องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง พื้นที่ 713.70 km2
คำขวัญ แหล่งท่องเที่ยวมากมี ไมตรีมากล้น ทุกคนปลอดภัย
อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง พื้นที่ 713.70 km2
คำขวัญ แหล่งท่องเที่ยวมากมี ไมตรีมากล้น ทุกคนปลอดภัย
…..เมื่อเวลา 11.00 น. งานบริการวิชาพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยังโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช บ้านทุ่งตาหนอน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ เผือกคง รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและคณะทำงานบริการวิชาการ ได้ร่วมประชุม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดสุราฎร์ธานี (อพ.สธ. -จ.สุราษฎร์ธานี) …..ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ แปลงที่ 10 แปลงป่าอนุรักษ์ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ โดยได้ดำเนินการปลูกพันธ์ไม้ 15 ชนิด จำนวน 450 ต้น บำรุงรักษาพันธ์ไม้เดิมที่มีอยู่ภายในแปลง ได้วางแผนดำเนินงานพัฒนาปรับปรุงพื้นที่แปลงป่าอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืนของชุมชน และเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบของโครงการ อพ.สธ. อย่างมีประสิธิภาพ
เมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2557 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยงานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นและศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นน่าอยู่ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน (ศวภ.ใต้ตอนบน) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และศูนย์จัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราชและศูนย์จัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตำบลบ่อ แสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา จัดโครงการประชุมสร้างการเรียนรู้และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือเครือข่าย ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ (ภาคใต้ตอนบน) ขึ้น ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผศ.นรินทร์ สุขกรี รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการสัมมนาดังกล่าวเป็นการเตรียมการและเตรียมความพร้อมของหน่วยงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน ในการรับการประเมินคุณภาพ งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักจึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้น นายอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า การจัดโครงการดังกล่าวเพื่อต้องการให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคมของหน่วยงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน ได้เตรียมการใน 2 ส่วน คือ 1) การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2558 ของหน่วยงานและการติดการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน โดยได้เชิญอาจารย์โสภา ปุ่นสุวรรณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประสานงานงบประมาณ เป็นวิทยากรบรรยาย และในส่วนที่ 2 คือการเตรียมการและเตรียมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาในองค์ประกอบที่…
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้แบ่งกันปฏิบัติงานต่างๆเพื่อทำหน้าที่อันหลากหลายที่จะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่น โดยชุดที่ 1 ผมได้รับมอบหมายจากท่านรักษาราชการแทนอธิการบดีให้เข้าร่วมลงนามความร่วมมือด้านการต่อต้านการทุจริต จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและแห่งชาติ โดยมีมหาวิทยาลัยในภาคใต้ทั้ง 12 แห่งร่วมลงนามพร้อมกัน ท่านประธานมูลนิธิต่อต้านการทุจริตให้ความสนใจที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้ในภาคใต้ตอนบน และเห็นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะเป็นพื้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ร่วมกัน [envira-gallery id=”1997″] ชุดที่ 2 ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น และทีมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เดินทางไปพบปะพี่น้องที่เกาะแรต เพื่อร่วมกันสร้างคู่มือประชาสัมพันธ์ และหาแนวทางยกระดับการท่องเที่ยว โดยได้รับความสนใจจากพี่น้องอย่างดีเยี่ยม [envira-gallery id=”1993″] ชุดที่ 3 คุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ และทีมงานบริการวิชาการฯของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับคณะกรรมการท้องถิ่นจ.สุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับการเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีข่าวดีคือ เราได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ประเมิน จ.สุราษฎร์ธานีอีกครั้งหนึ่ง [envira-gallery id=”1990″] แม้เราจะแยกกันทำงาน แต่พวกเราทุกคนต่างตั้งใจที่จะทำให้ SRU สามารถเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องในท้องถิ่นได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยมีเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียวคือ การทำให้แผ่นดินนี้มีพลังในฐานะที่เราเป็นพลังของแผ่นดิน###SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น…
วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้แบ่งกันเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆเพื่อทำหน้าที่อันหลากหลายที่จะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นตามปฏิญญาที่เราได้ให้ไว้ว่า เราคือ“มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ [envira-gallery id=”2598″] โดยชุดที่ 1 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ร่วมการประชุมสัมมนาเรื่อง “ผลการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา“ ร่วมกับ ผศ.ดร.กนกกาญจน์ ฐิติภรณ์พันธ์ ผอ.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กทม. เพื่อรับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2560 และรับทราบเกณฑ์การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งฉบับแก้ไขปรับปรุงแก่สถาบันอุดมศึกษา ชุดที่ 2 ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ยังคงนำทีมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเดินหน้าเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.กระบี่ อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.กระบี่ ทีมงานเดินหน้าอย่างแข็งขันเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย โดยใช้ความเป็นกัลยาณมิตรเป็นพื้นฐาน พวกเราทุกคนตั้งใจที่จะทำให้ SRU สามารถเดินหน้าเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างสุดกำลัง แม้เราจะแยกกันทำงาน แต่เป้าหมายเรามีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ การทำแผ่นดินนี้ให้มีพลังในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม เวลา 09:00 น. งานบริการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ลงพื้นที่นิเทศตรวจเยี่ยม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านพันวาล ตำบลรับร่อง อำเภอท่าเเซะ จังหวัดชุมพร ช่วงบ่าย เวลา 13:30 น.ลงพื้นที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตร ตำบลรับร่อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
เมื่อวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2560 คณะกรรมการบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 28 คน ลงพื้นที่ ณ เกาะพะลวย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้คณะทำงานได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมวางแผนงานกับผู้นำชุมชนและคนในท้องถิ่น อันจะทำให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่นให้มากที่สุด ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่เกาะพะลวยในครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 – 12 ตุลาคม 2559 งานบริการวิชาการฯ ได้สำรวจเส้นทางท่องเที่ยว วิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนปัญหาของชุมชน นำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับจัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาให้กับชุมชนเกาะพะลวย ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นแผนปฏิบัติการจำนวน 15 โครงการ โดยงานบริการวิชาการฯ ได้รับความร่วมมือจากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยในการร่วมกันขับเคลื่อน 15 โครงการดังกล่าว วันวนัทธ์ วรภู รายงาน / ถ่ายภาพ