งานบริการวิชาการฯเดินหน้าการพัฒนาเพื่อเสนอเป็นสำนักบริการวิชาการฯในอนาคต

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯได้เดินทางมายังมหาวิทยาลัยทักษิณเพื่อเยี่ยมเยียนและหารือกับ ผศ.ดร.นุกูล อินทระสังขา รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เกี่ยวกับแนวทางการบริการวิชาการและพันธกิจท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้และเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อเสนอเป็นสำนักบริการวิชาการฯในอนาคต …..ตลอดระยะเวลากว่า 2 ชั่วโมง เราได้ข้อมูลและแนวทางที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะแนวคิดเกี่ยวกับ University Engagement ซึ่งเป็นแนวทางที่มหาวิทยาลัยยุคใหม่ควรทำโดยร่วมกับภาคประชาชนในท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นตัวเชื่อม 2 ภาคส่วนนี้เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการฝ่ายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในการยกฐานะสำนักบริการวิชาการฯในอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญเหนืออื่นใดคือน้ำใจอันงดงามที่จะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายระหว่างสองมหาวิทยาลัยในด้านบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือในมิติต่างๆ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพงานต่างๆของมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ตามที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้มีพลัง”SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บริการวิชาการฯ มรส.ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ลงพื้นที่ รร.ตชด. บ้านยางโพรง อ.ไชยา

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ลั่นกลางประชาคม มรส.พร้อมสนับสนุนองค์ความรู้ เปิดโลกทัศน์ให้ประชาชนชาวไชยาด้วยสรรพวิชาทุกศาสตร์ ย้ำชัด จังหวัดเคลื่อนที่ไปที่ใด มรส.จะไปที่นั่น …..ทั้งนี้บรรยากาศของงานได้มีกิจกรรมการแจกถุงยังชีพให้กับประชาชนในพื้นที่และมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และคณะ ได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการตามบูธต่างๆที่มาให้บริการประชาชนพร้อมทั้งร่วมสนทนากับผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆอย่างเป็นกันเอง…..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวว่า วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำองค์ความรู้ทั้ง 5 ภาคส่วนร่วมกับโครงการจังหวัดเคลื่อนที่มาให้บริการประชาชนในพื้นที่อำเภอไชยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ส่งเสริมศักยภาพยกระดับการดำรงชีวิตด้านวิชาการให้กับชาวชุมชน ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย จากคณะนิติศาสตร์ การจัดการร้านค้าปลีก 8 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ จากคณะวิทยาการจัดการ และตามรอยพ่อ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการนำเสนอสถานที่ที่พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ในหลวงราชกาลที่ 9 ทรงเสด็จ จากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานียังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้ภาษาของเยาวชนในพื้นที่อำเภอไชยา โดยจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาการเรียนภาษาสมัยใหม่ จากศูนย์ภาษา ส่งเสริมการอ่านและเทคโนโลยีหนังสือสามมิติ จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งการต่อยอดเพิ่มผลผลิตให้กับชาวชุมชน โดยวิธีการแปรรูปอาหารโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ดีเดย์ อบรมนมถั่วตัดธัญพืชและฝอยทองอบแห้ง ขุนเลหมู่ 1 ตบเท้าเข้าปฏิบัติการทำขนมแปรรูป หวังต่อยอดองค์ความรู้ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

คณะวิทยาศาสตร์ฯ อ้าแขนรับการมาเยือนของชาวชุมชนขุนเลหมู่ 1 ดร.สุพรรณิการ์ จัดเต็มองค์ความรู้นำทีมสอนทำขนมแปรรูปเสริมทักษะอาชีพด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี …..เมื่อเวลา 09.00 น.(18 มกราคม 2561 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนขุนทะเลแบบบูรณาการด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางอาชีพแก่ชุมชน “ขุนเล” โดยโครงการดังกล่าวเป็นการสรุปผลจากการประชุมเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 การติดตาม และขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตผลชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดทำแผนการดำเนินงานการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ของชุมชนขุนทะเล กำหนดให้มีการอบรมวิธีการทำขนมไทยอบแห้ง ในวันที่ 18 มกราคม 2561 นี้ …..ผศ.สุรินทร์ สมณะ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานในพิธีเปิดโครงการได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการดำเนินการดังกล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพยายามนำองค์ความรู้ในศาสตร์ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน ซึ่งเทศบาลตำบลขุนทะเลเป็นพื้นที่เป้าหมายในการให้บริการวิชาการแก่ท้องถิ่น โดยคณะฯได้ร่วมกับงานบริการวิชาการฯลงพื้นที่สำรวจความต้องการซึ่งพบว่าประชาชนต้องการได้รับการสนับสนุนด้านการจัดอบรมและส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพเสริมและหาตลาดรองรับ ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของการจัดโครงการนี้คือการช่วยเหลือและสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการที่แท้จริง …..ขณะที่ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงโครงการครั้งนี้ว่า หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ชุมชนเป้าหมายร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ผลสรุปว่า ประชาชนหมู่ที่ 1 ขุนทะเล มีความต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือโดยการนำองค์ความรู้ด้านการแปรรูปอาหารให้มีระยะเวลาในการบริโภคยาวนานขึ้น ซึ่งการทำขนมไทยเป็นอาชีพที่หมู่บ้านดังกล่าวทำขายทุกวันโดยตลาดในการวางจำหน่ายจะเป็นบริเวณพื้นที่ตำบลขุนทะเลและบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น ดังนั้นเมื่อชาวบ้านสามารถทำการแปรรูปขนมไทยได้แล้วมหาวิทยาลัยจึงมีความคิดที่จะหาช่องทางตลาตเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งได้ร่วมพูดคุยกับคณะวิทยาการจัดการในเบื้องต้นแล้ว …..ขณะที่ ดร.สุพรรณิการ์…

งานบริการวิชาการฯ มรส.ร่วมกับอบจ.สุราษฎร์ธานี เปิดฟลอร์ให้โชว์กึ๋น นำเสนอโครงการพัฒนาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยว ดอนสัก – เกาะพะลวย

ที่ปรึกษาอธิการบดี ยก ปรากฏการณ์ คลื่น VUCA มรส.และ อบจ. ต้องร่วมฝ่าฟันไปด้วยกัน ชี้ชัด! ทำงานแบบ atand alone ไม่ได้อีกแล้ว ควรจับมือตั้งเป้าหมายเพื่อชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง …..เมื่อ‪เวลา 10.00 น. (18 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ       สุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมเพื่อนำเสนอโครงการพัฒนาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพะลวย ณ ห้องประชุมผดุงชาติ สำนักงานอธิการบดี ทั้งนี้ ได้มีผู้บริหารและผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด      สุราษฎร์ธานีเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณารายละเอียดกระบวนการดำเนินงานของอาจารย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการดังกล่าว โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์  พุทธิชีวิน ที่ปรึกษาอธิการบดี เป็นประธานที่ประชุมและกล่าวต้อนรับคณะทำงาน …..เนื่องจากโครงการพัฒนาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพะลวย ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2559 ซึ่งในปีงบประมาณ 2561 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ดำเนินการกำหนดแผนเพื่อต่อยอดในการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆให้มีหลากหลายมากขึ้น ดังนั้นคณะทำงานจึงมีความคิดที่จะสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่มีนโยบายและเจตนารมย์เดียวกันในการทำงาน …..ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์  พุทธิชีวิน ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ทำการเปิดประชุมและให้แนวคิดในการดำเนินงานว่า การวางแผนและการดำเนินงานในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ จะทำงานแบบ stand…

เปิดศักราชใหม่สุดพีค ! งานบริการวิชาการฯคว้าอับดับ 1 การจัดการเว็บไซต์ระดับหน่วยงาน

ทีมงานบริการวิชาการฯ ปลื้ม “เทิร์นโปร” สู่แท่นอันดับ 1 โครงการขับเคลื่อนอันดับเว็บไซต์ มรส. พร้อมขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยสนับสนุนงานบริการวิชาการฯ เชื่อมั่นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยฯ อยู่ไม่ไกล เร่งพัฒนาระบบพร้อมอัฟเดดข่าวสารต่อเนื่อง …..ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีนโยบายขับเคลื่อนอันดับมหาวิทยาลัย ด้วยการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกและเผยแพร่การจัดอันดับผ่านทางเว็บไซต์ http://www.webometrics.info โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดอับดับเว็บที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการอิเล็กทรอนิกส์และกิจกรรมผ่านทางอินเทอร์เน็ต ตลอดจนสนับสนุนการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง ทั้งนี้ จากการรายงานผลการดำเนินงาน การจัดการเว็บไซต์ระดับหน่วยงาน โครงการขับเคลื่อนอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ 2561 ผลปรากฏว่าหน่วยงานที่ได้อับดับหนึ่งในโครงการดังกล่าวได้แก่งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งได้คะแนนรวม 76.6 % จาก 100 % เต็ม …..ด้าน ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เปิดเผยถึงความรู้สึกว่า “นับเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่งานบริการวิชาการฯได้รับรางวัลอันดับ 1 ของการจัดอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระดับหน่วยงาน ซึ่งรางวัลดังกล่าวจะสร้างขวัญและกำลังใจต่อทีมงานบริการฯ โดยส่วนตัวยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติหน้าตามพันธกิจของหน่วยงานและมหาวิทยายลัยอย่างเต็มพละกำลัง ซึ่งกิจกรรมการลงพื้นที่ตามหมู่บ้านต่างๆของตำบลขุนทะเล และการดำเนินโครงการที่ระบุไว้ในแผน หรือโครงการที่ชุมชนขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ทุกงานที่กล่าวมาทางทีมงานได้เผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้รับบริการด้านข้อมูลข่าวสาวสามารถรับรู้ได้ทันที เพราะเป็นนโยบายที่ดำเนินการวันต่อวัน คือการทำกิจกรรมอันใดก็แล้วแต่จะต้องอัฟเดตข้อมูลภายในวันนั้น สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยที่จัดทำโครงการดีๆให้กับหน่วยงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง และขอบคุณทีมงานบริการวิชาการฯทุกท่านที่ใช้สรรพกำลังทั้งหมดปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดกำลังและสุดความสามารถ” …..ขณะที่ นายอาซีด ทิ้งปากถ้ำ…

งานบริการวิชาการฯ ร่วมกับ UBI ลงพื้นที่หมู่ 5 ขุนเลติดตาม ความก้าวหน้าโครงการสายใยรักฯ – เศรษฐกิจพอเพียง

ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ ฟิตเปรี๊ย ! เสนอองค์ความรู้ ใส่พานให้ชุมชน พร้อมเสิร์ฟอบรม CPR – ตลาดออนไลน์ ย้ำกับชาวบ้านขุนเล อยากให้มรส.ช่วยอะไรขอให้บอก พร้อมจัดให้เสมอ …..เมื่อ‪เวลา 12.45 น. (1‬7 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดยดร.สมราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและคณะ พร้อมด้วยผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ณ สำนักงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 5 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้นำชุมชนและแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า ชาวบ้านชุมชนหมู่ที่ 5 ขุนทะเลมีความต้องการทำกิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และ เลี้ยงไก่อารมณ์ดี ในโครงการโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ปีงบประมาณ 2561 …..ตามที่ได้แจ้งไว้ที่ประชุมครั้งก่อน (8 พฤศจิกายน 2560) ซึ่งวันนีร้ทีมงานบริการวิชาการฯและทีมบ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางมาติดตามความก้าวหน้า…

งานบริการวิชาการฯ ลงพื้นการให้บริการวิชการจังหวัดกระบี่

…..เมื่อ‪เวลา 10.30 น.ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่นและอาจารย์ชวกิจ ทองนุ้ยพราหมณ์ ได้มาปฏิบัติราชการในการส่งมอบงานโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกระบี่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560  งวดที่3 ในฐานะที่มหาวิทยาลัยได้รับความไว้วางใจเป็นที่ปรึกษาประเมิน ณ ศาลากลางจังหวัดกระบี่ ตำบล ปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ …..วันนี้การขับเคลื่อนภารกิจของฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกและท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง ดังปณิธานที่เราได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บริการวิชาการประชุมหารือการทำแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ และเส้นทางท่องเที่ยว

