Similar Posts
Coaching วิสาหกิจชุมชน จัดทำแผน รับการสนับสนุนงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น. ผศ.ดร.เสนห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม และนายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นพร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงานศึกษาสำรวจความเป็นไปได้ ในการพัฒนาอาชีพ และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลบางใบไม้ นางจรัญญา ศรีรักษ์ กำนันตำบลบางใบไม้ และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลบางใบไม้ อธิบายรายละเอียดของการดำเนินงานกิจกรรม และวัตถุประสงค์ในการของบประมาณสนันสนุน พร้อมอธิบายแนวทางในการจัดการกลุ่มฯ เพื่อให้ข้อมูลแก่คณะการสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาอาชีพ และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สำหรับการดำเนินงานในรอบแรก จะมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 45 กลุ่ม ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ด้าน OTOP จำนวน 9 กลุ่ม ด้านการท่องเที่ยว จำนวน 6 กลุ่ม ด้านการประมง จำนวน 2 กลุ่ม และด้านเกษตร จำนวน 28 กลุ่ม ดร.กฤษณะ…
งานบริการวิชาการฯเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นชอบแผน3 ระดับ นโยบายประเทศ พื้นที่ ลักษณะ
ผช.ฝ่ายบริการวิชาการ เปิดเผย การจัดทำแผนต้องเดินตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นสำคัญ …..เมื่อเวลา 13.00 น. (26 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัด (จ.สุราษฎร์ธานี) ณ ห้องประชุมนางยวน ศาลากลางจังหวัด สุราษฎร์ธานี ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการปฏิบัติการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2561 …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยถึงข้อสรุปของการประชุมดังกล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ แผนประชาสัมพันธ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับนโยบายประเทศ ระดับพื้นที่ และระดับลักษณะความผันผวนตามสถานการณ์ ทั้งนี้มีรายละเอียดของแผนที่เดินตามแนวทางยุทธศาสตร์ประเทศและยุทธศาสตร์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงเป้าหมายของการพัฒนาในยุทธศาสตร์ที่ 9 ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 เพื่อผลักดันให้นำไปสู่การปฏิบัติและใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ …..ต่อข้อซักถามเรื่องการดำเนินงานจัดทำแผนดังกล่าวของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดร.สมปราชญ์ ได้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีความพยายามอย่างยิ่งในการร่วมมือทุกรูปแบบกับหลากหลายองค์กร การจัดทำแผนระดับหน่วยงานต้องมีความสอดคล้องกับพันธกิจโดยมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างเครือข่ายทุกภาคส่วนและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนท้องถิ่นในทุกมิติ ในลักษณะของการร่วมมือจากเครือข่ายภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมวางแผนกำหนดทิศทางในการดำเนินงานตามเจตนารมย์ที่มหาวิทยาลัยได้ตั้งปณิธานไว้ว่ามหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินให้มีพลัง อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพเยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
นิทรรศการศิลปะคณาจารย์ ครั้งที่ 1
โครงการ นิทรรศการศิลปะคณาจารย์ ครั้งที่ 1 งบประมาณ 79,850 บาท สถานที่ดำเนินงาน ศาลาเรือนแก้ว คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ระยะเวลา 18-20 ธ.ค. 55 การบูรณาการ การสอน – การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ นายธีรศักดิ์ ทองนุ้ยพราหมณ์ 081-0832404
หลักสูตรนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุด
หลักสูตรนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดโรงเรียนInovation and Technology for School Libraries จำนวน 2 วัน (12 ชั่วโมง) เวลา 09.00 น. – 16.00 น.ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 1,500 บาทดาวน์โหลดใบสมัครหลักสูตร หลักการและเหตุผล …..หลักการและเหตุผลการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล (digital) ของห้องสมุด จากคลังความรู้ที่ผ่านหนังสือแบบกระดาษ ไปสู่ยุคการอ่านผ่านเครื่องมือการสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต บรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 จึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ทำความรู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ วัตถุประสงค์ …..1. สามารถนำเทคโนโลยี AR (Augmented reality) และ QR-Code(Quick Response) มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุดได้…..2. สามารถสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อนำมาให้บริการในห้องสมุดได้…..3. สามารถตัดต่อวีดีโอด้วยแอพพลิเคชั่น (Application) บนสมาร์ทโฟน (Smartphone) เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์งานห้องสมุดได้ เนื้อหาหลักสูตร …..1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AR…
มรส.เข้าร่วมกิจกรรม”ปล่อยสัตว์น้ำสู่นทีและขับเคลื่อนบริการวิชาการชุนชมดอนสัก
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯและคณาจารย์ นักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้เข้าร่วมกิจกรรม”ปล่อยสัตว์น้ำสู่นที คืนความสมบูรณ์ให้อ่าวบ้านดอน เฉลิมพระเกียรติมหาราชินี” ภายใต้โครงการชุมชนมั่งคั่ง ทรัพยากรชายฝั่งยั่งยืนในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ณ บ้านดอนตะเคียน ต.ไชยคราม อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ทุกหน่วยที่มาร่วมงานต่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มทรัพยากรทางธรรมชาติให้แก่ผืนแผ่นดิน และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพร้อมทั้งเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 บรรยากาศภายในงานจึงอบอวลไปด้วยความสุขจากพี่น้องประชาชนในทุกภาคส่วน นอกจากนั้นหัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น ร่วมกับสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจ.สุราษฎร์ธานี และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เดินทางลงสู่หาดนางกำและเกาะแรต อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อจัดทำคู่มือบริการการท่องเที่ยว 3 ภาษา โดยได้รับความไว้วางใจจากชุมชนให้เป็นที่ปรึกษาการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของชุมชน พี่น้องครับ วันนี้ไม่ว่าภาคส่วนใดของจังหวัดจะมีงานอันใดที่สร้างคุณประโยชน์แก่ผืนแผ่นดินนี้ SRUก็จะขอเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ดังที่เราตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะช่วยกันทำแผ่นดินนี้ให้มีพลัง###มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน
ฝ่ายบริการวิชาการฯ เดินทางตรวจเยี่ยมให้กำลังนักศึกษา รปศ. ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย นักศึกษามีศักยภาพ และเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของหลักสูตรตนเองด้านประธานสภาคณาจารย์ ชี้ชัด ทุกคณะฯต้องสนับสนุน ส่งเสริมในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง …..เมื่อเวลา 09.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ ประธานสภาคณาจารย์ ได้ร่วมเดินทางไปยังโรงเรียนบ้านวังทองสามัคคี อ.ท่าอุแท จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจและพูดคุยกับนักศึกษาที่ไปดำเนินการจัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในรายวิชาการประเมินโครงการ โดยมีนายชัยรัตน์ บุญนาค ผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการพิเศษ คณะครู อาจารย์ และผู้นำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..โรงเรียนบ้านวังทองสามัคคี ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านป่าจาก ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยมีอาจารย์ผู้สอนจำแนกตามสายงานทั้งสิ้นจำนวน 6 คน ทั้งนี้นักศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เริ่มจัดกิจกรรมพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 โดยมี ดร.พกฤต แสงอาวุธ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษารายวิชา …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการได้กล่าวถึงการดำเนินโครงการดังกล่าวว่าเป้าหมายของการจัดโครงการไม่ใช่เพียงแค่ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเท่านั้น แต่เป็นการสร้างวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันกับชุมชนท้องถิ่นการช่วยเหลือเกื้อกูล และปลุกจิตสำนึกถึงการเป็นผู้ให้ ซึ่งจากการที่ได้ร่วมพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียนและคณาจารย์ก็ได้ทราบข้อมูลว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความสามารถและกระตือรือร้นต่อการทำโครงการ…