งานบริการวิชาการฯจับมือพ่อเมืองเทคโนโลยีฯ ระดมสมองเร่งยกระดับประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเกาะแรต

ด้านผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเผยทำเว็บไซต์ฉลุยแน่นอนแล้วเสร็จกลางเดือนธันวาคม 2560 นี้…..สืบเนื่องจากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ดำเนินการจัดทำและส่งมอบคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชุมชนเกาะแรต อ.ดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2560 ไปแล้วนั้น และได้สนทนาพูดคุยกับผู้นำชุมชนพร้อมทั้งชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นเกาะแรต ซึ่งได้ข้อสรุปว่า งานบริการวิชาการฯมีความคิดที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยการประชาสัมพันธ์ด้วยการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยวของเกาะดังกล่าว …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ประสานไปยังนายสมพร ศรีอาภานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมหารือในการจัดทำช่องทางการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ณ ห้องผู้อำนวยการฯ อาคารทีปังกรรัศมีโชติ โดยได้ข้อสรุปว่าการสร้างเว็บไซต์ในระยะแรกดำเนินการเป็นข้อมูลพื้นฐานซึ่งมีข้อมูลจัดเก็บไว้แล้ว และเพิ่มข้อมูลระยะทางการเดินทาง ข้อมูลที่พัก ร้านอาหาร และกิจกรรมการท่องเที่ยวรวมทั้งผลิตภัณฑ์ของฝาก …..ซึ่งผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ให้ความเห็นว่า ระยะแรกซึ่งเป็นระยะเร่งด่วน เราจะดูแลด้านข้อมูลพื้นฐานในเบื้องต้น และอยากจะยกระดับคุณภาพได้จริงก็ต่อเมื่อชุมชนสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ ตนมีความคิดที่จะพัฒนาศักยภาพของชาวชุมชนโดยดำเนินการอบรมจัดทำเว็บไซต์ เพื่อเป็นการต่อยอดให้กับรูปแบบการทำเว็บไซต์ และขอความร่วมมือให้ส่งตัวแทนจากชุมชนเข้าอบรม …..โดย ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เผยถึงบริบทชุมชนว่าตามที่ตนเองได้ลงไปสำรวจพื้นที่กับทีมงานจัดทำคู่มือฯพบว่าข้อมูลประชากรภายในท้องถิ่นมีจำนวนกว่า 300 คนซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพการทำประมงแถบชายฝั่ง และได้สอบถามเบื้องต้นถึงกิจกรรมการท่องเที่ยว “ชุมชนดังกล่าวมีกิจกรรมการตกปลา ชมปลาโลมาสีชมพู ปั่นจักรยาน นั่งแพเรือลากล่องเรือไปยังเกาะต่างๆ และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะเป็นประโยชน์ต่อการทำเว็บไซต์อย่างมากกล่าว ในส่วนของตัวแทนที่เข้าอบรมเว็บไซต์ ได้สอบถามในเบื้องต้นว่ามีอยู่ประมาณ 10…

หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี

อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี   องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี  เทศบาลตำบลวัดประดู่  เทศบาลตำบลขุนทะเล  องค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนาก  องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย  องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย  องค์การบริหารส่วนตำบลบางใบไม้  องค์การบริหารส่วนตำบลบางไทร  องค์การบริหารส่วนตำบลบางโพธิ์  องค์การบริหารส่วนตำบลบางชนะ   อำเภอกาญจนดิษฐ์   เทศบาลตำบลช้างซ้าย เทศบาลตำบลท่าทองใหม่ เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ เทศบาลตำบลกรูด เทศบาลตำบลช้างขวา องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสระ องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทอง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทองใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกง องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งรัง องค์การบริหารส่วนตำบลป่าร่อน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอุแท   องค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส อำเภอเกาะพะงัน   เทศบาลตำบลเกาะพะงัน เทศบาลตำบลเกาะเต่า เทศบาลตำบลบ้านใต้ เทศบาลตำบลเพชรพะงัน อำเภอเกาะสมุย   เทศบาลนครเกาะสมุย   อำเภอคีรีรัฐนิคม   เทศบาลตำบลท่าขนอน องค์การบริหารส่วนตำบลกะเปา องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงขร องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระดาน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง องค์การบริหารส่วนตำบลย่านยาว องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหัก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทำเนียบ   อำเภอเคียนซา   เทศบาลตำบลเคียนซา…

งานบริการวิชาการฯ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะแรต–หาดนางกำเพื่อยกระดับชีวิต ชาวบ้านร้องขอ มรส.อย่าทิ้งชุมชน

ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ชี้ หวังยกระดับคุณภาพชีวิต เล็งพัฒนาสร้างเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว ส่องวิถีชีวิตชาวเกาะ เน้นย้ำไม่เปลี่ยนแปลงบริบทชุมชนแน่นอน …..เมื่อเวลา 12.30 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ส่งมอบคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเกาะแรต ณ ชุมชนเกาะแรต และ ชุมชนบ้านนางกำ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยคู่มือดังกล่าวประกอบไปด้วยรายละเอียดที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ การประกอบอาชีพของชาวบ้าน สังคม ความเชื่อ และพิธีกรรมของชุมชน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุม การบริการด้านการท่องเที่ยว และอื่นๆ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมครั้งนี้ว่า เป็นการส่งมอบคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเกาะแรต–หาดนางกำ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการฯได้จัดทำขึ้นเพื่อการประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพะลวย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีความเป็นธรรมชาติและงดงามมาก การทำคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงเป็นพันธกิจแรกที่เราต้องดำเนินการในความพิเศษของคู่มือดังกล่าวได้จัดทำเป็น 2 ภาษา คือภาษาไทย และภาษาจีน ซึ่งในปีต่อไปเรามีความคิดที่ต่อยอดพัฒนาชุมชนแห่งนี้ ด้วยการจัดทำเว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยว และจะยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกๆด้านที่จำเป็น ……อย่างไรก็ตามจากที่ได้พูดคุยกับผู้นำชุมชน ได้รับทราบถึงปัญหาและจุดอ่อนที่ต้องระดมความคิดจากหน่วยอื่นร่วมกันแก้ไข โดยประเด็นแรกที่เราต้องดำเนินการคือ ปัญหาการจัดการขยะของชาวชุมชน ซึ่งทราบว่าพื้นที่แห่งนี้มีถังขยะน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนขยะที่มีจำนวนมากโดยขยะส่วนใหญ่ได้ถูกกระแสน้ำพัดมาจากที่อื่น ประเด็นที่สองคือมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศน้อยมาก ซึ่งได้วิเคราะห์กันว่า เพราะชุมชนท้องถิ่นแห่งนี้ ไม่มีเพจเฟสบุ๊คแนะนำการท่องเที่ยวหรือเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ดังนั้นเราจึงมีความคิดเบื้องต้นว่าจะดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ…

มรส.ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9

…..มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีน้อมรำลึก ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช ณ บริเวณด้านหน้าศาลาทรงพระเจริญ ถนนศรีสุราษฎร์ธานี …..เมื่อเวลา 18.30 น. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้กำหนดจัดกิจกรรมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช (รัชกาลที่ 9) ซึ่งเป็นการจัดนิทรรศการแสดงภาพถ่าย “น้อมรำลึกในหลวง ร.9 เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยี่ยนราษฎรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี” …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เข้าร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลเดช ในหลวงราชกาลที่ 9 ซึ่งชาวราชภัฏฯสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนิทรรศการดังกล่าวจะเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่บันทึกในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทย ซึ่งแต่ละครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินล้วนแต่นำมาซึ่งประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพัฒนาแหล่งน้ำ เส้นทางคมนาคม ฯลฯ อีกทั้งโครงการพระราชดำริซึ่งถือเป็นความรักและความห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ท่าน …..ด้าน ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้กล่าวถึงกิจกรรมครั้งนี้ว่า เราล้วนเป็นชาวราชภัฏคำว่า “ราชภัฏ” หมายถึง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” ได้เป็นผู้ทำงานถวายเพื่อสนองพระราชกรณียกิจของพระองค์ ในเรื่องที่สำคัญพัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน ดังนั้น กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่ชาวสุราษฎร์ธานีทุกหมู่เหล่าร่วมกันน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ประเทศไทยโชคดีที่มีในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านทรงงานหนักเพื่อพสกนิกร…

