Similar Posts
รับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเสด็จฯเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นเตรียมการและรับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเสด็จฯเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอย่างสมพระเกียรติ กองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ดำเนินการเตรียมการและรับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเสด็จฯเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ประจำปี 2556 จำนวน 5 โรงเรียน ในระหว่างวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงเรียน ตชด.บ้านสวนเพชร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โรงเรียน ตชด.บ้านยางโพรง อำเภอไชยา โรงเรียนตชด.บ้านคลองวาย อำเภอวิภาวดี โรงเรียนตชด.บ้านกอเตย อำเภอท่าชนะ และโรงเรียน ตชด.เทคนิคมีนบุรีอนุสรณ์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในส่วนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานสนองงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียน ตชด. รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวสำคัญ 3 จุด คือ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสาธิตการสอนและ ห้องเรียนอนุบาล โดยได้รับความร่วมมือจาก หอสมุดกลาง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดกิจกรรมการให้บริการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและจัดมุมต่างๆของห้องสมุดโรงเรียน และสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของห้องเรียนอนุบาล และจัดมุมพัฒนาการสำหรับเด็ก การสาธิตการสอนต่อหน้าพระพักตร์ เป็นต้น โดยในส่วนของการร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหารเที่ยงและการถวายรายงานผลการดำเนินงานการส่งเสริมการศึกษาของ…
บริการวิชาการฯ มรส.ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ลงพื้นที่ รร.ตชด. บ้านยางโพรง อ.ไชยา
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ลั่นกลางประชาคม มรส.พร้อมสนับสนุนองค์ความรู้ เปิดโลกทัศน์ให้ประชาชนชาวไชยาด้วยสรรพวิชาทุกศาสตร์ ย้ำชัด จังหวัดเคลื่อนที่ไปที่ใด มรส.จะไปที่นั่น …..ทั้งนี้บรรยากาศของงานได้มีกิจกรรมการแจกถุงยังชีพให้กับประชาชนในพื้นที่และมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และคณะ ได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการตามบูธต่างๆที่มาให้บริการประชาชนพร้อมทั้งร่วมสนทนากับผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆอย่างเป็นกันเอง…..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวว่า วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำองค์ความรู้ทั้ง 5 ภาคส่วนร่วมกับโครงการจังหวัดเคลื่อนที่มาให้บริการประชาชนในพื้นที่อำเภอไชยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ส่งเสริมศักยภาพยกระดับการดำรงชีวิตด้านวิชาการให้กับชาวชุมชน ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย จากคณะนิติศาสตร์ การจัดการร้านค้าปลีก 8 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ จากคณะวิทยาการจัดการ และตามรอยพ่อ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการนำเสนอสถานที่ที่พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ในหลวงราชกาลที่ 9 ทรงเสด็จ จากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานียังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้ภาษาของเยาวชนในพื้นที่อำเภอไชยา โดยจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาการเรียนภาษาสมัยใหม่ จากศูนย์ภาษา ส่งเสริมการอ่านและเทคโนโลยีหนังสือสามมิติ จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งการต่อยอดเพิ่มผลผลิตให้กับชาวชุมชน โดยวิธีการแปรรูปอาหารโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ร่วมหารือปราชญ์ชุมชนมะขามเตี้ย พร้อมหนุนโครงการ เศรษฐกิจพอเพียง
เผยหาช่องทางเพิ่มมูลค่า การแปรรูปวัตถุดิบ SRU SHOP เหมาะสมมาก ชี้ชัดเมื่อชุมชนร้องขอ มรส.ต้องเดินหน้าเพื่อให้คนในท้องถิ่นมั่นใจ ในมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน …..เมื่อเวลา 14.00 น.ของวันที่ 28 ตุลาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารวิชาการ เดินทางไปยัง ศูนย์การเรียนรู้ หมู่ที่ 8 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อร่วมหารือกับ นายพรภิรมณ์ จารุจารีต ประธานปราชญ์ชุมชน เรื่องการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดย นายพรภิรมณ์ ได้ให้ความเห็นว่า มหาวิทยาลัยฯกับชาวบ้านควรร่วมมือกันในการหาช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบแปรรูปของชุมชน ในส่วนของ ผู้ช่วยอธิการบดีฯ พร้อมรับหน้าที่เป็นฝ่ายประสาน และจะดำเนินการเสนอผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ กล่าวถึงการหารือในครั้งนี้ว่า “ได้ร่วมพูดคุยกับผู้นำชุมชนหรือปราชญ์ชุมชนหมู่ที่ 8 ตำบลมะขามเตี้ย เรื่องการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามโครงการและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อผลิตวัตถุดิบและการแปรรูปอาหาร เช่น ปลาส้ม ปลาแดดเดียว ชาใบหม่อน เป็นต้น ทั้งนี้จะดำเนินการเสนอให้มหาวิทยาลัยฯรับทราบความเป็นมาเพราะ ศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าว ได้จัดตั้งเป็นกลุ่มคุ้มความสุข…
มรส.ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตชุมท้องถิ่น นำสรรพวิชาสนับสนุนโครงการจังหวัดเคลื่อนที่
อธิการบดีฝ่ายบริหารยืนยันหนักแน่นจังหวัดไปที่ไหนมหาวิทยาลัยจะไปที่นั่น ประชาชนต้องการสิ่งใดให้มรส.ร่วมช่วยเหลือพัฒนาขอให้บอกได้ทันที มหาวิทยาลัยฯพร้อมนำสรรพกำลังหนุนท้องถิ่นอย่างสุดกำลัง เมื่อเวลา 7.00 น.(23 มกราคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยหน่วยงานเครือข่ายงานบริการวิชาการฯ ได้แก่บัณฑิตวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ หอสมุดจากสำนักวิทยบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายสื่อสารองค์กร ได้ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเพื่อเข้าร่วมโครงการ“หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ โรงเรียนกำสนราษฎร์อุทิศ ตำบลกรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีคุณแจ่มจิตร์ พูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ และได้รับเกียรติจากคุณอุรสา จินโต นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมโครงการดังกล่าวในครั้งนี้ด้วย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ในนามตัวแทนผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีรู้เป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เป็นหน่วยงานหนึ่งเดียวจากสถาบันอุดมศึกษา เข้าร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ตั้งแต่ปีแรก ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่รับใช้ชุมชนท้องถิ่น และตรงตามเจตนารมณ์ที่สนับสนุนโครงการทุกโครงการของจังหวัด และในวันนี้มหาวิทยาลัยได้นำสรรพวิชามานำเสนอและเผยแพร่ ให้ความรู้พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและให้คำปรึกษาทางด้านกฏหมายซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนจะเข้ามาสอบถามกฏหมายเรื่องที่ดินทำกินหรือการครอบครองที่ดิน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยได้ให้ความรู้เรื่องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา พร้อมกันนี้ได้นำเทคโนโลยีสมุดสามมิติมาให้น้องๆนักเรียนได้สัมผัสถึงเทคโนโลยีการอ่านหนังสือในระบบสามมิติด้วย รองอธิการบดีฝ่ายบริหารได้กล่าวทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยได้ปวารณาตนต่อชุมชนว่าจะใช้ศาสตร์ความรู้ต่างๆที่มีไปพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมความรู้ความสามารถให้แก่ประชาชนทุกมิติ และจะเป็นหน่วยงานการศึกษาที่จะเคียงคู่จังหวัดตลอดไปโดยพันธกิจที่ว่าจังหวัดอยู่ที่ไหนมหาวิทยาลัยต้องอยู่ที่นั่น กิจกรรมสุดท้ายของพิธีเปิดโครงการรองอธิการบดีฝ่ายบริหารได้เป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยฯร่วมมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม การมอบทุนให้กับนักเรียนและมอบถุงยังชีพให้กับประชาชนอีกด้วย
ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน C-อพ.สธ.ภาคใต้ตอนบน
วันอังคาร ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:30 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดยมี นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในการประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน (C-อพ.สธ.ภาคใต้ตอนบน) ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2563 ณ ห้องประชุม 15/2 ชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ เป็นประธานในการประชุมในครั้งนี้ เพื่อการเตรียมความพร้อมในการจัดแสดงนำเสนอผลงานของสถาบันในเครือข่าย C-อพ.สธ. ภาคใต้ตอนบน ในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์ ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์หนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา และหาพรือเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และกิจกรรมของเครือข่าย C-อพ.สธ.ภาคใต้ตอนบน ประจำปีงบประมาณ 2563
มรส.ลงพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดระนอง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อส่งมอบข้อมูลขั้นที่ 1 ให้กับท้องถิ่น จ.ระนอง รวมทั้งเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.ระนอง ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ทุกพื้นที่มีนายกฯ ปลัดฯ และหัวหน้าสำนักจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.ระนอง เข้าร่วมการประเมินอย่างพร้อมเพรียง รวมทั้งให้การต้อนรับพวกเราในฐานะกัลยาณมิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะ “มหาวิทยาลัยแห่งการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น” มีหน้าที่สำคัญในการก้าวเดินไปพร้อมกับการเคลื่อนที่ของท้องถิ่น ในลักษณะพี่น้องที่ต้องยึดโยงกันไปอย่างเหนียวแน่น อาทร และปรารถนาดีต่อกัน วันนี้เราพยายามเดินหน้าเพื่อเชื่อมโยงทุกสรรพกำลังของมหาวิทยาลัยในการสร้างแนวทางและโอกาสที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเส้นชัยที่เราต้องไปให้ถึงร่วมกันคือ การสร้างสังคมแห่งความสุขอย่างที่เราฝัน###มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานว่าที่ ร.ต.อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ถ่ายภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี