นิเทศ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านพันวาล

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม เวลา 09:00 น. งานบริการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ลงพื้นที่นิเทศตรวจเยี่ยม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านพันวาล ตำบลรับร่อง อำเภอท่าเเซะ จังหวัดชุมพร ช่วงบ่าย เวลา 13:30 น.ลงพื้นที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตร ตำบลรับร่อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

มรส.ร่วมกับอำเภอไชยาส่งเสริมอาชีพกลุ่มวิสาหกิจชุนชนพันธุ์ข้าวหอมไชยา

วันที่ 14 มิถุนายน 2562 เวลา 14:00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ นำโดย ดร.ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ รองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการและขับเคลื่อนพระราโชบาย ลงพื้นที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา โดยมี นายเจริญศักดิ์  วงศ์สุวรรณ นายอำเภอไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุมในการดำเนินงาน ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาครัวเรือนยากจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของครัวเรือนยากจนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร และระนอง“การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา”ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

งานบริการฯร่วมกับสาขาวิชาพืชศาสตร์ปฏิบัติการจัดทำแปลงผักต้นแบบ

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2562 งานวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาพืชศาสตร์ นำโดย ดร.รัชฎาพร ไทยเกิด ลงพื้นที่โครงการส่งเสริมและพัฒนาครัวเรือนยากจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตร ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านภูริน ตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแปลงผักต้นแบบ โดยมี ดร. เกษร เมืองทิพย์ ได้นำองค์ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและธาตุอาหารพืช และ ผศ. พรพรหม พรหมเมศร์ ปฎิบัติการปรับปรุงโครงสร้างดิน pH ดิน พื้นที่สาธิต ในการเตรียมแปลงต้นแบบ

ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนโครงการจังหวัดเคลื่อนที่

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2562 เวลา 10:00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมคณะ นำโดย ผศ.สมชาย บุญคงมาก ผู้ช่วยรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมกิจกรรมของจังหวัดในการจัดกิจกรรมโครงการหน่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ โรงเรียนบ้านเชี่ยวมะปราง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี  นายจเร ขวัญเกิด ปลัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำองค์ความรู้สู่ชุมชนบ้านเชี่ยวมะปราง ในด้านกฎหมาย ด้านหนังสือมีชีวติ และด้านการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท เป็นต้น

งานบริการวิชาการฯ ลงพื้นที่ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการบูรณาการศาสตร์ในประเด็น “มะพร้าว” ตามข้อเสนอแนะโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เผย เจาะลึกการเลี้ยงดู “ลิง” ผู้เชี่ยวชาญการเก็บมะพร้าว หวังเป็นฐานความรู้ถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลัง เป็นอีกหนึ่งในกระบวนการองค์ความรู้ของมะพร้าว …..เมื่อเวลา 14.00 น. (29 ธันวาคม 2560) ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยอาจารย์ธาตรี คำแหง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้เดินทางไปยัง ต.คลองน้อย อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเลี้ยงดูและฝึกหัดลิงที่ใช้ขึ้นมะพร้าว ตามแนวทางของมหาวิทยาลัยที่จะศึกษามะพร้าวอย่างครบวงจร …..สืบเนื่องจากมติที่ประชุมอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560 มติที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการหาจุดเน้นตามธรรมชาติในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำมาบูรณาการศาสตร์ระหว่างหน่วยงานเข้าด้วยกัน และเพื่อตอบโจทย์แผนการดำเนินงานในปี 2561 โดยมีความเห็นร่วมกัน ในประเด็นของการนำมะพร้าวมาบูรณาการศาสตร์เพราะเป็นทั้งพืช สมุนไพร และผลไม้ของชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและยังสามารถนำทุกส่วนของมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า ตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ให้ศึกษามะพร้าวอย่างครบวงจร …..ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยถึงการลงพื้นที่เพื่อศึกษาในเรื่องดังกล่าวว่า “ตามที่มหาวิทยาลัยได้รับคำแนะนำจากคณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ให้ศึกษามะพร้าวอย่างครบวงจร ดังที่ได้เคยเรียนทุกท่านไปก่อนหน้านี้นั้น เรื่องหนึ่งที่มีส่วนสำคัญและเป็นองค์ความรู้ที่ควรรักษาไว้คือ การเลี้ยงลิงเพื่อใช้ขึ้นมะพร้าว เพราะหากไม่มีการรวบรวมและขาดการถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลัง ภูมิปัญญานี้ก็จะสูญสิ้นไปตามความผันเปลี่ยนของเวลา โดยหลังจากนี้ฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นจะได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นฐานความรู้ให้กับลูกหลานต่อไปในอนาคต ร่วมกับประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวในทุกมิติ”…

มรส.ร่วมกิจกรรมงานวันคนพิการสากลจังหวัดสุราษฎร์ธานี และร่วมวมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามแนวทางการสร้าง ถนนปลอดภัย

…..เมื่อเวลา 09.00 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมกิจกรรมงานวันคนพิการสากลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2560 ณ โรงแรมบรรจงบุรี อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี จัดโดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี และศูนย์บริการคนพิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากท่านแจ่มจิตร์ พูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นประธาน …..โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำชุดการแสดงจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเข้าร่วมในพิธีเปิด พร้อมทั้งนำน้ำดื่มจำนวน 700 ขวดมาช่วยสมทบเพื่อจัดเลี้ยงคนในงาน บรรยากาศของงานเต็มไปด้วยความอบอุ่น ทุกกิจกรรมได้สะท้อนความสามารถของพี่น้องผู้พิการทางร่างกายได้อย่างยอดเยี่ยม และทุกคนในงานต่างประจักษ์ดีว่า หัวใจของพี่น้องทุกท่านไม่ได้พิการตามที่ร่างกายเป็นเลย …..จากนั้น ฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้เดินทางไปยังพื้นที่จุดตรวจจับความเร็วบริเวณหน้าศาลแขวงฯ เพื่อร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามแนวทางการสร้าง ถนนปลอดภัย โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีมติเลือกถนนสายสุราษฎร์-นาสาร ตั้งแต่แยกเซาท์เทอร์นจนถึงแยกบางใหญ่ โดยในช่วงนี้จะเป็นช่วงของการตักเตือนก่อนจะมีมาตรการจับจริงในอนาคตอันใกล้ …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามในทุกมิติที่จะหาแนวทางเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้มีพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน  ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯร่วมประชุมหารือคณะพยาบาลฯพร้อมผู้นำชุมชนขุนทะเล เร่งเปิดรร.ผู้สูงอายุ ยัน! หลักสูตรพร้อมใช้ เชื่อมั่นความสำเร็จเต็ม100 %

คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ หนุนสุดแรง เร่งเต็มกำลัง ลั่นคณะพยาบาลฯพร้อมช่วยเหลือ ดูแล และเป็นพี่เลี้ยงตลอดโครง ด้าน ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เผยเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตอีกหนึ่งมิติของชุมชนขุนทะเล ตามปณิธานมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 13.00 น. (18 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมเพื่อหารือเรื่องการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ณ ห้องพุทธิชีวิน คณะพยาบาลศาสตร์ โดยมี ดร.จิราพร วัฒนศรีสิน คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้นำและจิตอาสา ของหมู่ที่ 10 ตำบลชุมชนขุนทะเล เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย …..เนื่องจากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กำหนดจัดโครงการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนขุนทะเล ซึ่งได้ดำเนินการประชุมทำความเข้าใจร่วมกันในวันที่ 7 ธันวาคม 2560 ไปแล้วนั้น โดยผลการประชุมในครั้งดังกล่าวให้ผู้ใหญ่บ้านคัดเลือกตัวแทนจิตอาสา จำนวน 5 คน เพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินงานและประสานงานระหว่างชุมชน นอกจากนี้ ได้กำหนดจัดประชุมอีกครั้งเพื่อทำความเข้าใจและรับทราบถึงกระบวนการในการดำเนินงานพร้อมทั้งกำหนดปฏิทินและระยะเวลาการทำกิจกรรมตามโครงการดังกล่าวด้วย …..ดร.จิราพร วัฒนศรีสิน คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์  ได้กล่าวว่า คณะพยาบาลมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ดำเนินงานร่วมกับงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ในโครงการเปิดโรงเรียนผู้อายุในพื้นที่ชุมชนขุนทะเล…

งานบริการวิชาพัฒนาท้องถิ่น มรส. จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการพุมเรียงโมเดล

งานบริการวิชาพัฒนาท้องถิ่น มรส. รุกพื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวดสุราษฎร์ธานี หวังพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด …..เมื่อเวลา 10. 00 น. งานบริการวิชาพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพุมเรียงโมเดล ณ ห้องประชุมพัฒนาท้องถิ่น อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ เผือกคง รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ งานบริการวิชาการฯ ได้กำหนดกิจกรรมไว้ จำนวน 9 กิจกรรมตามยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ ได้แก่ 1. การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพุมเรียง 2. การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามรอยเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง 3. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตามรอยท่านพุทธทาส 4. การอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าพุมเรียงเพื่อการท่องเที่ยว 5. การส่งเสริมมหกรรมอาหารพื้นถิ่นพุมเรียงเพื่อการท่องเที่ยว 6. การพัฒนาระบบสื่อความหมายในพื้นที่ท่องเที่ยวเทศบาลตำบลพุมเรียง 7. การเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ท่องเที่ยวเทศบาลตำบลพุมเรียง 8. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดเพื่อมุ่งสู่พุมเรียง Zoro Waste 9. การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว …..โดยมีการบูรณาการหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยฯเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับเทศบาลตำบลพุมเรียงเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตามยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏ 20 ปีรวมถึงการกำหนดการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนทางวัฒนธรรม…

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมการประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ.

…..เมื่อเวลา 11.00 น. งานบริการวิชาพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยังโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ เผือกคง รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและคณะทำงานบริการวิชาการ ได้ร่วมประชุม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดสุราฎร์ธานี (อพ.สธ. -จ.สุราษฎร์ธานี) …..ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ แปลงที่ 10 แปลงป่าอนุรักษ์ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ โดยได้ดำเนินการปลูกพันธ์ไม้ 15 ชนิด จำนวน 450 ต้น บำรุงรักษาพันธ์ไม้เดิมที่มีอยู่ภายในแปลง  ได้วางแผนดำเนินงานพัฒนาปรับปรุงพื้นที่แปลงป่าอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืนของชุมชน และเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบของโครงการ อพ.สธ. อย่างมีประสิธิภาพ

ประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดทำฐานข้อมูลชุมชน (Big Data)

เมื่อเวลา 10.00 น. (13 พฤศจิกายน 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาครัวเรือนยากจนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการฝ่ายจัดทำฐานข้อมูลชุมชน เข้าร่วมประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวเป็นการระดมความคิดในการวางแผนและออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งการออกแบบฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศ  ในโครงการจัดทำฐานข้อมูล (Big Data) ของพื้นที่บริการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทและศักยภาพของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ใหม่ตามพระราโชบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏร่วมกัน โดยกำหนดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยฯ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา เป็นต้น

End of content

End of content