งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมผู้นำทัพงานบริการวิชาการฯ ติดตามผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ดุเดือด !

กำกับติดตาม มุ่งหวังให้ทุกหน่วยงานเป็นกลไกผลักดัน ส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง ผช.อธิการบดีฯ ติง “คณะใหญ่” ส่งตัวแทนเข้าร่วมไร้เงาผู้รับผิดชอบ ผลการรายงานจึงปล่อยลมเต็มสูบ ตั้งข้อสังเกตผู้บริหารควรเอาใจใส่เพราะเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 10.00 น. (20 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 2 / 2561 ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการในไตรมาสที่ 2 โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธานในการประชุม …..โดยการประชุมดังกล่าวได้ดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุมตามโครงการ กิจกรรม แผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย เช่น การประกันคุณภาพการศึกษา ในระหว่างวันที่ 5 – 7 มีนาคม 2561 ซึ่งเป็นการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยที่ประชุมได้แจ้งให้หน่วยงานทราบ ในเรื่องของเอกสารบางส่วนที่ต้องส่งมายังงานบริการวิชาการเพื่อใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการตรวจประเมิน…

บริการวิชาการ มรส. ร่วมหารือกับคณะกรรมการสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ การจัดงานสิทธิของประชาชน และสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จ.สุราษฎร์ธานี การจัดทำเว็ปไซต์แหล่งท่องเที่ยว

. ….วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ร่วมกับอาจารย์ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้หารือกับคณะกรรมการสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เกี่ยวกับการจัดงานสิทธิของประชาชน สิทธิของสตรี โดยจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ลานอเนกประสงค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตื่นตัวและตระหนักในสิทธิของประชาชน ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายนักศึกษา นักวิชาการ และสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ โดยมีกิจกรรมได้แก่ เวทีเสวนาวิชาการ นิทรรศการภาพถ่าย บูธผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดสารพิษ และเวทีวัฒนธรรม …..โดยก่อนหน้านั้นฝ่ายบริการวิชาการฯ โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยได้เข้ายื่นข้อมูลกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จ.สุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดทำเว็ปไซต์แหล่งท่องเที่ยว จ.สุราษฎร์ธานี 65 แหล่ง เฉลิมพระชนมายุครบ 65 พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร โดยเป็นเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยวที่มีความพิเศษคือ มีแอดมินที่เป็นพี่น้องเจ้าของพื้นที่ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวนั้น ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ ทั้งนี้เว็บไซต์ทั้ง 65 แหล่งจะสามารถอัพเดทข้อมูลได้ตลอดเพราะมีคนในพื้นที่เป็นคนบริหารจัดการเอง โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นผู้ดูแลระบบอีกชั้นหนึ่ง …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี…

คณะทำงานบริการวิชาการฯลงพื้นที่ SURVEY ตลาดนัดใต้เคี่ยม อ.ละแม จ.ชุมพร หวังยกระดับส่งเสริมการบริหารจัดการตลาดประชารัฐ

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผย ตั้งเป้าแก้ปัญหาขยะ – การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และบริการจัดทุกมิติภายใต้หลักการ การคงอยู่ของวัฒนธรรมดั้งเดิม ด้านคณะกรรมการใต้เคี่ยม เห็นชอบถ้ามรส.พร้อมสนับสนุน …..เมื่อเวลา 08.00 น. (18 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานบริการวิชาการ นำโดย ดร.สมปราชญ์     วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วย อาจารย์ธาตรี คำแหง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผศ.เตชธรรม สังข์คร และอาจารย์จุฑารัตน์ ธาราทิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ จากคณะวิทยาการจัดการ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการขยะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังตลาดนัดใต้เคี่ยม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เพื่อดำเนินการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนด้านการบริหารจัดการในมิติต่างๆ ซึ่งเป็นการดำเนินงานในระยะแรกตามโครงการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม โดยมีคณะกรรมการตลาดนัดดังกล่าวให้การต้อนรับและร่วมพูดคุยหาแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ของการดำเนินงานในการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยมว่า คณะทำงานงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และเครือข่ายผู้แทนจากคณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย อาจารย์ธาตรี คำแหง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้เดินทางไปตลาดประชารัฐใต้เคี่ยมเพื่อทำการสำรวจพื้นที่บริบทของชุมชน…

