งานบริการวิชาการฯจัดประชุมเตรียมความพร้อมตัวแทนคณะผู้สนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ. มรส.)

ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย อยากให้ผลการดำเนินงานออกมาดีที่สุดเพราะเป็นการสนองงานพระองค์ท่าน ด้านหัวหน้างานบริการฯ ห่วง เรื่องการจัดเตรียมอุปกรณ์ เน้นย้ำให้ตรวจสอบอย่าให้เกิดอุปสรรคกับวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ …..เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมการร่วมจัดนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ณ ห้องการเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดนิทรรศการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เผยว่า เนื่องจากเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ได้เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 2 /2560 และการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ครั้งที่ 2/2560 ณ ห้องประชุมศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงานเตรียมการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี…

งานบริการวิชาการฯ ร่วมงานประชุมวิชาการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะคนของพระราชา ร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และนำไปสู่การบูรณาการกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการแก่สังคม …..เมื่อเวลา 09.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 2 /2560 และการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ครั้งที่ 2/2560 ณ ห้องประชุมศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงานเตรียมการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี ในระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2560 …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เผยว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะหน่วยงานร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินโครงการตามแผนแม่บท จำนวน 18 โครงการ ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ แปลงที่…

งานบริการวิชาการฯเร่งหารือ งัดแผนการดำเนินงานแปรรูปผลิตผลชุมชน ผนึกกำลังสายแข็งแห่งการจัดการและวิทยาศาสตร์ฯ เห็นพ้องชู Brand เดียวแต่หลากผลิตภัณฑ์

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ สตาร์ทเครื่องแรง อยากทำให้สำเร็จและเร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการชุมชนท้องถิ่น ด้านศูนย์ UBI ใจป้ำอัดงบสนับสนุนโครงการฯ หวังยกระดับคุณภาพชีวิตชาวขุนทะเล ให้สมกับเป็นพื้นที่มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมหารือร่วมกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิทยาการจัดการ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ณ สำนักงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ทั้งนี้เพื่อการดำเนินการกำหนดแผนงานการช่วยเหลือและให้ความรู้พร้อมทั้งการจัดฝึกอบรมเบื้องต้นในการแปรรูปผลิตผล การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และเทคนิควิธีการใช้ช่องทางตลาด Online เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นของฝากของชำร่วย …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงแผนการดำเนินการว่า “งานบริการวิชาการท้องถิ่นได้ขอความอนุเคราะห์และจัดประชุมหารือร่วมกับอาจารย์เตชะธรรม สังข์คร อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก และ ผศ.นินธนา เอี่ยมสะอาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจ เอกการจัดการทั่วไป และคุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการสำนักงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI พร้อมทั้ง ดร.อุราภรณ์ เรืองวัชรินทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นอกจากนี้ ยังมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ อาจารย์ณัฐพล…

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มรส. ร่วมหารือเลขานุการสภาเด็กฯ และเลขานุการชมรมสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นพ้องกัน ร่วมสร้างสรรค์สังคมในทุกมิต

สภาเด็กและเยาวชนสุดปลื้ม มรส.ให้ความสำคัญ ยันร่วมด้วยช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง ด้านชมรมสตรี เสนอขอให้มหาวิทยาลัยฯเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายเพื่อช่วยเหลือสตรี เด็กและเยาวชน …..เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ร่วมประชุมหารือกับตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยตัวแทนจากชมรมสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี และคณะ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยการประชุมดังกล่าวได้พูดคุยในประเด็นของการให้ความช่วยเหลือ และสร้างเครือข่ายความมือในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมให้กับ กลุ่มสตรี เด็ก และเยาวชน เพื่อยกระดับชีวิต และการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม พร้อมทั้ง การหาแนวทางการประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงาน นอกจากนี้ได้พิจารณาเรื่องการหาแนวทางการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..​โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี มีเจตนารมณ์ที่จะช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น หรือแม้แต่หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ถ้ามีความต้องการอยากให้มหาวิทยาลัยฯเข้าไปดำเนินการ สนับสนุนหรือส่งเสริมในด้านใดขอให้เข้ามาพูดคุยและร่วมกันหารือในลักษณะนี้ เนื่องจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ว่าที่อธิการบดี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และมีปณิธานอันแน่วแน่ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี คือมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน และเป็นมหาวิทยาลัยของประชาชนทุกคน …..​ซึ่งประเด็นที่จะร่วมพูดคุยในวันนี้ คือ…

งานบริการวิชาการฯ จัดประชุมแกนนำชุมชนขุนทะเลชี้แจงผลการดำเนินงาน ปี 2560 พร้อมเดินหน้าแผนการต่อยอด ปี 2561

ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ย้ำมรส.คือ มหาวิทยาลัยฯของชุมชน ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิต และยึดมั่นในปณิธานมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ได้จัดประชุมโครงการแกนนำสายใยรักแห่งครอบครัวและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมีแกนนำเดินทางเข้าร่วมประชุมจำนวน 10 หมู่บ้าน เพื่อชี้แจงผลการดำเนินงาน ในปี 2560 และแผนการปฏิบัติการในการต่อยอดผลการดำเนินงาน ในปี 2561 ด้วย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ประธานที่ประชุม ได้กล่าวว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโครงการแกนนำสายใยรักแห่งครอบครัวและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนขุนทะเลเป็นพื้นที่ที่สำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัยฯ ดังนั้น จึงอยากจะขับเคลื่อนและเป็นกลไกให้ชุมชนเดินหน้าต่อยอดความสำเร็จของการจัดทำผลิตภัณฑ์และต้องการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบให้สูงขึ้น …..ด้าน นายอรุญ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้เปิดเผยว่าจากการดำเนินงานโครงการดังกล่าวมหาวิทยาลัยและชุมชนได้ร่วมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและหลากหลายทั้งโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวและโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งที่ประชุมวันนี้จะมีการสรุปผลการดำเนินงานและแผนการดำเนินงานต่อยอด ในปี 2561 โดยที่ผ่านมามีผลผลิตที่ออกมาอย่างมากมายและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน…

งานบริการวิชาการฯ จัดประชุมหารือหน่วยงาน มรส. เตรียมขับเคลื่อน จังหวัดเคลื่อนที่ ขุนพลพลังแผ่นดิน พร้อมงัดกิจกรรมเด็ดช่วยเหลือท้องถิ่นเต็ม stream

ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผยที่ผ่านมา Feedback เยี่ยม ทุกฝ่ายชื่นชมการให้ความร่วมมือของมรส.ย้ำการช่วยเหลือชุมชนคือหัวใจสำคัญ ตามปณิธานมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง …..เมื่อเวลา 09.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมเพื่อหารือ แผนปฏิบัติการ โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีหน่วยงานที่ร่วมโครงการดังกล่าวได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะพยาบาลศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ พร้อมทั้ง วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมี สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าร่วมหารือในการประชุมดังกล่าวด้วย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ประธานการประชุมได้กล่าวว่า โครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน หรือ จังหวัดเคลื่อนที่ได้กำหนดปฏิทินแผนปฏิบัติการในรอบใหม่ทั้งหมด 12 ครั้ง เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – เดือนกันยายน 2561…

มรส.ร่วมประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากองทุนหมู่บ้านให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน

วันนี้ ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ว่าที่อธิการบดี ผศ.ดร.วรรณะ บรรจง รองอธิการบดี ผศ.ดร.มาริสา อินทวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี และดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เดินทางไปพบ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทีมงานจากกองทุนหมู่บ้าน และทีมงานจากสภาอุตสาหกรรมเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากองทุนหมู่บ้านให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน ณ ห้องทำงานรัฐมนตรี อาคารศูนย์บัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล ผลของการหารือ ได้ความว่า กองทุนหมู่บ้านจะจัดอบรมหลักสูตรผู้นำกองทุนและโฆษกของกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง smart leader และ smart speaker เพื่อพัฒนาบุคลากรของกองทุนใน 5 ประเด็นคือ เทคโนโลยี กฎหมาย การบริหารจัดการ บัญชี และทัศนคติ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 80,000 คน ทั่วประเทศ โดยจะเริ่มรุ่นแรก 8,000 คนก่อน ในช่วงเดือนธันวาคม ทั้งนี้ได้มอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ประสานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งประเทศในการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวร่วมกับกองทุนหมู่บ้าน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามในการที่จะร่วมมือกันกับทุกภาคส่วน เพื่อนำพาท้องถิ่นไปสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม เราพร้อมที่จะก้าวเดินไปพร้อมกันกับพี่น้องอย่างร่วมทุกข์ร่วมสุข ให้สมกับที่เราได้ตั้งปณิธานไว้ว่า…

