ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี เยี่ยมชมและร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนศูนย์การศึกษาสำหรับชาวพม่า

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้เดินทางไปยังศูนย์การศึกษาสำหรับชาวพม่า (วัดโพธิ์หวาย) เพื่อเยี่ยมชมและร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะสามารถให้การช่วยเหลือได้ โดยศูนย์แห่งนี้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆลูกหลานชาวพม่าที่เข้ามาขายแรงงานในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีคุณครูชาวพม่าเป็นผู้สอน ทั้งนี้สามารถเทียบโอนกับการเรียนในโรงเรียนที่ประเทศพม่าได้ …..ตลอดระยะเวลาร่วม 2 ชั่วโมงที่พวกเราได้มีโอกาสสัมผัสเด็กๆ คุณครู และคณะกรรมการผู้จัดการเรียนการสอน สิ่งหนึ่งที่พวกเรารู้สึกเหมือนกันคือ ภายใต้ความอัตคัตของค่าใช้จ่ายและความพร้อมทางการศึกษานั้น มีความตั้งใจอันงดงามของความพยายามในการเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเองแฝงอยู่ เด็กๆที่นี่อยากเรียนภาษาไทย คุณครูที่นี่อยากมีใบอนุญาตทำงานที่ตรงกับอาชีพ คณะกรรมการอยากมีกองทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ยากลำบาก ทุกคนต่างมีหัวใจอันบริสุทธิ์ที่มีต่อกันในฐานะมนุษย์ผู้พลัดถิ่นทั้งสิ้น …..มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะหาแนวทางในการนำเอาทุกกำลังความสามารถที่เรามีเพื่อยื่นมือเข้าหาพี่น้องในท้องถิ่นโดยไร้เส้นแบ่งในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น

หลักสูตรนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุด

หลักสูตรนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดโรงเรียนInovation and Technology for School Libraries จำนวน 2 วัน (12 ชั่วโมง) เวลา 09.00 น. – 16.00 น.ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ 1,500 บาทดาวน์โหลดใบสมัครหลักสูตร หลักการและเหตุผล …..หลักการและเหตุผลการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล (digital) ของห้องสมุด จากคลังความรู้ที่ผ่านหนังสือแบบกระดาษ ไปสู่ยุคการอ่านผ่านเครื่องมือการสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต  บรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 จึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ทำความรู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ วัตถุประสงค์ …..1. สามารถนำเทคโนโลยี AR (Augmented reality) และ QR-Code(Quick Response) มาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุดได้…..2. สามารถสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อนำมาให้บริการในห้องสมุดได้…..3. สามารถตัดต่อวีดีโอด้วยแอพพลิเคชั่น (Application) บนสมาร์ทโฟน (Smartphone) เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์งานห้องสมุดได้ เนื้อหาหลักสูตร …..1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AR…

หลักสตูรการบริการจัดการห้องสมุดโรงเรียนอย่างมืออาชีพ

การบริหารจัดการห้องสมุดโรงเรียนอย่างมืออาชีพProfessional School Library Management จำนวน 2 วัน (12 ชั่วโมง) เวลา 09.00 น. – 16.00 น.ค่าธรรมเนียมการอบรมคนละ……..บาทดาวน์โหลดใบสมัครหลักสูตร หลักการและเหตุผลหลัก …..การและเหตุผล การปฏิบัติงานห้องสมุดโรงเรียน ครูบรรณารักษ์ต้องอาศัยความรู้ความสามารถด้านบรรณารักษ์ การเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดอย่างมืออาชีพได้ ต้องหมั่นฝึกฝนและรู้ถึงวิธีการจัดหา/คัดเลือกหนังสือ และนำมาจัดระบบเพื่อจัดเก็บขึ้นชั้นอย่างถูกต้องตามหลักการจัดหนังสือสากล ตลอดจนการบำรุงและรักษาซ่อมแซมหนังสือเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน รวมถึงการจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องสมุดที่จะเอื้ออำนวยให้หนังสือที่จัดหามาได้นำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ และสร้างความรักความผูกพันอันดีระหว่างครูที่รับผิดชอบงานห้องสมุดกับนักเรียนผู้เข้ามาใช้บริการ วัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ …..1. เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการงานห้องสมุดอย่างเป็นระบบ…..2. เพื่อให้ครูบรรณารักษ์มีความรู้ความเข้าใจงานบริการและการจัดกิจกรรมในห้องสมุดโรงเรียน…..3. เพื่อให้ครูมีความรู้และสามารถซ่อมบำรุงรักษาหนังสือได้…..4. เพื่อพัฒนาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียนให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน เนื้อหาหลักสูตรเนื้อหาหลักสูตร …..1. การบริหารงานในห้องสมุดโรงเรียน…..2. งานเทคนิคของห้องสมุด…..    –  การคัดเลือกและจัดหาหนังสือ…..    –  การเตรียมหนังสือ…..    –  การจัดระบบหนังสือ…..    –  การซ่อมและบำรุงรักษาหนังสือ…..3. การจัดการห้องสมุดแนวใหม่สำหรับครูบรรณารักษ์…..    – การใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์…..    –…

ร่วมประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น

วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับผู้แทนจากคณะนิติศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางมายังมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อร่วมประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องโมคลาน อาคารบริหาร โดยมี ศ.น.สพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม เป็นประธานการประชุม ในวันนี้มีการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีรับผิดชอบโครงการทั้งสิ้น 15 โครงการ ครอบคลุม 34 โรงเรียน ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ชุมพร ทั้งนี้โครงการการพัฒนาฉันเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการสอนแบบเปิด ซึ่งจัดขึ้นที่โรงเรียนคลองนามิตรภาพ 201 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 5 ของโรงเรียนในภาคใต้ตอนบนที่คณะอนุกรรมการอำนวยการจาก สกอ. จะมาตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการฯ พี่น้องครับ วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำทุกสรรพวิชาที่เรามีเข้าสู่ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างหลากหลายมิติ ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงาน/ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สนองพระบรมราโชบาย รัชกาลที่ 10 ระดับการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

วันที่ 5 กรกฎาคม 2561 เป็นวันมงคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยพลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อขับเคลื่อนตามพระราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พร้อมด้วยผู้แทนส่วนราชการระดับจังหวัด นำโดย ท่านวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ได้มีการรับฟังรายงานผลการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาครูของมหาวิทยาลัย และได้พบปะกับคณาจารย์และนักศึกษาคณะครุศาสตร์ จากนั้นในช่วงบ่ายท่านองคมนตรีได้เดินทางไปยังศาลาประชาคมบ้านใหม่พัฒนา ม.7 ต.ขุนทะเล อ.เมืองฯ เพื่อตรวจเยี่ยมพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยได้มาดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีพี่น้องชาวขุนทะเลให้การต้อนรับ พร้อมทั้งนำเสนอการดำเนินงานต่างๆที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ตลอดเวลาร่วม 2 ชั่วโมง บรรยากาศของการพบปะอบอวลไปด้วยไมตรีจิตจากท่านองคมนตรี ส่งผลให้พี่น้องในพื้นที่ซึ่งมาจากทุกหมู่บ้านของ ต.ขุนทะเล ภายใต้แนวทาง “ขุนทะเลรวมเป็นหนึ่ง” ทุกคนต่างมีความสุขที่ได้มีโอกาสอันเป็นมงคลชีวิตในคราวนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำทุกสรรพวิชาที่เรามีเข้าสู่ท้องถิ่น ด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม แม้นรู้ดีว่า หนทางแห่งการเดินทางนี้ยังคงมีอุปสรรคอีกมากมายรออยู่ แต่เราก็พร้อมที่จะเดินหน้าอย่างสุดกำลัง ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงาน/ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยได้อาสาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาบึงขุนทะเล เพื่อวางแผนและดำเนินการพัฒนาบึงขุนทะเลอย่างเอาจริงเอาจัง นอกจากนี้ยังได้อาสาร่วมกับสภาเกษตรฯ และพาณิชย์จังหวัด ในการสร้างพื้นที่ปลูกผักเพื่อการพาณิชย์ โดยจะได้ประสานพื้นที่แปลงปลูกกับสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะอาสาในการขับเคลื่อนงานเพื่อท้องถิ่น โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ด้วยความตั้งใจเดียวกันที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยได้อาสาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาบึงขุนทะเล เพื่อวางแผนและดำเนินการพัฒนาบึงขุนทะเลอย่างเอาจริงเอาจัง นอกจากนี้ยังได้อาสาร่วมกับสภาเกษตรฯ และพาณิชย์จังหวัด ในการสร้างพื้นที่ปลูกผักเพื่อการพาณิชย์ โดยจะได้ประสานพื้นที่แปลงปลูกกับสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะอาสาในการขับเคลื่อนงานเพื่อท้องถิ่น โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ด้วยความตั้งใจเดียวกันที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มรส.ร่วมกับสภาเกษตรกรขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวชุมชนบ้านคลองมุย ต.ตะกุกเหนือ

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับผู้แทนจากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ผู้แทนจากหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน และผู้แทนจากสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางลงพื้นที่ไปยังบ้านคลองมุย ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี เพื่อพบปะพูดคุยกับแกนนำของชุมชน นำโดยผู้ใหญ่วีนัส ศึกเสือ ผู้ใหญ่บ้าน โดยเป็นไปตามโครงการความร่วมมือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี โดยวันนี้เป็นการรับฟังข้อมูลที่กลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยมาร่วมกันพัฒนา …..ทั้งนี้ทางกลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยว การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานที่พักชุมชน รวมทั้งการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยคณะทำงานมีความเห็นว่าควรสร้างความเข้าใจและแรงจูงใจให้กับพี่น้องในพื้นที่เกี่ยวกับการดำเนินการในลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการระเบิดจากภายในของชุมชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมั่นคงและยั่งยืน …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะรวมพลังกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ถึงจะต้องฝ่าฟันเส้นทางอีกกี่พันไมล์ เราก็จะไปให้ถึงเส้นชัยที่รออยู่ร่วมกับพี่น้องให้ได้ ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สาขาวิชา รปศ. จัดสัมมนาใหญ่ 24 โครงการเพื่อแผ่นดินตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

…..ว่าที่บัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์สุดประทับใจทำโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง เผย เห็นรอยยิ้มเยาวชนของชาติดีใจที่มีสื่อการเรียนการสอนเสริมสร้างสติปัญญา ด้าน ดร.พลกฤต ตอกย้ำคุณค่าของบัณฑิต รปศ.ต้องเป็น “ผงธุลีที่มีค่าต่อแผ่นดิน” …..เมื่อเวลา 09.00 น. (30 มีนาคม 2561) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาภายใต้ชื่อ 24 โครงการเพื่อแผ่นดินซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการประเมินโครงการของนักศึกษา ณ ห้อง GA101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีพลตรีไพโรจน์ มณีอ่อน สมาชิกสภาปฏิรูป สนช  และ ดร.ชุมพล แก้วสม ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เป็นวิทยากร …..ทั้งนี้ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยและอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมดูแลโครงการดังกล่าวได้เปิดเผยถึงหลักการและวัตถุประสงค์ของโครงการว่า ได้ร่วมพูดคุยกับนักศึกษาในเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องและตอบโจทย์กับรายวิชาและมีคุณค่าต่อแผ่นดิน ซึ่งได้ข้อสรุปว่านักศึกษาต้องการดำเนินโครงการภายใต้แนวคิด 24 โครงการเพื่อแผ่นดินตามแนวพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชการที่ 10 หลังจากนั้นจึงร่วมกันตั้งโจทย์ว่านักศึกษาจะได้อะไร ซึ่งได้ตกผลึกทางความคิดว่านักศึกษาต้องเป็น“ผงธุลีที่มีค่าต่อแผ่นดิน” ดังนั้นจึงร่วมกันหาพื้นที่เป้าหมายซึ่งได้กำหนดไว้ 3 ประเด็นคือ 1….

มรส. ร่วมกับสภาเกษตรกรเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยชุมชนบ้านต้นมะพร้าว

…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางลงพื้นที่ไปยัง บ้านต้นมะพร้าว ต.ถ้ำสิงขร อ.คีรีรัฐนิคม เพื่อพบปะพูดคุยกับแกนนำของสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินบ้านต้นมะพร้าว นำโดยท่านสนิท ไชยะ ประธานสหกรณ์ และคุณณัฐติกานต์ พัฒนราช ผู้จัดการสหกรณ์ โดยเป็นไปตามโครงการความร่วมมือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสภาเกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี โดยวันนี้เป็นการรับฟังข้อมูลที่กลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยมาร่วมกันพัฒนา …..ทั้งนี้ทางกลุ่มต้องการให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย เนื่องจากสหกรณ์ได้รับซื้อกล้วยจากสมาชิกเพื่อส่งให้กับ 7-11 และมีบางส่วนที่ต้องคัดออกเพราะไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องพัฒนาในด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมและทันสมัย นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการเพาะปลูกกล้วยตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ สอดคล้องกับการที่มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยที่แข็งแรง ซึ่งจะต้องพูดคุยกันเพื่อหาแนวทางร่วมกันต่อไป …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะรวมพลังกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยความตั้งใจเดียวที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

End of content

End of content