บริการวิชาการฯร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวจัดกิจกรรมการนำเที่ยวภายในมหาวิทยาลัย

…..ฝ่ายบริการวิชาการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยอาจารย์เกสสินี ตรีพงศ์พันธุ์ จากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ได้นำคณะนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวที่มีความสนใจในกิจกรรมการนำเที่ยวภายในมหาวิทยาลัยไปศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของสถานที่ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คของมหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจากคุณสรัลชยา ถาวรสันต์ สถาปนิกของมหาวิทยาลัย เป็นผู้บรรยาย …..ตลอดระยะเวลากว่า 3 ชั่วโมง พวกเราได้รับทราบข้อมูลของอาคารหอประชุมวชิราลงกรณ และอาคารสำนักงานอธิการบดี(หลังใหม่)อย่างละเอียด ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม แรงบันดาลใจในการออกแบบ งบประมาณ พื้นที่ ประโยชน์ใช้สอย รวมทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เราไม่เคยรับทราบมาก่อน สิ่งหนึ่งที่พวกเราทุกคนเห็นตรงกันคือ กว่าจะเป็นอาคารหลังหนึ่งนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ นอกจากนี้ยังต้องรักษาดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยกับทุกคนอย่างมากที่สุด จากนี้นักศึกษากลุ่มนี้จะเข้าศึกษาในพื้นที่อื่นต่อไป ภายใต้หลักการที่ว่า พื้นที่ทุกส่วนของมหาวิทยาลัยต้องเป็นองค์ความรู้ให้กับทุกท่านที่มาเยี่ยมชมอย่างประทับใจ …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเปิดประตูทุกมิติเพื่อ ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และสามารถใช้ประโยชน์จากมหาวิทยาลัยในฐานะเจ้าของร่วมกัน ดังปณิธานที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.โดยงานบริการวิชาการฯ ลงพื้นที่ หมู่ที่ 8 สนับสนุนองค์ความรู้ตามความต้องการของชุมชน พร้อมชู พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกง น้ำยาเอนกประสงค์

…..ชาวบ้านร่วมประทับตราแบรนด์ “ขุนเล” เครื่องแกงสุดแซบ น้ำยาฯสุดคลีน หวังตีตลาด ดันขึ้นห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ด้านเครือข่ายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร พร้อมถ่ายทอดเทคนิควิธีตีตลาด …..เมื่อเวลา 10.00 น. (9 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI และทีมงาน ได้เดินทางไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 8 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามและขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยถึงผลการลงพื้นที่ในหมู่บ้านดังกล่าวว่า จากที่ได้พูดคุยกับนายวิรุท แก้วสงค์ ผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มชาวบ้านหมู่ที่ 8 ได้ข้อสรุปในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานอันเนื่องมาจากชุมชนดังกล่าวมีความต้องการทำกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงและน้ำยาเอนกประสงค์ โดยยังขาดความรู้ในการผลิต ดังนั้น จึงได้ประสานไปยังหน่วยงานเครือข่ายงานบริการวิชาการ คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสาขาวิชาชีววิทยา เพื่อดำเนินการอบรมให้ความรู้การผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพตามเกณฑ์ ซึ่งจะจัดอบรมในวันที่ 10 มีนาคม 2561 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี …..ในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกง ในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและรสชาติที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค…

ผู้แทนรัฐวิสาหกิจชุมชนฯ เข้าพบผช.ฝ่ายบริการวิชาการ – UBI หวังให้ มรส. สนับสนุนองค์ความรู้ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนบางใบไม้

