Similar Posts
มรส. จัดประชุมโครงการมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง หาแนวทางขับเคลื่อนโครงการพร้อมเตรียมแผนหลังรอรัฐบาลเคาะ ได้ไปต่อหรือล็อคยาว
รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ย้ำทุกคณะทำงานโครงการมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงต้องเตรียมรับสถานการณ์และกำหนดแผนการดำเนินงานในอนาคตให้เป็นระบบและครอบคลุมทุกมิติ เมื่อเวลา 10.00 น. (13 พฤษภาคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็น พี่เลี้ยง(โครงการมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ ห้องราชพฤกษ์ 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีทีมคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว โดยรองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ ได้กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการหาแนวทางการปรับแผนดำเนินงานโครงการฯในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 และข้อกำหนดโครงการ(TOR – Term of Reference) เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งมหาวิทยาลัยจะมุ่งเน้นไปที่โรงเรียนมัธยมเพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ของนักเรียนในการศึกษาต่อโดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยในการตัดสินใจศึกษาต่อ ด้านนายอรุณ หนูขาว ได้เปิดเผยถึง การจัดสรรเงินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น…
บริการวิชาการ มรส. ร่วมโครงการวาทศิลป์เยาวชนคนรุ่นใหม่และการประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้เข้าร่วมโครงการวาทศิลป์เยาวชนคนรุ่นใหม่ จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สุราษฎร์ธานี และสภาเด็กและเยาวชน จ.สุราษฎร์ธานี ณ โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงคุณค่าและเสน่ห์ของการพูด การใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ เพื่อเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยที่ทรงคุณค่าและปฏิบัติสืบกันไป …..จากนั้นในช่วงบ่าย ฝ่ายบริการวิชาการฯ โดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ได้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อกำหนดนโยบายและการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยเป็นขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งมีทั้งหมด 14 กลุ่มจากทุกภาคส่วนทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมกับทุกภาคส่วนในการสร้างสรรค์งานที่สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในทุกรูปแบบ รวมทั้งความพยายามในการกำหนดแนวทางเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมจากพี่น้องประชาชน เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือจะนำมาซึ่งความสำเร็จร่วมกันอย่างภาคภูมิ เราพร้อมที่จะเดินหน้าร่วมกันกับพี่น้องในทุกมิติ ตามปณิธานที่ได้ให้ไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
นิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านสวนเพชร
กองกำกับตระเวนชายแดนที่ 41 ร่วมกับ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี นิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านสวนเพชร อำเภอละเเม จังหวัดชุมพร ตามโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงตำรวจตระเวนชายแดน ระยะที่ 2 ประจำปี 2560
มรส.ลงพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดระนอง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อส่งมอบข้อมูลขั้นที่ 1 ให้กับท้องถิ่น จ.ระนอง รวมทั้งเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.ระนอง ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ทุกพื้นที่มีนายกฯ ปลัดฯ และหัวหน้าสำนักจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.ระนอง เข้าร่วมการประเมินอย่างพร้อมเพรียง รวมทั้งให้การต้อนรับพวกเราในฐานะกัลยาณมิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในฐานะ “มหาวิทยาลัยแห่งการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น” มีหน้าที่สำคัญในการก้าวเดินไปพร้อมกับการเคลื่อนที่ของท้องถิ่น ในลักษณะพี่น้องที่ต้องยึดโยงกันไปอย่างเหนียวแน่น อาทร และปรารถนาดีต่อกัน วันนี้เราพยายามเดินหน้าเพื่อเชื่อมโยงทุกสรรพกำลังของมหาวิทยาลัยในการสร้างแนวทางและโอกาสที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องในท้องถิ่น โดยมีเส้นชัยที่เราต้องไปให้ถึงร่วมกันคือ การสร้างสังคมแห่งความสุขอย่างที่เราฝัน###มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานว่าที่ ร.ต.อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ถ่ายภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมหารือคณาจารย์สาขาฯการจัดการภัยพิบัติ ย้ำเตือน ! ปัญหาน้ำท่วมและการช่วยเหลือทุกคนต้องรู้เท่าทัน
