Similar Posts
งานบริการวิชาการฯ เร่งติดตามเชิญแกนนำชุมชนร่วมหารือสร้างแบรนด์ มติชัดเจน “ขุนเล”มาแรงเป็นเอกลักษณ์ไร้คู่แข่ง
ด้าน UBI ร่วมแจมสร้างแบรนด์หนุนงบฯ หวังเปิดช่องทางการตลาดชุมชนขุนทะเลโตขึ้นอยู่ได้ด้วยตนเอง ส่วนสายแข็งด้านธุรกิจค้าปลีกกำหนดจัดอบรมระบบ Online – Offline ดีเดย์ 14 ก.พ.61 …..เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดประชุมหารือแกนนำชุมชนตำบลขุนทะเล ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อติดตามการดำเนินงานในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 เนื่องจากมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 ให้แกนนำหมู่บ้านและคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ในชุมชนท้องถิ่นและเสริมสร้างช่องทางการตลาดโดยการอบรมตลาด Online และ Offline พร้อมทั้งเสนอชื่อผู้เข้าอบรมจัดทำเว็บไซต์หมู่บ้านละ 2 คน …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการฝ่ายบริการวิชาการ ประธานที่ประชุมได้เผยว่า อยากให้แกนนำชุมชนและมหาวิทยาลัยร่วมกันระดมความคิดในการสร้างแบรนด์และโลโก้ พร้อมทั้งช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยให้พิจารณาของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการแปรรูปผลิตผลที่ในชุมชน ซึ่งผู้ช่วยอธิการบดีฯให้ข้อคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า การจัดทำแบนด์หรือโลโก้จะต้องสื่อถึงบริบทของชุมชนท้องถิ่นให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคจดจำได้ง่าย อีกทั้งผลิตผลที่ต้องการแปรรูปต้องมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของตลาดหรือไม่ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะดำเนินการช่วยเหลือในเรื่องของการแปรรูปการให้ความรู้อบรมเชิงปฏิบัติการเพราะมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว ในส่วนของการทำบรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาดก็เช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือในการคิดค้นออกแบบเทคนิควิธีการทำอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน นอกจากนี้ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจหรือ UBI ผู้มีหน้าที่ดำเนินการในการสร้างแบรนด์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความต้องการของชุมชน…
มรส.ร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ฯเดินหน้าขับเคลื่อนงานโครงการ อพ.สธ.-สฎ.
วันจันทร์ ที่ 7 ตุลาคม 2562 เวลา 08:15 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ นำโดย นางสาวจันทิมา องอาจรองหัวหน้างานบริการวิชาการฯ ร่วมกับชาวบ้าน หมู่ที่ 2 บ้านปากตรัง ตำบลคลองชะอุ่น ลงพื้นที่แปลงที่ 10 แปลงป่าอนุรักษ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากจังหัวดสุราษฎร์ธานี ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมสนองงานในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อยกระดับพื้นที่การปลูกป่า 4 ชั้นในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตร โดยมีพันธุ์ไม้กว่า 30 ชนิด ได้ดำเนินงานปรับปรุงพื้นที่ในการ ตัดหญ้า จำกัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ย ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บ้านทุ่งตาหนอน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 1 ตามแผนโครงการ อพ.สธ.-สฏ. สนองงานโดย มรส. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
บริการวิชาการฯ มรส.จัดอบรมการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอด
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ร่วมกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน จัดอบรมการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดให้กับพี่น้องหมู่ที่ 2 ตำบลขุนทะเล โดยได้รับเกียรติจากคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.สุรินทร์ สมณะ มาร่วมเปิดการอบรม …..โครงการนี้เกิดขึ้นจากการสำรวจความต้องการในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ของพี่น้องในชุมชนขุนทะเล โดยฝ่ายบริการวิชาการได้ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในแต่ละหมู่เพื่อหาข้อมูลและทำความเข้าใจ รวมทั้งสำรวจความต้องการของพี่น้อง ต่อจากนี้เมื่อเราได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการวางจำหน่ายแล้ว เราจะพัฒนาในด้านบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อให้สินค้าของพี่น้องขุนทะเลเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยมีปลายทางคือการยกระดับรายได้ ทั้งที่เป็นรายได้หลักและรายได้เสริมให้กับพี่น้องอย่างเอาจริงเอาจัง …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำเอาองค์ความรู้รวมทั้งเทคนิควิธีการที่เหมาะสมและทันสมัยเพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งากถ้ำ รายงานนุชนาถ พูลสิน ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มรส.ร่วมกับเทศบาลตำบลพุมเรียง หารือแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่แหลมโพธิ์ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ที่มีการจัดการอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
…..ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ร่วมกับสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยอาจารย์อนุรักษ์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนัก พร้อมด้วย ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ พราหมณพันธุ์ ประธานเครือข่ายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ในภารกิจที่จะเดินทางมาเป็นประธานการประชุมเครือข่ายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเขตภาคใต้ ได้หารือร่วมกับนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลพุมเรียง เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่แหลมโพธิ์ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ที่มีการจัดการอย่างเหมาะสมและยั่งยืน …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ เผยถึงผลสรุปของการหารือว่า แหลมโพธิ์เป็นพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวเชิง โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมประกอบกัน แต่ยังขาดแผนในการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จะเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงในการช่วยเหลือจัดทำแผนปฏิบัติการจากการระดมความคิดเห็นในวันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2560 เพื่อจะได้นำเสนอต่อภาคส่วนอื่นๆในการสร้างความยั่งยืนต่อไป …..ต่อข้อซักถามถึงแนวทางการมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นนั้น ผู้ช่วยอธิการบดีให้ข้อมูลว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์แนวทางเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้อง เราพร้อมที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกันกับท้องถิ่นตามที่ได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพเยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มรส.ร่วมกับสภาเกษตรกรขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวชุมชนบ้านคลองมุย ต.ตะกุกเหนือ
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับผู้แทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ผู้แทนจากหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน และผู้แทนจากสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางลงพื้นที่ไปยังบ้านคลองมุย ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี เพื่อพบปะพูดคุยกับแกนนำของชุมชน นำโดยผู้ใหญ่วีนัส ศึกเสือ ผู้ใหญ่บ้าน โดยเป็นไปตามโครงการความร่วมมือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี โดยวันนี้เป็นการรับฟังข้อมูลที่กลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยมาร่วมกันพัฒนา …..ทั้งนี้ทางกลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยว การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานที่พักชุมชน รวมทั้งการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยคณะทำงานมีความเห็นว่าควรสร้างความเข้าใจและแรงจูงใจให้กับพี่น้องในพื้นที่เกี่ยวกับการดำเนินการในลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการระเบิดจากภายในของชุมชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมั่นคงและยั่งยืน …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะรวมพลังกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ถึงจะต้องฝ่าฟันเส้นทางอีกกี่พันไมล์ เราก็จะไปให้ถึงเส้นชัยที่รออยู่ร่วมกับพี่น้องให้ได้ ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มรส.ต่อยอดประเด็นการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ ต.ขุนทะเล
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ร่วมกับคณาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ ดร.วัชรี รวยรื่น และอาจารย์นิสากร สุขหิรัญ พวกเราได้ร่วมกันหารือเพื่อต่อยอดประเด็นการบริหารจัดการขยะ ในพื้นที่ ต.ขุนทะเล ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านให้ความสำคัญว่า เป็นประเด็นปัญหาที่ควรแก้ไขเป็นอันดับแรก และอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไข โดยหลังจากที่ได้มีการรวบรวมข้อมูลพบว่า พื้นที่ขุนทะเลมีขยะมากถึง 15-16 ตัน/วัน และต้องใช้งบประมาณในการกำจัดขยะจำนวนมาก โดยขณะนี้มหาวิทยาลัยได้จัดชุดโครงการบริหารจัดการขยะ ต.ขุนทะเล ซึ่งมีโครงการย่อยร่วม 20 โครงการ ตามงบประมาณ ปี 2561 และอยู่ในระหว่างจัดทำการของบประมาณจาก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาวิจัยในประเด็นการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาล ต.ขุนทะเล วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเดินหน้าในทุกมิติเพื่อร่วมกันกับท้องถิ่นในการแก้ปัญหาและยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องอย่างเอาจริงเอาจัง เราพร้อมที่จะฟันฝ่าทุกอุปสรรคเพื่อสร้างพลังให้กับแผ่นดินนี้ร่วมกัน ในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี