มรส. เน้นคุณภาพการศึกษา ร.ร. ตชด 41 ตามแนวพระราชดำริฯ
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2559 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมคณะเดินหน้าเต็มตัวนิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านตะแบกงาม ประจำปี 2560 ระยะ 1 เพื่อเน้นคุณภาพการศึกษาเด็กในโรงเรียน
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2559 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมคณะเดินหน้าเต็มตัวนิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านตะแบกงาม ประจำปี 2560 ระยะ 1 เพื่อเน้นคุณภาพการศึกษาเด็กในโรงเรียน
เมื่อเวลา 14.00 น. (8 ตุลาคม 2562) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ. – มรส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 2 ณ ศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยมี ดร.กฤษณะ ทองแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการจัดนิทรรรศการ ทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์ ซึ่งจะจัดที่จังหวัดนครราชสีมา โดยมติที่ประชุมให้คณะทำงานทุกท่านส่งรายชื่อคณะกรรมการผู้ดำเนินงานโครงการดังกล่าวเพิ่มเติมภายในวันที่ 9 ตุลาคม 2562 และที่ประชุมเห็นชอบแผนการจัดรูปแบบนิทรรศการตามที่งานบริการวิชาการฯได้นำเสนอในที่ประชุม นอกจากนี้ หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นได้เผยว่า ผู้รับผิดขอบโครงการทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานโครงการฯจะเริ่มเดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 จนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงการในวันที่ 5 ธันวาคม 2562 อย่างไรก็ตาม รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า หากคณะกรรมการทุกท่านมีปัญหาติดขัดเรื่องใดขอให้แจ้งไปที่คณะทำงานของงานบริการวิชาการฯซึ่งทีมงานทุกคนมีความยินดีที่จะช่วยเหลือและรับใช้ทุกท่าน รับใช้ชุมชน และสังคมไทย
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส.จับมือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นกล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานีกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมอบหมายพื้นที่ แปลงป่าอนุรักษ์ให้มหาวิทยาลัยฯดูแล จำนวนกว่า 3 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในนามของมหาวิทยาลัยฯ ด้านนายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า การดำเนินงานสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นั้น งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้รับความร่วมมือจาก คณาจารย์และนักศึกษาจากสาขาวิชาพืชศาสตร์และบุคลากรจากกองอาคารสถานที่ในการดำเนินการดูแลรักษาพื้นที่ รวมทั้งมีการสำรวจ จัดหาพรรณไม้ประจำถิ่น มาปลูกในพื้นที่เพิ่มเติม พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ รวมทั้งจะพัฒนาต่อยอดให้เกิดป่า 4 ชั้น ในบริเวณแปลงป่าอนุรักษ์ ต่อไป การดำเนินงานโครงการดังกล่าว งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส. หวังว่าจะเกิดการพัฒนาพื้นที่บนพื้นฐานความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากป่าของประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกแหล่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อไป
…..ที่ประชุมเห็นชอบจัด Focus group 3 กลุ่ม ชี้ชัดแนวทางการดำเนินงาน การท่องเที่ยว – ศิลปะและวัฒนธรรม – แผนและผังเมือง ด้านชุมชน เผย สุดดีใจรอทีมมรส.ช่วยขับเคลื่อนพุมเรียงโมเดลเป็นจริง …..เมื่อเวลา 11.00 น. (30 มกราคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อนำเสนอและทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นพร้อมทั้งหาข้อสรุปของการดำเนินงานในระยะที่ 2 ในพื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมด้วยทีมงาน อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธ์ พร้อมทั้งทีมดำเนินงานจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวและ ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนและผังเมืองจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องสภามหาวิทยาลัยฯ ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี …..เนื่องจากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ ได้ลงพื้นที่ตำบลพุมเรียง (7 มกราคม 2561) ร่วมหารือกับแกนนำชุมชนเรื่องของการยกระดับมิติการท่องเที่ยวในด้านต่างๆ พร้อมทั้งการจัดทำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวแนวทางการนำเสนอวิถีชีวิตและเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชุมชนดังกล่าว เพื่อการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ในช่องทางต่างๆ และ ดำเนินการเป็นพุมเรียงโมเดลซึ่งได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าทางคณะทำงานจะลงพื้นที่ร่วมระดมความคิดกับแกนนำชุมชนพุมเรียงอีกครั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์…
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯได้เข้าร่วมประชุมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อหาแนวทางในการจัดโครงการ “ชาวสุราษฎร์ฯรวมใจทำดอกไม้จันทน์ถวายพ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์“ ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชน ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าสุราษฎร์ธานีควรมีภาพแห่งความร่วมแรงร่วมใจของพี่น้องในการถวายงานในหลวงรัชกาลที่ 9 ร่วมกัน โดยจะเป็นภาพเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่จะถูกบรรจุไว้ในหอจดหมายเหตุของจังหวัดสุราษฎร์ธานี วันนี้มหาวิทยาลัยมีความพยายามอย่างยิ่งในการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อนำสรรพกำลังที่มีไปร่วมด้วยช่วยกันในการสร้างความงดงามให้เกิดขึ้นในทุกมิติอย่างเป็นรูปธรรม###มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม เวลา 130:00 น. งานบริการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ลงพื้นที่นิเทศตรวจเยี่ยม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านพันวาล ตำบลรับร่อง อำเภอท่าเเซะ จังหวัดชุมพร ช่วงบ่าย เวลา 13:30 น.ลงพื้นที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตร ตำบลรับร่อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้ร่วมกับตัวแทนอาจารย์จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ อาจารย์นิสากร สุขหิรัญ เข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ตามโครงการเหมืองแร่โดโลไมท์ ของบริษัท แร่สัมพันธ์ จำกัด ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน หมู่ที่3 บ้านมะขาม ต.ท่าอุแท อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี การทำประชาพิจารณ์คราวนี้มีพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงให้ความสนใจเข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์เป็นจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ให้ความใส่ใจกับคุณภาพชีวิต เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมมีให้เห็นมามากมายในหลักหลายพื้นที่ ไม่ว่าวันนี้ท้องถิ่นจะมีประเด็นอะไรก็ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีสามารถเข้าไปมีส่วนร่วม เราพร้อมที่จะเดินหน้าร่วมกับพี่น้องในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างสังคมแห่งความสุขให้เกิดขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นให้ได้ ดังที่เราได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ซึ่งมีหน้าที่สร้างแผ่นดินนี้ให้เกิดพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี