มรส.ร่วมกับเทศบาลตำบลพุมเรียง หารือแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่แหลมโพธิ์ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ที่มีการจัดการอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

…..ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ร่วมกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยอาจารย์อนุรักษ์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนัก พร้อมด้วย ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ พราหมณพันธุ์ ประธานเครือข่ายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ในภารกิจที่จะเดินทางมาเป็นประธานการประชุมเครือข่ายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเขตภาคใต้ ได้หารือร่วมกับนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลพุมเรียง เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่แหลมโพธิ์ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ที่มีการจัดการอย่างเหมาะสมและยั่งยืน …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ เผยถึงผลสรุปของการหารือว่า แหลมโพธิ์เป็นพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวเชิง โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมประกอบกัน แต่ยังขาดแผนในการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จะเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงในการช่วยเหลือจัดทำแผนปฏิบัติการจากการระดมความคิดเห็นในวันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2560 เพื่อจะได้นำเสนอต่อภาคส่วนอื่นๆในการสร้างความยั่งยืนต่อไป …..ต่อข้อซักถามถึงแนวทางการมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นนั้น ผู้ช่วยอธิการบดีให้ข้อมูลว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์แนวทางเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้อง เราพร้อมที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกันกับท้องถิ่นตามที่ได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพเยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ฝ่ายบริการวิชาการฯร่วมกับชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มรส.ลงพื้นที่พัฒนาโรงเรียนบ้านพัฒนา

ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ร่วมกับชมรมเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ร่วมกันลงพื้นที่ไปยัง โรงเรียนบ้านพัฒนา อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อทำกิจกรรมพัฒนาในเฟทที่ 2 โดยเป็นการพัฒนาห้องเรียนอนุบาล และป้ายคำขวัญของโรงเรียน ในการนี้มีท่านผู้อำนวยการ และคณะครูคอยให้การต้อนรับและร่วมกันพัฒนาโรงเรียนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ผู้ช่วยอธิการบดีเปิดเผยว่า ในอนาคตโรงเรียนมีแนวความคิดที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้กับพี่น้องในท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดังนั้นจึงอาจเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย โรงเรียน และชุมชนท้องถิ่นได้ในอนาคตอันใกล้ ต่อข้อซักถามถึงแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยนั้น ผู้ช่วยอธิการบดียืนยันว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามในทุกมิติที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์แนวทางในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้อง เราพร้อมที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกันกับท้องถิ่นตามที่ได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ชีพจรลงเท้า ร่วมหารือเพื่อขยายผลผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผช.งานบริการฯ – หน.งานบริการฯ ย้ำชัดน้ำยาอเนกประสงค์ ไม่ไร้น้ำยาอย่างแน่นอน ชู UBI งัดช่องทางการตลาด  ขึ้นห้าง – โกอินเตอร์ พร้อมแจกกำลังใจให้ชาวชุมชนมั่นใจในมรส. เพราะขุนทะเลคือบ้านของราชภัฏสุราษฎร์ฯ เมื่อเวลา 13.00 น. (22 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ พร้อมด้วย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการวิชา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย และ ตัวแทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจหรือ UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยัง หมู่ที่ 3 ตำบลขุนทะเล ณ ศาลาประชาคม นอกจากนี้ ได้มีตัวแทนจากเทศบาลตำบลขุนทะเล โดยนางสาวมนสิชา สุวรรณภพ นักพัฒนาชุมชน ร่วมหารือ ติดตามและขยายผลผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนเป็นผู้ผลิตและจัดทำ คือ น้ำยาอเนกประสงค์ และ พริกไทยด้วย…

งานบริการวิชาการฯ เตรียมความพร้อม จัดประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยภาคใต้

มอ. เชื่อมั่น มรส.อลังการ ! เหมาะเป็นเจ้าภาพสถานที่ ประชุม – แถลงข่าว“การบริหารจัดการน้ำภาคใต้” ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เผย มรส.เป็นเจ้าภาพร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมเครือข่ายบริการวิชาการ    ให้ไปเป็นตามเป้า หวังช่วยเหลือและแก้ปัญหาการจัดการน้ำในภาคอีสาน เมื่อเวลา 09.00 น. (22 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษา (ภาคใต้) ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตัวแทนจากสำนักจัดการทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ ตัวแทนฝ่ายสื่อสารองค์กร ตัวแทนศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมระดมความคิดจัดรูปแบบการต้อนรับและเตรียมสถานที่ในการประชุมและแถลงข่าว พร้อมทั้งเยี่ยมชมสถานที่ที่เป็นอัตลักษณ์ และขึ้นชื่อของมหาวิทยาลัย เนื่องจากมติที่ประชุมเครือข่ายบริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษา (ภาคใต้)  มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มหาวิทยาลัยวลักษณ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นแม่ข่ายสำคัญที่จะสร้างโมเดลการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศ เพื่อนำโมเดลดังกล่าวไปใช้ในการจัดการน้ำในภาคอีสาน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในฐานะเจ้าภาพร่วมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูและและจัดเตรียมสถานที่ในการประชุมการบริหารจัดการน้ำภาคใต้ ในวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2560…

