งานบริการวิชาการฯ ร่วมกับ UBI ลงพื้นที่หมู่ 5 ขุนเลติดตาม ความก้าวหน้าโครงการสายใยรักฯ – เศรษฐกิจพอเพียง

ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ ฟิตเปรี๊ย ! เสนอองค์ความรู้ ใส่พานให้ชุมชน พร้อมเสิร์ฟอบรม CPR – ตลาดออนไลน์ ย้ำกับชาวบ้านขุนเล อยากให้มรส.ช่วยอะไรขอให้บอก พร้อมจัดให้เสมอ …..เมื่อ‪เวลา 12.45 น. (1‬7 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดยดร.สมราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและคณะ พร้อมด้วยผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ณ สำนักงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 5 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้นำชุมชนและแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า ชาวบ้านชุมชนหมู่ที่ 5 ขุนทะเลมีความต้องการทำกิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และ เลี้ยงไก่อารมณ์ดี ในโครงการโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ปีงบประมาณ 2561 …..ตามที่ได้แจ้งไว้ที่ประชุมครั้งก่อน (8 พฤศจิกายน 2560) ซึ่งวันนีร้ทีมงานบริการวิชาการฯและทีมบ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางมาติดตามความก้าวหน้า…

งานบริการวิชาการฯ ลงพื้นการให้บริการวิชการจังหวัดกระบี่

…..เมื่อ‪เวลา 10.30 น.ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่นและอาจารย์ชวกิจ ทองนุ้ยพราหมณ์ ได้มาปฏิบัติราชการในการส่งมอบงานโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกระบี่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560  งวดที่3 ในฐานะที่มหาวิทยาลัยได้รับความไว้วางใจเป็นที่ปรึกษาประเมิน ณ ศาลากลางจังหวัดกระบี่ ตำบล ปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ …..วันนี้การขับเคลื่อนภารกิจของฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกและท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง ดังปณิธานที่เราได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บริการวิชาการประชุมหารือการทำแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ และเส้นทางท่องเที่ยว

…..วันนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สำนักวิจัยและพัฒนาได้ประชุมร่วมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ ระยะ 5 ปี โดยในวันนี้เป็นการจัดลำดับงานต่างๆแยกเข้าสู่แต่ละปี ผลที่ได้คือจากนี้ไปโจทย์วิจัยต่างๆจะสอดคล้องและสัมพันธ์กับงานบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องในท้องถิ่นเป็นหลัก …..จากนั้นในช่วงบ่ายฝ่ายบริการวิชาการได้เชิญผู้แทนจากฝ่ายสื่อสารองค์กร และผู้แทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวมาหารือเกี่ยวกับการนำเที่ยวภายในมหาวิทยาลัย โดยกิจกรรมนี้จะบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนในหลักสูตรการท่องเที่ยว ของวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ทั้งนี้ได้ยึดแนวทางที่ว่า พื้นที่ทุกส่วนของมหาวิทยาลัยต้องเป็นองค์ความรู้ให้กับทุกท่านที่มาเยี่ยมชมอย่างประทับใจ โดยในวันนี้เราได้เริ่มต้นเก็บข้อมูลจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมีทีมงานพาพวกเราไปเยี่ยมชมนิทรรศการท่านพุทธทาสภิกขุ นิทรรศการความเป็นมาของชาวสุราษฎร์ธานี รวมทั้งพื้นที่ก่อสร้างเรือนไทยสี่ภาคซึ่งจะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้ …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะหาแนวทางต่างๆ เพื่อให้พี่น้องได้สามารถใช้ประโยชน์จากมหาวิทยาลัยอย่างหลากหลายมิติ พวกเราต่างพยายามที่จะเดินหน้าเพื่อท้องถิ่นอย่างสุดกำลังความสามารถ ดังปณิธานที่เราได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง”SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ ร่วมกับเครือข่ายสาขาวิชาการเมืองการปกครอง รปศ.–พัฒนาชุมชน ผุดไอเดีย ฐานข้อมูลชุมชนขุนเล หวังพัฒนาและบูรณาการกับการเรียนการสอน

แกนนำหัวกะทิจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดมความคิดการสร้างข้อมูลสารสนเทศ การบริหารจัดการฐานข้อมูลเพื่อการบริการวิชาการ ผลการหารือ ชี้นำร่อง 3 สาขาวิชา สายแข็งออกแบบเครื่องมือเพื่อการสำรวจบริบทชุมชนและจัดเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐาน …..เมื่อเวลา 14.00 น. (12 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยอาจารย์ธาตรี คำแหง แกนนำคณาจารย์จากสาขาวิชาการเมืองการปกครอง อาจารย์พงศ์เทพ แก้วเสถียร แกนนำคณาจารย์จากสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน และ อาจารย์วิทวัส ขุนหนู ประธานสาชาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมการประชุมหารือ เรื่องการจัดเก็บฐานข้อมูลชุมชน ณ ห้องประชุมเล็ก ชั้น 2 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นการประชุมหารือด้วย …..ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นการร่วมแสดงความคิดเห็นและแนวทางการดำเนินงานในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการในชุมชนท้องถิ่นพื้นที่ตำบลขุนทะเลทั้ง 10 หมู่บ้าน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะนำไปเป็นข้อมูลสารสนเทศในการบูรณาการการเรียนการสอนซึ่งเริ่มใช้โดยศาสตร์ของการพัฒนาชุมชนและศาสตร์ของรัฐประศาสนศาสตร์ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงผลจากการร่วมหารือและแนวทางในการดำเนินงานระยะต่อไปว่า “มหาวิทยาลัยฯมีความคิดที่จะทำฐานข้อมูลในการบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นในลักษณะของฐานข้อมูลชุมชนเพื่อการบริการวิชาการ…

มรส.ร่วมการประชุมเพื่อนำเสนอโครงการต่อสำนักงบประมาณ

…..ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น ร่วมกับฝ่ายแผนฯ และผู้รับผิดชอบโครงการต่างๆของมหาวิทยาลัยที่ของบเข้าแผนจังหวัดปี 62 จำนวน 5 โครงการ เข้าประชุมเพื่อนำเสนอโครงการต่อสำนักงบประมาณ ณ ห้องตาปี ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..ทั้งนี้โครงการของฝ่ายบริการวิชาการซึ่งเป็นโครงการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางพาราอย่างยั่งยืน ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการปลูก การดูแลรักษา การกรีด การปรับปรุงคุณภาพน้ำยางและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมใต้ถุน 2. จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารเพื่อเกษตรกรชาวสวนยางในทุกมิติ และ 3. การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตชาวสวนยาง ภายใต้งบประมาณ 5 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มที่จะได้งบประมาณตามที่ขอไป …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำทุกสรรพกำลังที่มีเพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือพี่น้องในท้องถิ่นอย่างแข็งขัน เราพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการฝ่าฟันทุกปัญหาในฐานะคนในครอบครัวเดียวกัน ดังปณิธานที่เราได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน/ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ร่วมกับอาจารย์พิชยา มณีนาวา คณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กพสจ.) โดยมีท่านโสภา กาญจนะ เป็นประธานในการประชุม ณ โรงแรมวังใต้ อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี …..โดยที่ประชุมได้มีมติให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นที่ปรึกษาในด้านวิชาการ และด้านกฎหมาย นอกจากนี้ในงานวันสตรีสากลซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม 2561 นั้น มหาวิทยาลัยจะเป็นสถานที่จัดงานในภาควิชาการ(ช่วงเช้า) ซึ่งจะมีการบรรยายพิเศษโดยนักพูดระดับประเทศ …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะมีส่วนร่วมกับทุกกิจกรรมของพี่น้องอย่างคนในครอบครัวเดียวกัน ทุกท่านมีสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยนี้อย่างเท่าเทียม เราพร้อมที่จะเป็นที่พึ่งพาในทุกมิติให้กับพี่น้องทุกคน ดังปณิธานที่เราได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ ร่วมหารือแม่ทัพท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี หวังขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนท้องถิ่น

ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เดินหน้ายกระดับและต่อยอดแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี ด้านท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เผย พร้อมดัน โครงการฯของมรส. เข้าสู่แผนงบประมาณ …..เมื่อเวลา 11.30 น. (8 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และคณะ ได้เดินทางไปยังสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ สนามกีฬากลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเข้าพบนายฑิฆัมพร สุทธิอุดมรัตน์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อหารือเรื่องแนวทางการขับเคลื่อนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้เคยเสนอโครงการจัดเว็บไซต์การท่องเที่ยวเฉลิมพระเกียรติ 65 แหล่งอันเนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลเฉลิมพระชนมายุครบ 65 พรรษา ของพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 จึงมีความคิดที่จะจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 65 แหล่ง และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และพัฒนายกระดับแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ซึ่งทางผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ให้การสนับสนุนและตอบรับการดำเนินการดังกล่าวเป็นอย่างดี …..และการร่วมประชุมหารือเพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในวันนี้จึงเป็นระยะที่ 2 ในการร่วมพิจาณาการยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงข้อสรุปในการหารือในเรื่องดังกล่าวว่าท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมที่จะสนับสนุนแนวทางในการขับเคลื่อนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เพราะเข้าใจเจตนารมย์ของมหาวิทยาลัยฯที่ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม โดยทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาฯ…

ฝ่ายบริการวิชาการฯ เดินเครื่องร่วมประชุมหารือ อบจ.สุราษฎร์ฯ พัฒนาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวดอนสัก–เกาะพะลวย

