Similar Posts
มรส.ร่วมงานตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯได้เข้าร่วมพิธีการเปิดงานตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้ ต้นแบบจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ บริเวณที่จอดรถหน้าศาลากลางจังหวัด(หลังเก่า) จัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพการเกษตร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการOTOP ที่ประสบปัญหาการจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ได้ในราคาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง วันนี้มีหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชนหลายแห่งเข้าร่วมในพิธีเปิด โดยมีท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ภายในงานมีพี่น้องที่เป็นเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการหลายรายจากหลากหลายพื้นที่เข้าร่วมจัดบูธและออกร้าน โดยงานจะมีตั้งแต่วันที่ 21-23 กันยายน 2560 ท่านใดสนใจอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นของเรา สามารถไปที่ได้ตามวันดังกล่าว วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมที่จะเข้าร่วมการดำเนินการต่างๆของท้องถิ่น เราพร้อมที่จะระดมทุกสรรพกำลังในการหนุนเสริมให้ท้องถิ่นก้าวเดินอย่างมีความสุข และไม่ว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคใดๆ เราก็จะขอยืนเคียงข้างพี่น้อง ในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้มีพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการฯ ร่วมประชุมหารือ วนช.ผุดโครงการ SRU TOUR
…..ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เห็นชอบทัวร์มรส 3 ที่ อาคารสำนักงานอธิการบดี(ใหม่) – หอประชุม วชิราลงกรณ – หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ เล็งยกระดับหอประชุมฯ เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติ …..เมื่อเวลา 14.00 น. (29 มกราคม 2561) งานบริการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เข้าร่วมประชุมและพิจารณาโครงการ SRU TOUR โดยมีผู้แทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว เป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน ทั้งนี้โครงการ SRU TOUR มีอาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ เป็นผู้ริเริ่มและจัดทำแผนในการนำความรู้จากหลักสูตรการเรียนการสอน มาสู่การปฏิบัติซึ่งมีนักศึกษาเป็นผู้ร่วมดำเนินโครงการด้วย …..อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และเป็นผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวถึงการดำเนินงานว่า “เมื่อนำบริบทจากกิจกรรมของหน่วยงานภายนอกที่ขอความอนุเคราะห์เข้ามาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงเล็งเห็นความสำคัญของการทัวร์มหาวิทยาลัย และมีความคิดที่จะทำโมเดลนี้เพื่อให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและสามารถเป็นโมเดลให้กับคณะอื่นด้วย ซึ่งเบื้องต้นได้พิจารณาว่าสถานที่ที่น่าสนใจในมหาวิทยาลัยมีที่ใดบ้าง ซึ่งได้นำมาสรุปว่า 1.หอประชุมวชิราลงกรณ 2. อาคารสำนักงานอธิการบดีหลังใหม่ และ 3.หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ ทั้งนี้ในอนาคตมีความคิดที่จะเสนอกับมหาวิทยาลัยเพื่อยกระดับหอประชุมวชิราลงกรณ ให้เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติที่มีความพร้อมในการจัดงานระดับชาติและนานาชาติซึ่งจะต้องหาข้อมูลและองค์ประกอบต่างในการขับเคลื่อนอีกสักระยะ นอกจากนี้การดำเนินโครงการ SRU TOUR ทางคณะผู้รับผิดชอบโครงการได้ให้นักศึกษาไปสำรวจและวิเคราะห์ความน่าสนใจของสถานที่ซึ่งได้นำมาสรุปและพิจารณาในเบื้องต้นแล้วโดยแบ่งประเด็นการนำเสนอว่า…
มรส.ร่วมการเตรียมการประชุมร่วมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้11จังหวัด
…..วันนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปประชุมการ เตรียมการประชุมร่วมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ 11 จังหวัด ร่วมกับผู้แทนจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดยท่านรองฯประเวศ ไทยประยูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..โครงการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่เสนอกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้คือ โครงการ GOLDEN HUB ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมี 3 ยุทธศาสตร์เป็นตัวคุมคือ การศึกษาและพัฒนาลุ่มน้ำตาปี การศึกษาและพัฒนาพื้นที่สองฝั่งทะเล และการศึกษาและพัฒนาประตูสู่ภาคใต้ ซึ่งจะมีคณะกรรมการพิจารณาข้อมูลจากทั้ง 11 จังหวัด เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร …..จากนั้นในช่วงบ่ายดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีและ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม ได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อร่วมหารือกับทีมงานศูนย์บริการวิชาการ นำโดย รศ.ดร.มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เกี่ยวกับประเด็นโครงการจัดตั้งสำนักบริการวิชาการฯ แนวทางในการบริการวิชาการเพื่อสังคม และนัดหมายการประชุมเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำซึ่งจะจัดขึ้นที่…
มรส.ร่วมกับอำเภอไชยาส่งเสริมอาชีพกลุ่มวิสาหกิจชุนชนพันธุ์ข้าวหอมไชยา
วันที่ 14 มิถุนายน 2562 เวลา 14:00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ นำโดย ดร.ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ รองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการและขับเคลื่อนพระราโชบาย ลงพื้นที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา โดยมี นายเจริญศักดิ์ วงศ์สุวรรณ นายอำเภอไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุมในการดำเนินงาน ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาครัวเรือนยากจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของครัวเรือนยากจนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร และระนอง“การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา”ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หลักสูตรการจัดทำแผนยุทธศาสตร์องค์กร
สาระสำคัญของหลักสูตร ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นภาษาที่นิยมใช้ในวงการทหารเพื่อกำหนดแนวทางการรบสู่เป้าหมาย คือ ชัยชนะในสงครามนั้นๆ เสมือนกับองค์กรหรือหน่วยงานก็เช่นเดียวกัน เป้าหมายสูงสุด คือ การบรรลุเป้าหมายขององค์กร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่หน่วยงานหรือองค์กรต้องวางแผนยุทธศาสตร์อย่างแยบยลเพื่อเป้าหมายคือความสำเร็จสูงสุดขององค์กรนั้นๆ วัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้เครื่องมือในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์องค์กร เพื่อฝึกปฏิบัติกระบวนการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์องค์กร เนื้อหาหลักสูตร (Course Outline) กระบวนการและความสำคัญของแผนยุทธศาสตร์องค์กร เครื่องมือที่สำคัญในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์องค์กร เทคนิคการวิเคราะห์องค์กร ปฏิบัติการทำแผนยุทธศาสตร์องค์กร ระยะเวลาการอบรม จำนวน 2 วัน รุนที่ 1 วันที่ 22-23 เมษายน 2556 รุนที่ 2 วันที่ 29-30 เมษายน 2556 จำนวนผูเขาอบรมตอรุน 40 – 60 คน การสมัครและชำระคาธรรมเนียมการอบรม การสมัคร กรอกรายละเอียดในใบสมัคร เเลวจัดสงใบสมัครผานชองทาง สง ไปรษณีย ถึง กองบริการวิชาการพัฒนาทองถิ่น ม.ราชภัฏสุราษฎรธานี ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎรธานี 84100 หรือ…
การศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาชุมชนของประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
การศึกษา เรื่อง ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและเพื่อนำผลจากการศึกษามาสังเคราะห์เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนการให้บริการวิชาการแก่สังคมของหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการศึกษาภาคสนาม 2 ขั้นตอน คือ ศึกษาบริบทและข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามความรับผิดชอบของคณะ และศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาชุมชนของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 5 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จึงใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) จัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา