ก้าวแห่งความสำเร็จ การบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ได้เข้าร่วมในการประชุมเตรียมการรับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ศาลากลางจังหวัดชุมพร ในการเสด็จทรงเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและราษฎร ในวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2560 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง ต.นาขา อ.หลังสวน และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะแบกงาม ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีหน้าที่รับผิดชอบ 3 ส่วนคือ การจัดและให้บริการห้องสมุดโรงเรียน การสาธิตการสอน และการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ขณะนี้ได้เตรียมการไปแล้วกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และจะสมบูรณ์แบบภายในวันที่ 18 และ 19 กันยายน อย่างแน่นอน จากนั้นท่านรองผู้ว่าราชการ จ.ชุมพร ได้ร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างหมู่บ้านต้นแบบเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน จ.ชุมพร โดยมุ่งเน้นการใช้ศาสตร์พระราชาเป็นเครื่องขับเคลื่อน ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินงานเพื่อถวายงานพระองค์ท่านเกี่ยวกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เราได้ระดมทุกสรรพกำลังในฐานะเครือข่ายพี่น้องกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อหนุนเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพอย่างที่ควรจะเป็น และไม่ว่าเมื่อไรก็ตามเราก็จะขอยืนยันว่าเราจะทำทุกวิถีทางเพื่อเป็นพลังของแผ่นดินให้ได้ในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด…
…..เมื่อเวลา 13:00 น.ของวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อเตรียมการต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานการประชุม …..ที่ประชุมได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ มาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมดังกล่าว …..นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยเสนอโครงการที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยมหาวิทยาลัยได้เตรียมโครงการ GOLDEN HUB ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำตาปี พื้นที่สองฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบน และพื้นที่ประตูสู่ภาคใต้ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกันกับทุกภาคส่วนในการศึกษาและพยายามหาแนวทางอย่างจริงจัง ภายใต้หลักการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในทุกมิติ ตามที่เราได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
สาระสำคัญของหลักสูตร เป็นหลักสูตรที่เหมาะกับครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา ครูสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการอบรมไปผลิตสื่อเพื่อใช้ ประกอบการสอนได้ง่ายๆ ด้วยเทคนิคและทักษะรูปแบบต่างๆที่วิทยากรผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดให้ เพื่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน วัตถุประสงค์ เพื่อเสริมทักษะการผลิตสื่อแก่ครูผู้สอน เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีความน่าสนใจ เนื้อหาหลักสูตร (Course Outline) ความรู้เกี่ยวสื่อการสอนและการผลิตสื่อการสอน ปฏิบัติการผลิตสื่อการสอน เช่น สื่อ Multimedia, Pop-up, 3D, Model รายละเอียดทั้งหมด หลักสูตรการผลิตสื่อการสอนสำหรับเด็กประถมศึกษา
อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง พื้นที่ 713.70 km2คำขวัญ แหล่งท่องเที่ยวมากมี ไมตรีมากล้น ทุกคนปลอดภัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง เทศบาลตําบลปากน้ำ เทศบาลเมืองระนอง เทศบาลตําบลปากน้ำท่าเรือ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม เทศบาลตําบลราชกรูด องค์การบริหารส่วนตำบลทรายแดง เทศบาลตําบลหงาว องค์การบริหารส่วนตำบลบางนอน องค์การบริหารส่วนตำบลหงาว เทศบาลเมืองบางริ้น องค์การบริหารส่วนตำบลหาดส้มแป้น
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) จำนวน 30 คน ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา เพื่อศึกษางานด้านการบริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น โดยมี ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ ให้การต้อนรับสำหรับมหาวิทยาลัยพะเยาก่อตั้งเมื่อปี 2538 เดิมทีเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ต่อมาในปี 2553 ได้แยกตัวมาเป็นมหาวิทยาลัยพะเยาอย่างเต็มตัว มหาวิทยาลัยพะเยาเป็นมหาวิทยาลัยในอ้อมกอดขุนเขา มีภูมิศาสตร์สวยงามภายใต้เนื้อที่ 5,700 ไร่ จัดเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีนักศึกษาประมาณ 49,000 คน มีถึง 15 คณะ 2 วิทยาลัย (มีมากกว่า 100 สาขา) ได้แก่…คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะนิติศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์…
โครงการ ค่ายจิตอาสาพัฒนาป่าชายเลน ปี 4 งบประมาณ 54,800 บาท สถานที่ดำเนินงาน ต.ตะเคียนทอง อ.กาญจนดิษฐ์ ระยะเวลา 22-23 ธ.ค. 55 การบูรณาการ การสอน – การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ นายธาตรี คำแหง 087-2772350