คณะกรรมการพัฒนาสตรีสุราษฎร์ธานี วางใจมรส. ภูมิทัศน์สถานที่ หรู! เหมาะจัดงานวันสตรีสากล พร้อมเป็นกรรมการตัดสินการประกวด

…..ลุงชู – ป้าโส จับมือชื่นมื่น รวมพลังเพื่อสังคม ยันสนับสนุนเต็มที่ ยกกลุ่มสตรีมีบทบาทสำคัญ ช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศชาติมั่นคงและยั่งยืน ย้ำชัดทุกกิจกรรม มรส.พร้อมอยู่เคียงข้างเสมอ …..เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมวิภาวดี อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ โดยมีนางโสภา กาญจนะ ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเครือข่ายกลุ่มสตรี จำนวน 19 อำเภอดำเนินการประชุมตามวาระ เพื่อดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมกิจกรรมและพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2561 เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2561 ในวันพุธที่ 7 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี …..โดยการดำเนินการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทหน้าที่ของสตรีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยประสานความร่วมมือจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี ประธานเปิดการประชุมได้กล่าวต้อนรับและให้ความคิดเห็นในการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความชื่นชมในการดำเนินงานเพราะเป็นองค์กรที่มีความรู้…

งานบริการวิชาการฯจูงมือเครือข่าย UBI – วิทยาศาตร์ฯ ลงพื้นที่ หมู่ 9 ติดตาม โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว – เศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

…..ชู ขับเคลื่อน สินค้าจากไก่อารมณ์ดี หวังผลผลิตไข่มีคุณภาพ ทีมงานบริการวิชาการฯ ยกนิ้ว หมู่ 9 ผู้ใหญ่บ้านสุดปลื้มเป็นหมู่บ้านตัวอย่าง ใช้องค์ความรู้ที่ มรส.ให้ ยกระดับคุณภาพชีวิตได้จริง …..เมื่อเวลา 14.00 น. (7 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคุณฐิติมา บุญยังผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI และ ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคม หมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี นางปัทมา ฤทธิกัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมการดำเนินงานของหมู่ที่ 9 ว่า ผลิตภัณฑ์และสินค้าที่หมู่บ้านดังกล่าวได้เสนอให้มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือด้านองค์ความรู้ การเพาะเลี้ยงไก่อารมณ์ดี ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกรรมวิธีการเพาะเลี้ยงและเพาะพันธุ์อย่างถูกต้อง โดยประเด็นที่ได้พูดคุยกับกลุ่มชาวบ้านจะต้องทำเป็นลำดับขั้นตอนคือ 1. ชาวบ้านต้องมีความรู้ 2. เมื่อได้รับองค์ความรู้ และสามารถเพาะเลี้ยงได้อย่างถูกวิธี…

งานบริการวิชาการฯจับมือเครือข่าย ร่วมลงพื้นที่ หมู่ 7 ขุนเล หวังแปรรูป ผลิตภัณฑ์ชุมชน ปลาดุกร้า ขึ้นห้างสรรพสินค้า

…..UBI ตอบรับพร้อมดันเต็มที่ ด้าน แม่งานสายวิทย์ เตรียมจัดอบรมการแปรรูปปลาดุกร้า ให้ได้มาตรฐาน ภายใต้ “แบรนด์ขุนเล” …..เมื่อเวลา 12.45 น. (7 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและคณะ พร้อมด้วยผู้จัดการและเจ้าหน้าที่จากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ และดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคมหมู่ที่ 7 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้นำชุมชนและแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ดำเนินการต่อยอดในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยเริ่มจากการประชุมทำความเข้าใจผู้นำชุมชนและกลุ่มแกนนำชุมชนทั้ง 10 หมู่บ้านเพื่อจัดกิจกรรม 1หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะต้องกำกับติดตาม และกำหนดแผนการดำเนินงานในแต่ละหมู่บ้าน …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดัฝ่ายบริการวิชาการ เผยว่า งานบริการวิชาการฯและตัวแทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI คุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางมาเพื่อลงพื้นที่ ในหมู่ที่…

ฝ่ายบริการวิชาการฯ เดินทางตรวจเยี่ยมให้กำลังนักศึกษา รปศ. ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย นักศึกษามีศักยภาพ และเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของหลักสูตรตนเองด้านประธานสภาคณาจารย์ ชี้ชัด ทุกคณะฯต้องสนับสนุน ส่งเสริมในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง …..เมื่อเวลา 09.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ ประธานสภาคณาจารย์ ได้ร่วมเดินทางไปยังโรงเรียนบ้านวังทองสามัคคี อ.ท่าอุแท จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจและพูดคุยกับนักศึกษาที่ไปดำเนินการจัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในรายวิชาการประเมินโครงการ โดยมีนายชัยรัตน์ บุญนาค ผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการพิเศษ คณะครู อาจารย์ และผู้นำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..โรงเรียนบ้านวังทองสามัคคี  ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านป่าจาก ตำบลท่าอุแท  อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยมีอาจารย์ผู้สอนจำแนกตามสายงานทั้งสิ้นจำนวน 6 คน ทั้งนี้นักศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เริ่มจัดกิจกรรมพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 โดยมี ดร.พกฤต แสงอาวุธ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษารายวิชา …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการได้กล่าวถึงการดำเนินโครงการดังกล่าวว่าเป้าหมายของการจัดโครงการไม่ใช่เพียงแค่ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเท่านั้น แต่เป็นการสร้างวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันกับชุมชนท้องถิ่นการช่วยเหลือเกื้อกูล และปลุกจิตสำนึกถึงการเป็นผู้ให้ ซึ่งจากการที่ได้ร่วมพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียนและคณาจารย์ก็ได้ทราบข้อมูลว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความสามารถและกระตือรือร้นต่อการทำโครงการ…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมการประชุมทำความร่วมมือบริการวิชาการ คณะนิติศาสตร์–สำนักงานยุติธรรมจังหวัด

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ยัน มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ยินดี ร่วมมือทุกโครงการที่ยุติธรรมจังหวัดขอความอนุเคราะห์ และให้เชื่อมั่นทุกศาสตร์ของมรส.อยู่ภายใต้ธงเดียวกัน ยึดความสามัคคีเป็นที่ตั้งและความยุติธรรมเป็นศูนย์กลาง …..เมื่อเวลา 13.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เข้าร่วมประชุมการทำความร่วมมือการบริการวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด โดยมี ผศ.นนทชัย โมรา คณบดีคณะนิติศาสตร์ คณะผู้บริหาร และคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะนิติศาสตร์ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุมอภิปรายในการดำเนินงานทำความร่วมมือดังกล่าว …..โดยผู้แทนสำนักงานยุติธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ว่า สำนกงานยุติธรรมเป็นผู้แทนของกระทรวงยุติธรรม ในการประสานนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติทั้งยังเป็นหน่วยสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานยุติธรรมทางเลือก (ยุติธรรมชุมชน และยุติธรรมเชิงสมานฉันท์) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย (กองทุนยุติธรรม) การช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา การจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย การรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ สนับสนุนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรมและของส่วนราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรม นอกจากนี้ยังดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐบาล กระทรวงยุติธรรม กรม จังหวัด ตามที่ได้รับมอบหมาย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานร่วมกันดังกล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้วมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และสำนักงานยุติธรรมจังหวัดได้ทำงานบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่นร่วมกันมาโดยตลอด เนื่องจากเมื่อมหาวิทยาลัยฯมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับยุติธรรมจังหวัดก็จะประสานและได้รับการสนับสนุนด้วยดีมาโดยตลอด ในขณะเดียวกันหากยุติธรรมจังหวัดมีงานอันใด…

งานบริการวิชาการฯร่วมโครงการ KM จัดทำแผนปฏิบัติราชการสนง.อธิการบดี ปีงบ 2562 พร้อมอัฟเวอร์ชั่น วิสัยทัศน์ใหม่ แกรนด์กว่าเดิม

…..รักษาการอธิการบดี เชื่อมั่นกิจกรรมเชิงปฏิบัติการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม  ชี้ชัด! ฝ่ายสนับสนุนมีความสำคัญ เป็นกลไกการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง …..เมื่อเวลา 06.30 น. (3 กุมภาพันธ์ 2561) ผู้บริหาร และบุคลากรสายสนับสนุน ในสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยัง ชลนภา รีสอร์ท อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเช้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานอธิการบดี  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดการประชุม …..ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดีได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบงาน ระบบการตรวจสอบ ระบบประเมินผล และระบบประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักงานอธิการบดีให้มีความสอดคล้องกับทิศทางและนโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งสามารถวัดผลความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดได้ …..รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในโครงการดังกล่าวว่า สำนักงานอธิการบดีเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยทุกระบบ ทั้งงานวิชาการ งานวิจัย งานบริการวิชาการแก่สังคม หรืองานอื่นๆตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเห็นได้ว่ากระบวนงานทั้งหมดนี้สำนักงานอธิการบดีจะเป็นกลไกหลักที่ช่วยขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย ถึงแม้ว่าการบริหารจัดการในระบบอาจไม่ลงตัวบ้าง เพราะขาดความเชื่อมโยง ขาดการประสานงานกันระหว่างหน่วยงาน ดังนั้นการจัดกิจกรรมในวันนี้จะทำให้มิติของการบริหารจัดการเป็นไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งเจตนารมณ์ในวันนี้ อยากเห็นการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประสานงานระหว่างกอง มีความเข้าใจในภาระหน้าที่ซึ่งกันและกันสามารถทำงานทดแทนกันได้ นอกจากนี้การจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกันจะเป็นการประสานแผนลดความซ้ำซ้อนลดทอนในเรื่องของเวลา…

คณะทำงาน “พุมเรียงโมเดล” ร่วมลงพื้นที่ ระดมความคิดแกนนำชุมชน Focus Group 3 พันธกิจหลัก

…..ตกผลึกทางความคิด การท่องเที่ยว – ศิลปะฯ – ผังเมือง ด้านทีม มรส. นำทัพงานบริการวิชาการฯ – สำนักศิลปะและวัฒนธรรม – วิทยาลัยนานาชาติฯ – ดร.นรา ดันสุดกำลัง หวังพุมเรียงโมเดลเป็นจริง …..เมื่อเวลา 10.00 น. (2 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานในโครงการพุมเรียงโมเดล จากมหาวิทยาลัย  ราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำทีมโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและทีมงาน  จากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น อาจารย์อนุรัตน์  แพนสกุลและทีมงาน จากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม อาจารย์เกสสิณี  ตรีพงศ์พันธุ์ และทีมงาน จากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และดร.นรา พงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนและผังเมืองจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วย นางสาวกัญญารัตน์ แสงสุวรรณ ตัวแทนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมลงพื้นที่เพื่อประชุมระดมความคิดการดำเนินโครงการพุมเรียงโมเดล ณ เทศบาลตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ได้มีนายยอดชาย พันธ์ครุฑ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพุมเรียง และเจ้าหน้าที่…

บริการวิชาการ มรส. รุกดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมหารือกับ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ อาจารย์จุฑารัตน์ ธาราทิศ ผศ.เตชะธรรม สังข์คร ดร.พลกฤต แสงอาวุธ และอาจารย์ธาตรี คำแหง เกี่ยวกับการดำเนินงานในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร …..โดยโครงการนี้เกิดขึ้นจากการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม ซึ่งมีความต้องการอยู่ 3 ส่วนคือ ต้องการแนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการตลาดแบบมืออาชีพ ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และแนวทางการพัฒนาและยกระดับการแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่อำเภอละแม ซึ่งพวกเราได้ร่วมกันระดมความคิดและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัย โดยมีการดำเนินงานใน 3 กิจกรรมคือ 1.กิจกรรมร่วมกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม 2.กิจกรรมสนับสนุนส่งเสริมรูปแบบการผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน 3.กิจกรรมร่วมกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการขยะ การส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มมูลค่าขยะให้เป็นรายได้ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยทั้ง 3 กิจกรรมจะเริ่มดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ …..วันนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างสุดกำลังในการทำงานเพื่อท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในลักษณะร่วมทุกข์ร่วมสุข เราจะร่วมฟันฝ่าปัญหาไปด้วยกัน ดังปณิธานที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดินผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด  ทิ้งากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีม วนช. – ศิลปะวัฒนธรรมฯลงพื้นที่พุมเรียงหวังยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความต้องการของชุมชน

