Similar Posts
โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment – ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ปรึกษาโครงการ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เตรียมพร้อมขับเคลื่อน ITA จังหวัดระนอง
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดประชุมเตรียมพร้อมขับเคลื่อน โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment – ITA) ประจำปีงบประมาณ 2560 จังหวัดระนอง ณ ศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการฯกอดคอเครือข่ายบริการวิชาการ ลงพื้นที่สวนลุงสงค์ ต.บางใบไม้
…..จัดเวทีสัมมนาความต้องการของชุมชน พร้อมเจาะลึกเรื่อง “มะพร้าว” ผลักดันให้เป็นผลไม้ อัตลักษณ์เมืองสุราษฎร์ ตามข้อเสนอแนะอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ …..เมื่อเวลา 11.00 น. (3 มีนาคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยเครือข่ายบริการวิชาการ ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยนาชาติการท่องเทียว สาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยตัวแทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยัง สวนลุงสงค์ ตำบลบางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อลงพื้นที่สำรวจความต้องการของชุมชน และร่วมเสวนาวิถีชีวิตในมิติต่างๆ โดยมีนางสาวณัฐธิญาณี ธัญญลักษณ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปีและแกนนำชุมชนให้การต้อนรับ …..เนื่องจาก เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มี ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้เดินทางมาเข้าพบ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ โดยการประสานงานจากจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI เพื่อร่วมหารือเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมิติต่างๆ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นจึงได้ประสานเครือข่ายบริการวิชาการกำหนดแผนการดำเนินงานและร่วมลงพื้นที่ร่วมเวทีเสวนาดังกล่าว …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ…
คณะทำงาน “พุมเรียงโมเดล” ร่วมลงพื้นที่ ระดมความคิดแกนนำชุมชน Focus Group 3 พันธกิจหลัก
…..ตกผลึกทางความคิด การท่องเที่ยว – ศิลปะฯ – ผังเมือง ด้านทีม มรส. นำทัพงานบริการวิชาการฯ – สำนักศิลปะและวัฒนธรรม – วิทยาลัยนานาชาติฯ – ดร.นรา ดันสุดกำลัง หวังพุมเรียงโมเดลเป็นจริง …..เมื่อเวลา 10.00 น. (2 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานในโครงการพุมเรียงโมเดล จากมหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำทีมโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและทีมงาน จากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น อาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุลและทีมงาน จากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ และทีมงาน จากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และดร.นรา พงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนและผังเมืองจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วย นางสาวกัญญารัตน์ แสงสุวรรณ ตัวแทนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมลงพื้นที่เพื่อประชุมระดมความคิดการดำเนินโครงการพุมเรียงโมเดล ณ เทศบาลตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ได้มีนายยอดชาย พันธ์ครุฑ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพุมเรียง และเจ้าหน้าที่…
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมโครงการตชด.วางแผนนิเทศ ตรวจเยี่ยม ระยะที่ 1
หน่วยงานเครือข่ายงานบริการวิชาการฯร่วมด้วยพร้อม เร่งเครื่องเดินหน้าจัดทำหลักสูตรพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อเวลา 10.00 น. (18 พฤศจิกายน 2562) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.กฤษณะ ทองแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวมีหน่วยงานภายในเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง เช่น ตัวแทนจากคณะครุศาสตร์,คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และตัวแทนศูนย์ภาษาและหอสมุดใหม่ จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งที่ประชุมได้ให้ฝ่ายประสานงานจัดทำคำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และวางแผนจัดทำสื่อการเรียนการสอน พร้อมทั้งการนิเทศตรวจเยียมโรงเรียน ในระยะที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2563 นอกจากนี้ หน่วยงานเครือข่ายงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นฯ ได้มีแผนการอบรมจัดทำหลักสูตรพัฒนาครูโรงเรียนตำรวจชายแดนตามกิจกรรมอบรมครูประจำปี และการพัฒนาศักยภาพศึกษาดูงานของครู ตชด. ขณะที่คณะทำงานของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้เผยว่า “ทางหน่วยงานงานบริการวิชาการ ได้เตรียมการจัดทำเว็บไซต์โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งเชื่อว่าเป็นหัวใจของการสื่อสารระหว่างโรงเรียนตชด.กับชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนพื้นที่เป้าหมายได้รับทราบกิจกรรมการดำเนินงานของโรงเรียนด้วย”
หลักสูตรการจัดทำแผนชุมชน
สาระสำคัญของหลักสูตร แผนชุมชนเป็นเครื่องมือสำหรับหมู่บ้าน/ชุมชน ใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน และเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา (Community-based-development) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่จะตอบสนอง ต่อปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้ตรงตามความต้องการของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้เครื่องมือในการจัดทำแผนชุมชน เพื่อฝึกกระบวนการการจัดทำแผนชุมชน เนื้อหาหลักสูตร (Course Outline) กระบวนการและความสำคัญของแผนชุมชน เครื่องมือที่สำคัญในการจัดทำแผนชุมชน ปฏิบัติการทำแผนชุมชน รายละเอียดทั้งหมด หลักสูตรหลักสูตรการจัดทำแผนชุมชน