ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ รุดหารือ ผอ.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา เร่งผุดเว็บไซต์การท่องเที่ยวเฉลิมพระเกียรติ 65 แหล่ง

เผยเป้าหมายคือการประชาสัมพันธ์และพัฒนายกระดับแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ปลื้ม ผอ.สนง.การท่องเที่ยวฯตอบรับเจตนารมย์ พร้อม ทำ MOU ร่วมกัน …..เมื่อเวลา 10.30 น. ของวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยคณะและเจ้าหน้าที่จากศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้เดินทางไปยังสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อหารือและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำเว็บไซต์การท่องเที่ยวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 65 แหล่ง โดยมีนายฑิฆัมพร สุทธิอุดมรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา คุณจินตนา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับและร่วมหารือด้วย …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงเจตนารมย์ของการดำเนินการดังกล่าวว่า “เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลเฉลิมพระชนมายุครบ 65 พรรษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จึงมีความคิดที่จะจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 65 แหล่ง และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และพัฒนายกระดับแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เป็นที่รู้จักทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรมหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวมหัศจรรย์ (Unseen) ที่นักท่องเที่ยวไม่เคยรู้จักมาก่อนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี” …..ในส่วนของการดูแลและอัพเดทเว็บไซต์นั้น มหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดอบรมโดยสำนักวิทยบริการ ซึ่งจะจัดฝึกอบรมให้กับชาวบ้านในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ แหล่งละ 3 คน ซึ่งคาดการณ์เอาไว้ว่าจะมีจำนวนทั้งหมด…

ผู้ช่วยอธิการบดีฯเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาคุณภาพดินพื้นที่การเกษตรให้ชุมชนท้องถิ่น

บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ร่วมหารือ หวังช่วยเหลือ ตรวจสอบ คุณภาพมาตรฐานดิน เพื่อการปลูกพืชการเกษตรของชาวท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี …..เมื่อเวลา 11.00 น. ของวันที่ 30 ตุลาคม 2560 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ดำเนินการประชุมเพื่อหารือเรื่องการตรวจสอบคุณภาพของดินที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชการเกษตรของชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย ดร.สมปราชญ์ กล่าวว่า “เนื่องจากมหาวิทยาลัยฯได้ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ เดือนละ 1 อำเภอ ซึ่งหลังจากที่ได้ร่วมโครงการและได้พบปะพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรในแต่ละอำเภอ พบว่า คุณภาพของดินเพื่อการเกษตรนั้น เกษตรกรไม่มีความมั่นใจว่าจะมีความเหมาะสมในการปลูกพืชชนิดใด ดังนั้นมหาวิทยาลัยฯจึงมีแนวคิดที่จะช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น โดยการเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบคุณภาพของดิน โดยขอความร่วมมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อช่วยเหลือในด้านการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของดินมีขั้นตอนอย่างไร ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไรในการทดสอบ เช่น การใช้อุปกรณ์ test kits หรือการใช้น้ำยาเคมีในแล็ป” …..เบื้องต้น ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยกับการเก็บตัวอย่างของดินที่นำมาทดสอบโดยขอความอนุเคราะห์บุคลากรประจำศูนย์วิทยาศาสตร์เป็นวิทยากร นอกจากนี้ การใช้แผ่นพับ หรือคู่มือการเก็บตัวอย่างก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ควรดำเนินการ อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้ให้ข้อคิดเห็นว่าควรประสานไปยังสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 4 สุราษฎร์ธานี เพื่อหารือและทำความเข้าใจร่วมกัน …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ติดต่อไปยังผู้อำนวยการ…

ผู้ช่วยอธิการบดีฯรุดหารือผู้นำชุมชนละแม หวังแก้ปัญหาและพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต

ตั้งเป้าหาช่องทางการตลาดพร้อมผลักดันการประชาสัมพันธ์ ทำเว็บไซต์ให้ ตลาดใต้เคี่ยม เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยว ผุดโครงการต่อยอดการบริหารจัดการขยะเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม …..เมื่อเวลา 15:30 น. ของวันที่ 29 ตุลาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และคณะ ได้เดินทางไปยังตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เพื่อร่วมหารือกับผู้นำชุมชน การวิเคราะห์หาช่องทางการตลาดให้กับชาวชนละแม โดยมี นายนรินทร์ พันธ์เจริญ กำนันตำบลละแมให้การต้อนรับ …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้สนทนาเรื่องปัญหาและอุปสรรค การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์และช่องทางการขยายตลาดใต้เคี่ยมที่ทางผู้นำต้องการให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาและยกระดับ โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้กล่าวว่า “จากที่ได้ร่วมพูดคุยและร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆในหลายๆมิติของชาวชุมชนละแมพบว่า ตลาดใต้เคี่ยมมีวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติน่าสนใจมากมาย ซึ่งชาวชุมชนได้รวมตัวกันเปิดตลาดเพื่อการซื้อขายภายในชุมชนแต่ช่องทางการขยายตลาดที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับชาวชุมชนนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพดังที่ได้ตั้งใจไว้ในตอนเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความคิดว่าควรจะมีการประชาสัมพันธ์โดยการจัดทำเว็บไซต์ในหลายๆมิติ เช่น มีการนำเสนอรูปแบบตลาดใต้เคี่ยม แนะนำผลิตภัณฑ์แปรรูปตามธรรมชาติ นอกจากนี้ควรนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวสถานที่สำคัญของตำบลละแมด้วย ทั้งนี้ได้ขอความอนุเคราะห์บุคลากรในพื้นที่ชุมชน จำนวน 5 คน เพื่อการอบรมให้ความรู้เรื่องเว็บไซต์ เนื่องจากข้อมูล ข่าวสาร รูปภาพ ของชุมชนแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวต้องอัพเดทอยู่เสมอดังนั้นเมื่อมหาวิทยาลัยฯสร้างเว็บฯให้จึงอยากชาวชุมชนดูแลด้วยตัวของเขาเองและเมื่อมีปัญหามหาวิทยาลัยจะเข้ามาช่วยเหลือ นอกจากนี้มีความคิดต่อไปอีกว่าควรจัดทำบรรจุภัณฑ์หีบห่อให้เป็นอัตลักษณ์ของชาวชุมชน เพื่อเป็นการขยายสู่ตลาดต่างจังหวัดในรูปแบบตลาด Online นอกจากนี้ ยังพบปัญหาเรื่องการบริหารจัดการขยะที่มีจำนวนมากอันเนื่องมาจากชาวชุมชนไม่มีความรู้ด้านการแยกทิ้งขยะและถังขยะมีจำนวนน้อย…

ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ร่วมหารือปราชญ์ชุมชนมะขามเตี้ย พร้อมหนุนโครงการ เศรษฐกิจพอเพียง

เผยหาช่องทางเพิ่มมูลค่า การแปรรูปวัตถุดิบ SRU SHOP เหมาะสมมาก ชี้ชัดเมื่อชุมชนร้องขอ มรส.ต้องเดินหน้าเพื่อให้คนในท้องถิ่นมั่นใจ ในมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 14.00 น.ของวันที่ 28 ตุลาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารวิชาการ เดินทางไปยัง ศูนย์การเรียนรู้ หมู่ที่ 8 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อร่วมหารือกับ นายพรภิรมณ์ จารุจารีต ประธานปราชญ์ชุมชน เรื่องการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดย นายพรภิรมณ์ ได้ให้ความเห็นว่า มหาวิทยาลัยฯกับชาวบ้านควรร่วมมือกันในการหาช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบแปรรูปของชุมชน ในส่วนของ ผู้ช่วยอธิการบดีฯ พร้อมรับหน้าที่เป็นฝ่ายประสาน และจะดำเนินการเสนอผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ กล่าวถึงการหารือในครั้งนี้ว่า “ได้ร่วมพูดคุยกับผู้นำชุมชนหรือปราชญ์ชุมชนหมู่ที่ 8 ตำบลมะขามเตี้ย เรื่องการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามโครงการและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อผลิตวัตถุดิบและการแปรรูปอาหาร เช่น ปลาส้ม ปลาแดดเดียว ชาใบหม่อน เป็นต้น ทั้งนี้จะดำเนินการเสนอให้มหาวิทยาลัยฯรับทราบความเป็นมาเพราะ ศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าว ได้จัดตั้งเป็นกลุ่มคุ้มความสุข…

มรส. ร่วมกับการท่องเที่ยวและกีฬา จ.สุราษฎร์ธานี แนวทางการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว 65 จ.สุราษฎร์ธานี

การจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว 65 แหล่งใน จ.สุราษฎร์ธานี …..วันนี้ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่นได้เดินทางมาร่วมหารือเบื้องต้นกับทีมงานของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.สุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว 65 แหล่งใน จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ จ.สุราษฎร์ธานี และเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระชนมายุครบ 65 พรรษา …..การหารือได้ข้อสรุปว่า ควรแบ่งประเภทแหล่งท่องเที่ยวตามการแบ่งของกรมการท่องเที่ยวซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 5 ประเภท โดยมุ่งเน้นว่าเว็บไซต์จะต้องมีความเคลื่อนไหวและสามารถใช้งานได้ตลอด โดยมีผู้ดูแลเป็นคนในพื้นที่ที่สามารถอัพเดทข้อมูลได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับแนวทางที่มหาวิทยาลัยได้ตั้งต้นแนวความคิดไว้คือ การคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถในท้องถิ่น มาฝึกอบรมการจัดการเว็บไซต์ที่มหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถเป็นผู้ดูแลระบบได้ด้วยตนเอง …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำทุกสรรพกำลังที่มหาวิทยาลัยมีเพื่อร่วมกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้อง เราพร้อมที่จะเดินหน้าอย่างสุดกำลังเพื่อสร้างแผ่นดินนี้ให้มีพลังสมดังที่เราตั้งปณิธานว่า เราคือมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน อาซีด ทิ้งปากถ้ำ  รายงาน ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ คล้องแขน ผอ.วิทยฯ ผุดโครงการทำเว็บไชต์ แหล่งท่องเที่ยว 65 แห่ง

ชี้ชัด! ราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ต้องตอบโจทย์การพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราโชบายระยะ 20 ปี เมื่อเวลา 10.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ อาจารย์ สมพร ศรีอาภานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้แก่ ตัวแทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ฝ่ายสื่อสารองค์กร และเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ร่วมประชุมหารือเพื่อจัดทำเว็บไซต์ แหล่งท่องเที่ยว 65 แห่ง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องผู้อำนวยการ อาคาร ทีปังกรรัศมีโชติ ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผยว่า ตามที่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งประเทศได้ข้อสรุปว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏควรเป็นหัวเรือใหญ่ ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภาคใต้มีภูมิประเทศที่มีจุดเด่นและได้เปรียบกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากมีชายฝั่งทะเลที่ยาวเหมาะกับการพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก จึงอยากสนับสนุนเรื่องการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและเพื่อเป็นการตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”การประชุมในวันนี้ มุ่งเน้นการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยวจำนวน 65 แห่ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยให้ศูนย์คอมพิวเตอร์ขับเคลื่อนในเชิงเทคนิค เช่นการวางรูปแบบเว็บไซต์ การประสานเรื่องวัสดุอุปกรณ์ และการสังเคราะห์งบประมาณ [“ขอให้เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์วิเคราะห์งบประมาณเรื่องการซื้อ server…

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ รุดดูสถานที่การแสดงมหรสพ พิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9

…..ร่วมหารือกับแม่งานทุกภาคส่วน เผยการแสดงต้องออกมาสมบูรณ์และงดงามที่สุด ด้านผอ.สำนักศิลปะฯ เน้นหนักการแสดงในสถานที่จริงต้องช่วยกันจัดระเบียบและดูแลทุกฝ่าย …..เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 24 ตุลาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วย ดร.พลกฤต แสงอาวุฒิ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปตรวจดูสถานที่การแสดงมหรสพ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 (วันที่ 26 ตุลาคม 2560) ซึ่งการแสดงดังกล่าว จะจัดขึ้นที่ ณ วัดกลางใหม่ ตำบลมะขามเตี้ย จังหวัดสุราษฎร์ธานี …..โดยได้ร่วมหารือกับคณะดำเนินงาน อันได้แก่ นายอนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม นายฉลองชัย โฉมทอง อาจารย์ผู้ฝึกซ้อมวงดนตรีซิมโฟนี่และออเครสตรา ตัวแทนจากโรงเรียนและการแสดงหนังตะลุงจากหนังแท่นศิลป์ผ่องแก้ว …..ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวถึงสถานที่จริงการแสดงมหรสพ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 26 ต.ค.นี้ “เราได้ร่วมประชุมและหารือเรื่องสถานที่ที่ใช้ในการแสดง เป็นเวทีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถรองรับกับนักแสดงจำนวนมาก จากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะการแสดงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมกับทุกภาคส่วน มีทั้งหมด…

มรส.ร่วมงานพิธีซ้อมมหรสพเพื่อจัดแสดงในพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9

…..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เตรียมความพร้อมซ้อมใหญ่มหรสพ ส่งพ่อหลวงของแผ่นดิน เสด็จสู่สวงสวรรค์ ด้านครูอ๊อด หัวเรือใหญ่สำนักศิลปะฯ เผย ซาบซึ้งใจในความเป็นจิตอาสาของเครือข่ายชุมชน …..เมื่อเวลา 09.00 น. (22 ตุลาคม 2560) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดพิธีซ้อมใหญ่มหรสพที่จะจัดแสดงในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดย กิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้น ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์) ทั้งนี้ได้มี นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ตัวแทนของมหาวิทยาลัยฯ และคณาจารย์จากโรงเรียนต่างๆในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมชมการซ้อมการแสดงดังกล่าวด้วย …..ด้าน นายอนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้กล่าวถึงความรู้สึกการซ้อมใหญ่มหรสพในวันนี้ “วันนี้นับเป็นนิมิตรหมายของการแสดงมรสพ เนื่องในวันงานถวายดอกไม้จันทน์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทุกคนมาด้วยจิตอาสา ไม่มีงบประมาณหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งต้องขอขอบพระคุณ น้องๆ คณาจารย์ และศิลปินพื้นบ้านทุกท่านที่มารวมตัวกัน…

นศ.จิตอาสาร่วมกับงานบริการวิชาการฯ ผนึกกำลังพัฒนาโรงเรียนชุมชนท้องถิ่น เผยเคยเป็นผู้รับก็ควรเป็นผู้ให้

…..นักศึกษาจิตอาสา มรส. พร้อมด้วยงานบริการวิชาการฯ เดินหน้าตามเจตนารมณ์ ปัดฝุ่น ทาสี สร้างสื่อการเรียนการสอน ให้โรงเรียนในชุมชนท้องถิ่นอำเภอบ้านตาขุนเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2560 นักศึกษาจิตอาสาร่วมกับงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดกิจกรรมจิตอาสา ทำสื่อการเรียนการสอน BBL ณ โรงเรียนบ้านพัฒนา ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี …..ซึ่งนายนิธิเกียรติ ผู้นำนักศึกษาจิตอาสาได้กล่าวว่า “พวกเรามีแรงบันดาลใจคิดที่จะตั้งกลุ่มนักศึกษาจิตอาสา โดยได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษา ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ซึ่งท่านอาจารย์ได้ให้แนวความคิดว่า ถ้าจะทำก็ต้องทำกันอย่างจริงจัง และชุมชนท้องถิ่นต้องได้รับประโยชน์และพัฒนาไปตามลำดับ ดังนั้น เราจึงได้จัดทำแผนการพัฒนาโรงเรียนตามชุมชนท้องถิ่นกว่า 60 แห่ง โดยการเข้าไปพัฒนาฟื้นฟูสื่อการเรียนการสอน BBLเป็นสื่อการเรียนแบบประยุกต์เพื่อให้เข้ากับโรงเรียนหรือความต้องการของโรงเรียนนั้นๆ อย่างเช่น สนามเด็กเล่นBBL หรือ ลานกิจกรรม BBL ซึ่งจัดสร้างให้กับนักเรียนระดับประถมฯและระดับมัธยม สำหรับสิ่งที่คาดหวังของเรา คือการได้เห็นเด็กๆวิ่งเล่น และใช้สื่อการเรียนของเราอย่างมีความสุข” …..ในส่วนของตัวแทนนักศึกษา ผู้ร่วมกิจกรรมพัฒนาโรงเรียนในชุมชนท้องถิ่น ได้กล่าวว่า “โครงการนี้เราถือว่าเป็นโครงการโรงเรียนในฝัน เพื่อเป็นสิ่งที่จะบ่งบอกว่าเราสามารถสร้างความฝันให้กับน้องๆนักเรียน โดยแต่ละแห่งก็จะแตกต่างกับไปตามบริบทของโรงเรียน เช่น โรงเรียนที่อยู่ติดกับทะเล เราก็จะจัดทำสื่อการเรียนเป็นพวกสัตว์ทะเล กุ้ง หอย…

งานบริการวิชาการฯ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ โครงการประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏกับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

…..งัด! โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอกสัก – เกาะพลวย สนับสนุนยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายระยะ 20 ปี …..เมื่อเวลา 08.30 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดแสดงนิทรรศการในโครงการประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏกับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยโครงการฯดังกล่าวเป็นไปตามยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม […..ทั้งนี้ งานบริการวิชาการฯได้นำเอาผลงานในโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอกสัก – เกาะพะลวย ซึ่งเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น ด้วยการประชาสัมพันธ์สร้างเว็บไซต์ ให้ความรู้และสนับสนุนสินค้าของชุมชนท้องถิ่น พร้อมกันนี้ งานบริการวิชาการฯได้นำคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยว,จุลสารบริการวิชาการ และแผนที่แนะนำเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวมาแจกให้ผู้ที่เข้าชม นอกจากนี้ยังได้นำเอางานหัตถกรรมในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียงมาแสดงและจัดจำหน่ายอีกด้วย …..ด้าน ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้กล่าวถึงเจตนารมย์ของการจัดโครงการดังกล่าวว่า “การดำเนินงานในวันนี้มีประเด็นหลัก 3 ส่วน คือ 1. มีการประชุมของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ซึ่งเป็นงานที่ร่วมกันกับทุกฝ่ายโดยการมานำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ของการบริหารงานประเทศ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ…

End of content

End of content