งานบริการวิชาการฯ นำทีมผู้ขับเคลื่อนโครงการสายใยรักฯ–เศรษฐกิจพอเพียง ติดตามผลการดำเนินงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ขุนเล

หน่วยงานร่วมเครือข่ายเครื่องร้อน เร่งขยายผลนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อแปรรูป หวังผลเพิ่มมูลค่า ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชนท้องถิ่นโดยเร็ว ด้านผู้ช่วยอธิการบดีฯย้ำ ราชภัฏสุราษฎร์ฯเป็นของชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 13.00 น (21 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์    วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและคณะ พร้อมทั้ง ผู้แทนจากศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI)     นำโดย คุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์ และผู้แทนจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการวิชา ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคม หมู่ที่ 2 ต.ขุนทะเล เพื่อติดตามและขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ได้มีแกนนำชุมชน นำโดยนายสุรินทร์ รักษ์เมือง ผู้ใหญ่บ้านและคณะ เข้าร่วมการหารือในการดำเนินงานดังกล่าวด้วย…..เนื่องมาจากผลการประชุมหารือในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ ผู้ดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งแกนนำหมู่บ้านในตำบลขุนทะเลทั้ง 10 หมู่…

งานบริการวิชาการฯร่วมเสวนาสุขภาวะชาวสวนยาง ถกปัญหาราคาตก–กระทบการศึกษา พร้อมหาแนวทางยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เผย มรส.ไม่นิ่งดูดาย เร่งหารือนำองค์ความรู้สู้ปัญหาราคายางตกต่ำ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตทุกมิติ หวังเปลี่ยนทิศแก้วิกฤตให้ชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 09.00 น. (20 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เดินทางไปร่วมการเสวนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะชาวสวนยาง ณ ห้องประชุม 5 อาคารอิมแพค ฟอรั่มเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งการเสวนาได้มีนักวิชาการ กลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมแสดงความคิดแนวทางการแก้ปัญหาและประเด็นที่ส่งผลกระทบของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วม …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวถึงข้อสรุปในการเสวนาว่า “จากที่ได้ร่วมพูดคุยกับนักวิชาการและหน่วยงานหลายฝ่าย ซึ่งได้เสนอแนวทางที่สถาบันการศึกษาควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังเผชิญวิกฤตการณ์ราคายางพาราตกต่ำ ทั้งการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการไม่สามารถเรียนต่อได้ของนักศึกษาผู้ได้รับผลกระทบ การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวสวนยาง รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อหาแนวทางการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาวะให้กับชาวชุมชนท้องถิ่น ตามหลักคิดในการสร้างสังคมสุขภาวะต่อไป” …..ในส่วนของแนวทางการแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของชุมชนท้องถิ่น ดร.สมปราชญ์ ได้ให้ความเห็นว่า “งานบริการวิชาการฯ จะประสานและร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย เพื่อสำรวจว่ามีนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีตามระดับของความเดือดร้อนและหากมีกรณีใดที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งจะต้องเสนอผู้บริการให้รับทราบทันที …..ส่วนในเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวสวนยาง “จากที่เคยได้ร่วมพูดคุยกับชาวชุมชนท้องถิ่นที่ประกอบอาชีพดังกล่าว พบว่ายังประสบปัญหากับโรคระบาดที่เกิดขึ้นกับต้นยางพารา เช่น โรคราแป้ง โรคใบร่วง เป็นต้น…

งานบริการวิชาการฯ เร่งติดตาม การแปรรูปผลผลิตชุมชนขุนทะเล ผช.ฝ่ายบริการฯนำทีมรุดเยี่ยม ร่วมหารือแกนนำหมู่ 1 หวังนำร่องขนมไทยอบกรอบ

ด้าน UBI เล็งช่องทางการตลาดถั่วตัด ไปไกลทั่วประเทศ เห็นพ้องเน้นธัญพืชเป็นส่วนประกอบเพื่อรูปแบบที่แตกต่าง ด้านแกนนำหมู่บ้าน ฮึด! กำหนดวันร่วมเรียนรู้การแปรรูปกับ FOOD SCI …..เมื่อเวลา 13.00 น. (19 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยตัวแทนศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI และ อาจารย์ตัวแทนจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล เพื่อติดตาม และขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตผลชุมชน ซึ่งเนื่องมาจากผลการประชุมหารือตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดทำแผนการดำเนินงานการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ของชุมชนขุนทะเล พร้อมทั้ง ยกระดับชีวิตเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต โดยการประสานกับเครือข่ายหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์คอมพิวเตอร์ และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI เพื่อพัฒนาช่องทางการตลาด และได้ประชุมติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์  วุฒิจันทร์  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวว่า จากมติที่ประชุมหารือในวันที่ 20 พฤศจิกายน…

งานบริการวิชาการฯ เร่งเครื่อง ปีงบ’61 จัดประชุมอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ทบทวนแผนแม่บท ระยะ 5 ปีที่หก

 มรส. ระดมความคิดอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จุดประเด็นมุ่งเป้าการบูรณาการศาสตร์เข้าด้วยกัน มติที่ประชุมเห็นพ้อง ชูโรง “มะพร้าว” สุดเจ๋ง ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกกระบวนการ …..เมื่อเวลา 14.00 น.(13 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้จัดประชุมอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯเป็นประธานในที่ประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้สรุปผลการเข้าร่วมจัดนิทรรศการฯ ทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ประจำปี พ.ศ. 2560 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2560 นั้น …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เผยว่า ได้ร่วมพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัด โดยได้รับการชื่นชมในการดำเนินงานดังกล่าวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ผู้ช่วยอธิการบดีขอชื่นชมในความตั้งใจของทีมงานทุกท่าน ถึงแม้ว่าจะเกิดอุปสรรคและปัญหาบ้างแต่คณะทำงานนำโดยหัวหน้างานบริการวิชาการฯก็สามารถฟันฝ่าและแก้ปัญหาไปได้อย่างราบรื่น …..ด้านนายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้กล่าวถึงบรรยากาศในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวว่า มีหน่วยงานสนองงานฯได้นำผลิตผลในท้องถิ่นมาจัดแสดงมากมาย…

งานบริการวิชาการฯ สตาร์ทเครื่อง ปีงบ 61 จัดประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม สรุปผลและทบทวนการเบิก–จ่ายรายไตรมาส

หัวหน้างานบริการวิชาการฯ เผย แผนการดำเนินงานและการเบิก – จ่าย ต้องตรงตามไตรมาส ลดปัญหาการคืนงบ พร้อมหนุนโครงการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยว 65 แหล่ง ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการขยะในมหาวิทยาลัย เมื่อเวลา 10.00 น. (13 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องการเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมี นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นเป็นประธานในที่ประชุม หัวหน้างานบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า เป็นครั้งแรกในการจัดประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการหลังจากที่ได้เดินทางไปจัดนิทรรศการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ จังหวัดสระบุรี ภายใต้ชื่อ “ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น”เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2560 นั้น งานบริการวิชาการฯได้รับข้อเสนอแนะจากสำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯในประเด็นของการนำ พันธุ์ พืชสมุนไพร ผลไม้ มาบูรณาการศาสตร์เข้าด้วยกัน เพราะจากการที่ได้รับทราบผลการดำเนินงานจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการบูรณาการจากผลไม้ในท้องถิ่น คือ…

มรส.รายงานและนำเสนอข้อมูลการการประเมินผลโครงการ ITA ระนอง

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯได้เดินทางมายัง จ.ระนอง เพื่อรายงานและนำเสนอข้อมูลการการประเมินผลคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.ระนอง งวดที่ 3 ให้กับคณะกรรมการกำกับการจ้างเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จ.นะนอง ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดระนอง ข้อมูลดังกล่าว ประกอบด้วยข้อมูลหลายหน่วยงานจำนวน 31 หน่วยงาน 155 เล่ม ข้อมูลภาพรวมของ จ.ระนองจำนวน 20 เล่ม ท่านคณะกรรมการชื่นชมในเนื้อหาและกระบวนการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และเชื่อมั่นในการดำเนินงานของพวกเรา วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีพยายามเดินหน้าเพื่อเชื่อมโยงทุกสรรพกำลังของมหาวิทยาลัยในการสร้างแนวทางและโอกาสที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตร่วมกับพี่น้องในท้องถิ่น อย่างเต็มกำลัง ดังวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง###มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content