งานบริการวิชาการฯ ร่วมประชุมโครงการมหกรรมอาหารการท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติ

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผย มรส.ร่วมสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวทุกมิติ วิทยาลัยนานาชาติฯ – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ร่วมด้วย ดีเดย์ 26 – 31 กรกฎาคม 2561 …..เมื่อเวลา 08.30 น.(15 กุมภาพันธ์ 2561) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวและผู้แทนจาก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเข้าร่วมประชุมโครงการมหกรรมอาหารการท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติ ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงผลการประชุมโครงการดังกล่าวว่า ที่ประชุมได้ตกลงให้มีกิจกรรมจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประชาสัมพันธ์อาหารที่มีชื่อของภาคใต้ การจัดการแข่งขันทำอาหารเอกลักษณ์พื้นถิ่น การจัดงานมหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการท่องเที่ยว กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการ Fam Trip และการจัดงานมหกรรมอาหารพื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งในความคิดส่วนตัว อาหารใต้มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมีกลิ่นอายของความเป็นวัฒนธรรมปักษ์ใต้ สามารถสร้างความประทับใจในวิถีแห่งความเป็นไทยให้แก่นักท่องเที่ยว ทั้งนี้ โครงการมหกรรมอาหารการท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติ จะจัดขึ้นในวันที่ 26-31 กรกฎาคม 2561…

ทีมบริการวิชาการฯ พร้อม UBI ลงพื้นที่ หมู่ 10 ผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำพริกไตปลาแห้ง แกนนำหมู่บ้านพร้อมลุย เร่งตีตราแบรนด์ “ขุนเล”

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ – หัวหน้างานบริการฯสุดปลื้ม ชื่นชมชาวบ้านมีความพร้อมผลิตสินค้าน้ำมันเหลืองสมุนไพร – ไตปลาแห้งจำหน่ายเอง ดันสุดแรงอบรมเชิงปฏิบัติการให้สินค้ามีคุณภาพ ชูขึ้นห้างในอนาคต …..เมื่อเวลา 10.00 น. (13 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการิชาการ และผู้แทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยังร้านจำหน่ายธงฟ้าประชารัฐ หมู่ที่ 10 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าตามแผนในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยหมู่บ้านดังกล่าวได้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเหลือง น้ำพริกไตปลาแห้ง ซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำหมู่บ้าน …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงการดำเนินงานของชุมชน  หมู่ที่ 10 ว่า การผลิตน้ำมันเหลืองสมุนไพร และน้ำพริกไตปลาแห้ง ของหมู่ที่10 มีปัจจัยที่เอื้อต่อการทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ เช่น แกนนำที่มีศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร การรวมกลุ่มของชาวบ้านที่ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี มีความพร้อมทั้งวัตถุดิบจากธรรมชาติ และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานเป็นผลให้ การจัดจำหน่ายสินค้าภายในชุมชนสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับครัวเรือนได้อย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือการขยายแผนช่องทางการตลาด การทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้เหมาะสมกับสินค้าและสร้างแรงดึงดูดใจให้กับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการฯ ร่วมกับ UBI…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จูงมือ UBI ลงพื้นที่หมู่ 4 ติดตามความก้าวหน้าโครงการสายใยรักฯ – เศรษฐกิจพอเพียง

…..แกนนำชุมชนคึกคัก ต้องการองค์ความรู้เสริมทักษะการทำผลิตภัณฑ์พวงหรีด – เครื่องแกง – มัลเบอรรี่ มรส.ไม่รีรอจัดให้ตามคำขอ เร่งประสานผู้เชี่ยวชาญ หวังยกระดับภูมิปัญญาต่อยอดผลผลิตเพิ่มมูลค่าชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 12.45 น. (12 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และคณะทำงานจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI โดยนางฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์ฯ ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคม หมู่ที่ 4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามความก้าวหน้าในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้นำชุมชนและแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงการพูดคุยและสอบถามการดำเนินงานตามที่ได้แจ้งไว้กับงานบริการวิชาการฯว่า หมู่ที่ 4 ได้ดำเนินกิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถจัดจำหน่ายตามช่องทางการตลาดที่เข้ามาสั่งซื้อโดยตรงจากชาวบ้านคือผักเหรียง หรือ ผักเหมียงที่เป็นผักสวนครัวขึ้นชื่อของชุมชนขุนทะเล ดังนั้น จึงได้พิจารณา ร่วมกับ คุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์ UBI และ กลุ่มแกนนำในพื้นที่ พบว่าผักดังกล่าวสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับครัวเรือนหมู่ที่…

บริการวิชาการฯ มรส. ลงพื้นที่ หมู่ 6 ขยายผลการดำเนินงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนยกระดับคุณภาพชีวิต

…..เมื่อเวลา 14.00 น. (11 กุมภาพันธ์ 2561)  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยผู้แทนจากจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.อรุโณทัย เจือมณี ได้เดินทางไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 6 ต.ขุนทะเล เพื่อติดตาม และขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีตัวแทนพี่น้องหมู่ที่ 6 ต.ขุนทะเล นำโดยคุณจำนงค์ เพลินแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมการหารือ …..ผลการหารือได้ข้อสรุปว่า ผลิตภัณฑ์ที่พี่น้องหมู่ 6 ต.ขุนทะเล ต้องการพัฒนาเพื่อให้เป็นอาชีพเสริมคือ การปลูกมัลเบอร์รีและการแปรรูปมัลเบอร์รีอย่างง่ายเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น โดยพี่น้องยังขาดองค์ความรู้ในการปลูก การดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยจึงได้ประสานไปยังสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เขต 5 จ.ชุมพร เพื่อขอความร่วมมือในการให้ความรู้กับพี่น้องหมู่ที่ 6 โดยได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี ทั้งนี้จะมีการร่วมหารือกันในเดือนมีนาคมที่มหาวิทยาลัย …..นอกจากนี้ในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปนั้น มหาวิทยาลัยโดยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารจะดำเนินการฝึกอบรมการทำน้ำมัลเบอร์รีเพื่อสุขภาพ และการทำแยมมัลเบอร์รีในวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2561 และจะพัฒนาในด้านการสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน…

มรส.ร่วมประชุมเพื่อคัดเลือกกลุ่มองค์กรการเกษตรเพื่อเข้ารับการสนับสนุนเป็นพื้นที่ศึกษาและพัฒนาด้านการเกษตร

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี ได้ร่วมประชุมเพื่อคัดเลือกกลุ่มองค์กรการเกษตรเพื่อเข้ารับการสนับสนุนเป็นพื้นที่ศึกษาและพัฒนาด้านการเกษตร ณ ห้องประชุมศูนย์บูรณาการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยให้มหาวิทยาลัยนำผลการศึกษาไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร ทั้งนี้จากการประชุมเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมได้มอบหมายให้สภาเกษตรกรคัดเลือกองค์กรเกษตรกรที่มีศักยภาพพร้อมขับเคลื่อนงานสู่การปฏิบัติมานำเสนอผลงาน โดยมีกลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกมา 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรภูริน กลุ่มกรีนฟู๊ดเมืองคนดี วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิภาวดี และสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินบ้านต้นมะพร้าว จำกัด …..ทั้ง 4 กลุ่มมีความหลากหลายและความเข้มแข็งในด้านการรวมกลุ่ม ทุนทางสังคม และวิสัยทัศน์ แต่ยังคงขาดแคลนมิติต่างๆที่จะช่วยเติมเต็มให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการที่เหมาะสมและยังยืน ในเดือนหน้าทีมงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะสนธิกำลังกันเพื่อลงพื้นที่ของทั้ง 4 กลุ่ม เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นอย่างดีที่สุด …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการนำเอาองค์ความรู้ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บริการวิชาการฯร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวจัดกิจกรรมการนำเที่ยวภายในมหาวิทยาลัย

…..ฝ่ายบริการวิชาการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยอาจารย์เกสสินี ตรีพงศ์พันธุ์ จากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ได้นำคณะนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวที่มีความสนใจในกิจกรรมการนำเที่ยวภายในมหาวิทยาลัยไปศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของสถานที่ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คของมหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจากคุณสรัลชยา ถาวรสันต์ สถาปนิกของมหาวิทยาลัย เป็นผู้บรรยาย …..ตลอดระยะเวลากว่า 3 ชั่วโมง พวกเราได้รับทราบข้อมูลของอาคารหอประชุมวชิราลงกรณ และอาคารสำนักงานอธิการบดี(หลังใหม่)อย่างละเอียด ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม แรงบันดาลใจในการออกแบบ งบประมาณ พื้นที่ ประโยชน์ใช้สอย รวมทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เราไม่เคยรับทราบมาก่อน สิ่งหนึ่งที่พวกเราทุกคนเห็นตรงกันคือ กว่าจะเป็นอาคารหลังหนึ่งนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ นอกจากนี้ยังต้องรักษาดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยกับทุกคนอย่างมากที่สุด จากนี้นักศึกษากลุ่มนี้จะเข้าศึกษาในพื้นที่อื่นต่อไป ภายใต้หลักการที่ว่า พื้นที่ทุกส่วนของมหาวิทยาลัยต้องเป็นองค์ความรู้ให้กับทุกท่านที่มาเยี่ยมชมอย่างประทับใจ …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเปิดประตูทุกมิติเพื่อ ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และสามารถใช้ประโยชน์จากมหาวิทยาลัยในฐานะเจ้าของร่วมกัน ดังปณิธานที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.โดยงานบริการวิชาการฯ ลงพื้นที่ หมู่ที่ 8 สนับสนุนองค์ความรู้ตามความต้องการของชุมชน พร้อมชู พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกง น้ำยาเอนกประสงค์

…..ชาวบ้านร่วมประทับตราแบรนด์ “ขุนเล” เครื่องแกงสุดแซบ น้ำยาฯสุดคลีน หวังตีตลาด ดันขึ้นห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ด้านเครือข่ายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร พร้อมถ่ายทอดเทคนิควิธีตีตลาด …..เมื่อเวลา 10.00 น. (9 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI และทีมงาน ได้เดินทางไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 8 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามและขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยถึงผลการลงพื้นที่ในหมู่บ้านดังกล่าวว่า จากที่ได้พูดคุยกับนายวิรุท แก้วสงค์ ผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มชาวบ้านหมู่ที่ 8 ได้ข้อสรุปในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานอันเนื่องมาจากชุมชนดังกล่าวมีความต้องการทำกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงและน้ำยาเอนกประสงค์ โดยยังขาดความรู้ในการผลิต ดังนั้น จึงได้ประสานไปยังหน่วยงานเครือข่ายงานบริการวิชาการ คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสาขาวิชาชีววิทยา เพื่อดำเนินการอบรมให้ความรู้การผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพตามเกณฑ์ ซึ่งจะจัดอบรมในวันที่ 10 มีนาคม 2561 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี …..ในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกง ในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและรสชาติที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค…

ผู้แทนรัฐวิสาหกิจชุมชนฯ เข้าพบผช.ฝ่ายบริการวิชาการ – UBI หวังให้ มรส. สนับสนุนองค์ความรู้ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนบางใบไม้

…..ดร.สมปราชญ์ อ้าแขนรับ เผยเจตนารมณ์ตรงกัน ยันมรส.พร้อมนำทุกสรรพวิชาช่วยเหลือสุดกำลัง ดีเดย์ 3 มี.ค. 61 ทีมบริการวิชาการฯกอดคอเครือข่ายลงพื้นที่ สวนลุงสงค์ เพื่อสำรวจความต้องการของชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 13.00 น. ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้เดินทางมาเข้าพบ ดร. สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ โดยการประสานงานจากจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI เพื่อร่วมหารือเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมิติต่างๆ …..ทั้งนี้ นางสาวณัฐธิญาณี ธัญญลักษณ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้กล่าวถึงแผนการดำเนินงานและความต้องการที่จะให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีช่วยเหลือสนับสนุนว่า ทางรัฐวิสาหกิจชุมชนฯได้ดำเนินการเป็นผู้ประกอบกิจการส่งเสริมสินค้า OTOP ของชุมชนในตำบลบางใบไม้ โดยเริ่มจากการน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และได้ขยายการผลิตเป็นโรงงานเพื่อต่อยอดการผลิตเป็นเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทางวิสาหกิจชุมชนฯ ยังมีความคิดที่จะยกระดับแหล่งท่องเที่ยวตามวิถีชุมชนบางใบไม้ โดยการพัฒนาวัตถุดิบจากธรรมชาติเช่น ปุ๋ยอินทรีย์ การต่อยอดผลิตภัณฑ์สินค้าจากท้องถิ่น รวมทั้งการริเริ่มแหล่งที่พักโฮมสเตย์ด้วย  อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีองค์ความรู้และมีหน่วยงานสนับสนุนในมิติต่างๆ จึงได้ประสานมายัง คุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เพื่อขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ทราบว่าเป็นพันธกิจของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น …..ด้าน ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกระบวนการและการดำเนินงานของงานบริการวิชาการฯ ว่า การที่ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้เข้ามาร่วมพูดคุยถึงกระบวนการทำงานของหน่วยงานและเจตนารมณ์ที่จะให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือ…

มรส.ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ณ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี จัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสาร สร้างการรับรู้การขับเคลื่อนงานของคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด บริษัทประชารัฐ โดยมีการรับฟังปัญหา ข้อจำกัด เพื่อถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงาน และร่วมกันวางแผนขับเคลื่อนงานในอนาคต ทั้งนี้ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคเกษตร แปรรูป และการท่องเที่ยวชุมชน โดยมีตัวแทนชุมชนเข้าร่วม 25 ชุมชน และหลังจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะทำหน้าที่ในการให้ความรู้และประสานงานทั้งในด้านการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับพี่น้องในท้องถิ่น ทั้งนี้จะมีการประชุมร่วมกับพัฒนาชุมชน อุตสาหกรรมจังหวัด กระทรวงเกษตรฯ และภาคเอกชนอีกครั้งหนึ่งเพื่อกำหนดความรับผิดชอบร่วมกัน …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการนำเอาองค์ความรู้รวมทั้งเทคนิควิธีการที่เหมาะสมและทันสมัยเพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ ร่วมประชุมผู้แทนจากสภาเกษตรกรสุราษฎร์ธานี ถกคิด! แนวทางในการนำผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร

…..ผช.ฝ่ายบริการวิชาการฯ รับเงื่อนไข มรส.ลงพื้นที่ตรมผลการดำเนินการ 4 ด้าน การแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ …..เมื่อเวลา 10.00 น. (8 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เพื่อหาแนวทางในการนำผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร และใช้พื้นที่ของเกษตรกรเพื่อการศึกษาและวิจัย ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น …..โดยมีผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีเดินทางมาเพื่อร่วมหาแนวทางในการประชุมดังกล่าว คือ นายจรัญ รอดศรีนาค หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเจริญ รักษ์ทอง รองประธานสภาเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายพิราเชนทร์ มุสิกรังษี คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร และนางช่อทิพย์ วาณิชย์เจริญ หัวหน้าส่วนขับเคลื่อนและการมีส่วนร่วม …..เนื่องจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหน้าที่ในการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงให้แก่เกษตรกรและองค์กรการเกษตร นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการอาชีพเกษตรกรรมโดยเชื่อมโยงกับภาครัฐ ผู้ประกอบการเอกชนทุกระดับ พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนค้นคว้าวิจัย และพัฒนาภูมิปัญญา พันธุกรรมพืช สัตว์ ท้องถิ่น ประมง นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม และเกษตรกรรมอื่นๆ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการค้นคว้าวิจัย พัฒนา รวมทั้งแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งนี้การดำเนินงานดังกล่าวได้เริ่มจากการตอบรับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่เข้าร่วมและสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ. 2560…

End of content

End of content