มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จับมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หวังสร้างเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้ตอนบน

เมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2557 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน (ศวภ.ใต้ตอนบน) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และศูนย์จัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราชและศูนย์จัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา จัดโครงการประชุมสร้างการเรียนรู้และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ (ภาคใต้ตอนบน) ขึ้น ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผศ.นรินทร์ สุขกรี รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า การจัดโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้แนวทางและแผนการขับเคลื่อนโครงการ การใช้เครื่องมือการวิจัยชุมชน การจัดเก็บข้อมูลชุมชนเป็นฐานในการพัฒนา การบูรณาการงานโครงการตำบลสุขภาวะเข้ากับงานประจำและการสร้างจิตอาสาในชุมชนรวมถึงการร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาวะภาคใต้ตอนบน กำหนดทิศทางและแนวทางการทำงาน ของ 5 นักพัฒนา ในการขับเคลื่อนงานโครงการเครือข่ายสุขภาวะภาคใต้ตอนบน สำรวจทุนและศักยภาพในพื้นที่ ที่สอดคล้องกับประเด็นนโยบายสาธารณะ ผลกระทบต่อปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและนโยบายสาธารณะ อันแสดงความเข้มแข็งของพื้นที่ ในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่และกำหนดเป้าหมายของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของแต่ละเครือข่าย (เครือข่ายและศูนย์จัดการเครือข่าย) บนพื้นฐานทุนและศักยภาพของแต่ละเครือข่าย โดยมีแม่ข่าย 2 แห่ง คือ ศูนย์จัดการเครือข่ายเทศบาลตำบลขุนทะเล จำนวน 28 คน และศูนย์จัดการเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแสน จำนวน 17 คน มีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมทั้ง 2 แห่ง รวมจำนวน 45 คน เครือข่ายเข้าร่วม 40 แห่ง รวมจำนวน 250 คน โดยมีนายกเข้าร่วม 28 แห่ง จากศูนย์จัดการเครือข่ายเทศบาลตำบลขุนทะเล จำนวน 19 คน และศูนย์จัดการเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแสน จำนวน 9 คน และจากทีมกลางจำนวน 8 คน คือ ศวภ.อีสาน โดยคุณธัญญา แสงอุบลและทีมงาน , ศวภ.เหนือล่าง โดย คุณธีรพงศ์ ยอดและ คุณทยากร รุจนวรากูร หัวหน้าสำนักปลัด อบต.แม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และจากสำนัก 3 (สสส.) รวมทั้งทีมศวภ.ใต้บนอีก 5 คน ดร.ภควดี รักษ์ทอง ผู้จัดการศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน (ศวภ.ใต้ตอนบน) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย กระบวนการแนะนำ “รวมพลังคนใต้ร่วมขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะเพื่อท้องถิ่นน่าอยู่” กระบวนการแลกเปลี่ยนทุนและศักยภาพ “เล่าเรื่อง เบื้องหลัง พลังบวก” การสร้างความเข้าใจและกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนโครงการเครือข่ายสุขภาวะสร้างฐานชุมชน สู่ตำบลสุขภาวะและการเตรียมการ 5 นัก RECAP,TCNAP เครื่องมือสร้างชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง นวัตกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง การบูรณาการเข้ากับงานประจำ สร้างจิตอาสาสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน อาสาทำดี “โหม๋เราไม่ทิ้งกัน” “รำวงเวียนครกพื้นบ้าน” การนำเสนอทุนและศักยภาพ “เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ตอนบน” ของทั้ง 2 เครือข่าย นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอเป้าหมายและทิศทางการหนุนเสริมชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่และการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของ สสส.โดย นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สสส. สน.3) การนำเสนอและพูดคุย ในหัวข้อ “เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่กับการขับเคลื่อนประเทศไทย” เป็นการนำเสนอและพูดคุยเกี่ยวกับนโยบาย ข้อตกลงและกระบวนการต่างๆที่สามารถนำมาใช้ในการขับเคลื่อนเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้ตอนบน และเพื่อเป็นการพัฒนาสืบต่อไปสู่การขับเคลื่อนประเทศไทยในอนาคต “เพราะถ้างานท้องถิ่นเกิดขึ้นมาดีแล้ว ก็จะเป็นภาพสะท้อนของประเทศที่ดีด้วยเช่นกัน”โดย นายสมพร ใช้บางยาง ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส. และประธานคณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป การประกาศเจตนารมณ์ “เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่”และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ “เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่” โดยมีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของทั้ง 2 แม่ข่าย คือเครือข่ายเทศบาลตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช และเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ในฐานะทีมวิชาการศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน (ศวภ.ใต้ตอนบน) กล่าวว่า การจัดโครงการดังกล่าว สามารถทำให้แม่ข่ายแต่ละเครือข่ายที่เข้าร่วมได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทาง และแผนการขับเคลื่อนโครงการ การใช้เครื่องมือการวิจัยชุมชน การจัดเก็บข้อมูลชุมชนเป็นฐานในการพัฒนา การบูรณาการงานโครงการตำบลสุขภาวะเข้ากับงานประจำและการสร้างจิตอาสาในชุมชนและร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาวะภาคใต้ตอนบนได้ แม่ข่ายแต่ละเครือข่ายได้ทราบและสามารถกำหนดทิศทางและแนวทางการทำงาน ของ 5 นักพัฒนา ในการขับเคลื่อนงานโครงการเครือข่ายสุขภาวะภาคใต้ตอนบนได้ รวมถึงได้ทราบถึงทุนและศักยภาพในพื้นที่ที่สอดคล้องกับประเด็นนโยบายสาธารณะ รวมทั้งผลกระทบต่อปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและนโยบายสาธารณะ อันแสดงความเข้มแข็งของพื้นที่ เพื่อใช้ในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ได้มากขึ้น และที่สำคัญสามารถกำหนดเป้าหมายของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของแต่ละเครือข่าย (เครือข่ายและศูนย์จัดการเครือข่าย) บนพื้นฐานทุนและศักยภาพของแต่ละเครือข่ายได้ อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น ต่อไป

Similar Posts