ผู้ช่วยอธิการบดีฯชี้แนวทางการดำเนินงานควรให้ความรู้และตระหนักถึงความสำคัญ ชง! ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดันให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคต สุดทึ่ง สาขาวิชาการจัดการภัยพิบัติ มรส. เป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย …..เมื่อเวลา 9.00 น.ของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2560 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และ ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจสังคม พร้อมคณะ เข้าร่วมหารือ กับ ดร.พรทิพย์ วิมลทรง อาจารย์กานต์ธิดา บุญมา และอาจารย์บุษยมาศ เหมณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการภัยพิบัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกี่ยวกับแนวคิดการป้องกันปัญหาภัยพิบัติทางน้ำ เนื่องจากผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เกิดแนวคิดว่าหลังจากที่ได้ดำเนินการเรื่องการแก้ไขปัญหาคุณภาพของดินให้กับชุมชนท้องถิ่นแล้ว มหาวิทยาลัยฯควรตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอันเนื่องมาจากน้ำด้วย เพราะสภาพภูมิอากาศของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีฝนตกชุกทุกปีและตกอย่างต่อเนื่องซึ่งก่อให้เกิดอุทกภัยได้ง่าย ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะหาทางป้องกันไว้เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้กล่าวถึงเจตนารมย์ของการดำเนินการดังกล่าวว่า “หลังจากที่ได้ดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพของดินในระยะแรกซึ่งได้แนวทางการแก้ปัญหาและหาข้อสรุปได้ในเบื้องต้นแล้ว ภารกิจต่อไปที่อยากดำเนินการช่วยเหลือท้องถิ่นคือ การแก้ปัญหาภัยพิบัติทางน้ำ เพราะอย่างที่ทราบกันอยู่ว่าภาคใต้มีฝนตกชุกและตกอย่างต่อเนื่องทุกปี ดังนั้นจึงควรหาแนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้ชุมชนเกิดความเดือดร้อนขึ้นในภายหลัง ซึ่งการดำเนินงานอาจเป็นในรูปแบบของการทำวิจัย หรือการให้ความรู้เบื้องต้นแก่พี่น้องในชุมชนท้องถิ่น” …..ด้าน คณาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการภัยพิบัติ ได้กล่าวว่า…
มรส.ขับเคลื่อนการบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้แบ่งกันปฏิบัติงานต่างๆเพื่อทำหน้าที่อันหลากหลายที่จะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่น โดยชุดที่ 1 ผมได้รับมอบหมายจากท่านรักษาราชการแทนอธิการบดีให้เข้าร่วมลงนามความร่วมมือด้านการต่อต้านการทุจริต จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและแห่งชาติ โดยมีมหาวิทยาลัยในภาคใต้ทั้ง 12 แห่งร่วมลงนามพร้อมกัน ท่านประธานมูลนิธิต่อต้านการทุจริตให้ความสนใจที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้ในภาคใต้ตอนบน และเห็นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะเป็นพื้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ร่วมกัน [envira-gallery id=”1997″] ชุดที่ 2 ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น และทีมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เดินทางไปพบปะพี่น้องที่เกาะแรต เพื่อร่วมกันสร้างคู่มือประชาสัมพันธ์ และหาแนวทางยกระดับการท่องเที่ยว โดยได้รับความสนใจจากพี่น้องอย่างดีเยี่ยม [envira-gallery id=”1993″] ชุดที่ 3 คุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ และทีมงานบริการวิชาการฯของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับคณะกรรมการท้องถิ่นจ.สุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับการเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีข่าวดีคือ เราได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ประเมิน จ.สุราษฎร์ธานีอีกครั้งหนึ่ง [envira-gallery id=”1990″] แม้เราจะแยกกันทำงาน แต่พวกเราทุกคนต่างตั้งใจที่จะทำให้ SRU สามารถเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องในท้องถิ่นได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยมีเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียวคือ การทำให้แผ่นดินนี้มีพลังในฐานะที่เราเป็นพลังของแผ่นดิน###SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น…