โหมโรง ! ปี 2561 ด้วยโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวของอาจารย์ มรส. ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย 18 มกราคม 2561 ดีเดย์ เร่งจัดประชุมระดมสมองเพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ …..เมื่อ‪เวลา 09.00 น.‬ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และคณะเดินทางไปร่วมประชุม ณ กองการศึกษาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม และหัวหน้าส่วนต่างๆขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย …..สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวดอนสัก-พะลวย มาตั้งแต่ปี 2559-2560 โดยได้สร้างผลิตผลด้านการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างเป็นที่น่าพึงพอใจ ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลจากการประเมินผลการดำเนินการโครงการนั้นพบว่า พื้นที่ดังกล่าวยังต้องพัฒนาในด้านต่างๆอีกมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงต้องการที่จะต่อยอดการดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และส่งผลในทางบวกกับพี่น้องประชาชนอย่างมากที่สุด …..ดร.สมปราชญ์  วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยว่า จากที่ได้ร่วมพูดคุยกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และหัวหน้างานในส่วนต่างๆขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางยกระดับพัฒนาและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวพื้นที่ดอนสัก-เกาะพะลวยว่า ให้มหาวิทยาลัยจัดทำโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวที่มีเนื้อหาในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวและคุณภาพชีวิตให้กับชาวชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อนำเสนอมายังฝ่ายแผนฯ …..นอกจากนี้ ได้กำหนดจัดประชุมเพื่อให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอข้อมูลให้กับทีมงานจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด ‪ในวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2561 โดยทางองค์การบริการส่วนจังหวัดฯ ได้เน้นย้ำเรื่องข้อมูลที่สามารถนำมาพิจารณา และหากเป็นไปได้อาจก้าวไปสู่การทำข้อตกลงความร่วมมือ…

งานบริการวิชาการฯคล้องแขนเครือข่าย ลงพื้นที่พุมเรียง ผุดโครงการจัดตั้ง “พุมเรียงโมเดล” ผนึกกำลังเครือข่าย ยกระดับมิติการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่

 วนช. จัดให้ ผลิตป้ายสื่อความหมายชุมชนระบบ Online ส่องประวัติศาสตร์ของพุมเรียง ตามรอยท่านพุทธทาส ด้านหอการค้าจังหวัดฯ ร่วมหนุน โปรเจคเสร็จพร้อมดันเต็ม Stream ​​…..เมื่อเวลา 09.30 น. (7 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ และคณะ ลงพื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยผู้อำนวยการและอาจารย์จากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ตัวแทนคณาจารย์จากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และตัวแทนคณาจารย์จากคณะวิทยาการจัดการ พร้อมทั้ง ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองและงานภูมิทัศน์และสถาปัตย์ นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนจากหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมเดินทางลงพื้นที่ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ คณะทำงานได้ร่วมพูดคุยกับแกนนำชุมชนพุมเรียง นำโดยนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลพุมเรียง ในเรื่องของการยกระดับมิติการท่องเที่ยวในด้านต่างๆ ณ อาคารศูนย์ท่องเที่ยวและเฝ้าระวังภัยพิบัติทางทะเล เทศบาลตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี​​…..โดยแกนนำชุมชนได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์ความต้องการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในตำบลพุมเรียงว่าอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ช่วยเหลือในการพัฒนาช่องทางการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทราบถึงที่มาความสำคัญของประวัติศาสตร์ชุมชน บริบทวิถีชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และที่สำคัญการจัดทำเรื่องราวต่างๆของพระธรรมโกศาจารย์ หรือรู้จักในนาม ท่านพุทธทาสภิกขุ “ตามรอยพระพุทธทาส”อันหมายถึงต้นกำเนิด สถานที่บวชครั้งแรก หรือการสร้างโรงเรียนท่านพุทธทาส นอกจากนี้กลุ่มแกนนำชาวพุมเรียงได้เสนอให้จัดทำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในมิติของการเกื้อกูลกันในวิถีไทยพุทธ –…

บริการวิชาการ มรส. ร่วมโครงการวาทศิลป์เยาวชนคนรุ่นใหม่และการประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้เข้าร่วมโครงการวาทศิลป์เยาวชนคนรุ่นใหม่ จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สุราษฎร์ธานี และสภาเด็กและเยาวชน จ.สุราษฎร์ธานี ณ โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงคุณค่าและเสน่ห์ของการพูด การใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ เพื่อเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยที่ทรงคุณค่าและปฏิบัติสืบกันไป …..จากนั้นในช่วงบ่าย ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อกำหนดนโยบายและการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยเป็นขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งมีทั้งหมด 14 กลุ่มจากทุกภาคส่วนทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมกับทุกภาคส่วนในการสร้างสรรค์งานที่สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในทุกรูปแบบ รวมทั้งความพยายามในการกำหนดแนวทางเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมจากพี่น้องประชาชน เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือจะนำมาซึ่งความสำเร็จร่วมกันอย่างภาคภูมิ เราพร้อมที่จะเดินหน้าร่วมกันกับพี่น้องในทุกมิติ ตามปณิธานที่ได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content