คบว.ยกทัพคณะทำงานถอดบทเรียนติดตามผลงานระดับพื้นที่ ณ โรงแรมดุสิต ดีทู อ่าวนาง จังหวัดกระบี่
|

คบว.ยกทัพคณะทำงานถอดบทเรียนติดตามผลงานระดับพื้นที่ ณ โรงแรมดุสิต ดีทู อ่าวนาง จังหวัดกระบี่

เวลา 07.30 น. (15 สิงหาคม 2565) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย นายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและคณะทำงานอาจารย์ บุคลากร ในพื้นที่บริการวิชาการของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง ประจำปีงบประมาณ 2565 เดินทางไปยังจังหวังกระบี่ ณ โรงแรมดุสิต ดีทู อ่าวนาง เพื่อจัดการประชุมสัมมนาถอดบทเรียนผลการดำเนินงานโครงการพระบรมราโชบายและโครงการตามแนวพระราชดำริโดยมี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานกล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับ ทีมคณะทำงานทุกๆท่าน ผ่านระบบออนไลน์ พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ และเครือข่ายสังคม ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนยุทธศาสตร์ วิชาการ และทรัพยากรมนุษย์ ได้มาร่วมแลกเปลี่ยน ร่วมคิด ร่วมทำ สรุปแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านพัฒนาท้องถิ่น แผนการดำเนินงาน และแผนงบประมาณกับการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ทั้งนี้ โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มุ่งหวังผลจากการ ถอดบทเรียน ติดตามผลการดำเนินงานในครั้งนี้ว่าสามารถจะนำผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไปพัฒนาศักยภาพอาจารย์บุคลากร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในระดับพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด…

|

อพ.สธ.มรส. ขับเคลื่อนศูนย์ประสานงาน ผลักดันสร้างจุดเรียนรู้ “มะพร้าวเกาะพะงัน” เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

เมื่อเวลา 09.00 น. (17 กุมภาพันธ์ 2565 ) คณะดำเนินงานศูนย์ประสานงานกอพ.สธ.-มรส.กภายใต้โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นกได้ลงพื้นที่ติดตามงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯกณกเทศบาลตำบลนาใต้ อำเภอเกาะพะงันกจังหวัดสุราษฎร์ธานีกในกิจกรรมประชุมสัมมนาการสร้างการส่วนร่วมเพื่อพัฒนาจุดเรียนรู้มะพร้าวเกาะพะงันเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมกโดยมีนายอรุณกหนูขาวกผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นเป็นผู้กล่าวเปิดโครงการกซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายภาคส่วน เช่น ส่วนราชการ เกษตรกร เอกชน โรงเรียน และวิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงัน เป็นต้นกและมีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก

|

คบว.ร่วมกับกองนโยบายและแผนผนึกกำลังขับเคลื่อนแนวทางการจัดทำกรอบแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2566

เมื่อเวลา 10.00 น. (15 กุมภาพันธ์ 2565) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับกองนโยบายและแผนดำเนินการจัดประชุมแนวทางการจัดทำกรอบแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีหน่วยงานที่ดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์ ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น (3O 7KR) โดยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการกวิจัยและนวัตกรรมกได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้เน้นย้ำและมีเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าการดำเนินงานโครงการของทุกหน่วยงานในพื้นที่ตามโครงการพระบรมราโชบาย ประชาชนในพื้นที่จะต้องได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถใช้องค์ความรู้ที่ได้รับอาจารย์และคณะทำงานไปใช้ในชีวิตประจำวันประกอบอาชีพได้และสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ขณะที่ นายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ ชี้แจงว่า การเสนอโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทางคบว.และสถาบันวิจัยฯจะร่วมกันสังเคราะห์เพื่อการบูรณาการ และพิจารณาว่าโครงการที่นำเสนอมานั้นตรงกับพื้นที่เป้าหมายหรือไม่และนำส่งไปยังกองนโยบายและแผนภายใน วันที่ 21 สิงหาคม 2565 โดยคณะกรรมการฯสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มหลักเกณฑ์การขอรับข้อเสนอโครงการพระราโชบายด้านการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทางเว็บไซต์กองบริการวิชาการฯและในไลน์กลุ่มคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่น โดยมติที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่น 3O…

|

ระดมความคิดบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนเกาะพะลวย

จากการผลักดันและพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว มาโดยตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ในพื้นที่เกาะพะลวย ชุมชนพร้อมผลักดันสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนเกาะพะลวย พร้อมวางเป้าหมาย ปี 2567 วิสาหกิจฯ มีกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว พร้อมสร้างรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมี 5 กลุ่ม คือ กลุ่มนวด กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มเรือนำเที่ยว กลุ่มที่พัก และกลุ่มผู้นำเที่ยว อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอกการท่องเที่ยว วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า กระบวนการในครั้งนี้ เป็นเรื่องของการจัดการกลุ่ม บริหารจัดการทรัพยากร ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกัน และแหล่งที่มาของรายได้ เพื่อวางแผนการทำงานในอนาคต นางสรินณา จันทร์แจ่ม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนเกาะพะลวย เป็นโอกาสที่ดีที่กลุ่มได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในการพัฒนากลุ่มตั้งแต่เริ่มต้นทำความเข้าใจในกระบวนการบางเรื่องก็ไม่สามารถรีบร้อนได้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับกิจกรรมในวันนี้ทางกลุ่มได้กำหนดข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างกลุ่มต่างไป เช่น กลุ่มนวด กลุ่มเรือรับจ้าง กลุ่มผู้นำเที่ยวและกลุ่มผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ ได้ข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้กลุ่มสามารถเดินต่อไปได้

|

Coaching วิสาหกิจชุมชน จัดทำแผน รับการสนับสนุนงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น. ผศ.ดร.เสนห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม และนายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นพร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงานศึกษาสำรวจความเป็นไปได้ ในการพัฒนาอาชีพ และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลบางใบไม้ นางจรัญญา ศรีรักษ์ กำนันตำบลบางใบไม้ และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลบางใบไม้ อธิบายรายละเอียดของการดำเนินงานกิจกรรม และวัตถุประสงค์ในการของบประมาณสนันสนุน พร้อมอธิบายแนวทางในการจัดการกลุ่มฯ เพื่อให้ข้อมูลแก่คณะการสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาอาชีพ และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สำหรับการดำเนินงานในรอบแรก จะมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 45 กลุ่ม ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ด้าน OTOP จำนวน 9 กลุ่ม ด้านการท่องเที่ยว จำนวน 6 กลุ่ม ด้านการประมง จำนวน 2 กลุ่ม และด้านเกษตร จำนวน 28 กลุ่ม ดร.กฤษณะ…

|

คบว.ประชุมทีมทำงาน รร.ตชด. วางกรอบ ประจำปี 2566 เน้นพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ อ่านออกเขียนได้ และการคิดวิเคระห์

วันที่ 3 ก.พ. 2565 เวลา 10.00 น. นายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ประชุมติดตามความก้าวหน้า การดำเนินโครงการ ประจำปี 2565 พร้อมให้รายละเอียดการจัดตั้งงบประมาณ 2566 พร้อมเตรียมบูรณาการระหว่างงานบริการวิชาการ และงานวิจัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยปี 2565 – 2566 มุ่งเน้นส่งเสริมให้ครูใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการเรียนการสอนและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับภาระกิจกหลักของโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา รร.ตชด ประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอน ระดับปฐมวัย การจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา การจัด และให้บริการห้องสมุดโรงเรียน ซึ่งการดำเนินงานส่วนใหญ่จะดำเนินการในช่วงไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ ประกอบด้วย อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนครู ตชด. การใช้ Google Appication เพื่อพัฒนางานห้องสมุดยุคใหม่ การจัดการเรียนรู้เสริมทักษะทางสมอง EF บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ แบบไฮสโคป (Hi-scope) เตรียมความพร้อมสมรรถนะ ด้านการจัดการสอนในยุค New Normal อบรมเชิงปฏิบัติการโดยเน้นสมรรถนะจิตวิทยา สำหรับครูสู่ทักษะการอ่านออกเขียนได้ของผู้เรียน และการตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน…

|

คบว.ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นบ้านสวนปราง ขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นโครงการตามพระบรมราโชบาย ประจำปี 2565

โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับคณาจารย์ คณะนิติศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วยบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางลงพื้นที่บ้านสวนปราง ตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมหารือแนวทางการพัฒนา รับฟังปัญหา รายงานผลการดำเนินงานในปีงบประมาณปี 2564 และนำข้อเสนอแนะไปปรับแนวทางการดำเนินงานโครงการตามพระบรมราโชบายในพื้นที่ นายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นกล่าวว่า พื้นที่ภูรินเป็น 1 ใน 3 พื้นที่ ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินงานเพื่อตอบโจทย์ตามโครงการพระบรมราโชบาย 4 ด้าน คือด้านการศึกษา เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งมหาวิทยาลัย เข้ามาเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ภูริน โดยมหาวิทยาลัยฯมีเจ้าภาพหลักในการพัฒนาพื้นที่ภูรินจะเป็นคณะนิติศาสตร์ สำหรับในปี2565 ทางมหาวิทยาลัย ได้เข้ามาดำเนินโครงการ จำนวน 5 กิจกรรม ประกอบด้วย โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาเผาขยะชุมชน โครงการสร้างสร้างสุขเมืองคนดีเพื่อชีวีผู้สูงอายุ โครงการยกระดับคุณค่าสมุนไพรภูริน โครงการยกระดับคุณค่าดินขุยไผ่ และโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่

มรส.ร่วมงานกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น คัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง“อยู่เย็น เป็นสุข” เชิดชูเกียรติ คนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

ประชาชน บ้านคลองเรือชื่นมื่น มรส.ร่วมสนับสนุนยกระดับการพัฒนาอาชีพ ผู้นำชุมชนเผยเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อเวลา 08.30 น. (27 พฤษภาคม 2563) คณะผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยฯ เพื่อร่วมงานกิจกรรมคัดสรรพัฒนาชุมชนดีเด่นประจำปี 2563 กิจกรรมคัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข”และกิจกรรมเชิดชูเกียรติ คนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประจำปี 2563 ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านคลองเรือ ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี โดยมีนายบรรเจิด สาริพัฒน์ นายอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการเปิดงาน ทั้งนี้ ได้มีผู้บริหารและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว คือ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ผศ.ดร.ลักษมี ชัยเจริญวิมลกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะทำงานพร้อมทั้งคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหัวหน้าส่วนราชการจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายวิรุท แก้วสงค์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านคลองเรือ ได้เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรมดังกล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้คัดสรรบ้านคลองเรือเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง“อยู่เย็น เป็นสุข”และกิจกรรมเชิดชูเกียรติ คนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี…

บริการวิชาการฯ จัดประชุมความร่วมมือศูนย์คุณธรรม หวังขับเคลื่อนโมเดลจังหวัดคุณธรรม

ด้านผู้แทนศูนย์คุณธรรม เผย เล็งมรส.ที่แรกและที่เดียวเป็นกำลังสำคัญร่วมสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิชาการ เมื่อเวลา 15.00 น. (24 มกราคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการจัดประชุมความร่วมมือการดำเนินงานด้านวิชาการสนับสนุนการขับเคลื่อนโมเดลจังหวัดคุณธรรม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า 2 ชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวได้มีผู้แทนจากศูนย์คุณธรรม กลุ่มส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานีพร้อมด้วยคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมในการประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร กล่าวว่า การสนับสนุนงานด้านวิชาการเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่พร้อมจะร่วมขับเคลื่อนร่วมกับทุกหน่วยงาน ซึ่งการทำความร่วมมือการดำเนินงานด้านวิชาการในการสนับสนุนการขับเคลื่อนโมเดลจังหวัดคุณธรรม มหาวิทยาลัยมีทีมคณะทำงานโดยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเครือข่ายหน่วยงานทุกภาคส่วน ซึ่งทีมคณะทำงานและหน่วยงานที่มีความเหมาะสมคือ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่มีความพร้อมทั้งศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง คณาจารย์ที่มีความสามารถและกลุ่มนักศึกษาที่ทำกิจกรรม โดยมอบหมายให้ ดร.ปุณยวีร์ หนูประกอบ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ประสานทีมคณาจารย์จาก รปศ.พิจารณาเรื่องการจัดทำแผนและกำหนดกรอบการดำเนินงานพร้อมทั้งพิจารณาเรื่องงบประมาณให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ อาจารย์ธีรพันธ์ จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นผู้ดูแลเรื่องงานธุรการต่างๆ โดยมีงานบริการวิชาการฯเป็นที่ปรึกษาเรื่องระเบียบการเบิกจ่ายขณะที่ นายประมวล บุญมา หัวหน้ากลุ่มงานสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและสมัชชาคุณธรรม ได้เผยว่า ศูนย์คุณธรรม ได้เล็งเห็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นหน่วยงานแรกและหน่วยงานเดียวที่มีความเหมาะสมทั้งด้านวิชาการ…

งบว. จัดประชุมผู้รับผิดชอบโครงการอพ.สธ. รองฯพันธกิจสัมพันธ์ Startup แผนการดำเนินไม่หวั่นสถานการณ์ COVIC –19

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นสนองโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดมความคิดหาแนวทางขับเคลื่อนและยกระดับการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเวลา 14.00 น. (13 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นจัดประชุมผู้รับผิดชอบโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ. – มรส.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุมทั้งนี้การประชุมดังกล่าวเป็นการติดตามเรื่องการจัดตั้งศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯพร้อมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ประสานดังกล่าว โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ชี้แจงว่าในฐานะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ตั้งเป้าหมายของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในลักษณะเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน โดยในระยะแรกศูนย์ประสานงาน ดังกล่าวจะต้องจัดตั้งอยู่ ณ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีเจ้าหน้าที่ประสานงาน และจะมีการคัดสรรผู้ที่มีความเหมาะสมดำเนินงานเป็นผู้อำนวยการตัวจริงและหัวหน้าศูนย์ฯที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งระยะแรกมหาวิทยาลัยจะต้องใช้วิธีการเกลี่ยอัตรากำลังให้มาประจำที่ศูนย์ และสถานที่การจัดตั้งศูนย์น่าจะอยู่ในบริเวณพื้นที่ของหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ ด้าน ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนงานในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ. – มรส.) ประจำปีงบประมาณ…

End of content

End of content