Similar Posts
มรส.ร่วมประชุมการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีและสำนักศิลปวัฒนธรรม นำโดย อ.ธีรพันธ์ จันทร์เจริญ รองผู้อำนวยการ ในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมหาวิทยาลัยมีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ ฝ่ายสถานที่ร่วมกับเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี โดยมีฝ่ายบริการวิชาการฯ สำนักศิลปวัฒนธรรม และสาขาวิชาจิตรกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อออกแบบและตกแต่งพื้นที่บริเวณรอบองค์พระเมรุมาศ โดยใช้การจำลองป่าหิมพานต์ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และอัตลักษณ์ของ จ.สุราษฎร์ธานี ประกอบกัน ฝ่ายจัดนิทรรศการและจัดแสดงมหรสพร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีฝ่ายบริการวิชาการฯ สำนักศิลปวัฒนธรรม และฝ่ายสื่อสารองค์กร เพื่อออกแบบและจัดนิทรรศการเสด็จพระราชดำเนิน จ.สุราษฎร์ธานีทั้ง 15 ครั้ง และร่วมกับสถานศึกษาและองค์กรต่างๆทางด้านการแสดงเพื่อจัดแสดงมหรสพต่างๆที่แสดงถึงความจงรักภักดีและน้อมส่งเสด็จพระองค์ท่านสู่สวรรคาไลย ฝ่ายแพทย์และพยาบาลร่วมกับสำนักงานสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานี และองค์กรทางด้านการแพทย์และพยาบาล โดยมีคณาจารย์และนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อร่วมกันดูแลพี่น้องประชาชนที่มาร่วมในพระราชพิธีฯ วันนี้ทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร่วมกับทุกองค์กรเพื่อร่วมกันส่งเสด็จพระผู้ทรงเป็นเจ้าชีวิตแห่งปวงชนชาวไทย ผู้ทรงสร้างแบบอย่างในการเป็นพลังแผ่นดินแก่พวกเรา “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มรส. เปิดเวทีสัมมนาหวังบูรณาการการจัดการเรียนการสอนสู่ชุมชนท้องถิ่น
คณะทำงานฯลงพื้นที่เป้าหมาย จ.ชุมพร หวังนำผลการสำรวจความต้องการชุมชน เพื่อตลอดหลักสูตรระยะสั้นให้สอดคล้องกับบริบทและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ด้ายอธิการบดีฯเผยเปิดหลักสูตรระยะสั้นไม่ไกลเกินเอื้อมพร้อมยกระดับความรู้สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับมรส. โดยให้ทุนไฟเขียว 10 คน เข้าเรียนมรส. เมื่อเวลา 09.00 น. (8 พฤศจิกายน 2562 ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาโครงการ “ผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อบูรณาการการพัฒนาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนการสอน” ณ โรงแรมนานาบุรี จังหวัดชุมพร โดยมี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เปิดเผยถึงการจัดโครงการดังกล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯมีความต้องการยกระดับพัฒนาความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่นจากการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้บริหารท้องถิ่นและผู้แทนชุมชน ” มหาวิทยาลัยฯลฯมีความต้องการให้หน่วยงานท้องถิ่นมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เพราะเป็นข้อมูลความเป็นจริงที่สามารถนำมาวิเคราะห์สำหรับการเปิดหลักสูตรระยะสั้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเมื่อได้ทราบข้อมูลจากผู้บริหารท้องถิ่นแล้วน่าจะสรุปได้ว่าการเปิดหลักสูตรระยะสั้นให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุมพรสามารถทำได้จริง เพราะมหาวิทยาลัยมีความพร้อมทุกศาสตร์ ในสาขาวิชาต่างไปๆ สามารถรองรับให้ความรู้ตามความต้องของนักศึกษาในท้องถิ่นและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยฯได้ให้โคว์ต้านักเรียนชั้นมัธยมปลายเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาโดยไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก ซึ่งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้คัดเลือกนักเรียนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์และความต้องการของชุมชน” อย่างไรก็ตาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “การให้โครว์ต้า นักเรียนในพื้นที่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตนเองเพราะเยาวชนกลุ่มดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ของท้องถิ่นว่าต้องการอะไร และมีแนวทางการพัฒนาอย่างไร”
งานบริการวิชาการฯกอดคอเครือข่ายบริการวิชาการ ลงพื้นที่สวนลุงสงค์ ต.บางใบไม้
…..จัดเวทีสัมมนาความต้องการของชุมชน พร้อมเจาะลึกเรื่อง “มะพร้าว” ผลักดันให้เป็นผลไม้ อัตลักษณ์เมืองสุราษฎร์ ตามข้อเสนอแนะอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ …..เมื่อเวลา 11.00 น. (3 มีนาคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยเครือข่ายบริการวิชาการ ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยนาชาติการท่องเทียว สาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยตัวแทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยัง สวนลุงสงค์ ตำบลบางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อลงพื้นที่สำรวจความต้องการของชุมชน และร่วมเสวนาวิถีชีวิตในมิติต่างๆ โดยมีนางสาวณัฐธิญาณี ธัญญลักษณ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปีและแกนนำชุมชนให้การต้อนรับ …..เนื่องจาก เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มี ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้เดินทางมาเข้าพบ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ โดยการประสานงานจากจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI เพื่อร่วมหารือเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมิติต่างๆ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นจึงได้ประสานเครือข่ายบริการวิชาการกำหนดแผนการดำเนินงานและร่วมลงพื้นที่ร่วมเวทีเสวนาดังกล่าว …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ…
งานบริการวิชาการฯ เดินทางเพื่อยกระดับการให้บริการวิชาการเเก่ชุมชน
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ได้เดินทางมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเพื่อเยี่ยมเยียนและหารือกับ อาจารย์อัจฉริยา สุวรรณสังข์ ผู้ดูแลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เกี่ยวกับแนวทางการบริการวิชาการและพันธกิจท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้และเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อเสนอเป็นสำนักบริการวิชาการฯในอนาคต …..ตลอดระยะเวลาร่วมชั่วโมง เราได้ข้อมูลและแนวทางที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะแนวทางการกำหนดพื้นที่เพื่อระดมสรรพกำลังในการพัฒนา โดยอาศัยความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ โดยให้มหาวิทยาลัยเป็นตัวเชื่อมระหว่างท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยกันในการบริการวิชาการเพื่อท้องถิ่น อันจะเป็นการสนธิกำลังกันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยใช้จุดเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัยมาช่วยเหลือพี่น้องในท้องถิ่น
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการระดมตัวแทนหน่วยงานเร่งหารือมาตรการแก้ปัญหาขยะ
พร้อมเสนอทางออกให้มหาวิทยาลัย ชี้ชัด 4 หน่วยงานต้องร่วมด้วยช่วยแก้ วางแผนปรับจุดทิ้งเพิ่มชุดถังฯ หนุนแคมเปญรณรงค์สร้างจิตสำนึกนศ. ทิ้งให้ตรงถังแยกให้ตรงประเภท หวังเป็นโมเดลต่อยอดให้กับชุมชนอื่นๆ …..เมื่อเวลา 14.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมหารือเรื่องการบริหารจัดการขยะเพื่อต่อยอดสู่พื้นที่ชุมชนขุนทะเล ณ ห้องประชุมวิภาวดี ชั้น 2 อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ทั้งนี้ได้มีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองพัฒนานักศึกษา กองอาคารสถานที่ฯ ฝ่ายสื่อสารองค์กร และตัวแทนจากตำบลขุนทะเลเข้าร่วมประชุมและระดมความคิดเห็น …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ประธานที่ประชุมได้เผยว่า จากกรณีปัญหาการบริหารจัดการขยะที่ยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนนั้น ได้ทราบในเบื้องต้นจากประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เบื้องต้นมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับชาวบ้านในการแก้ไขในระยะแรกแล้ว …..ผศ.พจนีย์ สุวัฒนานุกร รองผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ ได้ชี้แจงว่า มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดตั้งถังขยะแบบแยกประเภทของขยะไว้ในแต่ละจุดคือ ถังขยะแห้ง หรือขยะที่นำมารีไซเคิลได้ เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก เป็นต้น ถังขยะเปียก คือ ขยะที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ใบไม้…
คลินิกให้คำปรึกษาด้านสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้าน
โครงการ คลินิกให้คำปรึกษาด้านสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้าน งบประมาณ 15,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน หมู่ที่ 8 ตำบลขุนทะเล จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลา ต.ค.55- ก.ย.56 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ อาจารย์ วรรณา กุมารจันทร์