งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการ ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2562

รองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการ เดินหน้าขับเคลื่อนรับใช้ชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2562 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 2 โดยมี ผศ.ดร.ไชยวัฒน์ เผือกคง รองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธานในการประชุม การดำเนินงานบริการวิชาการแก่สังคมท้องถิ่น ตามแผนปฎิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

งานบริการวิชาการฯ จัดประชุมกำกับติดตาม โครงการเศรษฐกิจพอเพียง สายใยรักแห่งครอบครัว เพื่อยกระดับการทำบรรจุภัณฑ์ แบรนด์ขุนเลทั้ง 10 หมู่บ้าน

ด้าน UBI โชว์กื๋น เนรมิตแบรนด์ 23 แบบให้เลือก ตอบสนองผลิตภัณฑ์คุณภาพจากชุมชน พร้อมลงพื้นตามแผนพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ …..เมื่อเวลา 10.30 น. (9 สิงหาคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎ สุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมวางแผนติดตามการดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวโครงการเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ณ ห้องประชุมศูนย์การเรียนรู้ 5 ชั้น 2 อาคารบูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย ผศ.เตชธรรม สังข์คร ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (UBI) และทีมงาน พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านและแกนนำชุมชน ทั้ง 10 หมู่บ้านเข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า ทางงานบริการวิชาการฯ ได้เชิญผู้นำชุมชนและผู้แทนจาก 10 หมู่บ้าน เพื่อร่วมวางแผนติดตามการดำเนินงาน และยกระดับในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน ซึ่งได้ทราบว่าทาง UBI ได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และตัวอย่างโลโก้แบรนด์ขุนเล รวม 23 แบบ มาให้ที่ประชุมได้เลือกและปรับรูปแบบตามความเหมาะสม พร้อมทั้งได้จัดทำแบบฟอร์มแผนพัฒนาบรรจุภัณฑ์กำหนดรายละเอียดรายการการออกแบบผู้ประกอบการหรือชุมชน เช่น…

งานบริการวิชาการฯร่วมหารืออาจารย์หลักสูตรภาษาจีน เตรียมเปิดโครงการฝึกอบรมระยะสั้น เล็ง Level upนำผู้เข้าอบรมเยือนแดนมังกร

ด้านคณาจารย์ภาษาจีนเห็นพ้องกลุ่มเป้าหมายนักเรียน และบุคคลทั่วไป หวังยกระดับการทำหลักสูตรระยะสั้น รับหลักการดำเนินโครงการพร้อมเสนอผู้บริหารแล้วเสร็จปลายเดือน สิงหาคม 2561 นี้ …..เมื่อเวลา 09.00 น. (9 สิงหาคม 2561) ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมคณะทำงานเดินทางไปยังสาขาวิชาภาษาจีน ชั้น 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อร่วมหารือการเปิดหลักสูตรระยะสั้น โดยมีนายวิษณุ แก้วมีวงศ์ และนายดุษฎี ช่วยพลัด นิติกร จากงานวินัยและนิติการร่วมเข้าประชุมเพื่อให้คำปรึกษาในด้านกฏหมายและระเบียบต่างๆในการจัดอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ ในการเปิดหลักสูตรดังกล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีแนวคิดที่จะสร้างหลักสูตรระยะสั้นซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินงานและต้องร่วมกันหารือกับคณาจารย์ผู้สอนภาษาจีน เพราะปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยประสบปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษาทีมีค่อนข้างน้อย ดังนั้นการเปิดหลักสูตรอบรมระยะสั้นจึงเป็นอึกทางเลือกหนึ่งที่จะเพิ่มศักยภาพและการบริหารจัดการให้กับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ถ้าการนำเสนอโครงการดังกล่าวได้รับการอนุมัติ งานบริการวิชาการฯจะเป็นฝ่ายทำหน้าที่ธุรการ ประชาสัมพันธ์ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เช่น จังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร และกระบวนการทุกระบบ ซึ่งได้ร่วมพูดคัยกับดร.พิชัย สุขวุ่น คณณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในเบื้องต้นแล้ว และได้ข้อสรุปว่า ภาษาจีนจะเป็นหลักสูตรที่เป็นกลไกขับเคลื่อน การทำหลักสูตรอบรมระยะสั้นได้เป็นอย่างดี …..ด้าน ดร.ภูมิ พรหมพาหกุล ประธานสาขาวิชาภาษาจีน ได้ให้ความเห็นว่า อาจารย์ในสาขาวิชาภาษาจีนเห็นด้วยที่จะดำเนินการจัดทำหลักสูตรอบรมระยะสั้น…

ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดระยะ 5 ปี

…..วันที่ 11 กรกฎาคม 2561 ฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดระยะ 5 ปี (2560-2564) และแผนปฎิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม 1 โรงแรมบรรจงบุรี อ.เมืองฯ …..โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยจำนวน 7 แห่ง เพื่อเสนอโครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีพื้นที่เป้าหมายตามความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวน 5 จังหวัด ครอบคลุมการพัฒนา 7 ด้านคือ การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการการท่องเที่ยว การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี การพัฒนาสินค้า/ของที่ระลึก กฎ ระเบียบ และความปลอดภัย โดยคณะทำงานจะนัดประชุมเพื่อร่วมกันจัดทำ project idea ในวันที่ 23 ก.ค. นี้ ต่อไป …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะจับมือกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ…

มรส.ลงพื้นที่บ้านสวนมะปราง ร่างแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนภูริน

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยังพื้นที่น้ำตกภูริน บ้านสวนมะปราง ต.คลองสระ อ.กาญจนดิษฐ์ เพื่อร่วมกับพี่น้องในพื้นที่ในการจัดทำ(ร่าง)แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนภูริน ระยะ 3 ปี (2562-2564) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลผลิตด้านการเกษตร การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งนี้จะได้นำเสนอแผนฯเข้าสู่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน(กรอ.)ต่อไป …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม แม้กระบวนการของการเดินทางยังเหลือเส้นทางอีกยาวไกล แต่พวกเราก็พร้อมที่จะเดินหน้าอย่างสุดกำลัง ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น

ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี เยี่ยมชมและร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนศูนย์การศึกษาสำหรับชาวพม่า

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้เดินทางไปยังศูนย์การศึกษาสำหรับชาวพม่า (วัดโพธิ์หวาย) เพื่อเยี่ยมชมและร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะสามารถให้การช่วยเหลือได้ โดยศูนย์แห่งนี้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆลูกหลานชาวพม่าที่เข้ามาขายแรงงานในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีคุณครูชาวพม่าเป็นผู้สอน ทั้งนี้สามารถเทียบโอนกับการเรียนในโรงเรียนที่ประเทศพม่าได้ …..ตลอดระยะเวลาร่วม 2 ชั่วโมงที่พวกเราได้มีโอกาสสัมผัสเด็กๆ คุณครู และคณะกรรมการผู้จัดการเรียนการสอน สิ่งหนึ่งที่พวกเรารู้สึกเหมือนกันคือ ภายใต้ความอัตคัตของค่าใช้จ่ายและความพร้อมทางการศึกษานั้น มีความตั้งใจอันงดงามของความพยายามในการเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเองแฝงอยู่ เด็กๆที่นี่อยากเรียนภาษาไทย คุณครูที่นี่อยากมีใบอนุญาตทำงานที่ตรงกับอาชีพ คณะกรรมการอยากมีกองทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ยากลำบาก ทุกคนต่างมีหัวใจอันบริสุทธิ์ที่มีต่อกันในฐานะมนุษย์ผู้พลัดถิ่นทั้งสิ้น …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะหาแนวทางในการนำเอาทุกกำลังความสามารถที่เรามีเพื่อยื่นมือเข้าหาพี่น้องในท้องถิ่นโดยไร้เส้นแบ่งในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น

หลักสูตรนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุด

หลักสูตรนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดโรงเรียนInovation and Technology for School Libraries จำนวน 2 วัน (12 ชั่วโมง) เวลา 09.00 น. – 16.00 น.ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 1,500 บาทดาวน์โหลดใบสมัครหลักสูตร หลักการและเหตุผล …..หลักการและเหตุผลการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล (digital) ของห้องสมุด จากคลังความรู้ที่ผ่านหนังสือแบบกระดาษ ไปสู่ยุคการอ่านผ่านเครื่องมือการสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต  บรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 จึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ทำความรู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ วัตถุประสงค์ …..1. สามารถนำเทคโนโลยี AR (Augmented reality) และ QR-Code(Quick Response) มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุดได้…..2. สามารถสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อนำมาให้บริการในห้องสมุดได้…..3. สามารถตัดต่อวีดีโอด้วยแอพพลิเคชั่น (Application) บนสมาร์ทโฟน (Smartphone) เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์งานห้องสมุดได้ เนื้อหาหลักสูตร …..1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AR…

หลักสตูรการบริการจัดการห้องสมุดโรงเรียนอย่างมืออาชีพ

การบริหารจัดการห้องสมุดโรงเรียนอย่างมืออาชีพProfessional School Library Management จำนวน 2 วัน (12 ชั่วโมง) เวลา 09.00 น. – 16.00 น.ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ……..บาทดาวน์โหลดใบสมัครหลักสูตร หลักการและเหตุผลหลัก …..การและเหตุผล การปฏิบัติงานห้องสมุดโรงเรียน ครูบรรณารักษ์ต้องอาศัยความรู้ความสามารถด้านบรรณารักษ์ การเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดอย่างมืออาชีพได้ ต้องหมั่นฝึกฝนและรู้ถึงวิธีการจัดหา/คัดเลือกหนังสือ และนำมาจัดระบบเพื่อจัดเก็บขึ้นชั้นอย่างถูกต้องตามหลักการจัดหนังสือสากล ตลอดจนการบำรุงและรักษาซ่อมแซมหนังสือเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน รวมถึงการจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องสมุดที่จะเอื้ออำนวยให้หนังสือที่จัดหามาได้นำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ และสร้างความรักความผูกพันอันดีระหว่างครูที่รับผิดชอบงานห้องสมุดกับนักเรียนผู้เข้ามาใช้บริการ วัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ …..1. เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการงานห้องสมุดอย่างเป็นระบบ…..2. เพื่อให้ครูบรรณารักษ์มีความรู้ความเข้าใจงานบริการและการจัดกิจกรรมในห้องสมุดโรงเรียน…..3. เพื่อให้ครูมีความรู้และสามารถซ่อมบำรุงรักษาหนังสือได้…..4. เพื่อพัฒนาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียนให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน เนื้อหาหลักสูตรเนื้อหาหลักสูตร …..1. การบริหารงานในห้องสมุดโรงเรียน…..2. งานเทคนิคของห้องสมุด…..    –  การคัดเลือกและจัดหาหนังสือ…..    –  การเตรียมหนังสือ…..    –  การจัดระบบหนังสือ…..    –  การซ่อมและบำรุงรักษาหนังสือ…..3. การจัดการห้องสมุดแนวใหม่สำหรับครูบรรณารักษ์…..    – การใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์…..    –…

ร่วมประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น

วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับผู้แทนจากคณะนิติศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางมายังมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อร่วมประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องโมคลาน อาคารบริหาร โดยมี ศ.น.สพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม เป็นประธานการประชุม ในวันนี้มีการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีรับผิดชอบโครงการทั้งสิ้น 15 โครงการ ครอบคลุม 34 โรงเรียน ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ชุมพร ทั้งนี้โครงการการพัฒนาฉันเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการสอนแบบเปิด ซึ่งจัดขึ้นที่โรงเรียนคลองนามิตรภาพ 201 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 5 ของโรงเรียนในภาคใต้ตอนบนที่คณะอนุกรรมการอำนวยการจาก สกอ. จะมาตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการฯ พี่น้องครับ วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำทุกสรรพวิชาที่เรามีเข้าสู่ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างหลากหลายมิติ ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงาน/ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สนองพระบรมราโชบาย รัชกาลที่ 10 ระดับการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

วันที่ 5 กรกฎาคม 2561 เป็นวันมงคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยพลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อขับเคลื่อนตามพระราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พร้อมด้วยผู้แทนส่วนราชการระดับจังหวัด นำโดย ท่านวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ได้มีการรับฟังรายงานผลการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาครูของมหาวิทยาลัย และได้พบปะกับคณาจารย์และนักศึกษาคณะครุศาสตร์ จากนั้นในช่วงบ่ายท่านองคมนตรีได้เดินทางไปยังศาลาประชาคมบ้านใหม่พัฒนา ม.7 ต.ขุนทะเล อ.เมืองฯ เพื่อตรวจเยี่ยมพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยได้มาดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีพี่น้องชาวขุนทะเลให้การต้อนรับ พร้อมทั้งนำเสนอการดำเนินงานต่างๆที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ตลอดเวลาร่วม 2 ชั่วโมง บรรยากาศของการพบปะอบอวลไปด้วยไมตรีจิตจากท่านองคมนตรี ส่งผลให้พี่น้องในพื้นที่ซึ่งมาจากทุกหมู่บ้านของ ต.ขุนทะเล ภายใต้แนวทาง “ขุนทะเลรวมเป็นหนึ่ง” ทุกคนต่างมีความสุขที่ได้มีโอกาสอันเป็นมงคลชีวิตในคราวนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำทุกสรรพวิชาที่เรามีเข้าสู่ท้องถิ่น ด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม แม้นรู้ดีว่า หนทางแห่งการเดินทางนี้ยังคงมีอุปสรรคอีกมากมายรออยู่ แต่เราก็พร้อมที่จะเดินหน้าอย่างสุดกำลัง ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน/ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content