…..ที่ประชุมเห็นชอบจัด Focus group 3 กลุ่ม ชี้ชัดแนวทางการดำเนินงาน การท่องเที่ยว – ศิลปะและวัฒนธรรม – แผนและผังเมือง ด้านชุมชน เผย สุดดีใจรอทีมมรส.ช่วยขับเคลื่อนพุมเรียงโมเดลเป็นจริง …..เมื่อเวลา 11.00 น. (30 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อนำเสนอและทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นพร้อมทั้งหาข้อสรุปของการดำเนินงานในระยะที่ 2 ในพื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมด้วยทีมงาน อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธ์ พร้อมทั้งทีมดำเนินงานจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวและ ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนและผังเมืองจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องสภามหาวิทยาลัยฯ ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี …..เนื่องจากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ ได้ลงพื้นที่ตำบลพุมเรียง (7 มกราคม 2561) ร่วมหารือกับแกนนำชุมชนเรื่องของการยกระดับมิติการท่องเที่ยวในด้านต่างๆ พร้อมทั้งการจัดทำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวแนวทางการนำเสนอวิถีชีวิตและเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชุมชนดังกล่าว เพื่อการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ในช่องทางต่างๆ และ ดำเนินการเป็นพุมเรียงโมเดลซึ่งได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าทางคณะทำงานจะลงพื้นที่ร่วมระดมความคิดกับแกนนำชุมชนพุมเรียงอีกครั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์…

งานบริการวิชาการฯ ร่วมประชุมหารือ วนช.ผุดโครงการ SRU TOUR

…..ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เห็นชอบทัวร์มรส 3 ที่ อาคารสำนักงานอธิการบดี(ใหม่) – หอประชุม วชิราลงกรณ – หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ เล็งยกระดับหอประชุมฯ เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติ …..เมื่อเวลา 14.00 น. (29 มกราคม 2561) งานบริการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เข้าร่วมประชุมและพิจารณาโครงการ SRU TOUR โดยมีผู้แทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว เป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน ทั้งนี้โครงการ SRU TOUR มีอาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ เป็นผู้ริเริ่มและจัดทำแผนในการนำความรู้จากหลักสูตรการเรียนการสอน มาสู่การปฏิบัติซึ่งมีนักศึกษาเป็นผู้ร่วมดำเนินโครงการด้วย …..อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และเป็นผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวถึงการดำเนินงานว่า “เมื่อนำบริบทจากกิจกรรมของหน่วยงานภายนอกที่ขอความอนุเคราะห์เข้ามาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงเล็งเห็นความสำคัญของการทัวร์มหาวิทยาลัย และมีความคิดที่จะทำโมเดลนี้เพื่อให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและสามารถเป็นโมเดลให้กับคณะอื่นด้วย ซึ่งเบื้องต้นได้พิจารณาว่าสถานที่ที่น่าสนใจในมหาวิทยาลัยมีที่ใดบ้าง ซึ่งได้นำมาสรุปว่า 1.หอประชุมวชิราลงกรณ 2. อาคารสำนักงานอธิการบดีหลังใหม่ และ 3.หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ ทั้งนี้ในอนาคตมีความคิดที่จะเสนอกับมหาวิทยาลัยเพื่อยกระดับหอประชุมวชิราลงกรณ ให้เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติที่มีความพร้อมในการจัดงานระดับชาติและนานาชาติซึ่งจะต้องหาข้อมูลและองค์ประกอบต่างในการขับเคลื่อนอีกสักระยะ นอกจากนี้การดำเนินโครงการ SRU TOUR ทางคณะผู้รับผิดชอบโครงการได้ให้นักศึกษาไปสำรวจและวิเคราะห์ความน่าสนใจของสถานที่ซึ่งได้นำมาสรุปและพิจารณาในเบื้องต้นแล้วโดยแบ่งประเด็นการนำเสนอว่า…

End of content

End of content