องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง พื้นที่ 713.70 km2
คำขวัญ แหล่งท่องเที่ยวมากมี ไมตรีมากล้น ทุกคนปลอดภัย
อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง พื้นที่ 713.70 km2
คำขวัญ แหล่งท่องเที่ยวมากมี ไมตรีมากล้น ทุกคนปลอดภัย
…..ว่าที่บัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์สุดประทับใจทำโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง เผย เห็นรอยยิ้มเยาวชนของชาติดีใจที่มีสื่อการเรียนการสอนเสริมสร้างสติปัญญา ด้าน ดร.พลกฤต ตอกย้ำคุณค่าของบัณฑิต รปศ.ต้องเป็น “ผงธุลีที่มีค่าต่อแผ่นดิน” …..เมื่อเวลา 09.00 น. (30 มีนาคม 2561) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาภายใต้ชื่อ 24 โครงการเพื่อแผ่นดินซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการประเมินโครงการของนักศึกษา ณ ห้อง GA101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีพลตรีไพโรจน์ มณีอ่อน สมาชิกสภาปฏิรูป สนช และ ดร.ชุมพล แก้วสม ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เป็นวิทยากร …..ทั้งนี้ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยและอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมดูแลโครงการดังกล่าวได้เปิดเผยถึงหลักการและวัตถุประสงค์ของโครงการว่า ได้ร่วมพูดคุยกับนักศึกษาในเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องและตอบโจทย์กับรายวิชาและมีคุณค่าต่อแผ่นดิน ซึ่งได้ข้อสรุปว่านักศึกษาต้องการดำเนินโครงการภายใต้แนวคิด 24 โครงการเพื่อแผ่นดินตามแนวพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชการที่ 10 หลังจากนั้นจึงร่วมกันตั้งโจทย์ว่านักศึกษาจะได้อะไร ซึ่งได้ตกผลึกทางความคิดว่านักศึกษาต้องเป็น“ผงธุลีที่มีค่าต่อแผ่นดิน” ดังนั้นจึงร่วมกันหาพื้นที่เป้าหมายซึ่งได้กำหนดไว้ 3 ประเด็นคือ 1….
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดยดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี และสำนักศิลปะและวัฒนธรรม นำโดยอาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักฯ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมประชุมกับผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมวันสตรีสากลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องผดุงชาติ อาคารสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน ที่ปรึกษาอธิการบดี เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม …..ที่ประชุมมีมติเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นพื้นที่จัดงาน โดยในงานจะมีกิจกรรมทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย อาธิ การเดินรณรงค์เพื่อสตรีสากล การจัดนิทรรศการ การออกร้านผลิตภัณฑ์ชุมชน การแสดง และการแข่งขันอีกมากมาย งานจะจัดขึ้นในวันที่ 7 มีนาคม 2560 โดยมีพี่น้องกลุ่มสตรีเข้าร่วมงานกว่า 15,000 คน นับเป็นงานใหญ่งานหนึ่งของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่จะได้ร่วมกันแสดงพลัง และพิสูจน์ให้เห็นว่ากลุ่มสตรีบ้านเรามีศักยภาพในฐานะคนคุณภาพมากเพียงใด …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อสร้างแนวทางและโอกาสในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน ดังที่เราได้ให้ปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส.จับมือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นกล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานีกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมอบหมายพื้นที่ แปลงป่าอนุรักษ์ให้มหาวิทยาลัยฯดูแล จำนวนกว่า 3 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในนามของมหาวิทยาลัยฯ ด้านนายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า การดำเนินงานสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นั้น งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้รับความร่วมมือจาก คณาจารย์และนักศึกษาจากสาขาวิชาพืชศาสตร์และบุคลากรจากกองอาคารสถานที่ในการดำเนินการดูแลรักษาพื้นที่ รวมทั้งมีการสำรวจ จัดหาพรรณไม้ประจำถิ่น มาปลูกในพื้นที่เพิ่มเติม พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ รวมทั้งจะพัฒนาต่อยอดให้เกิดป่า 4 ชั้น ในบริเวณแปลงป่าอนุรักษ์ ต่อไป การดำเนินงานโครงการดังกล่าว งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส. หวังว่าจะเกิดการพัฒนาพื้นที่บนพื้นฐานความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากป่าของประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกแหล่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อไป
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ร่วมหารือกับ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ อาจารย์จุฑารัตน์ ธาราทิศ ผศ.เตชะธรรม สังข์คร ดร.พลกฤต แสงอาวุธ และอาจารย์ธาตรี คำแหง เกี่ยวกับการดำเนินงานในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร …..โดยโครงการนี้เกิดขึ้นจากการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม ซึ่งมีความต้องการอยู่ 3 ส่วนคือ ต้องการแนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการตลาดแบบมืออาชีพ ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และแนวทางการพัฒนาและยกระดับการแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่อำเภอละแม ซึ่งพวกเราได้ร่วมกันระดมความคิดและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัย โดยมีการดำเนินงานใน 3 กิจกรรมคือ 1.กิจกรรมร่วมกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการตลาดประชารัฐใต้เคี่ยม 2.กิจกรรมสนับสนุนส่งเสริมรูปแบบการผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน 3.กิจกรรมร่วมกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการขยะ การส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มมูลค่าขยะให้เป็นรายได้ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยทั้ง 3 กิจกรรมจะเริ่มดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ …..วันนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความพยายามอย่างสุดกำลังในการทำงานเพื่อท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในลักษณะร่วมทุกข์ร่วมสุข เราจะร่วมฟันฝ่าปัญหาไปด้วยกัน ดังปณิธานที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดินผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ด้านรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เชื่อมั่นสามารถต่อยอดองค์ความรู้ทุกมิติ สร้างผู้ผลิตให้เป็นประกอบการรายย่อย ด้วย E-Commerce หวัง Startup มาตรฐานให้มีคุณภาพมากขึ้น เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมแก่ผลิตภัณฑ์ เมื่อเวลา 13.00 น. (7 พฤษภาคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินจัดประชุมขับเคลื่อนโครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตร และนวัตกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ 4 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมดังกล่าวจากหลายหน่วยงานต่างๆ เช่น รักษาราชการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยี คณะทำงานจากคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้แทนจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ และทีมงานงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น โดยรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ได้ชี้แจงถึงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่า เป็นโครงการจัดตั้งศูนย์เครือข่าย AIC ภายในจังหวัด ศูนย์ดังกล่าวประกอบด้วย 1….
วันพฤหัสบดี ที่ 3 ตุลาคม 2562 เมื่อเวลา 13.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำโดย นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางไปยังเขตพัฒนาที่ 1 เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ณ ชุมชนบ้านบางหลา ตามโครงการติดตามและประเมินผลแผนการพัฒนาและโครงการ กิจกรรมของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562