Similar Posts
บริการวิชาการ มรส. ร่วมโครงการวาทศิลป์เยาวชนคนรุ่นใหม่และการประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้เข้าร่วมโครงการวาทศิลป์เยาวชนคนรุ่นใหม่ จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สุราษฎร์ธานี และสภาเด็กและเยาวชน จ.สุราษฎร์ธานี ณ โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงคุณค่าและเสน่ห์ของการพูด การใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ เพื่อเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยที่ทรงคุณค่าและปฏิบัติสืบกันไป …..จากนั้นในช่วงบ่าย ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อกำหนดนโยบายและการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยเป็นขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งมีทั้งหมด 14 กลุ่มจากทุกภาคส่วนทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมกับทุกภาคส่วนในการสร้างสรรค์งานที่สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในทุกรูปแบบ รวมทั้งความพยายามในการกำหนดแนวทางเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมจากพี่น้องประชาชน เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือจะนำมาซึ่งความสำเร็จร่วมกันอย่างภาคภูมิ เราพร้อมที่จะเดินหน้าร่วมกันกับพี่น้องในทุกมิติ ตามปณิธานที่ได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ระดมความคิดบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนเกาะพะลวย
จากการผลักดันและพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว มาโดยตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ในพื้นที่เกาะพะลวย ชุมชนพร้อมผลักดันสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนเกาะพะลวย พร้อมวางเป้าหมาย ปี 2567 วิสาหกิจฯ มีกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว พร้อมสร้างรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมี 5 กลุ่ม คือ กลุ่มนวด กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มเรือนำเที่ยว กลุ่มที่พัก และกลุ่มผู้นำเที่ยว อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอกการท่องเที่ยว วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า กระบวนการในครั้งนี้ เป็นเรื่องของการจัดการกลุ่ม บริหารจัดการทรัพยากร ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกัน และแหล่งที่มาของรายได้ เพื่อวางแผนการทำงานในอนาคต นางสรินณา จันทร์แจ่ม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนเกาะพะลวย เป็นโอกาสที่ดีที่กลุ่มได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในการพัฒนากลุ่มตั้งแต่เริ่มต้นทำความเข้าใจในกระบวนการบางเรื่องก็ไม่สามารถรีบร้อนได้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับกิจกรรมในวันนี้ทางกลุ่มได้กำหนดข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างกลุ่มต่างไป เช่น กลุ่มนวด กลุ่มเรือรับจ้าง กลุ่มผู้นำเที่ยวและกลุ่มผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ ได้ข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้กลุ่มสามารถเดินต่อไปได้
สาขาวิชา รปศ. จัดสัมมนาใหญ่ 24 โครงการเพื่อแผ่นดินตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
…..ว่าที่บัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์สุดประทับใจทำโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง เผย เห็นรอยยิ้มเยาวชนของชาติดีใจที่มีสื่อการเรียนการสอนเสริมสร้างสติปัญญา ด้าน ดร.พลกฤต ตอกย้ำคุณค่าของบัณฑิต รปศ.ต้องเป็น “ผงธุลีที่มีค่าต่อแผ่นดิน” …..เมื่อเวลา 09.00 น. (30 มีนาคม 2561) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาภายใต้ชื่อ 24 โครงการเพื่อแผ่นดินซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการประเมินโครงการของนักศึกษา ณ ห้อง GA101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีพลตรีไพโรจน์ มณีอ่อน สมาชิกสภาปฏิรูป สนช และ ดร.ชุมพล แก้วสม ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เป็นวิทยากร …..ทั้งนี้ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยและอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมดูแลโครงการดังกล่าวได้เปิดเผยถึงหลักการและวัตถุประสงค์ของโครงการว่า ได้ร่วมพูดคุยกับนักศึกษาในเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องและตอบโจทย์กับรายวิชาและมีคุณค่าต่อแผ่นดิน ซึ่งได้ข้อสรุปว่านักศึกษาต้องการดำเนินโครงการภายใต้แนวคิด 24 โครงการเพื่อแผ่นดินตามแนวพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชการที่ 10 หลังจากนั้นจึงร่วมกันตั้งโจทย์ว่านักศึกษาจะได้อะไร ซึ่งได้ตกผลึกทางความคิดว่านักศึกษาต้องเป็น“ผงธุลีที่มีค่าต่อแผ่นดิน” ดังนั้นจึงร่วมกันหาพื้นที่เป้าหมายซึ่งได้กำหนดไว้ 3 ประเด็นคือ 1….
มรส.รายงานและนำเสนอข้อมูลการการประเมินผลโครงการ ITA ระนอง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯได้เดินทางมายัง จ.ระนอง เพื่อรายงานและนำเสนอข้อมูลการการประเมินผลคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.ระนอง งวดที่ 3 ให้กับคณะกรรมการกำกับการจ้างเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จ.นะนอง ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดระนอง ข้อมูลดังกล่าว ประกอบด้วยข้อมูลหลายหน่วยงานจำนวน 31 หน่วยงาน 155 เล่ม ข้อมูลภาพรวมของ จ.ระนองจำนวน 20 เล่ม ท่านคณะกรรมการชื่นชมในเนื้อหาและกระบวนการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และเชื่อมั่นในการดำเนินงานของพวกเรา วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีพยายามเดินหน้าเพื่อเชื่อมโยงทุกสรรพกำลังของมหาวิทยาลัยในการสร้างแนวทางและโอกาสที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตร่วมกับพี่น้องในท้องถิ่น อย่างเต็มกำลัง ดังวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง###มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี แสดงความยินดีโอกาสรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร
เมื่อเวลา 11.30 น. (6 พฤศจิกายน 2563) ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม และนายอรุณ หนูขาว ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เข้าพบแสดงความยินดีกับท่านธีระ อนันตเสรีวิทยา ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ในโอกาสรับตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร
ฝ่ายบริการวิชาการฯ เดินทางตรวจเยี่ยมให้กำลังนักศึกษา รปศ. ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯเผย นักศึกษามีศักยภาพ และเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของหลักสูตรตนเองด้านประธานสภาคณาจารย์ ชี้ชัด ทุกคณะฯต้องสนับสนุน ส่งเสริมในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง …..เมื่อเวลา 09.30 น. ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ ประธานสภาคณาจารย์ ได้ร่วมเดินทางไปยังโรงเรียนบ้านวังทองสามัคคี อ.ท่าอุแท จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจและพูดคุยกับนักศึกษาที่ไปดำเนินการจัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในรายวิชาการประเมินโครงการ โดยมีนายชัยรัตน์ บุญนาค ผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการพิเศษ คณะครู อาจารย์ และผู้นำหมู่บ้านให้การต้อนรับ …..โรงเรียนบ้านวังทองสามัคคี ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านป่าจาก ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยมีอาจารย์ผู้สอนจำแนกตามสายงานทั้งสิ้นจำนวน 6 คน ทั้งนี้นักศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เริ่มจัดกิจกรรมพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 โดยมี ดร.พกฤต แสงอาวุธ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษารายวิชา …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการได้กล่าวถึงการดำเนินโครงการดังกล่าวว่าเป้าหมายของการจัดโครงการไม่ใช่เพียงแค่ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเท่านั้น แต่เป็นการสร้างวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันกับชุมชนท้องถิ่นการช่วยเหลือเกื้อกูล และปลุกจิตสำนึกถึงการเป็นผู้ให้ ซึ่งจากการที่ได้ร่วมพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียนและคณาจารย์ก็ได้ทราบข้อมูลว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความสามารถและกระตือรือร้นต่อการทำโครงการ…