องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง
อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง – Kapoe, Ranong
พื้นที่ 657.69 km2 คำขวัญ แหล่งแตงโมอร่อย หอยทะเลสด เป็ดเลิศรส หาดงามงด ป่าเขียวขจี
อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง – Kapoe, Ranong
พื้นที่ 657.69 km2 คำขวัญ แหล่งแตงโมอร่อย หอยทะเลสด เป็ดเลิศรส หาดงามงด ป่าเขียวขจี
เมื่อเวลา 10.00 น. (15 กุมภาพันธ์ 2565) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับกองนโยบายและแผนดำเนินการจัดประชุมแนวทางการจัดทำกรอบแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีหน่วยงานที่ดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์ ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น (3O 7KR) โดยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการกวิจัยและนวัตกรรมกได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้เน้นย้ำและมีเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าการดำเนินงานโครงการของทุกหน่วยงานในพื้นที่ตามโครงการพระบรมราโชบาย ประชาชนในพื้นที่จะต้องได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถใช้องค์ความรู้ที่ได้รับอาจารย์และคณะทำงานไปใช้ในชีวิตประจำวันประกอบอาชีพได้และสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ขณะที่ นายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้ ชี้แจงว่า การเสนอโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทางคบว.และสถาบันวิจัยฯจะร่วมกันสังเคราะห์เพื่อการบูรณาการ และพิจารณาว่าโครงการที่นำเสนอมานั้นตรงกับพื้นที่เป้าหมายหรือไม่และนำส่งไปยังกองนโยบายและแผนภายใน วันที่ 21 สิงหาคม 2565 โดยคณะกรรมการฯสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มหลักเกณฑ์การขอรับข้อเสนอโครงการพระราโชบายด้านการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทางเว็บไซต์กองบริการวิชาการฯและในไลน์กลุ่มคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่น โดยมติที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่น 3O…
วันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น. ผศ.ดร.เสนห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม และนายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นพร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงานศึกษาสำรวจความเป็นไปได้ ในการพัฒนาอาชีพ และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลบางใบไม้ นางจรัญญา ศรีรักษ์ กำนันตำบลบางใบไม้ และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลบางใบไม้ อธิบายรายละเอียดของการดำเนินงานกิจกรรม และวัตถุประสงค์ในการของบประมาณสนันสนุน พร้อมอธิบายแนวทางในการจัดการกลุ่มฯ เพื่อให้ข้อมูลแก่คณะการสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาอาชีพ และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สำหรับการดำเนินงานในรอบแรก จะมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 45 กลุ่ม ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ด้าน OTOP จำนวน 9 กลุ่ม ด้านการท่องเที่ยว จำนวน 6 กลุ่ม ด้านการประมง จำนวน 2 กลุ่ม และด้านเกษตร จำนวน 28 กลุ่ม ดร.กฤษณะ…
เวลา 07.30 น. (15 สิงหาคม 2565) โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย นายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและคณะทำงานอาจารย์ บุคลากร ในพื้นที่บริการวิชาการของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง ประจำปีงบประมาณ 2565 เดินทางไปยังจังหวังกระบี่ ณ โรงแรมดุสิต ดีทู อ่าวนาง เพื่อจัดการประชุมสัมมนาถอดบทเรียนผลการดำเนินงานโครงการพระบรมราโชบายและโครงการตามแนวพระราชดำริโดยมี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานกล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับ ทีมคณะทำงานทุกๆท่าน ผ่านระบบออนไลน์ พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ และเครือข่ายสังคม ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนยุทธศาสตร์ วิชาการ และทรัพยากรมนุษย์ ได้มาร่วมแลกเปลี่ยน ร่วมคิด ร่วมทำ สรุปแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านพัฒนาท้องถิ่น แผนการดำเนินงาน และแผนงบประมาณกับการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ทั้งนี้ โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มุ่งหวังผลจากการ ถอดบทเรียน ติดตามผลการดำเนินงานในครั้งนี้ว่าสามารถจะนำผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไปพัฒนาศักยภาพอาจารย์บุคลากร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในระดับพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด…
จากการผลักดันและพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว มาโดยตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ในพื้นที่เกาะพะลวย ชุมชนพร้อมผลักดันสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนเกาะพะลวย พร้อมวางเป้าหมาย ปี 2567 วิสาหกิจฯ มีกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว พร้อมสร้างรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมี 5 กลุ่ม คือ กลุ่มนวด กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มเรือนำเที่ยว กลุ่มที่พัก และกลุ่มผู้นำเที่ยว อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอกการท่องเที่ยว วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า กระบวนการในครั้งนี้ เป็นเรื่องของการจัดการกลุ่ม บริหารจัดการทรัพยากร ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกัน และแหล่งที่มาของรายได้ เพื่อวางแผนการทำงานในอนาคต นางสรินณา จันทร์แจ่ม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนเกาะพะลวย เป็นโอกาสที่ดีที่กลุ่มได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในการพัฒนากลุ่มตั้งแต่เริ่มต้นทำความเข้าใจในกระบวนการบางเรื่องก็ไม่สามารถรีบร้อนได้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับกิจกรรมในวันนี้ทางกลุ่มได้กำหนดข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างกลุ่มต่างไป เช่น กลุ่มนวด กลุ่มเรือรับจ้าง กลุ่มผู้นำเที่ยวและกลุ่มผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ ได้ข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้กลุ่มสามารถเดินต่อไปได้
อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง – La-un, Ranongพื้นที่ 748.50 km2 คำขวัญ ป่าเขาเขียว เที่ยวล่องแพ แลภูผางาม ตามรอยสงครามโลก เทศบาลตําบลละอุ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระเหนือ องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลละอุ่นเหนือ
ตัวอย่าง แบนเนอร์ สำหรับเว็บไซต์ โค้ดสำหรับเว็บไชต์