งานบริการวิชาการฯร่วมโครงการ KM จัดทำแผนปฏิบัติราชการสนง.อธิการบดี ปีงบ 2562 พร้อมอัฟเวอร์ชั่น วิสัยทัศน์ใหม่ แกรนด์กว่าเดิม

…..รักษาการอธิการบดี เชื่อมั่นกิจกรรมเชิงปฏิบัติการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม  ชี้ชัด! ฝ่ายสนับสนุนมีความสำคัญ เป็นกลไกการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง …..เมื่อเวลา 06.30 น. (3 กุมภาพันธ์ 2561) ผู้บริหาร และบุคลากรสายสนับสนุน ในสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยัง ชลนภา รีสอร์ท อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเช้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานอธิการบดี  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดการประชุม …..ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดีได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบงาน ระบบการตรวจสอบ ระบบประเมินผล และระบบประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักงานอธิการบดีให้มีความสอดคล้องกับทิศทางและนโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งสามารถวัดผลความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดได้ …..รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในโครงการดังกล่าวว่า สำนักงานอธิการบดีเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยทุกระบบ ทั้งงานวิชาการ งานวิจัย งานบริการวิชาการแก่สังคม หรืองานอื่นๆตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเห็นได้ว่ากระบวนงานทั้งหมดนี้สำนักงานอธิการบดีจะเป็นกลไกหลักที่ช่วยขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย ถึงแม้ว่าการบริหารจัดการในระบบอาจไม่ลงตัวบ้าง เพราะขาดความเชื่อมโยง ขาดการประสานงานกันระหว่างหน่วยงาน ดังนั้นการจัดกิจกรรมในวันนี้จะทำให้มิติของการบริหารจัดการเป็นไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งเจตนารมณ์ในวันนี้ อยากเห็นการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประสานงานระหว่างกอง มีความเข้าใจในภาระหน้าที่ซึ่งกันและกันสามารถทำงานทดแทนกันได้ นอกจากนี้การจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกันจะเป็นการประสานแผนลดความซ้ำซ้อนลดทอนในเรื่องของเวลา…

คณะทำงาน “พุมเรียงโมเดล” ร่วมลงพื้นที่ ระดมความคิดแกนนำชุมชน Focus Group 3 พันธกิจหลัก

…..ตกผลึกทางความคิด การท่องเที่ยว – ศิลปะฯ – ผังเมือง ด้านทีม มรส. นำทัพงานบริการวิชาการฯ – สำนักศิลปะและวัฒนธรรม – วิทยาลัยนานาชาติฯ – ดร.นรา ดันสุดกำลัง หวังพุมเรียงโมเดลเป็นจริง …..เมื่อเวลา 10.00 น. (2 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานในโครงการพุมเรียงโมเดล จากมหาวิทยาลัย  ราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำทีมโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและทีมงาน  จากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น อาจารย์อนุรัตน์  แพนสกุลและทีมงาน จากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม อาจารย์เกสสิณี  ตรีพงศ์พันธุ์ และทีมงาน จากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และดร.นรา พงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนและผังเมืองจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วย นางสาวกัญญารัตน์ แสงสุวรรณ ตัวแทนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมลงพื้นที่เพื่อประชุมระดมความคิดการดำเนินโครงการพุมเรียงโมเดล ณ เทศบาลตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ได้มีนายยอดชาย พันธ์ครุฑ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพุมเรียง และเจ้าหน้าที่…

บริการวิชาการ มรส. รุกดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมหารือกับ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ อาจารย์จุฑารัตน์ ธาราทิศ ผศ.เตชะธรรม สังข์คร ดร.พลกฤต แสงอาวุธ และอาจารย์ธาตรี คำแหง เกี่ยวกับการดำเนินงานในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร …..โดยโครงการนี้เกิดขึ้นจากการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม ซึ่งมีความต้องการอยู่ 3 ส่วนคือ ต้องการแนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการตลาดแบบมืออาชีพ ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และแนวทางการพัฒนาและยกระดับการแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่อำเภอละแม ซึ่งพวกเราได้ร่วมกันระดมความคิดและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัย โดยมีการดำเนินงานใน 3 กิจกรรมคือ 1.กิจกรรมร่วมกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม 2.กิจกรรมสนับสนุนส่งเสริมรูปแบบการผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน 3.กิจกรรมร่วมกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการขยะ การส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มมูลค่าขยะให้เป็นรายได้ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยทั้ง 3 กิจกรรมจะเริ่มดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ …..วันนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างสุดกำลังในการทำงานเพื่อท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในลักษณะร่วมทุกข์ร่วมสุข เราจะร่วมฟันฝ่าปัญหาไปด้วยกัน ดังปณิธานที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดินผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด  ทิ้งากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีม วนช. – ศิลปะวัฒนธรรมฯลงพื้นที่พุมเรียงหวังยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความต้องการของชุมชน

…..ที่ประชุมเห็นชอบจัด Focus group 3 กลุ่ม ชี้ชัดแนวทางการดำเนินงาน การท่องเที่ยว – ศิลปะและวัฒนธรรม – แผนและผังเมือง ด้านชุมชน เผย สุดดีใจรอทีมมรส.ช่วยขับเคลื่อนพุมเรียงโมเดลเป็นจริง …..เมื่อเวลา 11.00 น. (30 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อนำเสนอและทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นพร้อมทั้งหาข้อสรุปของการดำเนินงานในระยะที่ 2 ในพื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมด้วยทีมงาน อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธ์ พร้อมทั้งทีมดำเนินงานจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวและ ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนและผังเมืองจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องสภามหาวิทยาลัยฯ ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี …..เนื่องจากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ ได้ลงพื้นที่ตำบลพุมเรียง (7 มกราคม 2561) ร่วมหารือกับแกนนำชุมชนเรื่องของการยกระดับมิติการท่องเที่ยวในด้านต่างๆ พร้อมทั้งการจัดทำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวแนวทางการนำเสนอวิถีชีวิตและเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชุมชนดังกล่าว เพื่อการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ในช่องทางต่างๆ และ ดำเนินการเป็นพุมเรียงโมเดลซึ่งได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าทางคณะทำงานจะลงพื้นที่ร่วมระดมความคิดกับแกนนำชุมชนพุมเรียงอีกครั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์…

งานบริการวิชาการฯ ร่วมประชุมหารือ วนช.ผุดโครงการ SRU TOUR

…..ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เห็นชอบทัวร์มรส 3 ที่ อาคารสำนักงานอธิการบดี(ใหม่) – หอประชุม วชิราลงกรณ – หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ เล็งยกระดับหอประชุมฯ เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติ …..เมื่อเวลา 14.00 น. (29 มกราคม 2561) งานบริการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เข้าร่วมประชุมและพิจารณาโครงการ SRU TOUR โดยมีผู้แทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว เป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน ทั้งนี้โครงการ SRU TOUR มีอาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ เป็นผู้ริเริ่มและจัดทำแผนในการนำความรู้จากหลักสูตรการเรียนการสอน มาสู่การปฏิบัติซึ่งมีนักศึกษาเป็นผู้ร่วมดำเนินโครงการด้วย …..อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และเป็นผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวถึงการดำเนินงานว่า “เมื่อนำบริบทจากกิจกรรมของหน่วยงานภายนอกที่ขอความอนุเคราะห์เข้ามาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงเล็งเห็นความสำคัญของการทัวร์มหาวิทยาลัย และมีความคิดที่จะทำโมเดลนี้เพื่อให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและสามารถเป็นโมเดลให้กับคณะอื่นด้วย ซึ่งเบื้องต้นได้พิจารณาว่าสถานที่ที่น่าสนใจในมหาวิทยาลัยมีที่ใดบ้าง ซึ่งได้นำมาสรุปว่า 1.หอประชุมวชิราลงกรณ 2. อาคารสำนักงานอธิการบดีหลังใหม่ และ 3.หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ ทั้งนี้ในอนาคตมีความคิดที่จะเสนอกับมหาวิทยาลัยเพื่อยกระดับหอประชุมวชิราลงกรณ ให้เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติที่มีความพร้อมในการจัดงานระดับชาติและนานาชาติซึ่งจะต้องหาข้อมูลและองค์ประกอบต่างในการขับเคลื่อนอีกสักระยะ นอกจากนี้การดำเนินโครงการ SRU TOUR ทางคณะผู้รับผิดชอบโครงการได้ให้นักศึกษาไปสำรวจและวิเคราะห์ความน่าสนใจของสถานที่ซึ่งได้นำมาสรุปและพิจารณาในเบื้องต้นแล้วโดยแบ่งประเด็นการนำเสนอว่า…

บริการวิขาการฯ มรส. จัดโครงการอบรมการทำผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ผศ.ดร.ไซนีย๊ะ สะมาลา กับ ดร. เบญจมาศ หนูแป้นและศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน จัดอบรมการทำผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ สบู่ และแชมพู เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนให้กับพี่น้องหมู่ที่ 3 ตำบลขุนทะเล นำโดยคุณสายสุณีย์ เกตุแก้ว ประธานชุมชน โดยมีคุณนุชนาถ พูลสิน เป็นผู้ประสานงานและดูแลพี่น้องอย่างใกล้ชิด …..โครงการนี้เกิดขึ้นจากการสำรวจความต้องการในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ของพี่น้องในชุมชนขุนทะเล โดยฝ่ายบริการวิชาการได้ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในแต่ละหมู่เพื่อหาข้อมูลและทำความเข้าใจ รวมทั้งสำรวจความต้องการของพี่น้อง หลังจากนี้เมื่อเราได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการวางจำหน่ายแล้ว เราจะพัฒนาในด้านบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อให้สินค้าของพี่น้องขุนทะเลเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยมีปลายทางคือการยกระดับรายได้ ทั้งที่เป็นรายได้หลักและรายได้เสริมให้กับพี่น้องอย่างเอาจริงเอาจัง …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำเอาองค์ความรู้รวมทั้งเทคนิควิธีการที่เหมาะสมและทันสมัยเพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง”SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เอาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานนุชนาถ พูลสิน  ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บริการวิชาการ มรส.ร่วมประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาไทยภาคใต้

วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาไทย (ภาคใต้) เฉพาะประเด็นการบริหารจัดการน้ำภาคใต้ ณ ห้องประชุมท่อแก้ว อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผลของการประชุมได้ข้อสรุปว่า มหาวิทยาลัยในภาคใต้ที่สังกัดเครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาไทยจะร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำภาคใต้ โดยกำหนดพื้นที่ 5 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง และตรัง ทั้งนี้ได้แบ่งความรับผิดชอบตามพื้นที่บริการของแต่ละมหาวิทยาลัย ในระยะเวลา 2 ปี และจะขยายผลไปในอนาคต วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเสาะหาความร่วมมือทางวิชาการเพื่อนำเอาองค์ความรู้ไปพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในท้องถิ่น ตามที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บริการวิชาการฯ มรส.จัดอบรมการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอด

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ร่วมกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน จัดอบรมการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดให้กับพี่น้องหมู่ที่ 2 ตำบลขุนทะเล โดยได้รับเกียรติจากคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.สุรินทร์ สมณะ มาร่วมเปิดการอบรม …..โครงการนี้เกิดขึ้นจากการสำรวจความต้องการในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ของพี่น้องในชุมชนขุนทะเล โดยฝ่ายบริการวิชาการได้ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในแต่ละหมู่เพื่อหาข้อมูลและทำความเข้าใจ รวมทั้งสำรวจความต้องการของพี่น้อง ต่อจากนี้เมื่อเราได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการวางจำหน่ายแล้ว เราจะพัฒนาในด้านบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อให้สินค้าของพี่น้องขุนทะเลเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยมีปลายทางคือการยกระดับรายได้ ทั้งที่เป็นรายได้หลักและรายได้เสริมให้กับพี่น้องอย่างเอาจริงเอาจัง …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำเอาองค์ความรู้รวมทั้งเทคนิควิธีการที่เหมาะสมและทันสมัยเพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด  ทิ้งากถ้ำ รายงานนุชนาถ พูลสิน ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมวันสตรีสากลจังหวัดสุราษฎร์ธานี

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และสำนักศิลปะและวัฒนธรรม นำโดยอาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักฯ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมประชุมกับผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมวันสตรีสากลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องผดุงชาติ อาคารสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ที่ปรึกษาอธิการบดี เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม …..ที่ประชุมมีมติเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นพื้นที่จัดงาน โดยในงานจะมีกิจกรรมทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย อาธิ การเดินรณรงค์เพื่อสตรีสากล การจัดนิทรรศการ การออกร้านผลิตภัณฑ์ชุมชน การแสดง และการแข่งขันอีกมากมาย งานจะจัดขึ้นในวันที่ 7 มีนาคม 2560 โดยมีพี่น้องกลุ่มสตรีเข้าร่วมงานกว่า 15,000 คน นับเป็นงานใหญ่งานหนึ่งของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่จะได้ร่วมกันแสดงพลัง และพิสูจน์ให้เห็นว่ากลุ่มสตรีบ้านเรามีศักยภาพในฐานะคนคุณภาพมากเพียงใด …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อสร้างแนวทางและโอกาสในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ เข้าร่วมการประชุมการจัดงานสมโภชศาลหลักเมืองและกาชาดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2561

ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผย มรส.รับหน้าที่เป็นกรรมการฝ่ายกิจกรรมการแสดง  เล็งสำนักศิลปะและวงดนตรีของคณะมนุษยศาสตร์ฯเป็นแม่งาน ร่วมสร้างความบันเทิงให้กับผู้ร่วมงาน เมื่อเวลา 13.00 น. (23 มกราคม 2561) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้เดินทางไปยัง ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเข้าร่วมการประชุมการประชุมการจัดงานสมโภชศาลหลักเมืองและกาชาดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2561 ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสราษฎร์ธานี ได้ชี้แจงถึงกำหนดการและกิจกรรมในการจัดงานดังกล่าวว่า เนื่องด้วยจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี เหล่ากาชาดจังหวัด   สุราษฎร์ธานี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรเอกชน กำหนดการจัดงานสมโภชศาลหลักเมืองและกาชาด สุราษฎร์ธานี ประจำปี 2561 เพื่อสมโภชและบวงสรวงศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ให้เป็นสิริมงคลแก่ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ยังได้จัดหารายได้สมทบทุนเหล่ากาชาดจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำไปบรรเทาทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน และส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งการจัดงานจะเริ่มขึ้นในวันที่ 2 – 11 เมษายน 2561 ณ บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำตาปี อำเภอเมืองฯ…

End of content

End of content