มรส.ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยได้อาสาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาบึงขุนทะเล เพื่อวางแผนและดำเนินการพัฒนาบึงขุนทะเลอย่างเอาจริงเอาจัง นอกจากนี้ยังได้อาสาร่วมกับสภาเกษตรฯ และพาณิชย์จังหวัด ในการสร้างพื้นที่ปลูกผักเพื่อการพาณิชย์ โดยจะได้ประสานพื้นที่แปลงปลูกกับสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะอาสาในการขับเคลื่อนงานเพื่อท้องถิ่น โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ด้วยความตั้งใจเดียวกันที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยได้อาสาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาบึงขุนทะเล เพื่อวางแผนและดำเนินการพัฒนาบึงขุนทะเลอย่างเอาจริงเอาจัง นอกจากนี้ยังได้อาสาร่วมกับสภาเกษตรฯ และพาณิชย์จังหวัด ในการสร้างพื้นที่ปลูกผักเพื่อการพาณิชย์ โดยจะได้ประสานพื้นที่แปลงปลูกกับสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะอาสาในการขับเคลื่อนงานเพื่อท้องถิ่น โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ด้วยความตั้งใจเดียวกันที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมกับสภาเกษตรกรขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวชุมชนบ้านคลองมุย ต.ตะกุกเหนือ

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับผู้แทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ผู้แทนจากหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน และผู้แทนจากสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางลงพื้นที่ไปยังบ้านคลองมุย ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี เพื่อพบปะพูดคุยกับแกนนำของชุมชน นำโดยผู้ใหญ่วีนัส ศึกเสือ ผู้ใหญ่บ้าน โดยเป็นไปตามโครงการความร่วมมือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี โดยวันนี้เป็นการรับฟังข้อมูลที่กลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยมาร่วมกันพัฒนา …..ทั้งนี้ทางกลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยว การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานที่พักชุมชน รวมทั้งการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยคณะทำงานมีความเห็นว่าควรสร้างความเข้าใจและแรงจูงใจให้กับพี่น้องในพื้นที่เกี่ยวกับการดำเนินการในลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการระเบิดจากภายในของชุมชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมั่นคงและยั่งยืน …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะรวมพลังกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ถึงจะต้องฝ่าฟันเส้นทางอีกกี่พันไมล์ เราก็จะไปให้ถึงเส้นชัยที่รออยู่ร่วมกับพี่น้องให้ได้ ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สาขาวิชา รปศ. จัดสัมมนาใหญ่ 24 โครงการเพื่อแผ่นดินตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

…..ว่าที่บัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์สุดประทับใจทำโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง เผย เห็นรอยยิ้มเยาวชนของชาติดีใจที่มีสื่อการเรียนการสอนเสริมสร้างสติปัญญา ด้าน ดร.พลกฤต ตอกย้ำคุณค่าของบัณฑิต รปศ.ต้องเป็น “ผงธุลีที่มีค่าต่อแผ่นดิน” …..เมื่อเวลา 09.00 น. (30 มีนาคม 2561) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาภายใต้ชื่อ 24 โครงการเพื่อแผ่นดินซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการประเมินโครงการของนักศึกษา ณ ห้อง GA101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีพลตรีไพโรจน์ มณีอ่อน สมาชิกสภาปฏิรูป สนช  และ ดร.ชุมพล แก้วสม ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เป็นวิทยากร …..ทั้งนี้ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยและอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมดูแลโครงการดังกล่าวได้เปิดเผยถึงหลักการและวัตถุประสงค์ของโครงการว่า ได้ร่วมพูดคุยกับนักศึกษาในเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องและตอบโจทย์กับรายวิชาและมีคุณค่าต่อแผ่นดิน ซึ่งได้ข้อสรุปว่านักศึกษาต้องการดำเนินโครงการภายใต้แนวคิด 24 โครงการเพื่อแผ่นดินตามแนวพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชการที่ 10 หลังจากนั้นจึงร่วมกันตั้งโจทย์ว่านักศึกษาจะได้อะไร ซึ่งได้ตกผลึกทางความคิดว่านักศึกษาต้องเป็น“ผงธุลีที่มีค่าต่อแผ่นดิน” ดังนั้นจึงร่วมกันหาพื้นที่เป้าหมายซึ่งได้กำหนดไว้ 3 ประเด็นคือ 1….