…..ดร.สมปราชญ์ อ้าแขนรับ เผยเจตนารมณ์ตรงกัน ยันมรส.พร้อมนำทุกสรรพวิชาช่วยเหลือสุดกำลัง ดีเดย์ 3 มี.ค. 61 ทีมบริการวิชาการฯกอดคอเครือข่ายลงพื้นที่ สวนลุงสงค์ เพื่อสำรวจความต้องการของชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 13.00 น. ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้เดินทางมาเข้าพบ ดร. สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ โดยการประสานงานจากจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI เพื่อร่วมหารือเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมิติต่างๆ …..ทั้งนี้ นางสาวณัฐธิญาณี ธัญญลักษณ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้กล่าวถึงแผนการดำเนินงานและความต้องการที่จะให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีช่วยเหลือสนับสนุนว่า ทางรัฐวิสาหกิจชุมชนฯได้ดำเนินการเป็นผู้ประกอบกิจการส่งเสริมสินค้า OTOP ของชุมชนในตำบลบางใบไม้ โดยเริ่มจากการน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และได้ขยายการผลิตเป็นโรงงานเพื่อต่อยอดการผลิตเป็นเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทางวิสาหกิจชุมชนฯ ยังมีความคิดที่จะยกระดับแหล่งท่องเที่ยวตามวิถีชุมชนบางใบไม้ โดยการพัฒนาวัตถุดิบจากธรรมชาติเช่น ปุ๋ยอินทรีย์ การต่อยอดผลิตภัณฑ์สินค้าจากท้องถิ่น รวมทั้งการริเริ่มแหล่งที่พักโฮมสเตย์ด้วย  อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีองค์ความรู้และมีหน่วยงานสนับสนุนในมิติต่างๆ จึงได้ประสานมายัง คุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เพื่อขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ทราบว่าเป็นพันธกิจของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น …..ด้าน ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกระบวนการและการดำเนินงานของงานบริการวิชาการฯ ว่า การที่ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้เข้ามาร่วมพูดคุยถึงกระบวนการทำงานของหน่วยงานและเจตนารมณ์ที่จะให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือ…

มรส.ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ณ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี จัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสาร สร้างการรับรู้การขับเคลื่อนงานของคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด บริษัทประชารัฐ โดยมีการรับฟังปัญหา ข้อจำกัด เพื่อถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงาน และร่วมกันวางแผนขับเคลื่อนงานในอนาคต ทั้งนี้ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคเกษตร แปรรูป และการท่องเที่ยวชุมชน โดยมีตัวแทนชุมชนเข้าร่วม 25 ชุมชน และหลังจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะทำหน้าที่ในการให้ความรู้และประสานงานทั้งในด้านการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับพี่น้องในท้องถิ่น ทั้งนี้จะมีการประชุมร่วมกับพัฒนาชุมชน อุตสาหกรรมจังหวัด กระทรวงเกษตรฯ และภาคเอกชนอีกครั้งหนึ่งเพื่อกำหนดความรับผิดชอบร่วมกัน …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการนำเอาองค์ความรู้รวมทั้งเทคนิควิธีการที่เหมาะสมและทันสมัยเพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งานบริการวิชาการฯ ร่วมประชุมผู้แทนจากสภาเกษตรกรสุราษฎร์ธานี ถกคิด! แนวทางในการนำผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร

…..ผช.ฝ่ายบริการวิชาการฯ รับเงื่อนไข มรส.ลงพื้นที่ตรมผลการดำเนินการ 4 ด้าน การแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ …..เมื่อเวลา 10.00 น. (8 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เพื่อหาแนวทางในการนำผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร และใช้พื้นที่ของเกษตรกรเพื่อการศึกษาและวิจัย ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น …..โดยมีผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีเดินทางมาเพื่อร่วมหาแนวทางในการประชุมดังกล่าว คือ นายจรัญ รอดศรีนาค หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเจริญ รักษ์ทอง รองประธานสภาเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายพิราเชนทร์ มุสิกรังษี คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร และนางช่อทิพย์ วาณิชย์เจริญ หัวหน้าส่วนขับเคลื่อนและการมีส่วนร่วม …..เนื่องจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหน้าที่ในการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงให้แก่เกษตรกรและองค์กรการเกษตร นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการอาชีพเกษตรกรรมโดยเชื่อมโยงกับภาครัฐ ผู้ประกอบการเอกชนทุกระดับ พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนค้นคว้าวิจัย และพัฒนาภูมิปัญญา พันธุกรรมพืช สัตว์ ท้องถิ่น ประมง นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม และเกษตรกรรมอื่นๆ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการค้นคว้าวิจัย พัฒนา รวมทั้งแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งนี้การดำเนินงานดังกล่าวได้เริ่มจากการตอบรับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่เข้าร่วมและสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ. 2560…

คณะกรรมการพัฒนาสตรีสุราษฎร์ธานี วางใจมรส. ภูมิทัศน์สถานที่ หรู! เหมาะจัดงานวันสตรีสากล พร้อมเป็นกรรมการตัดสินการประกวด

…..ลุงชู – ป้าโส จับมือชื่นมื่น รวมพลังเพื่อสังคม ยันสนับสนุนเต็มที่ ยกกลุ่มสตรีมีบทบาทสำคัญ ช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศชาติมั่นคงและยั่งยืน ย้ำชัดทุกกิจกรรม มรส.พร้อมอยู่เคียงข้างเสมอ …..เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมวิภาวดี อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ โดยมีนางโสภา กาญจนะ ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเครือข่ายกลุ่มสตรี จำนวน 19 อำเภอดำเนินการประชุมตามวาระ เพื่อดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมกิจกรรมและพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2561 เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2561 ในวันพุธที่ 7 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี …..โดยการดำเนินการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทหน้าที่ของสตรีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยประสานความร่วมมือจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดี ประธานเปิดการประชุมได้กล่าวต้อนรับและให้ความคิดเห็นในการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความชื่นชมในการดำเนินงานเพราะเป็นองค์กรที่มีความรู้…

งานบริการวิชาการฯจูงมือเครือข่าย UBI – วิทยาศาตร์ฯ ลงพื้นที่ หมู่ 9 ติดตาม โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว – เศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

…..ชู ขับเคลื่อน สินค้าจากไก่อารมณ์ดี หวังผลผลิตไข่มีคุณภาพ ทีมงานบริการวิชาการฯ ยกนิ้ว หมู่ 9 ผู้ใหญ่บ้านสุดปลื้มเป็นหมู่บ้านตัวอย่าง ใช้องค์ความรู้ที่ มรส.ให้ ยกระดับคุณภาพชีวิตได้จริง …..เมื่อเวลา 14.00 น. (7 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคุณฐิติมา บุญยังผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI และ ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคม หมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี นางปัทมา ฤทธิกัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมการดำเนินงานของหมู่ที่ 9 ว่า ผลิตภัณฑ์และสินค้าที่หมู่บ้านดังกล่าวได้เสนอให้มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือด้านองค์ความรู้ การเพาะเลี้ยงไก่อารมณ์ดี ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกรรมวิธีการเพาะเลี้ยงและเพาะพันธุ์อย่างถูกต้อง โดยประเด็นที่ได้พูดคุยกับกลุ่มชาวบ้านจะต้องทำเป็นลำดับขั้นตอนคือ 1. ชาวบ้านต้องมีความรู้ 2. เมื่อได้รับองค์ความรู้ และสามารถเพาะเลี้ยงได้อย่างถูกวิธี…

งานบริการวิชาการฯจับมือเครือข่าย ร่วมลงพื้นที่ หมู่ 7 ขุนเล หวังแปรรูป ผลิตภัณฑ์ชุมชน ปลาดุกร้า ขึ้นห้างสรรพสินค้า

…..UBI ตอบรับพร้อมดันเต็มที่ ด้าน แม่งานสายวิทย์ เตรียมจัดอบรมการแปรรูปปลาดุกร้า ให้ได้มาตรฐาน ภายใต้ “แบรนด์ขุนเล” …..เมื่อเวลา 12.45 น. (7 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและคณะ พร้อมด้วยผู้จัดการและเจ้าหน้าที่จากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ และดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคมหมู่ที่ 7 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้นำชุมชนและแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ดำเนินการต่อยอดในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยเริ่มจากการประชุมทำความเข้าใจผู้นำชุมชนและกลุ่มแกนนำชุมชนทั้ง 10 หมู่บ้านเพื่อจัดกิจกรรม 1หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะต้องกำกับติดตาม และกำหนดแผนการดำเนินงานในแต่ละหมู่บ้าน …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดัฝ่ายบริการวิชาการ เผยว่า งานบริการวิชาการฯและตัวแทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI คุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางมาเพื่อลงพื้นที่ ในหมู่ที่…

ฝ่ายบริการวิชาการฯ เดินทางตรวจเยี่ยมให้กำลังนักศึกษา รปศ. ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย นักศึกษามีศักยภาพ และเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของหลักสูตรตนเองด้านประธานสภาคณาจารย์ ชี้ชัด ทุกคณะฯต้องสนับสนุน ส่งเสริมในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง …..เมื่อเวลา 09.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ ประธานสภาคณาจารย์ ได้ร่วมเดินทางไปยังโรงเรียนบ้านวังทองสามัคคี อ.ท่าอุแท จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจและพูดคุยกับนักศึกษาที่ไปดำเนินการจัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในรายวิชาการประเมินโครงการ โดยมีนายชัยรัตน์ บุญนาค ผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการพิเศษ คณะครู อาจารย์ และผู้นำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..โรงเรียนบ้านวังทองสามัคคี  ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านป่าจาก ตำบลท่าอุแท  อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยมีอาจารย์ผู้สอนจำแนกตามสายงานทั้งสิ้นจำนวน 6 คน ทั้งนี้นักศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เริ่มจัดกิจกรรมพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 โดยมี ดร.พกฤต แสงอาวุธ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษารายวิชา …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการได้กล่าวถึงการดำเนินโครงการดังกล่าวว่าเป้าหมายของการจัดโครงการไม่ใช่เพียงแค่ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเท่านั้น แต่เป็นการสร้างวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันกับชุมชนท้องถิ่นการช่วยเหลือเกื้อกูล และปลุกจิตสำนึกถึงการเป็นผู้ให้ ซึ่งจากการที่ได้ร่วมพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียนและคณาจารย์ก็ได้ทราบข้อมูลว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความสามารถและกระตือรือร้นต่อการทำโครงการ…

งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมการประชุมทำความร่วมมือบริการวิชาการ คณะนิติศาสตร์–สำนักงานยุติธรรมจังหวัด

…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ยัน มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ยินดี ร่วมมือทุกโครงการที่ยุติธรรมจังหวัดขอความอนุเคราะห์ และให้เชื่อมั่นทุกศาสตร์ของมรส.อยู่ภายใต้ธงเดียวกัน ยึดความสามัคคีเป็นที่ตั้งและความยุติธรรมเป็นศูนย์กลาง …..เมื่อเวลา 13.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เข้าร่วมประชุมการทำความร่วมมือการบริการวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด โดยมี ผศ.นนทชัย โมรา คณบดีคณะนิติศาสตร์ คณะผู้บริหาร และคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะนิติศาสตร์ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุมอภิปรายในการดำเนินงานทำความร่วมมือดังกล่าว …..โดยผู้แทนสำนักงานยุติธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ว่า สำนกงานยุติธรรมเป็นผู้แทนของกระทรวงยุติธรรม ในการประสานนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติทั้งยังเป็นหน่วยสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานยุติธรรมทางเลือก (ยุติธรรมชุมชน และยุติธรรมเชิงสมานฉันท์) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย (กองทุนยุติธรรม) การช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา การจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย การรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ สนับสนุนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรมและของส่วนราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรม นอกจากนี้ยังดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐบาล กระทรวงยุติธรรม กรม จังหวัด ตามที่ได้รับมอบหมาย …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานร่วมกันดังกล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้วมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และสำนักงานยุติธรรมจังหวัดได้ทำงานบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่นร่วมกันมาโดยตลอด เนื่องจากเมื่อมหาวิทยาลัยฯมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับยุติธรรมจังหวัดก็จะประสานและได้รับการสนับสนุนด้วยดีมาโดยตลอด ในขณะเดียวกันหากยุติธรรมจังหวัดมีงานอันใด…

End of content

End of content