ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับสมัครสอบ TOEIC
ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับสมัครสอบ TOEIC
ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รับสมัครสอบ TOEIC
โครงการ ห้องสมุดเพื่อน้อง งบประมาณ 15,500 บาท สถานที่ดำเนินงาน โรงเรียนบ้านบารูป ม.4 ต.สินเจริญ อ.พระแสง ระยะเวลา 25 ธ.ค. 55 การบูรณาการ การสอน – การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ น.ส.อมรรัตน์ แซ่กวั่ง 089-9742826
…..ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เห็นชอบทัวร์มรส 3 ที่ อาคารสำนักงานอธิการบดี(ใหม่) – หอประชุม วชิราลงกรณ – หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ เล็งยกระดับหอประชุมฯ เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติ …..เมื่อเวลา 14.00 น. (29 มกราคม 2561) งานบริการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เข้าร่วมประชุมและพิจารณาโครงการ SRU TOUR โดยมีผู้แทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว เป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน ทั้งนี้โครงการ SRU TOUR มีอาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ เป็นผู้ริเริ่มและจัดทำแผนในการนำความรู้จากหลักสูตรการเรียนการสอน มาสู่การปฏิบัติซึ่งมีนักศึกษาเป็นผู้ร่วมดำเนินโครงการด้วย …..อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และเป็นผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวถึงการดำเนินงานว่า “เมื่อนำบริบทจากกิจกรรมของหน่วยงานภายนอกที่ขอความอนุเคราะห์เข้ามาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงเล็งเห็นความสำคัญของการทัวร์มหาวิทยาลัย และมีความคิดที่จะทำโมเดลนี้เพื่อให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและสามารถเป็นโมเดลให้กับคณะอื่นด้วย ซึ่งเบื้องต้นได้พิจารณาว่าสถานที่ที่น่าสนใจในมหาวิทยาลัยมีที่ใดบ้าง ซึ่งได้นำมาสรุปว่า 1.หอประชุมวชิราลงกรณ 2. อาคารสำนักงานอธิการบดีหลังใหม่ และ 3.หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ ทั้งนี้ในอนาคตมีความคิดที่จะเสนอกับมหาวิทยาลัยเพื่อยกระดับหอประชุมวชิราลงกรณ ให้เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติที่มีความพร้อมในการจัดงานระดับชาติและนานาชาติซึ่งจะต้องหาข้อมูลและองค์ประกอบต่างในการขับเคลื่อนอีกสักระยะ นอกจากนี้การดำเนินโครงการ SRU TOUR ทางคณะผู้รับผิดชอบโครงการได้ให้นักศึกษาไปสำรวจและวิเคราะห์ความน่าสนใจของสถานที่ซึ่งได้นำมาสรุปและพิจารณาในเบื้องต้นแล้วโดยแบ่งประเด็นการนำเสนอว่า…
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และกองพัฒนานักศึกษา ร่วมกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น การทำดอกไม้จันทน์ ดอกดารารัตน์ “Daffodil” ตามโครงการ “มรส.รวมใจ ถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์” เพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในเดือนตุลาคม 2560 นี้ ซึ่งถือเป็นการแสดงความอาลัยและความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นครั้งสุดท้าย โดยคนเหล่านี้จะเป็นต้นแบบในการจัดทำให้กับนักศึกษา บุคลากร และประชาชน มหาวิทยาลัยฯ ขอเรียนเชิญพี่น้องทุกท่านมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านในวาระสำคัญนี้ โดยในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 จะมีพิธีเปิดที่โถงหน้าหอประชุมวชิราลงกรณ และตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไปร่วมกันทำดอกไม้จันทน์ด้านล่างหอประชุมหอประชุมวชิราลงกรณ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดเตรียมสถานที่ไว้สำหรับผู้สนใจที่เข้าร่วมทำดอกไม้จันทน์– วันที่ 28-30 มิถุนายน 2560 ร่วมกันจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำดอกไม้จันทน์ ณ ห้องเรียนรู้ 2 ศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อท้องถิ่น– วันที่ 3-4…