มรส. ร่วมกับสภาเกษตรกรเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยชุมชนบ้านต้นมะพร้าว

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางลงพื้นที่ไปยัง บ้านต้นมะพร้าว ต.ถ้ำสิงขร อ.คีรีรัฐนิคม เพื่อพบปะพูดคุยกับแกนนำของสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินบ้านต้นมะพร้าว นำโดยท่านสนิท ไชยะ ประธานสหกรณ์ และคุณณัฐติกานต์ พัฒนราช ผู้จัดการสหกรณ์ โดยเป็นไปตามโครงการความร่วมมือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี โดยวันนี้เป็นการรับฟังข้อมูลที่กลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยมาร่วมกันพัฒนา …..ทั้งนี้ทางกลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย เนื่องจากสหกรณ์ได้รับซื้อกล้วยจากสมาชิกเพื่อส่งให้กับ 7-11 และมีบางส่วนที่ต้องคัดออกเพราะไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องพัฒนาในด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมและทันสมัย นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการเพาะปลูกกล้วยตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ สอดคล้องกับการที่มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยที่แข็งแรง ซึ่งจะต้องพูดคุยกันเพื่อหาแนวทางร่วมกันต่อไป …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะรวมพลังกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยความตั้งใจเดียวที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.จัดโครงการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและการให้บริการฯ

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้เดินทางมาร่วมโครงการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและการให้บริการของนักจัดการยานพาหนะและตำรวจมหาวิทยาลัย ณ โกลเด้นบีช รีสอร์ท อ่าวนอง อ.เมืองฯ จ.กระบี่ โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้บุคลากร พัฒนาทักษะการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..แม้ฝ่ายจัดการยานพาหนะและตำรวจมหาวิทยาลัยจะมีจำนวนบุคลากรไม่มากเหมือนหน่วยงานอื่น แต่ทั้งสองหน่วยงานมีภาระงานสำคัญในการดูแลพี่น้องของมหาวิทยาลัยให้มีความเป็นปกติสุข ดังนั้นจึงเป็นหน่วยสำคัญของการพามหาวิทยาลัยก้าวไปข้างหน้าไม่น้อยหน้าหน่วยอื่นๆ …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเสริมศักยภาพความเข้มแข็งในทุกภาคส่วน เพื่อให้พร้อมกับนโยบายในการทำงานเพื่อท้องถิ่นอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้สมกับที่เราได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มหาชนตอบรับล้นหลามวันสตรีสากล ด้านมรส. ยันเอาอยู่ สถานที่จัดกิจกรรม บูธนิทรรศการไม่แออัด สะดวกสบายตามสไตล์มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน

…..ฝ่ายประสานงาน เผย ประชาชนให้ความสนใจกิจกรรมร่วมหมื่นคน ทุกบูธจัดจำหน่ายสินค้า และนิทรรศการ คราคร่ำไปด้วยประชาชนและกลุ่มสตรีทุกอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี …..เมื่อเวลา 08.00 น. (7 มีนาคม 2561) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมกิจกรรมและพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2561 เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทหน้าที่ของสตรีตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และเพื่อต้องการแสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรี โดยได้มีการดำเนินการทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการและกิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย …..ทั้งนี้ นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวเปิดโครงการในช่วงเช้า ณ หอประชุมวชิราลงกรณ ซึ่งบรรยากาศของงานเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เนื่องจากได้มีการจัดแสดงร่ายรำของกลุ่มสตรี และการบรรยาย เรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสารของสตรี โดย ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี นอกจากนี้ ณ บริเวณด้านหน้าของหอประชุมวชิราลงกรณ ได้ทำการจัดแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจอันโดดเด่น…

งานบริการวิชาการฯกอดคอเครือข่ายบริการวิชาการ ลงพื้นที่สวนลุงสงค์ ต.บางใบไม้

…..จัดเวทีสัมมนาความต้องการของชุมชน พร้อมเจาะลึกเรื่อง “มะพร้าว” ผลักดันให้เป็นผลไม้ อัตลักษณ์เมืองสุราษฎร์ ตามข้อเสนอแนะอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ …..เมื่อเวลา 11.00 น. (3 มีนาคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยเครือข่ายบริการวิชาการ ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยนาชาติการท่องเทียว สาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยตัวแทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยัง สวนลุงสงค์ ตำบลบางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อลงพื้นที่สำรวจความต้องการของชุมชน และร่วมเสวนาวิถีชีวิตในมิติต่างๆ โดยมีนางสาวณัฐธิญาณี ธัญญลักษณ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปีและแกนนำชุมชนให้การต้อนรับ …..เนื่องจาก เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มี ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้เดินทางมาเข้าพบ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ โดยการประสานงานจากจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI เพื่อร่วมหารือเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมิติต่างๆ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นจึงได้ประสานเครือข่ายบริการวิชาการกำหนดแผนการดำเนินงานและร่วมลงพื้นที่ร่วมเวทีเสวนาดังกล่าว …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ…

งานบริการวิชาการฯ เดินทางเพื่อยกระดับการให้บริการวิชาการเเก่ชุมชน

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ได้เดินทางมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเพื่อเยี่ยมเยียนและหารือกับ อาจารย์อัจฉริยา สุวรรณสังข์ ผู้ดูแลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เกี่ยวกับแนวทางการบริการวิชาการและพันธกิจท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้และเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อเสนอเป็นสำนักบริการวิชาการฯในอนาคต …..ตลอดระยะเวลาร่วมชั่วโมง เราได้ข้อมูลและแนวทางที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะแนวทางการกำหนดพื้นที่เพื่อระดมสรรพกำลังในการพัฒนา โดยอาศัยความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ โดยให้มหาวิทยาลัยเป็นตัวเชื่อมระหว่างท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยกันในการบริการวิชาการเพื่อท้องถิ่น อันจะเป็นการสนธิกำลังกันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยใช้จุดเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัยมาช่วยเหลือพี่น้องในท้องถิ่น

บริการวิชาการฯ มรส. ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ลงพื้นที่ ร.ร.บ้านควนพัฒนาประชาสรรค์ ผวจ.ชื่นชม ทีมมรส. ทำเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง

…..ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินชมหน่วยงาน เยือนบูธราชภัฏสุราษฎร์ธานี ยิ้มร่าเผยชอบคนรุ่นใหม่ไฟแรง ด้าน ดร.สมปราชญ์ ประกาศกลางเวทีประชาคมอีกรอบ จังหวัดเคลือนที่ไปที่ใด มรส.จะไปที่นั่น พร้อมนำทุกสรรพกำลังสนองความต้องการของชุมชน …..เมื่อเวลา 07.00 น. (23 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคณะนิติตศาสตร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายสื่อสารองค์กร ได้เดินทางไปยัง โรงเรียนบ้านควนพัฒนาประชาสรรค์ ตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อร่วมโครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน” หรือจังหวัดเคลื่อนที่ โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน …..โดยกิจกรรมหลักของโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ คือการนำผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนจากหน่วยงานภาครัฐ มาแจกจ่ายและจำหน่ายให้กับประชาชน การให้คำปรึกษาและตรวจสุขภาพ และการให้ตัวอย่างพืชพันธุ์การเกษตรเป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการมอบประกาศนียบัตรผู้ทำคุณประโยชน์และทำความดีต่อสังคม และมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจน พร้อมทั้งถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภค หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมจากปรัมพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการ สินค้าที่นำมาจัดแสดงตามบูธต่างๆ และได้กล่าวชื่นชมคณะทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งร่วมพูดคุยกับผู้ช่วยอธิการบดีฯว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีจุดแข็งที่มีคนรุ่นใหม่ไฟแรงช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง เพราะทุกงานที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีต้องการระดมกำลังเครือข่ายทุกภาคส่วนก็จะเห็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมกิจกรรมด้วยทุกครั้งดังนั้นจึงอยากให้กำลังใจในการทำงานขอให้ช่วยเหลือชุมชนอย่างต่อเนื่อง…

End of content

End of content