มรส.แถลงสื่อ ประกาศเตรียมความพร้อมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯสุราษฎร์ธานี

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผย เกี่ยวก้อยเครือข่ายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนรมิตรนิทรรศการสืบสานโครงการพระราชดำริ พร้อมระดมศิลปินตกแต่งพระเมรุมาศจำลองงดงามอย่างสมพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 9 …..เมื่อเวลา 09.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 สุราษฎร์ธานีว่า งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯสุราษฎร์ธานี ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เตรียมการร่วมกับหน่วยงานต่างๆจัดทำนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งหัวใจหลักของการดำเนินงานครั้งนี้คือแสดงภาพประวัติศาสตร์ 3 ส่วน ซึ่งในส่วนที่ 1 คือเมื่อครั้งพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 15 ครั้ง แต่ละครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินล้วนเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพัฒนาแหล่งน้ำ เส้นทางคมนาคม ฯลฯ และทรงเป็นมิ่งขวัญ เป็นศูนย์รวมใจของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนที่ 2 คือ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ และส่วนที่ 3 โครงการพระราชดำริ…

งานบริการวิชาการฯ มรส. ระดมพลวางแผนพัฒนาต่อยอดเกาะพลวย

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย เตรียมงัดไม้เด็ดแปรรูปอาหารเพิ่มมูลค่า พร้อมผุดโฮมสเตย์ได้มาตรฐาน สมฐานะเกาะพลังงานสะอาด ด้านขุนพลพยาบาลชี้ต้องเพิ่มความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อสุขภาพชาวชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 10.00 น. งานบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น กำหนดจัดประชุมแผนพัฒนาต่อยอดโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอกสัก – เกาะพลวย โดยเชิญเครือข่ายภายในองคาพยพมหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว เข้าร่วมประชุมระดมความคิดในครั้งนี้ด้วย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวว่า ผลที่ได้จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย ทำให้เราต้องต่อยอดโครงการและวางแผนในแต่ละขั้นตอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำรงชีวิตของชาวชุมชนท้องถิ่นซึ่งถือเป็นคุณูปการอย่างมาก ซึ่งตอนนี้งานบริการวิชาการฯ ได้จัดทำแผนการพัฒนาโครงการฯดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2561 และได้กำหนดกิจกรรมประเด็นที่ต้องดำเนินการต่อคือ ในส่วนของการปฐมพยาบาลหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน “จริงอยู่ที่เขามีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ด้วยระยะทางที่เป็นอุปสรรคทำให้แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ ไม่สามารถเดินทางมาได้ในบางครั้ง นอกจากนี้ ระยะทางในการเดินทางไปโรงพยาบาลที่เกาะสมุย หรือเกาะพงัน มีค่าใช้จ่ายในการเช่าเหมาเรือค่อนข้างสูง ประมาณ 10,000 – 15,000 บาท” ดังนั้น โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และทางงานบริการวิชาการฯจะระดมเครือข่ายความร่วมมือเข้าไปช่วยเหลือในการลงพื้นที่ฝึกปฎิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับชาวบ้านในชุมชน…

โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส

โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment – ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ปรึกษาโครงการ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ ชื่นมื่นรับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ฯ ฟุ้งผ่านฉลุย! ด้านกรรมการประเมินฯแจกยาหอม องค์ประกอบที่ 3 มีคุณภาพตอบสนองชุมชนท้องถิ่น เสนอแนะให้เร่งต่อยอดโครงการฯในปีต่อไป

ทึ่งผลการดำเนินงานพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย และแนวคิดสนับสนุนเป็นศูนย์กลางที่ปรึกษายางพารา …..งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 ณ ห้องประชุมผดุงชาติ อาคารอำนวยการ โดยรับการตรวจประเมินในองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ …..ทั้งนี้ เมื่อเวลา 09.45 น. ผู้ช่วยอธิการบดี หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และหัวหน้างานพันธกิจสังคม พร้อมทั้งบุคลากรผู้ดำเนินงานประกันคุณภา พการศึกษา ได้ร่วมพูดคุยและตอบข้อซักถามกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายใน คือ ผศ.ดร.ลดาวัลย์ แก้วสีนวล ซึ่งบรรยากาศการสนทนาเป็นไปอย่างเรียบง่ายและเป็นกันเอง โดยกรรมการประเมินได้กล่าวชื่นชมผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย และแนวคิดการอนุรักษ์บริบทท้องถิ่น รวมทั้งการทำวิจัยเรื่องยางพารานำเสนอเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น โดยยกระดับเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และเป็นข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผลผลิตยางพารา …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ชี้แจง กรรมการประเมินว่า “การดำเนินโครงการของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มิใช่หวังเพียงแต่การจัดโครงการเท่านั้น แต่เราจะกำกับ ติดตาม ดูแลชุมชนท้องถิ่นและดำเนินการโครงการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ทั้งนี้ ความคิดในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย ต้องคำนึงถึงบริบทชุมชนท้องถิ่น การประกอบอาชีพวิถีชีวิตของชาวบ้านด้วย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ในสภาพเดิมเป็นสิ่งสำคัญ…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเกมส์รุก ต้อนรับปีงบประมาณ 2561

ยกระดับช่องทางประชาสัมพันธ์ 2 ภาษา หวังตีตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ พุ่งเป้าสู่เส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพลวย ด้วย Socail network     เมื่อเวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมเรียนรู้ 5 ชั้น 2 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี งานบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น ได้จัดประชุมผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย เพื่อร่วมหารือแนวทางการพัฒนาโครงการประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพลวย ด้วย Socail network เตรียมยกระดับให้เป็น 2 ภาษา เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น โดยเชิญหน่วยงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบคือศูนย์ภาษา และ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ร่วมระดมความคิดและให้ข้อเสนอแนะ แนวทางการดำเนินงานด้วย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานดังกล่าวว่า “งานบริการวิชาการพัฒนาถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ต้องการยกระดับเว็บไซต์ การท่องเทียวให้ได้มาตรฐานสากลเทียบเคียงกับเว็บไซต์การท่องเที่ยวของหน่วยงานอื่นๆ นอกจากนี้การทำเว็บไซต์ ดังกล่าวยังสามารถให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ ได้ทราบถึงทรัพยากรที่หลากหลากหลาย และข้อมูลเส้นทางการเดินทางที่ถูกต้องและปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ภายในอนาคต”…

มรส.ต่อยอดประเด็นการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ ต.ขุนทะเล

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ร่วมกับคณาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ ดร.วัชรี รวยรื่น และอาจารย์นิสากร สุขหิรัญ พวกเราได้ร่วมกันหารือเพื่อต่อยอดประเด็นการบริหารจัดการขยะ ในพื้นที่ ต.ขุนทะเล ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านให้ความสำคัญว่า เป็นประเด็นปัญหาที่ควรแก้ไขเป็นอันดับแรก และอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไข โดยหลังจากที่ได้มีการรวบรวมข้อมูลพบว่า พื้นที่ขุนทะเลมีขยะมากถึง 15-16 ตัน/วัน และต้องใช้งบประมาณในการกำจัดขยะจำนวนมาก โดยขณะนี้มหาวิทยาลัยได้จัดชุดโครงการบริหารจัดการขยะ ต.ขุนทะเล ซึ่งมีโครงการย่อยร่วม 20 โครงการ ตามงบประมาณ ปี 2561 และอยู่ในระหว่างจัดทำการของบประมาณจาก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาวิจัยในประเด็นการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาล ต.ขุนทะเล วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเดินหน้าในทุกมิติเพื่อร่วมกันกับท้องถิ่นในการแก้ปัญหาและยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องอย่างเอาจริงเอาจัง เราพร้อมที่จะฟันฝ่าทุกอุปสรรคเพื่อสร้างพลังให้กับแผ่นดินนี้ร่วมกัน ในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน  “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content