โครงการบัณฑิตอาสา ขอเชิญ”บัณฑิต” ทั่วประเทศ ที่มีใจอาสา ต้องการพัฒนาตนเอง
โครงการบัณฑิตอาสา นักพัฒนาสุขภาวะชุมชน ขอเชิญ”บัณฑิต” ทั่วประเทศ ที่มีใจอาสา ต้องการพัฒนาตนเอง และมุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม มาร่วมทำหน้าที่…
โครงการบัณฑิตอาสา นักพัฒนาสุขภาวะชุมชน ขอเชิญ”บัณฑิต” ทั่วประเทศ ที่มีใจอาสา ต้องการพัฒนาตนเอง และมุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม มาร่วมทำหน้าที่…
…..จัดเวทีสัมมนาความต้องการของชุมชน พร้อมเจาะลึกเรื่อง “มะพร้าว” ผลักดันให้เป็นผลไม้ อัตลักษณ์เมืองสุราษฎร์ ตามข้อเสนอแนะอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ …..เมื่อเวลา 11.00 น. (3 มีนาคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยเครือข่ายบริการวิชาการ ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยนาชาติการท่องเทียว สาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยตัวแทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยัง สวนลุงสงค์ ตำบลบางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อลงพื้นที่สำรวจความต้องการของชุมชน และร่วมเสวนาวิถีชีวิตในมิติต่างๆ โดยมีนางสาวณัฐธิญาณี ธัญญลักษณ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปีและแกนนำชุมชนให้การต้อนรับ …..เนื่องจาก เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มี ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้เดินทางมาเข้าพบ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ โดยการประสานงานจากจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI เพื่อร่วมหารือเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมิติต่างๆ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นจึงได้ประสานเครือข่ายบริการวิชาการกำหนดแผนการดำเนินงานและร่วมลงพื้นที่ร่วมเวทีเสวนาดังกล่าว …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ…
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส.จับมือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผศ.ดร.สุนทร พูนเอียด รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นกล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานีกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการร่วมสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมอบหมายพื้นที่ แปลงป่าอนุรักษ์ให้มหาวิทยาลัยฯดูแล จำนวนกว่า 3 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในนามของมหาวิทยาลัยฯ ด้านนายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า การดำเนินงานสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นั้น งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้รับความร่วมมือจาก คณาจารย์และนักศึกษาจากสาขาวิชาพืชศาสตร์และบุคลากรจากกองอาคารสถานที่ในการดำเนินการดูแลรักษาพื้นที่ รวมทั้งมีการสำรวจ จัดหาพรรณไม้ประจำถิ่น มาปลูกในพื้นที่เพิ่มเติม พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ รวมทั้งจะพัฒนาต่อยอดให้เกิดป่า 4 ชั้น ในบริเวณแปลงป่าอนุรักษ์ ต่อไป การดำเนินงานโครงการดังกล่าว งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มรส. หวังว่าจะเกิดการพัฒนาพื้นที่บนพื้นฐานความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากป่าของประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกแหล่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อไป
ด้านผช.คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มั่นใจโมเดลเชิงรุก ลงพื้นที่ร่วมกับชุมชนนำองค์ความรู้ หวังยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนขุนทะเล และเป็นแนวปฏิบัติที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นในอนาคต …..เมื่อเวลา 13.30 น. (7 ธันวาคม 2560) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดประชุมเพื่อหารือเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยอาจารย์วรรณา กุมารจันทร์ ผู้ช่วยคณบดีศูนย์สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และอาจารย์วีณา ลิ้มสกุล รองคณบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีผู้นำหมู่บ้านหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 10 เข้าร่วมประชุมในเรื่องดังกล่าวด้วย …..ทั้งนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวว่า เนื่องจากได้มีโอกาสหารือกับคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เรื่องหลักสูตรโรงเรียนผู้อายุ ซึ่งก่อนหน้านั้นคณะพยาบาลฯได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้วแต่เป็นโครงการที่ให้ผู้สูงอายุในท้องถิ่นเข้ามาสมัครเรียนกับคณะด้วยตนเอง แต่โครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้มหาวิทยาลัยฯ โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและคณะพยาบาลฯ จะดำเนินการในรูปแบบเชิงรุก คือการลงพื้นที่ชุมชนนำองค์ความรู้ไปอบรมและจัดการเรียนการสอนให้กับประชาชนในหมู่บ้าน คือหมู่ที่ 7 และหมู่ที่10 เพราะได้วิเคราะห์จำนวนผู้สูงในชุมชนแล้วมีจำนวนค่อนข้างมาก ซึ่งกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวไม่สามารถเดินทางเข้ามารับบริการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนกับมหาวิทยาลัยได้ทั้งหมด ด้วยเหตุผล เช่น ปัญหาการเดินทาง, ปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ดังนั้น งานบริการวิชาการฯจึงขอความร่วมมือกับบุคลากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพผู้สูงอายุจากคณะพยาบาลศาสตร์…
โครงการ ทักษะการดูแลตนเองเบื้องของประชาชน งบประมาณ 30,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน เขตตำบลขุนทะเล จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลา ต.ค.55- ก.ย.56 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย มี ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ ผศ.ดร.อารี พุ่มประไวทย์
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับคณะกรรมการโครงการ อพ.สธ.มรส. จากหน่วยงานต่างๆภายในมหาวิทยาลัย ร่วมจัดนิทรรศการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. ระหว่างวันที่ 26 พ.ย.-6 ธ.ค.62 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ชื่อนิทรรศการ ทรัพยากรไทย ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดในวันที่ 29. พ.ย. 62 โดยในส่วน มรส.นำเสนอในประเด็น การศึกษา อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ จากมะพร้าว ประกอบด้วย การสาธิตการทำวุ้นสวรรค์ เนื้อวีแกน กัมมี่ ครีมส้นเท้าแตก ลูกประคบ กระถางใยมะพร้าว รวมถึงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เป็นต้น
เมื่อเวลา 07.00 น. (1 มิถุนายน 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.รัชฏาพร ไทยเกิด ผู้แทนจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และคณะทำงานของงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการลงพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี (อพ.สธ.–สฎ.) ณ บ้านทุ่งตาหนอน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระดมสรรพกำลังอาจารย์เดินหน้าขับเคลื่อนการจัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ.-สฏ. โดยได้มีสำรวจพื้นที่ภายในโครงการฯ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการสำรวจข้อมูลดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานจัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ.-สฏ. ตามแนวทางการดำเนินงาน 3 กรอบ 8 กิจกรรมของโครง อพ.สธ. บนฐานทรัพยากร 3 ฐาน คือ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร ตามกิจกรรมดังนี้ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร 3 กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร…