Similar Posts
งานบริการฯร่วมกับสาขาวิชาพืชศาสตร์ปฏิบัติการจัดทำแปลงผักต้นแบบ
วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2562 งานวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาพืชศาสตร์ นำโดย ดร.รัชฎาพร ไทยเกิด ลงพื้นที่โครงการส่งเสริมและพัฒนาครัวเรือนยากจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตร ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านภูริน ตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแปลงผักต้นแบบ โดยมี ดร. เกษร เมืองทิพย์ ได้นำองค์ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและธาตุอาหารพืช และ ผศ. พรพรหม พรหมเมศร์ ปฎิบัติการปรับปรุงโครงสร้างดิน pH ดิน พื้นที่สาธิต ในการเตรียมแปลงต้นแบบ
ผช. อธิการดีฝ่ายบริการวิชาการฯแทคทีมสนง. ป้องกันภัยสุราษฎร์ธานีฯร่วมด้วยตร. ขุนทะเลbreak! สถิติพื้นที่เสี่ยงภัยอุบัติเหตุด้วยจำกัดความเร็วเท้าผีมือลั่น!!!
…..เผยมติที่ประชุมทุกจังหวัดคัดเลือกเส้นทางเพื่อจัดเซฟตี้โซน สฎ. เล็งถนนแยกเซาท์เทอร์น-แยกบางใหญ่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย(nack) …. ดร. สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการได้ร่วมประชุมหารือร่วมกับสำนักงานป้องกันภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานขนส่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีและตำรวจภูธรขุนทะเลพร้อมด้วยแขวงการทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้แทนจากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ภาคประชาชน และผู้ประกอบการรถขนส่งมวลชนฯ เกี่ยวกับแนวทางในการจำกัดความเร็วในพื้นที่ชุมชนขุนทะเลของรถบรรทุก และยานพาหนะทั่วไป ณ ห้องผดุงชาติ อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..โดยดร. สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ เผยว่า “เนื่องจากสถิติอุบัติเหตุของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปริมาณสูงและยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กรมขนส่งทางบกได้ตั้งไว้ รัฐบาลจึงมีมติให้ทุกจังหวัดคัดเลือกเส้นทางเพื่อจัดเซฟตี้โซน โดยมอบให้สำนักงานป้องกันภัยจังหวัดเป็นเจ้าเรื่อง และจากการพูดคุยได้ข้อสรุปว่าถนนแยกเซาท์เทอร์น-แยกบางใหญ่ เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยทางท้องถนนโดยมีสถิติอุบัติเหตุในปริมาณสูง ซึ่งมีสาเหตุสำคัญคือการไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรโดยเฉพาะเรื่องการจำกัดความเร็วในพื้นที่ชุมชน” …..ที่ประชุมจึงมีมติให้ดำเนินการเรื่องการตรวจจับความเร็วอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2560 ถึง 15 มกราคม 2561 สำนักงานขนส่งจะร่วมกับตำรวจภูธรขุนทะเลจะทำการตรวจจับความเร็วตามกฎหมาย โดยจะเป็นการตรวจจับเพื่อตักเตือนก่อนในเบื้องต้น หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการตรวจจับอย่างจริงจังต่อไป …..ผู้ช่วยได้กล่าวทิ้งท้ายของการสัมภาษณ์ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน และโดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยด้วยแล้ว มหาวิทยาลัยมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะใช้ทุกสรรพกำลังในการทำให้สังคมนี้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอย่างที่สุด เราพร้อมที่จะร่วมมือกับพี่น้องในทุกเรื่องในฐานะมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” เยาวลักษณ์ กากแก้ว รายงานอาซีด ทิ้งปากถ้ำ ภาพฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มรส.ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี
…..วันนี้ ฝ่ายบริการวิชาการฯ ในนามผู้แทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยได้อาสาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาบึงขุนทะเล เพื่อวางแผนและดำเนินการพัฒนาบึงขุนทะเลอย่างเอาจริงเอาจัง นอกจากนี้ยังได้อาสาร่วมกับสภาเกษตรฯ และพาณิชย์จังหวัด ในการสร้างพื้นที่ปลูกผักเพื่อการพาณิชย์ โดยจะได้ประสานพื้นที่แปลงปลูกกับสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี …..วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะอาสาในการขับเคลื่อนงานเพื่อท้องถิ่น โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ด้วยความตั้งใจเดียวกันที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น ดังที่ได้ให้คำสัญญากับสังคมไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ผู้สร้างแผ่นดินให้เป็นพลัง“SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
โครงการพัฒนาต้นทุนชีวิตเยาวชน
โครงการ โครงการพัฒนาต้นทุนชีวิตเยาวชน งบประมาณ 30,000 บาท สถานที่ดำเนินงาน โรงเรียนในเขต ตำบลขุนทะเล จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลา ต.ค.55- ก.ย.56 การบูรณาการ การสอน มี การวิจัย – ผู้รับผิดชอบ/โทรศัพท์ อาจารย์ พรรษา หวานบุญ
มรส.ร่วมการทำประชาพิจารณ์เหมืองแร่โดโลไมท์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยฝ่ายบริการวิชาการได้ร่วมกับตัวแทนอาจารย์จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ อาจารย์นิสากร สุขหิรัญ เข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ตามโครงการเหมืองแร่โดโลไมท์ ของบริษัท แร่สัมพันธ์ จำกัด ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน หมู่ที่3 บ้านมะขาม ต.ท่าอุแท อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี การทำประชาพิจารณ์คราวนี้มีพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงให้ความสนใจเข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์เป็นจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ให้ความใส่ใจกับคุณภาพชีวิต เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมมีให้เห็นมามากมายในหลักหลายพื้นที่ ไม่ว่าวันนี้ท้องถิ่นจะมีประเด็นอะไรก็ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีสามารถเข้าไปมีส่วนร่วม เราพร้อมที่จะเดินหน้าร่วมกับพี่น้องในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างสังคมแห่งความสุขให้เกิดขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นให้ได้ ดังที่เราได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เราจะเป็นมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน ซึ่งมีหน้าที่สร้างแผ่นดินนี้ให้เกิดพลัง “SRUมหาวิทยาลัยพลังแผ่นดิน” อาซีด ทิ้งปากถ้ำ รายงานฝ่ายบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี