Similar Posts
งานบริการวิชาการฯเร่งหารือ งัดแผนการดำเนินงานแปรรูปผลิตผลชุมชน ผนึกกำลังสายแข็งแห่งการจัดการและวิทยาศาสตร์ฯ เห็นพ้องชู Brand เดียวแต่หลากผลิตภัณฑ์
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ สตาร์ทเครื่องแรง อยากทำให้สำเร็จและเร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการชุมชนท้องถิ่น ด้านศูนย์ UBI ใจป้ำอัดงบสนับสนุนโครงการฯ หวังยกระดับคุณภาพชีวิตชาวขุนทะเล ให้สมกับเป็นพื้นที่มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมหารือร่วมกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิทยาการจัดการ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ณ สำนักงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ทั้งนี้เพื่อการดำเนินการกำหนดแผนงานการช่วยเหลือและให้ความรู้พร้อมทั้งการจัดฝึกอบรมเบื้องต้นในการแปรรูปผลิตผล การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และเทคนิควิธีการใช้ช่องทางตลาด Online เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นของฝากของชำร่วย …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงแผนการดำเนินการว่า “งานบริการวิชาการท้องถิ่นได้ขอความอนุเคราะห์และจัดประชุมหารือร่วมกับอาจารย์เตชะธรรม สังข์คร อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก และ ผศ.นินธนา เอี่ยมสะอาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจ เอกการจัดการทั่วไป และคุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการสำนักงานศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI พร้อมทั้ง ดร.อุราภรณ์ เรืองวัชรินทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นอกจากนี้ ยังมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ อาจารย์ณัฐพล…
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดันสินค้าชุมชน (OTOP) เดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความยั่งยืนของคนในชุมชน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ และนายอรุณ หนูขาว พร้อมด้วยชาวบ้านชุมชนขุนทะเล ได้นำสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านมาจัดแสดงจำหน่าย ณ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตามแนวทางการยกระดับรายได้ให้กับชาวบ้านชุมชนขุนทะเลของมหาวิทยาลัย โดยเดินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความยั่งยืนของคนในชุมชน ชาวบ้านชุมชนขุนทะเลได้มีการนำสินค้า มาวางเพื่อจำหน่าย เช่น กระเป๋าเชือกร่ม ดอกไม้กระดาษ ผ้าปาเต๊ะปักลูกปัด ฯลฯ “ฝีมือดี คุณภาพเยี่ยม ลายสวย ราคาเป็นกันเอง” นายวสันต์ สุทธโส ผู้ช่วยอธิการบดี เผยว่า ยินดีอย่างยิ่งที่ชาวบ้านชุมชนขุนทะเลที่นำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาวางจำหน่ายในศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ สนใจสามารถติดต่อได้ที่สำนักจัดการทรัพย์สิน โทร. 0 7791 3344 ,0 7791 3333 ต่อ 3500
บริการวิชาการ มรส. ร่วมโครงการวาทศิลป์เยาวชนคนรุ่นใหม่และการประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้เข้าร่วมโครงการวาทศิลป์เยาวชนคนรุ่นใหม่ จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สุราษฎร์ธานี และสภาเด็กและเยาวชน จ.สุราษฎร์ธานี ณ โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงคุณค่าและเสน่ห์ของการพูด การใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ เพื่อเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยที่ทรงคุณค่าและปฏิบัติสืบกันไป …..จากนั้นในช่วงบ่าย ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อกำหนดนโยบายและการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยเป็นขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งมีทั้งหมด 14 กลุ่มจากทุกภาคส่วนทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมกับทุกภาคส่วนในการสร้างสรรค์งานที่สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในทุกรูปแบบ รวมทั้งความพยายามในการกำหนดแนวทางเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมจากพี่น้องประชาชน เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือจะนำมาซึ่งความสำเร็จร่วมกันอย่างภาคภูมิ เราพร้อมที่จะเดินหน้าร่วมกันกับพี่น้องในทุกมิติ ตามปณิธานที่ได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ดีเดย์ อบรมนมถั่วตัดธัญพืชและฝอยทองอบแห้ง ขุนเลหมู่ 1 ตบเท้าเข้าปฏิบัติการทำขนมแปรรูป หวังต่อยอดองค์ความรู้ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