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันวิภาวดีรังสิต

…..เมื่อเวลา 08.30 น.(16 กุมภาพันธ์ 2561) ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันวิภาวดีรังสิตรำลึก ณ บริเวณลานพระอนุสาวรีย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ค่ายวิภาวดีรังสิต จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีพลตรีมโนช จันทร์คีรี ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 45 เป็นประธานในพิธี …..พิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และสำนึกในพระมหากรุณาที่คุณของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ที่มีต่อประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยทรงเป็นองค์สัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญในการทำงานเพื่อขจัดความขัดแย้งในชาติในแผ่นดิน การเสียสละพระชนม์ชีพของพระองค์ได้นำมาซึ่งความพยายามในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างพี่น้องชาวไทยที่แตกแยกกันทางความคิด ส่งผลให้เกิดความสงบสุขกับบ้านเมืองในที่สุด ชาวราชภัฏสุราษฎร์ธานี ขอร่วมเทอดไท้ความหาญกล้าแห่งพระองค์ท่านอย่างผู้มีกตัญญูรู้คุณร่วมกับพี่น้องชาวสุราษฎร์ธานี …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการนำเอาตัวอย่างของความทุ่มเทในการทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน ดังที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ทรงเป็นแบบอย่างอันงดงามเพื่อนำมาพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้อง ดังปณิธานที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานสมยศ นุ่นจำนงค์ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ฝ่ายบริการวิชาการฯ มรส. ร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษาสู่การพัฒนาท้องถิ่น

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผย มรส.นำเสนอข้อมูลร่วมกับโรงเรียน 34 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชู ผลการดำเนินงานนักเรียนมีการพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศระดับดีเยี่ยม …..เมื่อเวลา 10.00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องโมคลาน อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยโครงการดังกล่าว มีเครือข่ายสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมจำนวน 8 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยตาปี วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ วิทยาลัยชุมชนพังงา และวิทยาลัยชุมชนระนอง …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยถึงผลการประชุมดังกล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นโดยดำเนินการจัดกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 7 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ การยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษ การยกระดับความรู้ภาษาไทย การพัฒนาศักยภาพครู การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน การจัดการเรียนการสอนสะเต็มในสถานศึกษา และกิจกรรมอื่นๆ ตามความต้องการของโรงเรียนเป้าหมายและสอดคล้องกับความรู้ความเชี่ยวชาญที่สถาบันอุดมศึกษาพี่เลี้ยงมีอยู่ ซึ่งผลการดำเนินงานในการพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศและภาษาที่ 3…

งานบริการวิชาการฯ ร่วมประชุมโครงการมหกรรมอาหารการท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติ

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผย มรส.ร่วมสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวทุกมิติ วิทยาลัยนานาชาติฯ – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ร่วมด้วย ดีเดย์ 26 – 31 กรกฎาคม 2561 …..เมื่อเวลา 08.30 น.(15 กุมภาพันธ์ 2561) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวและผู้แทนจาก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเข้าร่วมประชุมโครงการมหกรรมอาหารการท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติ ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงผลการประชุมโครงการดังกล่าวว่า ที่ประชุมได้ตกลงให้มีกิจกรรมจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประชาสัมพันธ์อาหารที่มีชื่อของภาคใต้ การจัดการแข่งขันทำอาหารเอกลักษณ์พื้นถิ่น การจัดงานมหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการท่องเที่ยว กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการ Fam Trip และการจัดงานมหกรรมอาหารพื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งในความคิดส่วนตัว อาหารใต้มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมีกลิ่นอายของความเป็นวัฒนธรรมปักษ์ใต้ สามารถสร้างความประทับใจในวิถีแห่งความเป็นไทยให้แก่นักท่องเที่ยว ทั้งนี้ โครงการมหกรรมอาหารการท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติ จะจัดขึ้นในวันที่ 26-31 กรกฎาคม 2561…

ทีมบริการวิชาการฯ พร้อม UBI ลงพื้นที่ หมู่ 10 ผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำพริกไตปลาแห้ง แกนนำหมู่บ้านพร้อมลุย เร่งตีตราแบรนด์ “ขุนเล”

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ – หัวหน้างานบริการฯสุดปลื้ม ชื่นชมชาวบ้านมีความพร้อมผลิตสินค้าน้ำมันเหลืองสมุนไพร – ไตปลาแห้งจำหน่ายเอง ดันสุดแรงอบรมเชิงปฏิบัติการให้สินค้ามีคุณภาพ ชูขึ้นห้างในอนาคต …..เมื่อเวลา 10.00 น. (13 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการิชาการ และผู้แทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยังร้านจำหน่ายธงฟ้าประชารัฐ หมู่ที่ 10 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าตามแผนในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยหมู่บ้านดังกล่าวได้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำพริกไตปลาแห้ง ซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำหมู่บ้าน …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงการดำเนินงานของชุมชน  หมู่ที่ 10 ว่า การผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร และน้ำพริกไตปลาแห้ง ของหมู่ที่10 มีปัจจัยที่เอื้อต่อการทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ เช่น แกนนำที่มีศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร การรวมกลุ่มของชาวบ้านที่ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี มีความพร้อมทั้งวัตถุดิบจากธรรมชาติ และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานเป็นผลให้ การจัดจำหน่ายสินค้าภายในชุมชนสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับครัวเรือนได้อย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือการขยายแผนช่องทางการตลาด การทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้เหมาะสมกับสินค้าและสร้างแรงดึงดูดใจให้กับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการฯ ร่วมกับ UBI…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จูงมือ UBI ลงพื้นที่หมู่ 4 ติดตามความก้าวหน้าโครงการสายใยรักฯ – เศรษฐกิจพอเพียง