มรส.ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร

…..เมื่อเวลา 13:00 น.ของวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อเตรียมการต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานการประชุม …..ที่ประชุมได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ มาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมดังกล่าว …..นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยเสนอโครงการที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยมหาวิทยาลัยได้เตรียมโครงการ GOLDEN HUB ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำตาปี พื้นที่สองฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบน และพื้นที่ประตูสู่ภาคใต้ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกันกับทุกภาคส่วนในการศึกษาและพยายามหาแนวทางอย่างจริงจัง ภายใต้หลักการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในทุกมิติ ตามที่เราได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ   รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมหารือคณาจารย์สาขาฯการจัดการภัยพิบัติ ย้ำเตือน ! ปัญหาน้ำท่วมและการช่วยเหลือทุกคนต้องรู้เท่าทัน

ผู้ช่วยอธิการบดีฯชี้แนวทางการดำเนินงานควรให้ความรู้และตระหนักถึงความสำคัญ ชง! ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดันให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคต สุดทึ่ง สาขาวิชาการจัดการภัยพิบัติ มรส. เป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย …..เมื่อเวลา 9.00 น.ของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม พร้อมคณะ เข้าร่วมหารือ กับ ดร.พรทิพย์ วิมลทรง อาจารย์กานต์ธิดา บุญมา และอาจารย์บุษยมาศ เหมณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการภัยพิบัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกี่ยวกับแนวคิดการป้องกันปัญหาภัยพิบัติทางน้ำ เนื่องจากผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เกิดแนวคิดว่าหลังจากที่ได้ดำเนินการเรื่องการแก้ไขปัญหาคุณภาพของดินให้กับชุมชนท้องถิ่นแล้ว มหาวิทยาลัยฯควรตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอันเนื่องมาจากน้ำด้วย เพราะสภาพภูมิอากาศของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีฝนตกชุกทุกปีและตกอย่างต่อเนื่องซึ่งก่อให้เกิดอุทกภัยได้ง่าย ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะหาทางป้องกันไว้เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงเจตนารมย์ของการดำเนินการดังกล่าวว่า “หลังจากที่ได้ดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพของดินในระยะแรกซึ่งได้แนวทางการแก้ปัญหาและหาข้อสรุปได้ในเบื้องต้นแล้ว ภารกิจต่อไปที่อยากดำเนินการช่วยเหลือท้องถิ่นคือ การแก้ปัญหาภัยพิบัติทางน้ำ เพราะอย่างที่ทราบกันอยู่ว่าภาคใต้มีฝนตกชุกและตกอย่างต่อเนื่องทุกปี ดังนั้นจึงควรหาแนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้ชุมชนเกิดความเดือดร้อนขึ้นในภายหลัง ซึ่งการดำเนินงานอาจเป็นในรูปแบบของการทำวิจัย หรือการให้ความรู้เบื้องต้นแก่พี่น้องในชุมชนท้องถิ่น” …..ด้าน คณาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการภัยพิบัติ ได้กล่าวว่า…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เข้าพบผอ. กลุ่มวิเคราะห์ดิน หลังหารือเบื้องต้นกับศูนย์วิทย์ฯ ย้ำ! ต้องเดินหน้าหาทางแก้ไข

ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผย ถ้าเราหยุดนิ่ง ปัญหาก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นต้องมุ่งมั่นยกระดับพัฒนาในทุกมิติ ตามปณิธาน มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง …..เมื่อเวลา 13.30 น. ของวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วย อาจารย์กานต์ธิดา บุญมา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ และ ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทีมงาน  ได้เดินทางไปยังสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11      สุราษฎร์ธานี เพื่อหารือเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของดินในพื้นที่เพาะปลูก ทั้งนี้สืบเนื่องจากการมหาวิทยาลัยฯได้ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ เดือนละ 1 อำเภอ และได้พบปะพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรในแต่ละอำเภอ พบว่า พี่น้องไม่มีข้อมูลที่ทำให้ทราบถึงระดับคุณภาพของดินที่ใช้ในการเพาะปลูก …..ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เผยว่า “หลังจากได้ร่วมพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนตามโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ พบว่า เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องคุณภาพของดิน ซึ่งไม่สามารถทราบได้เลยว่า ดินที่มีอยู่เหมาะสมกับการปลูกพื้นชนิดใด ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเบื้องต้นได้ร่วมหารือกับคณาจารย์และบุคลากรประจำศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพของดินเป็นอย่างไร และควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ดังนั้น ในวันนี้จึงได้มาร่วมหารือกับ คุณแฉล้ม พริ้มจรัส…

End of content

End of content