งานบริการวิชาการฯ ร่วมประชุมผู้แทนจากสภาเกษตรกรสุราษฎร์ธานี ถกคิด! แนวทางในการนำผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร

…..ผช.ฝ่ายบริการวิชาการฯ รับเงื่อนไข มรส.ลงพื้นที่ตรมผลการดำเนินการ 4 ด้าน การแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์

…..เมื่อเวลา 10.00 น. (8 กุมภาพันธ์ 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เพื่อหาแนวทางในการนำผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร และใช้พื้นที่ของเกษตรกรเพื่อการศึกษาและวิจัย ณ ห้องเรียนรู้ 5 อาคารศูนย์บูรณาการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

…..โดยมีผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีเดินทางมาเพื่อร่วมหาแนวทางในการประชุมดังกล่าว คือ นายจรัญ รอดศรีนาค หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเจริญ รักษ์ทอง รองประธานสภาเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายพิราเชนทร์ มุสิกรังษี คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร และนางช่อทิพย์ วาณิชย์เจริญ หัวหน้าส่วนขับเคลื่อนและการมีส่วนร่วม

…..เนื่องจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหน้าที่ในการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงให้แก่เกษตรกรและองค์กรการเกษตร นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารจัดการอาชีพเกษตรกรรมโดยเชื่อมโยงกับภาครัฐ ผู้ประกอบการเอกชนทุกระดับ พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนค้นคว้าวิจัย และพัฒนาภูมิปัญญา พันธุกรรมพืช สัตว์ ท้องถิ่น ประมง นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม และเกษตรกรรมอื่นๆ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการค้นคว้าวิจัย พัฒนา รวมทั้งแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งนี้การดำเนินงานดังกล่าวได้เริ่มจากการตอบรับนโยบายจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่เข้าร่วมและสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ. 2560 – 2564 ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ

…..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยถึงข้อสรุปในการร่วมพิจารณาหาแนวทางในการนำผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกรว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกับสำนักงานสภาเกษตรกร เพื่อดำเนินการค้นคว้า ทดลองและวิจัยไปสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร โดยสภาเกษตรฯจะเป็นผู้เลือกพื้นที่เพื่อดำเนินการใน 4 ด้านได้แก่ การแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะเป็นผู้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการใน 4 ด้านได้แก่ การแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะเป็นผู้พัฒนาในด้านต่างๆร่วมกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงาน  ภาพ
ฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Similar Posts