Similar Posts
งานบริการวิชาการฯ ชื่นมื่นรับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ฯ ฟุ้งผ่านฉลุย! ด้านกรรมการประเมินฯแจกยาหอม องค์ประกอบที่ 3 มีคุณภาพตอบสนองชุมชนท้องถิ่น เสนอแนะให้เร่งต่อยอดโครงการฯในปีต่อไป
ทึ่งผลการดำเนินงานพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย และแนวคิดสนับสนุนเป็นศูนย์กลางที่ปรึกษายางพารา …..งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 ณ ห้องประชุมผดุงชาติ อาคารอำนวยการ โดยรับการตรวจประเมินในองค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ …..ทั้งนี้ เมื่อเวลา 09.45 น. ผู้ช่วยอธิการบดี หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น และหัวหน้างานพันธกิจสังคม พร้อมทั้งบุคลากรผู้ดำเนินงานประกันคุณภา พการศึกษา ได้ร่วมพูดคุยและตอบข้อซักถามกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายใน คือ ผศ.ดร.ลดาวัลย์ แก้วสีนวล ซึ่งบรรยากาศการสนทนาเป็นไปอย่างเรียบง่ายและเป็นกันเอง โดยกรรมการประเมินได้กล่าวชื่นชมผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย และแนวคิดการอนุรักษ์บริบทท้องถิ่น รวมทั้งการทำวิจัยเรื่องยางพารานำเสนอเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น โดยยกระดับเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และเป็นข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผลผลิตยางพารา …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้ชี้แจง กรรมการประเมินว่า “การดำเนินโครงการของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มิใช่หวังเพียงแต่การจัดโครงการเท่านั้น แต่เราจะกำกับ ติดตาม ดูแลชุมชนท้องถิ่นและดำเนินการโครงการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ทั้งนี้ ความคิดในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนดอนสัก – เกาะพลวย ต้องคำนึงถึงบริบทชุมชนท้องถิ่น การประกอบอาชีพวิถีชีวิตของชาวบ้านด้วย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ในสภาพเดิมเป็นสิ่งสำคัญ…
ดีเดย์ อบรมนมถั่วตัดธัญพืชและฝอยทองอบแห้ง ขุนเลหมู่ 1 ตบเท้าเข้าปฏิบัติการทำขนมแปรรูป หวังต่อยอดองค์ความรู้ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
คณะวิทยาศาสตร์ฯ อ้าแขนรับการมาเยือนของชาวชุมชนขุนเลหมู่ 1 ดร.สุพรรณิการ์ จัดเต็มองค์ความรู้นำทีมสอนทำขนมแปรรูปเสริมทักษะอาชีพด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี …..เมื่อเวลา 09.00 น.(18 มกราคม 2561 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนขุนทะเลแบบบูรณาการด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางอาชีพแก่ชุมชน “ขุนเล” โดยโครงการดังกล่าวเป็นการสรุปผลจากการประชุมเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 การติดตาม และขยายผลการดำเนินงานในการแปรรูปผลิตผลชุมชน ตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดทำแผนการดำเนินงานการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ของชุมชนขุนทะเล กำหนดให้มีการอบรมวิธีการทำขนมไทยอบแห้ง ในวันที่ 18 มกราคม 2561 นี้ …..ผศ.สุรินทร์ สมณะ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานในพิธีเปิดโครงการได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการดำเนินการดังกล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพยายามนำองค์ความรู้ในศาสตร์ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน ซึ่งเทศบาลตำบลขุนทะเลเป็นพื้นที่เป้าหมายในการให้บริการวิชาการแก่ท้องถิ่น โดยคณะฯได้ร่วมกับงานบริการวิชาการฯลงพื้นที่สำรวจความต้องการซึ่งพบว่าประชาชนต้องการได้รับการสนับสนุนด้านการจัดอบรมและส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพเสริมและหาตลาดรองรับ ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของการจัดโครงการนี้คือการช่วยเหลือและสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการที่แท้จริง …..ขณะที่ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงโครงการครั้งนี้ว่า หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ชุมชนเป้าหมายร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ผลสรุปว่า ประชาชนหมู่ที่ 1 ขุนทะเล มีความต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือโดยการนำองค์ความรู้ด้านการแปรรูปอาหารให้มีระยะเวลาในการบริโภคยาวนานขึ้น ซึ่งการทำขนมไทยเป็นอาชีพที่หมู่บ้านดังกล่าวทำขายทุกวันโดยตลาดในการวางจำหน่ายจะเป็นบริเวณพื้นที่ตำบลขุนทะเลและบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น ดังนั้นเมื่อชาวบ้านสามารถทำการแปรรูปขนมไทยได้แล้วมหาวิทยาลัยจึงมีความคิดที่จะหาช่องทางตลาตเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งได้ร่วมพูดคุยกับคณะวิทยาการจัดการในเบื้องต้นแล้ว …..ขณะที่ ดร.สุพรรณิการ์…
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ คล้องแขน ผอ.วิทยฯ ผุดโครงการทำเว็บไชต์ แหล่งท่องเที่ยว 65 แห่ง
ชี้ชัด! ราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ต้องตอบโจทย์การพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราโชบายระยะ 20 ปี เมื่อเวลา 10.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ อาจารย์ สมพร ศรีอาภานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้แก่ ตัวแทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ฝ่ายสื่อสารองค์กร และเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ร่วมประชุมหารือเพื่อจัดทำเว็บไซต์ แหล่งท่องเที่ยว 65 แห่ง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องผู้อำนวยการ อาคาร ทีปังกรรัศมีโชติ ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผยว่า ตามที่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งประเทศได้ข้อสรุปว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏควรเป็นหัวเรือใหญ่ ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภาคใต้มีภูมิประเทศที่มีจุดเด่นและได้เปรียบกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากมีชายฝั่งทะเลที่ยาวเหมาะกับการพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก จึงอยากสนับสนุนเรื่องการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและเพื่อเป็นการตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”การประชุมในวันนี้ มุ่งเน้นการจัดทำเว็บไซต์แหล่งท่องเที่ยวจำนวน 65 แห่ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยให้ศูนย์คอมพิวเตอร์ขับเคลื่อนในเชิงเทคนิค เช่นการวางรูปแบบเว็บไซต์ การประสานเรื่องวัสดุอุปกรณ์ และการสังเคราะห์งบประมาณ [“ขอให้เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์วิเคราะห์งบประมาณเรื่องการซื้อ server…
หลักสตูรการผลิตสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
สาระสำคัญของหลักสูตร เป็นหลักสูตรที่เหมาะกับครูสอนเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กในโรงเรียน ซึ่งครูและผู้ดูแลเด็กสามารถนำความรู้และประสบการณ์ จากการอบรมไปผลิตสื่อเพื่อพัฒนาการเด็กได้ง่ายๆ ด้วยเทคนิคและทักษะรูปแบบต่างๆที่วิทยากรผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดให้ เพื่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก วัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้การผลิตสื่อพัฒนาการเด็กแบบง่าย เพื่อเรียนรู้พัฒนาการของเด็กเล็ก เนื้อหาหลักสูตร (Course Outline) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ความสำคัญของสื่อกับการพัฒนาการของเด็ก ปฏิบัติการจัดทำสื่อการสอน เช่น หุ่นมือ, โรงละครเล็ก, การพับกระดาษ รายละเอียดทั้งหมด หลักสูตรการผลิตสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จับมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หวังสร้างเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้ตอนบน
เมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2557 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน (ศวภ.ใต้ตอนบน) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และศูนย์จัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราชและศูนย์จัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา จัดโครงการประชุมสร้างการเรียนรู้และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ (ภาคใต้ตอนบน) ขึ้น ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผศ.นรินทร์ สุขกรี รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า การจัดโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้แนวทางและแผนการขับเคลื่อนโครงการ การใช้เครื่องมือการวิจัยชุมชน การจัดเก็บข้อมูลชุมชนเป็นฐานในการพัฒนา การบูรณาการงานโครงการตำบลสุขภาวะเข้ากับงานประจำและการสร้างจิตอาสาในชุมชนรวมถึงการร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาวะภาคใต้ตอนบน กำหนดทิศทางและแนวทางการทำงาน ของ 5 นักพัฒนา ในการขับเคลื่อนงานโครงการเครือข่ายสุขภาวะภาคใต้ตอนบน สำรวจทุนและศักยภาพในพื้นที่ ที่สอดคล้องกับประเด็นนโยบายสาธารณะ ผลกระทบต่อปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและนโยบายสาธารณะ อันแสดงความเข้มแข็งของพื้นที่ ในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่และกำหนดเป้าหมายของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของแต่ละเครือข่าย (เครือข่ายและศูนย์จัดการเครือข่าย) บนพื้นฐานทุนและศักยภาพของแต่ละเครือข่าย โดยมีแม่ข่าย 2 แห่ง คือ ศูนย์จัดการเครือข่ายเทศบาลตำบลขุนทะเล จำนวน 28 คน และศูนย์จัดการเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแสน จำนวน 17 คน มีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมทั้ง 2 แห่ง…
บริการวิชาการฯ มรส. ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ลงพื้นที่ ร.ร.บ้านควนพัฒนาประชาสรรค์ ผวจ.ชื่นชม ทีมมรส. ทำเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
…..ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินชมหน่วยงาน เยือนบูธราชภัฏสุราษฎร์ธานี ยิ้มร่าเผยชอบคนรุ่นใหม่ไฟแรง ด้าน ดร.สมปราชญ์ ประกาศกลางเวทีประชาคมอีกรอบ จังหวัดเคลือนที่ไปที่ใด มรส.จะไปที่นั่น พร้อมนำทุกสรรพกำลังสนองความต้องการของชุมชน …..เมื่อเวลา 07.00 น. (23 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคณะนิติตศาสตร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายสื่อสารองค์กร ได้เดินทางไปยัง โรงเรียนบ้านควนพัฒนาประชาสรรค์ ตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อร่วมโครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน” หรือจังหวัดเคลื่อนที่ โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน …..โดยกิจกรรมหลักของโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ คือการนำผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนจากหน่วยงานภาครัฐ มาแจกจ่ายและจำหน่ายให้กับประชาชน การให้คำปรึกษาและตรวจสุขภาพ และการให้ตัวอย่างพืชพันธุ์การเกษตรเป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการมอบประกาศนียบัตรผู้ทำคุณประโยชน์และทำความดีต่อสังคม และมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจน พร้อมทั้งถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภค หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมจากปรัมพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการ สินค้าที่นำมาจัดแสดงตามบูธต่างๆ และได้กล่าวชื่นชมคณะทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งร่วมพูดคุยกับผู้ช่วยอธิการบดีฯว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีจุดแข็งที่มีคนรุ่นใหม่ไฟแรงช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง เพราะทุกงานที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีต้องการระดมกำลังเครือข่ายทุกภาคส่วนก็จะเห็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมกิจกรรมด้วยทุกครั้งดังนั้นจึงอยากให้กำลังใจในการทำงานขอให้ช่วยเหลือชุมชนอย่างต่อเนื่อง…