…..แกนนำชุมชนคึกคัก ต้องการองค์ความรู้เสริมทักษะการทำผลิตภัณฑ์พวงหรีด – เครื่องแกง – มัลเบอรรี่ มรส.ไม่รีรอจัดให้ตามคำขอ เร่งประสานผู้เชี่ยวชาญ หวังยกระดับภูมิปัญญาต่อยอดผลผลิตเพิ่มมูลค่าชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 12.45 น. (12 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และคณะทำงานจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI โดยนางฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์ฯ ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคม หมู่ที่ 4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามความก้าวหน้าในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้นำชุมชนและแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงการพูดคุยและสอบถามการดำเนินงานตามที่ได้แจ้งไว้กับงานบริการวิชาการฯว่า หมู่ที่ 4 ได้ดำเนินกิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถจัดจำหน่ายตามช่องทางการตลาดที่เข้ามาสั่งซื้อโดยตรงจากชาวบ้านคือผักเหรียง หรือ ผักเหมียงที่เป็นผักสวนครัวขึ้นชื่อของชุมชนขุนทะเล ดังนั้น จึงได้พิจารณา ร่วมกับ คุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์ UBI และ กลุ่มแกนนำในพื้นที่ พบว่าผักดังกล่าวสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับครัวเรือนหมู่ที่…

บริการวิชาการฯ มรส. ลงพื้นที่ หมู่ 6 ขยายผลการดำเนินงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนยกระดับคุณภาพชีวิต

…..เมื่อเวลา 14.00 น. (11 กุมภาพันธ์ 2561)  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยผู้แทนจากจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.อรุโณทัย เจือมณี ได้เดินทางไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 6 ต.ขุนทะเล เพื่อติดตาม และขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีตัวแทนพี่น้องหมู่ที่ 6 ต.ขุนทะเล นำโดยคุณจำนงค์ เพลินแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมการหารือ …..ผลการหารือได้ข้อสรุปว่า ผลิตภัณฑ์ที่พี่น้องหมู่ 6 ต.ขุนทะเล ต้องการพัฒนาเพื่อให้เป็นอาชีพเสริมคือ การปลูกมัลเบอร์รีและการแปรรูปมัลเบอร์รีอย่างง่ายเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น โดยพี่น้องยังขาดองค์ความรู้ในการปลูก การดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยจึงได้ประสานไปยังสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เขต 5 จ.ชุมพร เพื่อขอความร่วมมือในการให้ความรู้กับพี่น้องหมู่ที่ 6 โดยได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี ทั้งนี้จะมีการร่วมหารือกันในเดือนมีนาคมที่มหาวิทยาลัย …..นอกจากนี้ในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปนั้น มหาวิทยาลัยโดยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารจะดำเนินการฝึกอบรมการทำน้ำมัลเบอร์รีเพื่อสุขภาพ และการทำแยมมัลเบอร์รีในวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2561 และจะพัฒนาในด้านการสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน…

มรส.ร่วมประชุมเพื่อคัดเลือกกลุ่มองค์กรการเกษตรเพื่อเข้ารับการสนับสนุนเป็นพื้นที่ศึกษาและพัฒนาด้านการเกษตร

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี ได้ร่วมประชุมเพื่อคัดเลือกกลุ่มองค์กรการเกษตรเพื่อเข้ารับการสนับสนุนเป็นพื้นที่ศึกษาและพัฒนาด้านการเกษตร ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยให้มหาวิทยาลัยนำผลการศึกษาไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร ทั้งนี้จากการประชุมเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมได้มอบหมายให้สภาเกษตรกรคัดเลือกองค์กรเกษตรกรที่มีศักยภาพพร้อมขับเคลื่อนงานสู่การปฏิบัติมานำเสนอผลงาน โดยมีกลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกมา 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรภูริน กลุ่มกรีนฟู๊ดเมืองคนดี วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิภาวดี และสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินบ้านต้นมะพร้าว จำกัด …..ทั้ง 4 กลุ่มมีความหลากหลายและความเข้มแข็งในด้านการรวมกลุ่ม ทุนทางสังคม และวิสัยทัศน์ แต่ยังคงขาดแคลนมิติต่างๆที่จะช่วยเติมเต็มให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการที่เหมาะสมและยังยืน ในเดือนหน้าทีมงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะสนธิกำลังกันเพื่อลงพื้นที่ของทั้ง 4 กลุ่ม เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นอย่างดีที่สุด …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการนำเอาองค์ความรู้ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content