มรส.รวมใจ ถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์
มรส.รวมใจ ถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์ จำนวน 5 หมื่นดอก เพื่อแทนใจ ในฐานะคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน
มรส.รวมใจ ถวายดอกไม้จันทน์ แด่พ่อหลวงสู่สรวงสวรรค์ จำนวน 5 หมื่นดอก เพื่อแทนใจ ในฐานะคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน
คณะทำงานฯลงพื้นที่เป้าหมาย จ.ชุมพร หวังนำผลการสำรวจความต้องการชุมชน เพื่อตลอดหลักสูตรระยะสั้นให้สอดคล้องกับบริบทและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ด้ายอธิการบดีฯเผยเปิดหลักสูตรระยะสั้นไม่ไกลเกินเอื้อมพร้อมยกระดับความรู้สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับมรส. โดยให้ทุนไฟเขียว 10 คน เข้าเรียนมรส. เมื่อเวลา 09.00 น. (8 พฤศจิกายน 2562 ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมด้วยสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาโครงการ “ผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อบูรณาการการพัฒนาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนการสอน” ณ โรงแรมนานาบุรี จังหวัดชุมพร โดยมี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เปิดเผยถึงการจัดโครงการดังกล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯมีความต้องการยกระดับพัฒนาความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่นจากการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้บริหารท้องถิ่นและผู้แทนชุมชน ” มหาวิทยาลัยฯลฯมีความต้องการให้หน่วยงานท้องถิ่นมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เพราะเป็นข้อมูลความเป็นจริงที่สามารถนำมาวิเคราะห์สำหรับการเปิดหลักสูตรระยะสั้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเมื่อได้ทราบข้อมูลจากผู้บริหารท้องถิ่นแล้วน่าจะสรุปได้ว่าการเปิดหลักสูตรระยะสั้นให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุมพรสามารถทำได้จริง เพราะมหาวิทยาลัยมีความพร้อมทุกศาสตร์ ในสาขาวิชาต่างไปๆ สามารถรองรับให้ความรู้ตามความต้องของนักศึกษาในท้องถิ่นและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยฯได้ให้โคว์ต้านักเรียนชั้นมัธยมปลายเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาโดยไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก ซึ่งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้คัดเลือกนักเรียนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์และความต้องการของชุมชน” อย่างไรก็ตาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “การให้โครว์ต้า นักเรียนในพื้นที่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตนเองเพราะเยาวชนกลุ่มดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ของท้องถิ่นว่าต้องการอะไร และมีแนวทางการพัฒนาอย่างไร”
โครงการ กิจกรรม : การเขียนเอกสารอ้างอิงสำหรับผลงานทางการ งบประมาณ 33,200 บาท สถานที่ดำเนินงาน อาคารทีปังกรรัศมีโชติ สำนักวิทยบริการ ระยะเวลา 17 ก.ค. 56 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ หอสมุดกลาง 081-8917337
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ฝ่ายบริการวิชาการฯ นำโดยคุณจันทิมา องอาจ รองหัวหน้างานบริการวิชาการฯ ร่วมกับคณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และสำนักวิทยบริการฯ ได้เดินทางเข้าพื้นที่เพื่อจัดเตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง อ.หลังสวน จ.ชุมพร ในวโรกาสทรงเสด็จฯตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัด กก.ตชด.41 ในวันที่ 22 กันยายน 2560มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในฐานะหน่วยงานสนองงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดโรงเรียน การสาธิตการสอน และการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้สนองงานโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ เราก้าวเดินร่วมกับโรงเรียนและเหล่าครู ตชด. เราพร้อมที่จะเดินหน้าเพื่อพี่น้องประชาชนทุกรูปแบบตามที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราคือมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้มีพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563 เวลา 9.00 น. งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมโครงการผืนป่าพระบารมี ปลูกป่า เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็ดพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการเปิด กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯ มีนโยบายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้พระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยการให้นักศึกษาและบุคลากรร่วมกันปลูกต้นไม้โดยรอบภายในมหาวิทยาลัยเดือนละ 100 ต้น เป็นระยะเวลา 1 ปี รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,200 ต้น เพื่อถวายเป็นผืนป่าพระบารมีต่อไป ซึ่งมีคณะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ประชาชน และห้างเซ็นทรัล พลาซา สุราษฎร์ธานี ณ บริเวณด้านหลังศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้แบ่งกันเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆเพื่อทำหน้าที่อันหลากหลายที่จะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นตามปฏิญญาที่เราได้ให้ไว้ว่า เราคือ“มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ [envira-gallery id=”2598″] โดยชุดที่ 1 ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ ร่วมการประชุมสัมมนาเรื่อง “ผลการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา“ ร่วมกับ ผศ.ดร.กนกกาญจน์ ฐิติภรณ์พันธ์ ผอ.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กทม. เพื่อรับทราบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2560 และรับทราบเกณฑ์การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งฉบับแก้ไขปรับปรุงแก่สถาบันอุดมศึกษา ชุดที่ 2 ดร.พลกฤต แสงอาวุธ หัวหน้างานพันธกิจท้องถิ่น และคุณอรุณ หนูขาว หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ยังคงนำทีมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเดินหน้าเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.กระบี่ อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นที่ปรึกษาโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.กระบี่ ทีมงานเดินหน้าอย่างแข็งขันเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย โดยใช้ความเป็นกัลยาณมิตรเป็นพื้นฐาน พวกเราทุกคนตั้งใจที่จะทำให้ SRU สามารถเดินหน้าเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างสุดกำลัง แม้เราจะแยกกันทำงาน แต่เป้าหมายเรามีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ การทำแผ่นดินนี้ให้มีพลังในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน “SRU มหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน“ สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
อธิการบดีฯ เผย จังหวัดสุราษฎร์ธานี หวังให้ มรส.เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ Agritech and Innovation Center (AIC) เพราะเชื่อมั่นองค์ความรู้ที่มีศักยภาพของบุคลากร เมื่อเวลา 13.00 น. (25 พฤษภาคม 2563) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้งานบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่นประสานงานจัดประชุมระดมความคิดขับเคลื่อนโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) ณ ห้องราชพฤกษ์ 2 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ได้มีผู้บริหารและประธานหลักสูตรจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมทั้งผู้แทนจากฝ่ายอาคารและสถานที่ และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (UBI) ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวเป็นการขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี (Agritech and Innovation Center : AIC) โดยให้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องเสนอแนวคิดตามศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีส่วนร่วมในการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวว่าผู้บริหารของมหาวิทยาลัยได้มีการประชุมร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้ข้อสรุปว่าทางจังหวัดฯมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการขับเคลื่อนจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรของจังหวัดสุราษฎร์ธานี…