…..ชู ขับเคลื่อน สินค้าจากไก่อารมณ์ดี หวังผลผลิตไข่มีคุณภาพ ทีมงานบริการวิชาการฯ ยกนิ้ว หมู่ 9 ผู้ใหญ่บ้านสุดปลื้มเป็นหมู่บ้านตัวอย่าง ใช้องค์ความรู้ที่ มรส.ให้ ยกระดับคุณภาพชีวิตได้จริง …..เมื่อเวลา 14.00 น. (7 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคุณฐิติมา บุญยังผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI และ ดร.สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการวิชาการ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางไปยังศาลาประชาคม หมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี นางปัทมา ฤทธิกัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มแกนนำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงกิจกรรมการดำเนินงานของหมู่ที่ 9 ว่า ผลิตภัณฑ์และสินค้าที่หมู่บ้านดังกล่าวได้เสนอให้มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือด้านองค์ความรู้ การเพาะเลี้ยงไก่อารมณ์ดี ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกรรมวิธีการเพาะเลี้ยงและเพาะพันธุ์อย่างถูกต้อง โดยประเด็นที่ได้พูดคุยกับกลุ่มชาวบ้านจะต้องทำเป็นลำดับขั้นตอนคือ 1. ชาวบ้านต้องมีความรู้ 2. เมื่อได้รับองค์ความรู้ และสามารถเพาะเลี้ยงได้อย่างถูกวิธี…
ด้านอธิการบดีฯ เผย มรส.เร่งขับเคลื่อนจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชี้เป็นพันธกิจหนึ่งในการรองรับความเปลี่ยนแปลง และตอบโจทย์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เมื่อเวลา 10.00 น. (22 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นดำเนินงานจัดประชุมโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรของจังหวัด สุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) ณ ห้องราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้บริหารและแกนนำชุมชนทั้ง 10 หมู่บ้าน ในตำบลขุนทะเลเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ในสภาวการณ์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยจะต้องมีแผนรองรับการเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น อดีตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สังกัดภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ แต่ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องแสดงศักยภาพในการส่งเสริมพัฒนาการเกษตรกรรม นวัตกรรมสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้นและเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนโดยทางจังหวัดและมหาวิทยาลัยได้ร่วมหารือกันและได้แนวนโยบาย Reinvent หรือการพลิกโฉมให้สามารถตอบโจทย์เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริงควบคู่ไปกับการรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทุกด้าน โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อม 4 ประเด็นคือ 1.เกษตรคุณภาพ 2.ท่องเที่ยวยั่งยืน…
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับประชาชนหมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่ประชาชน ภายใต้โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นโครงการตามแนว พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรินทร์ สุขกรี รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ได้ทำหน้าที่สนองงาน โครงการตามแนวพระราชดำริหลายโครงการ ซึ่งหนึ่งในหลายโครงการก็คือ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยในปี 2557 มหาวิทยาลัยฯได้ร่วมกับประชาชนในตำบลขุนทะเลและตำบลมะขามเตี้ย จัดอบรมพัฒนาอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชนเพื่อให้มีทักษะ ฝีมือในการผลิตของใช้ที่จำเป็นในครัวเรือน และหวังสร้างงานสร้างอาชีพ นำไปสู่ความมั่นคง เข้มแข็งด้านอาชีพและรายได้ของประชาชนต่อไป นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า การจัดโครงการดังกล่าว งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ปรึกษาหารือกับผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในตำบลขุนทะเลและตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงประเด็นปัญหา และความต้องการของประชาชน พบว่า ทุกคนมีความเห็นตรงกันว่า ควรจะมีการจัดอบรมพัฒนาอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชนให้มีทักษะ และฝีมือในการผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ต่างๆในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย และสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว โดยได้จัดอบรมอาชีพระยะสั้น การผลิตของใช้ในครัวเรือน เช่น…