มรส. เน้นคุณภาพการศึกษา ร.ร. ตชด 41 ตามแนวพระราชดำริฯ
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2559 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมคณะเดินหน้าเต็มตัวนิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านตะแบกงาม ประจำปี 2560 ระยะ 1 เพื่อเน้นคุณภาพการศึกษาเด็กในโรงเรียน
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2559 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมคณะเดินหน้าเต็มตัวนิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านตะแบกงาม ประจำปี 2560 ระยะ 1 เพื่อเน้นคุณภาพการศึกษาเด็กในโรงเรียน
หน่วยงานร่วมเครือข่ายเครื่องร้อน เร่งขยายผลนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อแปรรูป หวังผลเพิ่มมูลค่า ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชนท้องถิ่นโดยเร็ว ด้านผู้ช่วยอธิการบดีฯย้ำ ราชภัฏสุราษฎร์ฯเป็นของชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 13.00 น (21 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและคณะ พร้อมทั้ง ผู้แทนจากศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) นำโดย คุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์ และผู้แทนจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการวิชา ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคม หมู่ที่ 2 ต.ขุนทะเล เพื่อติดตามและขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ได้มีแกนนำชุมชน นำโดยนายสุรินทร์ รักษ์เมือง ผู้ใหญ่บ้านและคณะ เข้าร่วมการหารือในการดำเนินงานดังกล่าวด้วย…..เนื่องมาจากผลการประชุมหารือในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ ผู้ดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งแกนนำหมู่บ้านในตำบลขุนทะเลทั้ง 10 หมู่…
โครงการ การจัดการความรู้ผู้ใช้บัณฑิตและศิษย์เก่า งบประมาณ 50,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน คณะครุศาสตร์ ระยะเวลา มี.ค. 56 การบูรณาการ การสอน – การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ ฝ่ายพัฒนาศึกษา คณะครุศาสตร์ 082-9108448
. ….วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ร่วมกับอาจารย์ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้หารือกับคณะกรรมการสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เกี่ยวกับการจัดงานสิทธิของประชาชน สิทธิของสตรี โดยจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ลานอเนกประสงค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตื่นตัวและตระหนักในสิทธิของประชาชน ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายนักศึกษา นักวิชาการ และสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ โดยมีกิจกรรมได้แก่ เวทีเสวนาวิชาการ นิทรรศการภาพถ่าย บูธผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดสารพิษ และเวทีวัฒนธรรม …..โดยก่อนหน้านั้นฝ่ายบริการวิชาการฯ โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยได้เข้ายื่นข้อมูลกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จ.สุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดทำเว็ปไซต์แหล่งท่องเที่ยว จ.สุราษฎร์ธานี 65 แหล่ง เฉลิมพระชนมายุครบ 65 พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร โดยเป็นเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยวที่มีความพิเศษคือ มีแอดมินที่เป็นพี่น้องเจ้าของพื้นที่ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวนั้น ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ ทั้งนี้เว็บไซต์ทั้ง 65 แหล่งจะสามารถอัพเดทข้อมูลได้ตลอดเพราะมีคนในพื้นที่เป็นคนบริหารจัดการเอง โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นผู้ดูแลระบบอีกชั้นหนึ่ง …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี…
เมื่อเวลา 11.00 น. (12 พฤษภาคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานแผนแม่บทโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 ณ ห้องประชุมงานบริการวิชาการฯ ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานในการประชุม จากเหตุการณ์อุทกภัยภาคใต้เมื่อพฤศจิกายน 2531 เกิดการพังทลายของดินบริเวณยอดเขาและเชิงเขา กระแสน้ำพัดต้นไม้ หิน ทรายและวัสตุอื่นๆ ไหลปะทะบ้านเรือน และทับถมเรือกสวนไร่นาของราษฎรบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธนี เสียหายเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชมารึ กรมพระศรีสว่างควัฒนวรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงมีพระดำริจะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ประสบอุทกภัยให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีอยู่เดิม และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกับปลูกฝังค่านิยมให้กับประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนให้มีจิตสำนึกรักธรรมชาติและช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าให้คงอยู่เป็นมรดกสู่รุ่นหลาน เพื่อให้การบริการจัดการโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 8 บรรลุตามพระราชปณิธาน ตอบสนองความต้องการของพื้นที่
…..วันนี้เวลา 10:00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ร่วมกับทีมงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทีมงานคณะครุศาสตร์ ได้เข้าร่วมรับเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานเปิดงานประชุมและนิทรรศการทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ครั้งที่ 9/2560 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาเขตสระบุรี …..โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำโครงการการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่บ้านน้ำราด อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี มาจัดแสดง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพื่อขยายพันธ์ุกล้วยไม้ประจำถิ่น การศึกษาเกี่ยวกับต้นหยาดน้ำค้าง การศึกษาสารสะกัดจากผักตบชวาเพื่อกำจัดลูกน้ำ รวมทั้งการศึกษาชาติพันธุ์ของชาวไทยทรงดำอีกด้วย ทั้งนี้ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านธีระ อนันตเสรีวิทยา ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมชมนิทรรศการของมหาวิทยาลัยด้วย …..ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับประเด็นการศึกษาในปีถัดไปว่า น่าจะมีการศึกษา “มะพร้าว” อย่างจริงจังแบบรอบด้าน โดยใช้ศาสตร์ต่างๆเข้าไปบูรณาการศึกษา ทั้งนี้เพราะมะพร้าวเป็นพืชสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวสุราษฎร์ธานีมาอย่างยาวนาน โดยประเด็นนี้ฝ่ายบริการวิชาการฯจะได้นำกลับไปหารือเพื่อหาแนวทางในการศึกษาต่อไป …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินโครงการสนองงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วยความมุ่งมั่น และนับเป็นเกียรติยศอันสูงสุดที่ได้ทำงานสนองงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พวกเราจะทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ โดยมีเป้าหมายคือ สนองงานพระองค์ท่านในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน/ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ด้านอธิการบดีฯ เผย มรส.เร่งขับเคลื่อนจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชี้เป็นพันธกิจหนึ่งในการรองรับความเปลี่ยนแปลง และตอบโจทย์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เมื่อเวลา 10.00 น. (22 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นดำเนินงานจัดประชุมโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรของจังหวัด สุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) ณ ห้องราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้บริหารและแกนนำชุมชนทั้ง 10 หมู่บ้าน ในตำบลขุนทะเลเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ในสภาวการณ์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยจะต้องมีแผนรองรับการเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น อดีตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สังกัดภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ แต่ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องแสดงศักยภาพในการส่งเสริมพัฒนาการเกษตรกรรม นวัตกรรมสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้นและเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนโดยทางจังหวัดและมหาวิทยาลัยได้ร่วมหารือกันและได้แนวนโยบาย Reinvent หรือการพลิกโฉมให้สามารถตอบโจทย์เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริงควบคู่ไปกับการรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทุกด้าน โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อม 4 ประเด็นคือ 1.เกษตรคุณภาพ 2.ท่องเที่ยวยั่งยืน…