มรส.รวมใจ ถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์
มรส.รวมใจ ถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์ จำนวน 5 หมื่นดอก เพื่อแทนใจ ในฐานะคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน
มรส.รวมใจ ถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์ จำนวน 5 หมื่นดอก เพื่อแทนใจ ในฐานะคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน
…..จัดเวทีสัมมนาความต้องการของชุมชน พร้อมเจาะลึกเรื่อง “มะพร้าว” ผลักดันให้เป็นผลไม้ อัตลักษณ์เมืองสุราษฎร์ ตามข้อเสนอแนะอนุกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ …..เมื่อเวลา 11.00 น. (3 มีนาคม 2561) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น นำโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยเครือข่ายบริการวิชาการ ได้แก่ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยนาชาติการท่องเทียว สาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยตัวแทนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI ได้เดินทางไปยัง สวนลุงสงค์ ตำบลบางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อลงพื้นที่สำรวจความต้องการของชุมชน และร่วมเสวนาวิถีชีวิตในมิติต่างๆ โดยมีนางสาวณัฐธิญาณี ธัญญลักษณ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปีและแกนนำชุมชนให้การต้อนรับ …..เนื่องจาก เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มี ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชีววิถีลุ่มน้ำตาปี ได้เดินทางมาเข้าพบ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ โดยการประสานงานจากจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI เพื่อร่วมหารือเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมิติต่างๆ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นจึงได้ประสานเครือข่ายบริการวิชาการกำหนดแผนการดำเนินงานและร่วมลงพื้นที่ร่วมเวทีเสวนาดังกล่าว …..ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ…
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2559 งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมคณะเดินหน้าเต็มตัวนิเทศตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านตะแบกงาม ประจำปี 2560 ระยะ 1 เพื่อเน้นคุณภาพการศึกษาเด็กในโรงเรียน
ด้านผู้แทนศูนย์คุณธรรม เผย เล็งมรส.ที่แรกและที่เดียวเป็นกำลังสำคัญร่วมสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิชาการ เมื่อเวลา 15.00 น. (24 มกราคม 2563) งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการจัดประชุมความร่วมมือการดำเนินงานด้านวิชาการสนับสนุนการขับเคลื่อนโมเดลจังหวัดคุณธรรม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า 2 ชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมี ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวได้มีผู้แทนจากศูนย์คุณธรรม กลุ่มส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานีพร้อมด้วยคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมในการประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร กล่าวว่า การสนับสนุนงานด้านวิชาการเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่พร้อมจะร่วมขับเคลื่อนร่วมกับทุกหน่วยงาน ซึ่งการทำความร่วมมือการดำเนินงานด้านวิชาการในการสนับสนุนการขับเคลื่อนโมเดลจังหวัดคุณธรรม มหาวิทยาลัยมีทีมคณะทำงานโดยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเครือข่ายหน่วยงานทุกภาคส่วน ซึ่งทีมคณะทำงานและหน่วยงานที่มีความเหมาะสมคือ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่มีความพร้อมทั้งศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง คณาจารย์ที่มีความสามารถและกลุ่มนักศึกษาที่ทำกิจกรรม โดยมอบหมายให้ ดร.ปุณยวีร์ หนูประกอบ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ประสานทีมคณาจารย์จาก รปศ.พิจารณาเรื่องการจัดทำแผนและกำหนดกรอบการดำเนินงานพร้อมทั้งพิจารณาเรื่องงบประมาณให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ อาจารย์ธีรพันธ์ จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นผู้ดูแลเรื่องงานธุรการต่างๆ โดยมีงานบริการวิชาการฯเป็นที่ปรึกษาเรื่องระเบียบการเบิกจ่ายขณะที่ นายประมวล บุญมา หัวหน้ากลุ่มงานสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและสมัชชาคุณธรรม ได้เผยว่า ศูนย์คุณธรรม ได้เล็งเห็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นหน่วยงานแรกและหน่วยงานเดียวที่มีความเหมาะสมทั้งด้านวิชาการ…
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภาคใต้ตอนบน โดยมีมหาวิทยาลัยที่เป็นเครือข่ายบริเวณภาคใต้ตอนบนเข้าร่วมทั้งหมด เครือข่ายมีแนวทางตกลงร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อต่อยอดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชน โดยกำหนดให้ทุกมหาวิทยาลัยน้อมนำเอาพระราชปณิธานของสมเด็จพระเทพฯ เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมไปแตกประเด็นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในฐานะ”มหาวิทยาลัยแห่งการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น”มีความพยายามที่จะนำเอาศาสตร์ต่างๆเพื่อบูรณาการร่วมกับท้องถิ่นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การเคลื่อนที่ของมหาวิทยาลัยในวันนี้จึงเป็นไปเพื่อการสร้างแนวทางพัฒนาท้องถิ่นเป็นสำคัญ เพราะเราเชื่อมั่นว่าหากเราจะเป็นพลังแห่งแผ่นดิน เราก็ต้องทำแผ่นดินนั้นให้มีพลัง###มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานว่าที่ ร.ต.อาซีด ทิ้งปากถ้ำ ถ่ายภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
…..ตกผลึกทางความคิด การท่องเที่ยว – ศิลปะฯ – ผังเมือง ด้านทีม มรส. นำทัพงานบริการวิชาการฯ – สำนักศิลปะและวัฒนธรรม – วิทยาลัยนานาชาติฯ – ดร.นรา ดันสุดกำลัง หวังพุมเรียงโมเดลเป็นจริง …..เมื่อเวลา 10.00 น. (2 กุมภาพันธ์ 2561) คณะทำงานในโครงการพุมเรียงโมเดล จากมหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี นำทีมโดย ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและทีมงาน จากงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น อาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุลและทีมงาน จากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม อาจารย์เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์ และทีมงาน จากวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว และดร.นรา พงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนและผังเมืองจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วย นางสาวกัญญารัตน์ แสงสุวรรณ ตัวแทนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมลงพื้นที่เพื่อประชุมระดมความคิดการดำเนินโครงการพุมเรียงโมเดล ณ เทศบาลตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ได้มีนายยอดชาย พันธ์ครุฑ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพุมเรียง และเจ้าหน้าที่…
…..ผู้ช่วยอธิการบดีฯ เผย มรส.นำเสนอข้อมูลร่วมกับโรงเรียน 34 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชู ผลการดำเนินงานนักเรียนมีการพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศระดับดีเยี่ยม …..เมื่อเวลา 10.00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน ครั้งที่ 1/2561 ณ ห้องโมคลาน อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยโครงการดังกล่าว มีเครือข่ายสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมจำนวน 8 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยตาปี วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ วิทยาลัยชุมชนพังงา และวิทยาลัยชุมชนระนอง …..ทั้งนี้ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้เปิดเผยถึงผลการประชุมดังกล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นโดยดำเนินการจัดกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 7 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ การยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษ การยกระดับความรู้ภาษาไทย การพัฒนาศักยภาพครู การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน การจัดการเรียนการสอนสะเต็มในสถานศึกษา และกิจกรรมอื่นๆ ตามความต้องการของโรงเรียนเป้าหมายและสอดคล้องกับความรู้ความเชี่ยวชาญที่สถาบันอุดมศึกษาพี่เลี้ยงมีอยู่ ซึ่งผลการดำเนินงานในการพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศและภาษาที่ 3…