Similar Posts
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดันสินค้าชุมชน (OTOP) เดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความยั่งยืนของคนในชุมชน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ และนายอรุณ หนูขาว พร้อมด้วยชาวบ้านชุมชนขุนทะเล ได้นำสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านมาจัดแสดงจำหน่าย ณ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตามแนวทางการยกระดับรายได้ให้กับชาวบ้านชุมชนขุนทะเลของมหาวิทยาลัย โดยเดินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความยั่งยืนของคนในชุมชน ชาวบ้านชุมชนขุนทะเลได้มีการนำสินค้า มาวางเพื่อจำหน่าย เช่น กระเป๋าเชือกร่ม ดอกไม้กระดาษ ผ้าปาเต๊ะปักลูกปัด ฯลฯ “ฝีมือดี คุณภาพเยี่ยม ลายสวย ราคาเป็นกันเอง” นายวสันต์ สุทธโส ผู้ช่วยอธิการบดี เผยว่า ยินดีอย่างยิ่งที่ชาวบ้านชุมชนขุนทะเลที่นำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาวางจำหน่ายในศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ สนใจสามารถติดต่อได้ที่สำนักจัดการทรัพย์สิน โทร. 0 7791 3344 ,0 7791 3333 ต่อ 3500
หลักสูตรการผลิตสื่อการสอนสำหรับเด็กประถมศึกษา
สาระสำคัญของหลักสูตร เป็นหลักสูตรที่เหมาะกับครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา ครูสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการอบรมไปผลิตสื่อเพื่อใช้ ประกอบการสอนได้ง่ายๆ ด้วยเทคนิคและทักษะรูปแบบต่างๆที่วิทยากรผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดให้ เพื่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน วัตถุประสงค์ เพื่อเสริมทักษะการผลิตสื่อแก่ครูผู้สอน เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีความน่าสนใจ เนื้อหาหลักสูตร (Course Outline) ความรู้เกี่ยวสื่อการสอนและการผลิตสื่อการสอน ปฏิบัติการผลิตสื่อการสอน เช่น สื่อ Multimedia, Pop-up, 3D, Model รายละเอียดทั้งหมด หลักสูตรการผลิตสื่อการสอนสำหรับเด็กประถมศึกษา
โครงการอนุรักษพันธุกรรมพืช
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช งบประมาณ 270,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี , บ้านทุ่งตาหนอน อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลา ต.ค. 2555 – ก.ย. 2556 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น 077-355683
งานบริการวิชาการฯ สืบสานวัฒนธรรมเมืองคนดี ร่วมงานประเพณีชักพระ-ทอดผ้าป่า
…..สำนักศิลปและวัฒนธรรม เป็นตัวแทน จัดตั้งพุ่มผ้าป่าเทศกาลออกพรรษาชาวสุราษฎร์ธานี…..เช้าวันนี้ ได้มีตัวแทนผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคคลากร จากหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยฯเข้าร่วมงานประเพณีชักพระ-ทอดผ้าป่า ณ ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานีเป็นจำนวนมาก …..ในส่วนของหน่วยงานหลักการจัดพุ่มผ้าป่า อาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการร่วมจัดกิจกรรมว่า ประการแรก มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ต้องการสืบสารวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นโดยเฉพาะลักษณะของการจัดพุ่มผ้าป่าหน้าบ้านหรือการชักเรือพนมพระ เป็นเอกลักษณ์ของชาวสุราษฎร์ฯที่อื่นจะไม่ปรากฏให้เห็น ประการที่สอง ปีนี้อยู่ในช่วงพิธีรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งมหาวิทยาลัยฯได้จัดเตรียมถวายดอกไม้จันทน์ พร้อมทั้ง นิทรรศการภาพถ่ายพระราชกรณียกิจที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เห็น โดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยและประการสุดท้าย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นมหาวิทยาลัยที่รับใช้ชุมชนท้องถิ่น ดังนั้น พันธกิจของการร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวชุมชนท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึง ควรเผยแพร่ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯที่อยู่เคียงข้างกับชุมชนท้องถิ่น …..อย่างไรก็ตามสำนักศิลปะและวัฒนธรรมขอขอบพระคุณ ผู้บริหาร ตัวแทนคณาจารย์ และตัวแทนบุคคลากรสายสนับสนุน พร้อมทั้งตัวแทนนักศึกษา ที่ให้ความสำคัญ ส่งเสริมและสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรมอันดีงามในครั้งนี้ …..ทั้งนี้จัดตั้งพุ่มผ้าป่าในเทศการชักพระ-ทอดผ้าป่าที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-10 ตุลาคม 2560 เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ถ่ายภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เปิดเกมส์รุกทุกโครงการคลี่ภาระงาน จัดตั้งเป็น “กอง”
บริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กำกับ ติดตามแผนการดำเนินงานทุกโครงการตามระเบียบการเบิกจ่าย พร้อมจัดทำโครงสร้างอัตรากำลังเพื่อเพิ่มกำลังพลงานบริการวิชาการฯ เมื่อเวลา 14.30 น. (4 กุมภาพันธ์ 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น จัดประชุมติดตามผลการดำเนินงานและวิเคราะห์ภาระงานของแต่ละตำแหน่ง ณ ห้องเฟื่องฟ้า 2 ชั้น 4 สำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้คณะทำงานงานบริการวิชาการฯได้เตรียมข้อมูลภาระงานหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละงานพร้อมทั้งแผนการดำเนินงานยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดย นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้ชี้แจงว่า งานบริการวิชาการฯ มีภาระงานใหญ่อยู่ 4 ภาระงาน คือ 1. งานโครงการตามพระราชดำริ ซึ่งมีโครงการย่อยได้แก่ โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2. โครงการตามพระบรมราโชบาย ได้แก่ โครงการยกระดับสินค้าชุมชน OTOP โครงการแก้ไขความยากจนของประชาชนในเขตชนบท โครงการส่งเสริมความรักความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย เข้าใจสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น และ โครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่านการเขียนและการวิเคราะห์ และโครงการสุดท้ายคือโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่และติดตามประเมินผล 3….