มรส.รวมใจ ถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์
มรส.รวมใจ ถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์ จำนวน 5 หมื่นดอก เพื่อแทนใจ ในฐานะคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน
มรส.รวมใจ ถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์ จำนวน 5 หมื่นดอก เพื่อแทนใจ ในฐานะคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) จำนวน 30 คน ศึกษาดูงาน ณ วิสาหกิจชุมชนชีววิถี ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน สำหรับวิสาหกิจชุมชนชีววิถีก่อตั้งโดยกลุ่มชาวบ้าน 70 คน เมื่อปี 2550 ปัจจุบันมีสมาชิกถึง 673 คน ได้รับรางวัลวิสาหกิจชุมชนดีเด่นประจำปี 2559 วิสาหิจชุมชนดังกล่าวเน้นการนำสมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ใบหมี่ ดอกอัญชัน มะเฟือง มะกรูด มะขาม ขมิ้นชัน เป็นวัตถุดิบผลิตเป็นของใช้ในครัวเรือนจำพวกแชมพู สบู่ ครีมทาผิว โดยไม่ใช้สารเคมีและจำหน่ายในราคาย่อมเยา ทุกเช้าชาวบ้านจะเก็บสมุนไพรมาขาย เช่น ใบหมี่ซึ่งแต่เดิมเป็นพืชที่ไม่มีค่าและขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่ แต่ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้รับซื้อใบหมี่ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท นำมาผลิตเป็นแชมพูลดปัญหาผมร่วงผมบาง และกลายเป็นสินค้าขายดีอันดับ 1 โดยทุกวันนี้ต้องใช้ใบหมี่ถึงวันละ 60 กิโลกรัมถึงจะเพียงพอต่อความต้องการ ส่วนสินค้าขายดีอันดับ 2…
ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เผย มรส.ไม่นิ่งดูดาย เร่งหารือนำองค์ความรู้สู้ปัญหาราคายางตกต่ำ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตทุกมิติ หวังเปลี่ยนทิศแก้วิกฤตให้ชุมชนท้องถิ่น …..เมื่อเวลา 09.00 น. (20 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี โดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เดินทางไปร่วมการเสวนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะชาวสวนยาง ณ ห้องประชุม 5 อาคารอิมแพค ฟอรั่มเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งการเสวนาได้มีนักวิชาการ กลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมแสดงความคิดแนวทางการแก้ปัญหาและประเด็นที่ส่งผลกระทบของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วม …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวถึงข้อสรุปในการเสวนาว่า “จากที่ได้ร่วมพูดคุยกับนักวิชาการและหน่วยงานหลายฝ่าย ซึ่งได้เสนอแนวทางที่สถาบันการศึกษาควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังเผชิญวิกฤตการณ์ราคายางพาราตกต่ำ ทั้งการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการไม่สามารถเรียนต่อได้ของนักศึกษาผู้ได้รับผลกระทบ การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวสวนยาง รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อหาแนวทางการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาวะให้กับชาวชุมชนท้องถิ่น ตามหลักคิดในการสร้างสังคมสุขภาวะต่อไป” …..ในส่วนของแนวทางการแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของชุมชนท้องถิ่น ดร.สมปราชญ์ ได้ให้ความเห็นว่า “งานบริการวิชาการฯ จะประสานและร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย เพื่อสำรวจว่ามีนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีตามระดับของความเดือดร้อนและหากมีกรณีใดที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งจะต้องเสนอผู้บริการให้รับทราบทันที …..ส่วนในเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวสวนยาง “จากที่เคยได้ร่วมพูดคุยกับชาวชุมชนท้องถิ่นที่ประกอบอาชีพดังกล่าว พบว่ายังประสบปัญหากับโรคระบาดที่เกิดขึ้นกับต้นยางพารา เช่น โรคราแป้ง โรคใบร่วง เป็นต้น…
เมื่อเวลา 09.30 น. (22 ตุลาคม 2563) นายอรุณ หนูขาว รักษาการผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และคณะ ได้เดินทางไป ณ ถนนซอย 3 ศาลาประชุมหมู่ที่ 7 บ้านใหม่นิคม ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเข้าร่วมโครงการ“1 ตำบล 1 ถนนกินได้ปลอดภัยไร้สารพิษฯ” ภายใต้การ “น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนการปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” โดยมี นายนพรัตน์ ธำรงทรัพย์ พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งโครงการดังกล่าวมีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมากเช่น หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำกลุ่มองค์กรเครือข่าย และประชาชน ทั้งนี้ได้จัดกิจกรรมให้ประธานในพิธีเปิดป้ายโครงการ และประชาชน พร้อมทั้ง หัวหน้าหน่วยราชการต่าง ๆร่วมปลูกผัก สร้างความมั่นคงทางอาหาร เช่น ชะอม,กล้วย,มะขามและสะเดามาเลย์ เป็นต้น
โครงการ ทักษะการดูแลตนเองเบื้องของประชาชน งบประมาณ 30,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน เขตตำบลขุนทะเล จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลา ต.ค.55- ก.ย.56 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย มี ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ ผศ.ดร.อารี พุ่มประไวทย์
บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ร่วมหารือ หวังช่วยเหลือ ตรวจสอบ คุณภาพมาตรฐานดิน เพื่อการปลูกพืชการเกษตรของชาวท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี …..เมื่อเวลา 11.00 น. ของวันที่ 30 ตุลาคม 2560 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ดำเนินการประชุมเพื่อหารือเรื่องการตรวจสอบคุณภาพของดินที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชการเกษตรของชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย ดร.สมปราชญ์ กล่าวว่า “เนื่องจากมหาวิทยาลัยฯได้ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ เดือนละ 1 อำเภอ ซึ่งหลังจากที่ได้ร่วมโครงการและได้พบปะพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรในแต่ละอำเภอ พบว่า คุณภาพของดินเพื่อการเกษตรนั้น เกษตรกรไม่มีความมั่นใจว่าจะมีความเหมาะสมในการปลูกพืชชนิดใด ดังนั้นมหาวิทยาลัยฯจึงมีแนวคิดที่จะช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น โดยการเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบคุณภาพของดิน โดยขอความร่วมมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อช่วยเหลือในด้านการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของดินมีขั้นตอนอย่างไร ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไรในการทดสอบ เช่น การใช้อุปกรณ์ test kits หรือการใช้น้ำยาเคมีในแล็ป” …..เบื้องต้น ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยกับการเก็บตัวอย่างของดินที่นำมาทดสอบโดยขอความอนุเคราะห์บุคลากรประจำศูนย์วิทยาศาสตร์เป็นวิทยากร นอกจากนี้ การใช้แผ่นพับ หรือคู่มือการเก็บตัวอย่างก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ควรดำเนินการ อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้ให้ข้อคิดเห็นว่าควรประสานไปยังสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 4 สุราษฎร์ธานี เพื่อหารือและทำความเข้าใจร่วมกัน …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ติดต่อไปยังผู้อำนวยการ…
…..ชาวบ้านร่วมประทับตราแบรนด์ “ขุนเล” เครื่องแกงสุดแซบ น้ำยาฯสุดคลีน หวังตีตลาด ดันขึ้นห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ด้านเครือข่ายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร พร้อมถ่ายทอดเทคนิควิธีตีตลาด …..เมื่อเวลา 10.00 น. (9 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคุณฐิติมา บุญยัง ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI และทีมงาน ได้เดินทางไปยัง ศาลาประชาคม หมู่ที่ 8 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อติดตามและขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยถึงผลการลงพื้นที่ในหมู่บ้านดังกล่าวว่า จากที่ได้พูดคุยกับนายวิรุท แก้วสงค์ ผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มชาวบ้านหมู่ที่ 8 ได้ข้อสรุปในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานอันเนื่องมาจากชุมชนดังกล่าวมีความต้องการทำกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงและน้ำยาเอนกประสงค์ โดยยังขาดความรู้ในการผลิต ดังนั้น จึงได้ประสานไปยังหน่วยงานเครือข่ายงานบริการวิชาการ คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสาขาวิชาชีววิทยา เพื่อดำเนินการอบรมให้ความรู้การผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพตามเกณฑ์ ซึ่งจะจัดอบรมในวันที่ 10 มีนาคม 2561 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี …..ในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกง ในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและรสชาติที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค…