริการด้านการท่องเที่ยว และอื่นๆ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมครั้งนี้ว่า เป็นการส่งมอบคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเกาะแรต–หาดนางกำ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการฯได้จัดทำขึ้นเพื่อการประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพะลวย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีความเป็นธรรมชาติและงดงามมาก การทำคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงเป็นพันธกิจแรกที่เราต้องดำเนินการในความพิเศษของคู่มือดังกล่าวได้จัดทำเป็น 2 ภาษา คือภาษาไทย และภาษาจีน ซึ่งในปีต่อไปเรามีความคิดที่ต่อยอดพัฒนาชุมชนแห่งนี้ ด้วยการจัดทำเว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยว และจะยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกๆด้านที่จำเป็น ……อย่างไรก็ตามจากที่ได้พูดคุยกับผู้นำชุมชน ได้รับทราบถึงปัญหาและจุดอ่อนที่ต้องระดมความคิดจากหน่วยอื่นร่วมกันแก้ไข โดยประเด็นแรกที่เราต้องดำเนินการคือ ปัญหาการจัดการขยะของชาวชุมชน ซึ่งทราบว่าพื้นที่แห่งนี้มีถังขยะน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนขยะที่มีจำนวนมากโดยขยะส่วนใหญ่ได้ถูกกระแสน้ำพัดมาจากที่อื่น ประเด็นที่สองคือมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศน้อยมาก ซึ่งได้วิเคราะห์กันว่า เพราะชุมชนท้องถิ่นแห่งนี้ ไม่มีเพจเฟสบุ๊คแนะนำการท่องเที่ยวหรือเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ดังนั้นเราจึงมีความคิดเบื้องต้นว่าจะดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ…

มรส.ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9

…..มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีน้อมรำลึก ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช ณ บริเวณด้านหน้าศาลาทรงพระเจริญ ถนนศรีสุราษฎร์ธานี …..เมื่อเวลา 18.30 น. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้กำหนดจัดกิจกรรมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช (รัชกาลที่ 9) ซึ่งเป็นการจัดนิทรรศการแสดงภาพถ่าย “น้อมรำลึกในหลวง ร.9 เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยี่ยนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี” …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เข้าร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช ในหลวงราชกาลที่ 9 ซึ่งชาวราชภัฏฯสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนิทรรศการดังกล่าวจะเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่บันทึกในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทย ซึ่งแต่ละครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินล้วนแต่นำมาซึ่งประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพัฒนาแหล่งน้ำ เส้นทางคมนาคม ฯลฯ อีกทั้งโครงการพระราชดำริซึ่งถือเป็นความรักและความห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ท่าน …..ด้าน ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้กล่าวถึงกิจกรรมครั้งนี้ว่า เราล้วนเป็นชาวราชภัฏคำว่า “ราชภัฏ” หมายถึง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” ได้เป็นผู้ทำงานถวายเพื่อสนองพระราชกรณียกิจของพระองค์ ในเรื่องที่สำคัญพัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน ดังนั้น กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่ชาวสุราษฎร์ธานีทุกหมู่เหล่าร่วมกันน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ประเทศไทยโชคดีที่มีในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านทรงงานหนักเพื่อพสกนิกร…

มรส.แถลงสื่อ ประกาศเตรียมความพร้อมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯสุราษฎร์ธานี

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผย เกี่ยวก้อยเครือข่ายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนรมิตรนิทรรศการสืบสานโครงการพระราชดำริ พร้อมระดมศิลปินตกแต่งพระเมรุมาศจำลองงดงามอย่างสมพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 9 …..เมื่อเวลา 09.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 สุราษฎร์ธานีว่า งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯสุราษฎร์ธานี ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เตรียมการร่วมกับหน่วยงานต่างๆจัดทำนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งหัวใจหลักของการดำเนินงานครั้งนี้คือแสดงภาพประวัติศาสตร์ 3 ส่วน ซึ่งในส่วนที่ 1 คือเมื่อครั้งพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 15 ครั้ง แต่ละครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินล้วนเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพัฒนาแหล่งน้ำ เส้นทางคมนาคม ฯลฯ และทรงเป็นมิ่งขวัญ เป็นศูนย์รวมใจของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนที่ 2 คือ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ และส่วนที่ 3 โครงการพระราชดำริ…

งานบริการวิชาการฯ มรส. ระดมพลวางแผนพัฒนาต่อยอดเกาะพลวย

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย เตรียมงัดไม้เด็ดแปรรูปอาหารเพิ่มมูลค่า พร้อมผุดโฮมสเตย์ได้มาตรฐาน สมฐานะเกาะพลังงานสะอาด ด้านขุนพลพยาบาลชี้ต้องเพิ่มความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อสุขภาพชาวชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 10.00 น. งานบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น กำหนดจัดประชุมแผนพัฒนาต่อยอดโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอกสัก – เกาะพลวย โดยเชิญเครือข่ายภายในองคาพยพมหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว เข้าร่วมประชุมระดมความคิดในครั้งนี้ด้วย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวว่า ผลที่ได้จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย ทำให้เราต้องต่อยอดโครงการและวางแผนในแต่ละขั้นตอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำรงชีวิตของชาวชุมชนท้องถิ่นซึ่งถือเป็นคุณูปการอย่างมาก ซึ่งตอนนี้งานบริการวิชาการฯ ได้จัดทำแผนการพัฒนาโครงการฯดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2561 และได้กำหนดกิจกรรมประเด็นที่ต้องดำเนินการต่อคือ ในส่วนของการปฐมพยาบาลหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน “จริงอยู่ที่เขามีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ด้วยระยะทางที่เป็นอุปสรรคทำให้แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ ไม่สามารถเดินทางมาได้ในบางครั้ง นอกจากนี้ ระยะทางในการเดินทางไปโรงพยาบาลที่เกาะสมุย หรือเกาะพงัน มีค่าใช้จ่ายในการเช่าเหมาเรือค่อนข้างสูง ประมาณ 10,000 – 15,000 บาท” ดังนั้น โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และทางงานบริการวิชาการฯจะระดมเครือข่ายความร่วมมือเข้าไปช่วยเหลือในการลงพื้นที่ฝึกปฎิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับชาวบ้านในชุมชน…

โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส

โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment – ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ปรึกษาโครงการ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content