…..วันนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สำนักวิจัยและพัฒนาได้ประชุมร่วมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ ระยะ 5 ปี โดยในวันนี้เป็นการจัดลำดับงานต่างๆแยกเข้าสู่แต่ละปี ผลที่ได้คือจากนี้ไปโจทย์วิจัยต่างๆจะสอดคล้องและสัมพันธ์กับงานบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องในท้องถิ่นเป็นหลัก …..จากนั้นในช่วงบ่ายฝ่ายบริการวิชาการได้เชิญผู้แทนจากฝ่ายสื่อสารองค์กร และผู้แทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวมาหารือเกี่ยวกับการนำเที่ยวภายในมหาวิทยาลัย โดยกิจกรรมนี้จะบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนในหลักสูตรการท่องเที่ยว ของวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ทั้งนี้ได้ยึดแนวทางที่ว่า พื้นที่ทุกส่วนของมหาวิทยาลัยต้องเป็นองค์ความรู้ให้กับทุกท่านที่มาเยี่ยมชมอย่างประทับใจ โดยในวันนี้เราได้เริ่มต้นเก็บข้อมูลจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมีทีมงานพาพวกเราไปเยี่ยมชมนิทรรศการท่านพุทธทาสภิกขุ นิทรรศการความเป็นมาของชาวสุราษฎร์ธานี รวมทั้งพื้นที่ก่อสร้างเรือนไทยสี่ภาคซึ่งจะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้ …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะหาแนวทางต่างๆ เพื่อให้พี่น้องได้สามารถใช้ประโยชน์จากมหาวิทยาลัยอย่างหลากหลายมิติ พวกเราต่างพยายามที่จะเดินหน้าเพื่อท้องถิ่นอย่างสุดกำลังความสามารถ ดังปณิธานที่เราได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง”SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ ร่วมกับเครือข่ายสาขาวิชาการเมืองการปกครอง รปศ.–พัฒนาชุมชน ผุดไอเดีย ฐานข้อมูลชุมชนขุนเล หวังพัฒนาและบูรณาการกับการเรียนการสอน

แกนนำหัวกะทิจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดมความคิดการสร้างข้อมูลสารสนเทศ การบริหารจัดการฐานข้อมูลเพื่อการบริการวิชาการ ผลการหารือ ชี้นำร่อง 3 สาขาวิชา สายแข็งออกแบบเครื่องมือเพื่อการสำรวจบริบทชุมชนและจัดเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐาน …..เมื่อเวลา 14.00 น. (12 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยอาจารย์ธาตรี คำแหง แกนนำคณาจารย์จากสาขาวิชาการเมืองการปกครอง อาจารย์พงศ์เทพ แก้วเสถียร แกนนำคณาจารย์จากสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน และ อาจารย์วิทวัส ขุนหนู ประธานสาชาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมการประชุมหารือ เรื่องการจัดเก็บฐานข้อมูลชุมชน ณ ห้องประชุมเล็ก ชั้น 2 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นการประชุมหารือด้วย …..ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นการร่วมแสดงความคิดเห็นและแนวทางการดำเนินงานในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการในชุมชนท้องถิ่นพื้นที่ตำบลขุนทะเลทั้ง 10 หมู่บ้าน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะนำไปเป็นข้อมูลสารสนเทศในการบูรณาการการเรียนการสอนซึ่งเริ่มใช้โดยศาสตร์ของการพัฒนาชุมชนและศาสตร์ของรัฐประศาสนศาสตร์ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงผลจากการร่วมหารือและแนวทางในการดำเนินงานระยะต่อไปว่า “มหาวิทยาลัยฯมีความคิดที่จะทำฐานข้อมูลในการบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นในลักษณะของฐานข้อมูลชุมชนเพื่อการบริการวิชาการ…

มรส.ร่วมการประชุมเพื่อนำเสนอโครงการต่อสำนักงบประมาณ

…..ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น ร่วมกับฝ่ายแผนฯ และผู้รับผิดชอบโครงการต่างๆของมหาวิทยาลัยที่ของบเข้าแผนจังหวัดปี 62 จำนวน 5 โครงการ เข้าประชุมเพื่อนำเสนอโครงการต่อสำนักงบประมาณ ณ ห้องตาปี ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..ทั้งนี้โครงการของฝ่ายบริการวิชาการซึ่งเป็นโครงการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางพาราอย่างยั่งยืน ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการปลูก การดูแลรักษา การกรีด การปรับปรุงคุณภาพน้ำยางและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมใต้ถุน 2. จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารเพื่อเกษตรกรชาวสวนยางในทุกมิติ และ 3. การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตชาวสวนยาง ภายใต้งบประมาณ 5 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มที่จะได้งบประมาณตามที่ขอไป …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำทุกสรรพกำลังที่มีเพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือพี่น้องในท้องถิ่นอย่างแข็งขัน เราพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการฝ่าฟันทุกปัญหาในฐานะคนในครอบครัวเดียวกัน ดังปณิธานที่เราได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน/ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content