คณะวิทยาศาสตร์ฯ อ้าแขนรับการมาเยือนของชาวชุมชนขุนเลหมู่ 1 ดร.สุพรรณิการ์ จัดเต็มองค์ความรู้นำทีมสอนทำขนมแปรรูปเสริมทักษะอาชีพด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี …..เมื่อเวลา 09.00 น.(18 มกราคม 2561 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนขุนทะเลแบบบูรณาการด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางอาชีพแก่ชุมชน “ขุนเล” โดยโครงการดังกล่าวเป็นการสรุปผลจากการประชุมเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 การติดตาม และขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตผลชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดทำแผนการดำเนินงานการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ของชุมชนขุนทะเล กำหนดให้มีการอบรมวิธีการทำขนมไทยอบแห้ง ในวันที่ 18 มกราคม 2561 นี้ …..ผศ.สุรินทร์ สมณะ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานในพิธีเปิดโครงการได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการดำเนินการดังกล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพยายามนำองค์ความรู้ในศาสตร์ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน ซึ่งเทศบาลตำบลขุนทะเลเป็นพื้นที่เป้าหมายในการให้บริการวิชาการแก่ท้องถิ่น โดยคณะฯได้ร่วมกับงานบริการวิชาการฯลงพื้นที่สำรวจความต้องการซึ่งพบว่าประชาชนต้องการได้รับการสนับสนุนด้านการจัดอบรมและส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพเสริมและหาตลาดรองรับ ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของการจัดโครงการนี้คือการช่วยเหลือและสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการที่แท้จริง …..ขณะที่ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงโครงการครั้งนี้ว่า หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ชุมชนเป้าหมายร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ผลสรุปว่า ประชาชนหมู่ที่ 1 ขุนทะเล มีความต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือโดยการนำองค์ความรู้ด้านการแปรรูปอาหารให้มีระยะเวลาในการบริโภคยาวนานขึ้น ซึ่งการทำขนมไทยเป็นอาชีพที่หมู่บ้านดังกล่าวทำขายทุกวันโดยตลาดในการวางจำหน่ายจะเป็นบริเวณพื้นที่ตำบลขุนทะเลและบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น ดังนั้นเมื่อชาวบ้านสามารถทำการแปรรูปขนมไทยได้แล้วมหาวิทยาลัยจึงมีความคิดที่จะหาช่องทางตลาตเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งได้ร่วมพูดคุยกับคณะวิทยาการจัดการในเบื้องต้นแล้ว …..ขณะที่ ดร.สุพรรณิการ์…
มรส.ต่อยอดประเด็นการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ ต.ขุนทะเล
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ร่วมกับคณาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ ดร.วัชรี รวยรื่น และอาจารย์นิสากร สุขหิรัญ พวกเราได้ร่วมกันหารือเพื่อต่อยอดประเด็นการบริหารจัดการขยะ ในพื้นที่ ต.ขุนทะเล ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านให้ความสำคัญว่า เป็นประเด็นปัญหาที่ควรแก้ไขเป็นอันดับแรก และอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไข โดยหลังจากที่ได้มีการรวบรวมข้อมูลพบว่า พื้นที่ขุนทะเลมีขยะมากถึง 15-16 ตัน/วัน และต้องใช้งบประมาณในการกำจัดขยะจำนวนมาก โดยขณะนี้มหาวิทยาลัยได้จัดชุดโครงการบริหารจัดการขยะ ต.ขุนทะเล ซึ่งมีโครงการย่อยร่วม 20 โครงการ ตามงบประมาณ ปี 2561 และอยู่ในระหว่างจัดทำการของบประมาณจาก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาวิจัยในประเด็นการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาล ต.ขุนทะเล วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเดินหน้าในทุกมิติเพื่อร่วมกันกับท้องถิ่นในการแก้ปัญหาและยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องอย่างเอาจริงเอาจัง เราพร้อมที่จะฟันฝ่าทุกอุปสรรคเพื่อสร้างพลังให้กับแผ่นดินนี้ร่วมกัน ในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มรส.ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร
…..เมื่อเวลา 13:00 น.ของวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อเตรียมการต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานการประชุม …..ที่ประชุมได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ มาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมดังกล่าว …..นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยเสนอโครงการที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยมหาวิทยาลัยได้เตรียมโครงการ GOLDEN HUB ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำตาปี พื้นที่สองฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบน และพื้นที่ประตูสู่ภาคใต้ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกันกับทุกภาคส่วนในการศึกษาและพยายามหาแนวทางอย่างจริงจัง ภายใต้หลักการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในทุกมิติ ตามที่เราได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี